1 / 40

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. เรื่อง. มวลอะตอม. ครู นารีรัตน์ พิริยะพันธุ์สกุล. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย. จุดประสงค์การเรียนรู้. อธิบาย และคำนวณหา มวลของธาตุ 1 อะตอม มวลอะตอม และ มวลอะตอมเฉลี่ยได้.

chloe
Download Presentation

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง มวลอะตอม ครู นารีรัตน์ พิริยะพันธุ์สกุล โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

  2. จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ อธิบาย และคำนวณหา มวลของธาตุ 1 อะตอม มวลอะตอม และมวลอะตอมเฉลี่ยได้ 1. อธิบายความหมายของ มวลของธาตุ 1 อะตอม และ มวลอะตอมได้ 2. คำนวณหามวลอะตอมของธาตุได้ เมื่อทราบมวลของธาตุ 1 อะตอม 3. คำนวณมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุได้ เมื่อทราบจำนวนและปริมาณของแต่ละไอโซโทปในธรรมชาติ 4. คำนวณหามวลของธาตุ 1 อะตอมได้ เมื่อทราบมวลอะตอมของธาตุ 5. บอกความสัมพันธ์ระหว่างมวล(กรัม) มวลอะตอม และจำนวนอะตอม ของธาตุได้ 2

  3. อะตอม เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุที่ยังคงแสดงสมบัติของธาตุนั้นได้ และมีขนาดเล็กมากๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ☻การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับอะตอม ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเราไม่สามารถที่จะนับจำนวนอะตอมของธาตุ ได้ เพราะ อะตอมมีขนาดเล็ก แม้จะนำมาเพียงเล็กน้อยก็มีจำนวนมากมายมหาศาล เราจึงทำการนับจำนวนอนุภาคของสารโดยอ้อม นั่นคือ วัดปริมาณโดย ชั่งหามวล หรือ วัดปริมาตร แทน เช่นเดียวกับ การจำหน่ายข้าวสาร ที่เราชั่งหามวลเป็น กิโลกรัม หรือ วัดปริมาตร เป็นลิตร หรือถัง แทนการนับเมล็ดข้าวสาร 3

  4. ☻มวลของธาตุ 1 อะตอม เป็นมวลที่แท้จริง ดังนั้น การกล่าวถึงมวลของธาตุ 1 อะตอม จะต้องมีหน่วยกำกับด้วยเสมอ เช่น H 1 อะตอม = 1.66  1024 g หรือ U 1 อะตอม = 3.91  1022g ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถนำธาตุ 1 อะตอม ไปชั่งหามวลได้ เช่นเดียวกับที่เราไม่สามารถใช้เครื่องชั่งทั่วไป ชั่งหามวลของข้าวสาร 1 เมล็ด ข้าวสาร 1 เมล็ดประกอบด้วยอะตอมของธาตุ จำนวนมากมาย ดังนั้น การนำเอาอะตอมของธาตุไปชั่งหามวลจึงทำได้ยากกว่ามาก 4

  5. ☻All atoms of element are identical in their physical and chemical properties. ☻ Atom of one element differ in physical and chemical properties from atoms of other element ☻The mass of an atom of the most common isotope of hydrogen ( the lightest of all atoms ) is 1.6610-24 g and the mass of uranium( a very heavy atom ) is 3.1910-22 g. These numbers are incovenient to use because they are so very small. Not only they are hard to imagine but they are impossible to weigh in laboratory 5

  6. นักวิทยาศาสตร์ จึงหามวลของธาตุ โดยการนำมวลของธาตุ 1 อะตอมไปเปรียบเทียบกับมวลมาตรฐานที่กำหนด เรียก มวลเปรียบเทียบที่ได้นี้ว่า มวลอะตอม มวลมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบในยุคแรกๆ ได้แก่ » มวลของ H 1 อะตอม มวลอะตอม = มวลของธาตุ 1 อะตอม มวลของ H 1 อะตอม 1 » มวลของ O 1 อะตอม 16 มวลอะตอม = มวลของธาตุ 1 อะตอม 1 มวลของ O 1 อะตอม 16 6

  7. 1 มวลของ 12C 1อะตอม ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบในปัจจุบันนี้ คือ 12 มวลของสาร 1 อะตอม มวลอะตอม = 1 มวลของ 12C 1อะตอม 12 มวลอะตอม เป็นมวลเปรียบเทียบ จึงไม่ต้องมีหน่วยกำกับ 7

  8. ►นักเรียนทราบหรือไม่ว่า►นักเรียนทราบหรือไม่ว่า 1 มวลของ 12C 1อะตอมมีค่าเท่าไร 12 ข้อมูลเพิ่มเติม: คาร์บอน-12 1 อะตอม มีมวล 19.921024g มวลของ 12C 1 อะตอม = 19.921024 g 1 1 มวลของ 12C 1 อะตอม = X19.921024 g 12 12 = 1.66 1024 g 1 มวลของ 12C 1อะตอม = 1.66 1024 g 12 8

  9. ตัวอย่างที่ 1 แมกนีเซียม 1 อะตอมมีมวล 4.0  1023g จงหามวลอะตอมของ แมกนีเซียม มวลของสาร 1 อะตอม มวลของ Mg 1 อะตอม มวลอะตอม = Mg 1 มวลของ 12C 1อะตอม 12 4.0  1023 g มวลอะตอม Mg = 1.661024 g 24.09 = ตอบ มวลอะตอม Mg เท่ากับ 24 9

  10. กำมะถัน 1 อะตอมมีมวล 5.3  1023g จงหามวลอะตอมของ กำมะถัน ลองทำดู มวลของ S 1 อะตอม มวลของสาร 1 อะตอม มวลอะตอม = S 1 มวลของ 12C 1อะตอม 12 5.3  1023 g มวลอะตอม S = 1.661024 g 31.9 = ตอบ มวลอะตอมกำมะถัน เท่ากับ 32 10

  11. ในการศึกษาวิชาเคมี  ไม่นิยมให้หาค่ามวลอะตอมของธาตุ แต่จะใช้ค่ามวลอะตอม ในการแก้โจทย์ปัญหา อื่นๆ ค่า มวลอะตอม ของธาตุ ในวิชาเคมี โจทย์กำหนดให้ ดูจากตารางธาตุ 11

  12. นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า เลขมวล และ มวลอะตอม เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร เลขมวล (mass number); A »เป็นผลรวมระหว่าง จำนวน โปรตอนกับจำนวนนิวตรอน ในนิวเคลียสของธาตุ »ใช้ในการเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ มวลอะตอม(atomic mass) »เป็นมวลเปรียบเทียบ ระหว่าง มวลของธาตุ 1 อะตอม กับ 1 มวลของ 12C 1อะตอม 12 » ใช้ในการคำนวณหาปริมาณของสาร 12

  13. ☻ถ้านักเรียนสังเกตสักนิด จะพบว่า มวลอะตอมของธาตุ ที่ปรากฏในตารางธาตุ เป็นเลขทศนิยม ☺ ในธรรมชาติ ธาตุแต่ละชนิดมีหลายไอโซโทป แต่ละไอโซโทป มีมวลอะตอมแตกต่างกัน และมีปริมาณในธรรมชาติต่างกันด้วย ค่าที่ปรากฏในตารางธาตุ เป็น ค่ามวลอะตอมเฉลี่ยของไอโซโทปต่างๆ นั่นเอง ☻นักเรียนทราบหรือไม่ว่า » เราจะคำนวณหามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ ได้อย่างไร »นักวิทยาศาสตร์หาค่ามวลอะตอมและปริมาณของแต่ละไอโซโทปได้อย่างไร 13

  14. นักวิทยาศาสตร์หาค่ามวลอะตอม และปริมาณของแต่ละไอโซโทปของธาตุ โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า แมสสเปกโตรโฟโตมิเตอร์(mass spectrometer : an instrument used to determine atomic mass of individual isotope)   Schematic of Electrom Impact Mass Spectromete 14 Referrence: http://acpcommunity.acp.edu/Facultystaff/hass/oc1/exp/nabh4/nabh4des.html

  15. หลักการทำงานของแมสสเปกโตรโฟโตมิเตอร์หลักการทำงานของแมสสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ เมื่อยิงอิเล็กตรอนพลังงานสูงไปยังสารตัวอย่าง จะทำให้สารตัวอย่างแตกตัวเป็นไออนบวก ซึ่งเมื่อผ่านแผ่นเร่งอนุภาค ที่เป็นสนามไฟฟ้า จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก ไอออนบวกจะเบนจากแนวเส้นตรง ไอออนที่มี ประจุต่อมวล ( e/m ) ต่ำ จะเดินทางโค้งเป็นวงกว้างกว่าไอออนที่มี e/m สูง นั่นคือ ไอออนทีมีประจุเท่ากัน ไอออนที่มีมวลหนักจะโค้งเป็นวงกว้างกว่าไอออนที่เบา เมื่อไอออนทั้งหมดตกกระทบอุปกรณ์ตรวจสอบ ซึ่งจะบันทึกเป็นความเข้มหรือกระแส ของไอออน ปริมาณความเข้มหรือกระแส จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนไอออนที่ตกกระทบอุปกรณ์ตรวจสอบเราจึงบอกปริมาณไอโซโทปของ สารตัวอย่างได้ 15 Reffernce :http://www.teachmetuition.co.uk/Chemistry/Atomic_Structure/atomic1.htm

  16. How to Interpret the Results! • 1. The number of peaks tells you how many isotopes there are - in this case 2. • 2. The atomic mass of each is read from the x-axis - in this one isotope has mass • of 10 and the other a mass of 11. • The height of each peak tells you its percentage abundance - this means that • out of 100 atoms of Boron there will be 81.7 atoms of Boron10 • and 18.7 atoms of Boron11. • To work out the average isotopic mass of Boron: • (10 × 81.3/100) + (11 × 18.7/100) = 10.8 16 Reffernce :http://www.teachmetuition.co.uk/Chemistry/Atomic_Structure/atomic1.htm

  17. (19.992 90.51) + (20.994  0.27) + (21.9919.22) มวลอะตอมเฉลี่ย ของ Ne = 100 =20.18 ∑( มวลอะตอมของไอโซโทป ปริมาณ(%)ไอโซโทปในธรรมชาติ) มวลอะตอมเฉลี่ย = 100 17

  18. ข้อมูล ในธรรมชาติมีแมกนีเซียม 3 ไอโซโทปคือ Mg -24 มีมวลอะตอม 23.99 มีปริมาณร้อยละ 78.70 Mg -25 มีมวลอะตอม 24.99 มีปริมาณร้อยละ 10.13 Mg -26 มีมวลอะตอม 25.98 มีปริมาณร้อยละ 11.17 คำถาม มวลอะตอมเฉลี่ยของแมกนีเซียม มีค่าเท่าไร (23.99 78.70) + (24.99  10.13) + (25.9811.17) มวลอะตอมเฉลี่ย ของ Mg = 100 =24.31 ตอบ มวลอะตอมเฉลี่ยของแมกนีเซียม = 24.31 18

  19. STOP & THINK จงหามวลอะตอมของธาตุต่อไปนี้ 1. คลอรีน มี 2 ไอโซโทปดังนี้ 35Cl มีมวลอะตอม 34.969 และ37Cl มีมวลอะตอม 36.996 35Cl มีในธรรมชาติ ร้อยละ 75.77 2. คาร์บอน-12 มีมวลอะตอม 12.00 มีในธรรมชาติ 98.89% ส่วน คาร์บอน-13 มีมวลอะตอม 13.00 มีในธรรมชาติ 1.11% 3. ธาตุ X มี 3 ไอโซโทป มวลอะตอม 28.7 , 29.2 และ 30.1 พบในธรรมชาติร้อยละ 81 , 4 และ 15 ตามลำดับ has an atomic mass 4. Boron has two naturally occurring istope; of 10.0129 and has an atomic mass of 11.00931. Naturally occurring boron has an atomic mass of 10.811. Calculate of each isotope in naturally occurring boron 19

  20. ตัวอย่างที่ 2 มวลอะตอมของ He= 4 จงหามวลของ He 1 อะตอม มวลของ He 1 อะตอม มวลอะตอม He = มวลของ He 1 อะตอม = มวลอะตอม He 1.661024 g = 4  ตอบ มวลของ He 1 อะตอม เท่ากับ 41.661024g 20

  21. ตัวอย่างที่ 3 มวลอะตอมของ Na= 23 จงหามวลของ Na 1 อะตอม มวลของ Na 1 อะตอม มวลอะตอม Na = มวลของ Na 1 อะตอม = มวลอะตอม Na = 23  1.661024 g ตอบ มวลของ Na 1 อะตอม เท่ากับ 231.661024g 21

  22. ☻จากตัวอย่างที่ 2 และตัวอย่างที่ 3 มวลอะตอมของ He =4 มวลของ He 1 อะตอม = 41.661024g มวลอะตอมของ Na = 23 มวลของ Na 1 อะตอม = 231.661024g ☻นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า มวลของธาตุ 1 อะตอมและมวลอะตอมของธาตุ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร มวลของธาตุ 1 อะตอม= มวลอะตอม 1.661024 g มวลของธาตุ 1 อะตอม= มวลอะตอม 1/12 มวลของ 12C 1อะตอม 22

  23. อัตราส่วนระหว่างปริมาณที่มีค่าเท่ากัน แต่มีหน่วยต่างกัน มีค่าเท่ากับ 1 1 L = 1000cm3 1000 cm3 1 L เช่น = 1 = 1 1000 cm3 1 L ในทางคณิตศาสตร์ เมื่อคูณปริมาณใดๆ ด้วย 1 ไม่มีผลทำให้ปริมาณนั้นเปลี่ยนแปลง เช่น H2O 250 cm3 = 250 cm3 H2O  1 L 1000 cm3 1 L ว่า แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย(conversion factor) เรียก 1000 cm3 conversion factor ;a factor used to convent a quanlity from one unit to another. 23

  24. แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย เป็นแฟคเตอร์ที่ใช้เปลี่ยนหน่วยของปริมาณจากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยหนึ่ง คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณที่มีค่าเท่ากัน แต่มีหน่วยต่างกัน ซึ่งนักเรียนจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป เช่น ความยาว 1 m = 100 cm 100 cm แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย คือ 1 m ความยาว(m) ความยาว(cm) 1 m แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย คือ 100 cm ความยาว(cm) ความยาว(m) 24

  25. ตัวอย่างที่ 4 มวลอะตอมของ N = 14 N 105อะตอมมีมวลเท่าไร มวลอะตอม N = 14 N 1 อะตอม = 14 1.661024g 14 1.661024g N Conversion factor : 1 atom N จำนวนอะตอม มวล(g) 14 1.661024g N N 105 atoms  = 105 atom N 1 atom N = 14 1.661019 g N ตอบN 105อะตอม มีมวล 2.31018g 25

  26. STOP & THINK จงหามวล(g) ของธาตุ ในข้อต่อไปนี้ 1. ฟลูออรีน 1 อะตอม 2. อะลูมิเนียม 1 อะตอม 3. คลอรีน 2 อะตอม 4. กำมะถัน 10 อะตอม 5. ออกซิเจน 1020 อะตอม 6. แคลเซียม 6.02x1023 อะตอม ( มวลอะตอม F =19 Al = 27 Cl = 35.5S = 32 O = 16 Ca = 40 ) 26

  27. เฉลย จงหามวล(g) ของธาตุ ในข้อต่อไปนี้ 1. ฟลูออรีน 1 อะตอม = 19  1.661024 g 2. อะลูมิเนียม 1 อะตอม = 27  1.661024 g = 2 35.5 1.661024 g 3. คลอรีน 2 อะตอม = 71  1.661024 g 4. กำมะถัน 10 อะตอม = 10 32 1.661024 g =32 1.661023 g 5. ออกซิเจน 1020 อะตอม = 102016 1.661024 g =16 1.66104 g 6. แคลเซียม 6.02x1023 อะตอม = 6.02102340 1.661024 g = 40 27

  28. นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดหน่วย วัดมวลอะตอม (Atomic mass unit) หรือ a.m.u. โดยกำหนด 1 a.m.u. = 1.66 1024g ดังนั้น มวลอะตอมของ He =4 He 1 อะตอม มีมวล41.661024g หรือ He 1 อะตอม มีมวล4a.m.u. และ มวลอะตอมของ Ne=20 Ne 1 อะตอม มีมวล20 1.661024g หรือ Ne 1 อะตอม มีมวล20 a.m.u. 28

  29. STOP & THINK จงหามวล(a.m.u.) ของธาตุ ในข้อต่อไปนี้ 1. ฟลูออรีน 1 อะตอม 2. อะลูมิเนียม 1 อะตอม 3. คลอรีน 2 อะตอม 4. กำมะถัน 10 อะตอม 5. ออกซิเจน 1020 อะตอม 6. แคลเซียม 6.02x1023 อะตอม ( มวลอะตอม F =19 Al = 27 Cl = 35.5S = 32 O = 16 Ca = 40 ) 29

  30. เฉลย STOP & THINK จงหามวล(a.m.u.) ของธาตุ ในข้อต่อไปนี้ 1. ฟลูออรีน 1 อะตอม = 19 a.m.u. 2. อะลูมิเนียม 1 อะตอม = 27 a.m.u. 3. คลอรีน 2 อะตอม = 2 35.5a.m.u. = 71 a.m.u. 4. กำมะถัน 10 อะตอม = 10 32a.m.u. =320 a.m.u. 5. ออกซิเจน 1020 อะตอม = 102016a.m.u. =161020 a.m.u. 6. แคลเซียม 6.02x1023 อะตอม = 6.02102340 a.m.u. = 240.8 a.m.u. 30

  31. ตัวอย่างที่ 5 มวลอะตอมของ He= 4 He 4 กรัมมีกี่อะตอม มวลอะตอม He = 4 He 1 อะตอม = 4 1.661024g 1 atom He Conversion factor : 4 1.661024g He มวล(g) จำนวนอะตอม 1 atom N He 4 g  = 4 g He 4 1.661024g He = 6.021023 atom He ตอบHe 4 กรัม มี 6.021023 อะตอม 31

  32. ตัวอย่างที่ 6 มวลอะตอมของ Na = 23 Na 23 กรัมมีกี่อะตอม มวลอะตอม Na = 23 Na 1 อะตอม = 23 1.661024g 1 atom Na Conversion factor : 23 1.661024g Na มวล(g) จำนวนอะตอม 1 atom N Na 23 g  = 23 g Na 23  1.661024g Na = 6.021023 atom Na ตอบNa 23 กรัม มี 6.021023 อะตอม 32

  33. ☻จากตัวอย่างที่ 5 และตัวอย่างที่ 6 มวลอะตอมของ He = 4 He4 g มี 6.02  1023อะตอม มวลอะตอมของ Na = 23 Na23g มี 6.02 1023 อะตอม ☻นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า มวล(g)มวลอะตอม และ จำนวนอะตอมของธาตุ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อธาตุ มี มวล(g) เท่ากับ มวลอะตอม แล้ว จะมี จำนวนอะตอม เท่ากับ6.021023เสมอ 33

  34. ☻ข้อคิด และควรจำ conversion factor มวลอะตอมของ Cl = 35.5 35.5g Cl = 1 6.021023อะตอม Cl คลอรีน35.5g มี6.021023อะตอม คลอรีน6.021023อะตอม มี35.5g 6.021023อะตอม Cl = 1 35.5g Cl มวลอะตอมของ Ca = 40 40 g Ca = 1 6.021023อะตอม Ca แคลเซียม 40g มี6.021023อะตอม แคลเซียม 6.021023อะตอม มี40g 6.021023อะตอม Ca = 1 40 g Ca 34

  35. ตัวอย่างที่ 7 (a) มวลอะตอมของ O = 16 O 32 กรัมมีกี่อะตอม มวลอะตอม O = 16 O 1 อะตอม = 16 1.661024g 1 atom O Conversion factor : 16 1.661024g O มวล(g) จำนวนอะตอม 1 atom O O 32 g  = 32 g O 16  1.661024g O = 2  6.021023 atoms O ตอบO 32 กรัม มี 1.21024 อะตอม 35

  36. ตัวอย่างที่ 7 (b) มวลอะตอมของ O = 16 O 32 กรัมมีกี่อะตอม มวลอะตอม O = 16 O 16 g = 6.02 1023 อะตอม 6.02 1023atom O Conversion factor : 16 g O มวล(g) จำนวนอะตอม 6.02 1023atom O O 32 g  = 32 g O 16 g O = 2  6.021023 atoms O ตอบO 32 กรัม มี 1.21024 อะตอม 36

  37. ตัวอย่างที่ 8 ธาตุ X 1 อะตอม มีมวลเป็น 3 เท่าของเบริลเลียม จงหามวลอะตอมของธาตุ X มวลอะตอมของ Be = 9 Be 1 อะตอม มีมวล 91.661024g X 1 อะตอม มีมวล 3 เท่า ของ Be 1 อะตอม ดังนั้น X 1 อะตอม มีมวล 391.661024g แต่ธาตุ 1 อะตอม มีมวล (มวลอะตอม)1.661024g นั่นคือ ธาตุ X มีมวลอะตอม = 39 = 27 ตอบ มวลอะตอมของ X เท่ากับ 27 37

  38. STOP & THINK กำหนดมวลอะตอมของธาตุ ดังนี้ C = 12 Ne = 20 Mg = 24 Al = 27 S = 32 Ca = 40 Au = 197 1. จงหามวลของธาตุต่อไปนี้ 1.1 คาร์บอน 1 อะตอม 1.2 อะลูมิเนียม 6.021023 อะตอม 1.3 กำมะถัน 3.011022 อะตอม 1.4 แคลเซียม 1.2041025 อะตอม 38

  39. STOP & THINK 2. จงหาจำนวนอะตอมของธาตุต่อไปนี้ 2.1 แมกนีเซียม 12 g 2.2 นีออน 20 g 2.3 คาร์บอน 0.6 kg 2.4 ทอง 1 บาท 39

  40. STOP & THINK 3. จงหามวลอะตอมของธาตุสมมุติต่อไปนี้ 3.1 ธาตุ Q 1 อะตอม มีมวล 28  1.66 1024g จงหามวลอะตอมของ ธาตุ Q 3.2 ธาตุ A 10 kg มีจำนวนอะตอมเป็น 2 เท่าของกำมะถันที่มีมวลเท่ากัน จงหามวลอะตอมของ ธาตุ A 3.3 ธาตุ X 4 อะตอม มีมวลเป็น 7 เท่าของ Y 2 อะตอม ธาตุ Y มีมวลอะตอมเป็น 0.10 เท่าของ แคลเซียม จงหามวลอะตอมของ ธาตุ X 40

More Related