1 / 44

งานการเจ้าหน้าที่ สสจ. ระนอง

พนักงานราชการ. งานการเจ้าหน้าที่ สสจ. ระนอง. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ. 2547. พนักงานราชการ. คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น.

Download Presentation

งานการเจ้าหน้าที่ สสจ. ระนอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พนักงานราชการ งานการเจ้าหน้าที่ สสจ.ระนอง

  2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547

  3. พนักงานราชการ คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น

  4. พนักงานราชการมี 2 ประเภท คือ 1. พนักงานราชการทั่วไป 2. พนักงานราชการพิเศษ พนักงานราชการ

  5. ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไป พนักงานราชการประเภทนี้ มี 5 กลุ่ม คือ พนักงานราชการทั่วไป

  6. (1) กลุ่มงานบริการ มีลักษณะงานเป็นงานปฏิบัติระดับต้น ไม่ซับซ้อน มีขั้นตอนชัดเจน ไม่ใช้ ทักษะเฉพาะ (วุฒิ ม.3, ม.ศ.3, ม.6,ปวช.,ปวท.,ปวส) เช่น พนักงานช่วยเหลือคนไข้ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานพัสดุ ฯลฯ (2) กลุ่มงานเทคนิค มีลักษณะงานต้องใช้ความชำนาญทางเทคนิค ซึ่งต้องผ่านการศึกษาใน ระบบ หรืองานที่ปฏิบัติโดยใช้ทักษะเฉพาะบุคคล (วุฒิ ปวช.ปวท.ปวส. หรือมีประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติไม่น้อยกว่า 5 ปี) เช่น นายช่างโยธานายช่างเทคนิค นายช่างไฟฟ้า ฯลฯ พนักงานราชการทั่วไป

  7. (3) กลุ่มงานบริหารทั่วไป มีลักษณะงานเช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติ แต่มีความจำเป็นเร่งด่วน และมีระยะเวลาปฏิบัติงานที่แน่นอน หรือ ไม่ใช่งานลักษณะเช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติ แต่จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญา (วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ) เช่น นิติกร นักจัดการงานทั่วไป นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการพัสดุ ฯลฯ พนักงานราชการทั่วไป

  8. (4) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ มีลักษณะงานที่ไม่อาจมอบให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติแทนได้ และ มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือ เป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ เป็นงานที่ขาดแคลน (วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี , ปริญญาตรี+ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) เช่น แพทย์ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ พนักงานราชการทั่วไป

  9. (5) กลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะ มีลักษณะงานต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ หลักวิชา ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ เป็นการพัฒนาระบบ/มาตรฐานที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์เชี่ยวชาญเฉพาะ (วุฒิปริญญาตรี+ประสบการณ์ 6 ปี , ปริญญาโท+ประสบการณ์ 4 ปี, วุฒิปริญญาเอก+ประสบการณ์ 2 ปี) เช่น นักบิน นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ พนักงานราชการทั่วไป

  10. ปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญ และจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว พนักงานราชการประเภทนี้มี 1 กลุ่ม คือ พนักงานราชการพิเศษ

  11. กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ มีลักษณะงานต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และเชี่ยวชาญพิเศษระดับสูงเป็นที่ยอมรับ หรือ งาน/โครงการที่ไม่อาจหาผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมในหน่วยงาน หรือ งานที่มีลักษณะไม่เป็นงานประจำ (ส่วนราชการสามารถกำหนดวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ตามระดับของความเชี่ยวชาญพิเศษ) เช่น ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโครงการ ฯลฯ ทั้งนี้ การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะให้เป็นไปตาม ประกาศของ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ซึ่งจะประกาศตามมา และส่วนราชการสามารถกำหนดชื่อตำแหน่งได้เองตามความเหมาะสมของงาน พนักงานราชการพิเศษ

  12. การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานราชการ

  13. ในระหว่างสัญญาจ้างให้ส่วนราชการจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ดังนี้ 1. การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ให้กระทำในกรณีดังนี้ (ก) การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (ข) การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปีละ 2 ครั้ง คือ (1 ตุลาคม – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน-30 กันยายน) 2. การประเมินผลงานของพนักงานราชการพิเศษ ให้กระทำในกรณีการประเมินผลสำเร็จของแต่ละงานตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง

  14. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาเลื่อนค่าตอบแทนประจำปีหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาเลื่อนค่าตอบแทนประจำปี ของพนักงานราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 (1 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป)

  15. การเลื่อนค่าตอบแทน ให้เลื่อนปีละหนึ่งครั้ง คือ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ส่วนเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานกำหนดไว้เป็น 5 ระดับ คือ ระดับดีเด่น ระดับดีมาก ดี พอใช้ และต้องปรับปรุง • การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ ให้เลื่อนได้ ไม่เกินขั้นสูง ของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับตามลักษณะของกลุ่มตามที่ประกาศกำหนด

  16. 1. ต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณที่แล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน นับจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2. มีผลการประเมิน 2 ครั้ง เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า ระดับดี 3. ไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ 4. ไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ 5. รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกิน 4 เดือน พนักงานราชการที่จะได้การเลื่อนค่าตอบแทนต้องอยู่ในเกณฑ์ดังนี้

  17. 6. รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 7. รอบปีที่แล้วมาได้รับการจ้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน 8. รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ส่วนราชการกำหนด 9. รอบปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ 12 เดือน โดยมีวันลาไม่เกิน 40 วันทำการ (ลาป่วยและลากิจส่วนตัว) แต่ไม่รวมถึงการลาดังต่อไปนี้ (1) ลาคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน (2) ลาพักผ่อน

  18. (3) ลาเพื่อเข้ารับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพร้อม ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน (4) การลาอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์

  19. วินัยและการรักษาวินัยวินัยและการรักษาวินัย ของพนักงานราชการ

  20. พนักงานราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดตามที่กำหนดไว้เป็นข้อห้าม และข้อปฏิบัติที่ส่วนราชการกำหนด พนักงานราชการผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้าม หรือไม่ปฏิบัติตาม พนักงานราชการผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษทางวินัย

  21. 1. กระทำความผิดฐาน ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ 2. จงใจไม่มาปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบุงคับ หรือเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดให้ปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 3. ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 4. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา หรือขัดคำสั่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 5. ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 6. ละทิ้ง หรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 7 วัน สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการกำหนดวันเวลาการมาทำงาน การกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  22. 7. ละทิ้ง หรือทอดทิ้งการทำงานทำให้งานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงสำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการกำหนดวันเวลาการมาทำงาน 8. ประพฤติชั่วอย่างร้าย หรือกระทำความผิดอาญาโดยมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุก หรือหนักกว่าโทษจำคุก 9. การกระทำอื่นใดที่ส่วนราชการกำหนดว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  23. การสิ้นสุดสัญญาจ้าง พนักงานราชการ

  24. สัญญาจ้างพนักงานราชการสิ้นสุดลงเมื่อสัญญาจ้างพนักงานราชการสิ้นสุดลงเมื่อ 1. ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง 2. พนักงานราชการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบ หรือตามที่ส่วนราชการกำหนด 3. พนักงานราชการตาย 4. ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 5. พนักงานราชการถูกให้ออก เพราะกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 6. เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือข้อกำหนดของส่วนราชการ หรือตามสัญญาจ้าง

  25. สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ

  26. 1. ลาป่วย มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยนับแต่วันทำการ การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำการขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการรับรองประกอบการลา หรือประกอบพิจารณาอนุมัติก็ได้ 2. ลาคลอดบุตร มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน 3. ลากิจส่วนตัว มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ปีละไม่เกิน 10 วันทำการ 4. ลาพักผ่อน มีสิทธิลาพักผ่อนปีละ 10 วันทำการ สำหรับในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และได้พ้นจากการเป็นพนักงานราชการไปแล้ว แต่ต่อมาได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการในส่วนเดิมอีก พนักงานราชการมีสิทธิลาในประเภทต่างๆ ดังนี้

  27. 5. ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ทั้งนี้ เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพล ให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน 7 วัน 6. ลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 ปี มีสิทธิลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ได้จำนวน 1 ครั้ง ตลอดช่วงเวลาของการมีสถานภาพเป็นพนักงานราชการ โดยการลาอุปสมบทมีสิทธิลาได้ไม่เกิน 120 วัน และการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีสิทธิลาได้ไม่เกิน 120 วัน ตามระยะเวลาที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจตามหลักการของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาอนุมัติการลาดังกล่าวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่งทางราชการ พนักงานราชการมีสิทธิลาในประเภทต่างๆ ดังนี้ (ต่อ)

  28. 1. ลาป่วย ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน ส่วนที่เกิน 30 วัน มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม 2. ลาคลอดบุตร ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน 45 วัน และมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฏหมายว่าด้วยประกันสังคม พนักงานราชการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา

  29. 3. ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 10 วันทำการ 4. ลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 10 วันทำการ 5. ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน พนักงานราชการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา (ต่อ)

  30. 6. ลาเพื่อไปอุปสมบท ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน และการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน *** ในกรณีที่พนักงานราชการเข้าทำงานไม่ถึง 1 ปี ให้ทอนสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนการลากิจส่วนตัว และการลาพักผ่อนตามส่วนของจำนวนวันที่จ้าง พนักงานราชการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา (ต่อ)

  31. 1. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พนักงานราชการที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการปกติ หรืออยู่ปฏิบัติงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในวันหยุดพิเศษ ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของข้าราชการโดยอนุโลม สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ

  32. 2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พนักงานราชการที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามกฏหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการโดยอนุโลม สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ (ต่อ)

  33. 3. เบี้ยประชุม พนักงานราชการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการหรือเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรืออนุกรรมการแล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามกฎหมายว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการโดยอนุโลม สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ (ต่อ)

  34. 4. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม กรณีที่ส่วนราชการมีความประสงค์ที่จะให้พนักงานราชการเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการโดยอนุโลม สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ (ต่อ)

  35. 5. ค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ในกรณีที่ส่วนราชการบอกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานราชการผู้ใดก่อนครบกำหนดสัญญาจ้าง โดยมิใช่ ความผิดของพนักงานราชการดังกล่าว ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ดังนี้ สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ (ต่อ)

  36. (ก) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 4 เดือน แต่ไม่ ครบ 1 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ ก่อนวันออกจากราชการ (ข) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ ครบ 3 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสามเท่า ของอัตรา ค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ค) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ ครบ 6 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนหกเท่าของอัตรา ค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ (ต่อ)

  37. (ง) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนแปดเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (จ) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 10 ปี ให้จ่าย ค่าตอบแทนจำนวนสิบเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวัน ออกจากราชการ สิทธิประโยชน์อื่นๆ ของพนักงานราชการ (ต่อ)

  38. เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พนักงานราชการ

  39. 1. เป็นผู้ประพฤติดี และปฏิบัติงานราชการ หรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง 2. เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสรยาภรณ์ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ 3. ไม่เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้กระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้ว หรือกระทำความผิดทางอาญาและอยู่ระหว่างสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรืออยู่ระหว่างดำเนินคดีอาญาในศาลแม้คดีไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์สำหรับพนักงานราชการ

  40. คุณสมบัติของผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์พนักงานราชการคุณสมบัติของผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์พนักงานราชการ

  41. คุณสมบัติของผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์พนักงานราชการ (ต่อ)

  42. คุณสมบัติของผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์พนักงานราชการ (ต่อ)

  43. คุณสมบัติของผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์พนักงานราชการ (ต่อ)

  44. สวัสดีค่ะมีปัญหาสอบถามได้ที่งานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองมือถือ 088-7621010

More Related