1 / 17

การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ

การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ. Project Method. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method ). ความหมาย

chipo
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ Project Method

  2. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method) ความหมาย การสอนแบบโครงงาน เป็นการสอนที่ให้โอกาสนักเรียนได้วางโครงการและดำเนินการให้สำเร็จตามความมุ่งหมายของโครงการนั้น อาจเป็นโครงการที่จัดทำเป็นหมู่หรือคนเดียวก็ได้ นักเรียนจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการทำงานนั้นด้วยตนเอง ลักษณะการสอนคล้อยตามสภาพจริงของสังคม เป็นการทำงานที่เริ่มต้นด้วยปัญญาหาและดำเนินการแก้ปัญหาโดยลงมือทดลองปฏิบัติจริง ( ประนอม เดชชัย, 2531:50)

  3. ทฤษฏี/แนวคิด เริ่มแต่ปี ค.ศ.1900 เป็นต้นมา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเริ่มมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงให้มากในทุกขั้นตอน ซึ่งได้รับอิทธิจากนักจิตวิทยาในแนวใหม่ที่มุ่งให้ผู้เรียนสำรวจตนเอง ค้นหาความถนัดและปัญหาที่ตนสนใจ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะเลือกวางแผนการและดำเนินการด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนและการปฏิบัติดังกล่าวเรียกว่า การสอนแบบโครงการ (Project method) โดยอาศัยหลักปรัชญาของ John Dewevซึ่งเป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ในที่สุด

  4. การสอนแบบโครงการ เป็นการสอนให้นักเรียนได้ประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้วมาแก้ปัญหาในการปฏิบัติตนตามที่ครูมอบหมาย ซึ่งครูส่วนใหญ่มักจะกำหนดงานให้นักเรียนปฏิบัติเหมือนกันๆโดยที่นักเรียนไม่มีโอกาสในการเลือกงานตามที่ตนเองสนใจ หรือตรงตามความถนัดของตนเองแต่อย่างใด การสอนแบบโครงการ ครูควรมีบทบาทในการเป็นผู้ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกเป็นที่ปรึกษาในการทำงาน ให้นักเรียนมีบทบาทในการเลือกงาน วางแผนการทำงาน รับผิดชอบการทำงานและเป็นผู้ประเมินผลด้วยตนเองได้ ซึ่งจุดประสงค์ของการสอนแบบโครงการมีดังนี้ (เจียมใจ บุญแสน, 2536:15)

  5. 1. เพื่อการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน ทั้งนี้เพราะการสอนแบบโครงการผู้สอนจะให้ผู้เรียนเลือกโครงการด้วยตนเอง แต่ก่อนที่จะเลือกครูจะต้องจัดสถานการณ์ให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเสียก่อนผู้เรียนจึงสามารถเลือกโครงการได้ ฉะนั้นการที่นักเรียนเกิดความอยากที่จะทำโครงการใดโครงการหนึ่งแสดงว่านักเรียนมีความสนใจในเรื่องนั้น 2. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานการณ์จริง ซึ่งจะช่วยให้เห็นคุณค่าของการทำงานได้ในที่สุด 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความเป็นตัวเองที่สะสมเก็บรวบรวมและหาความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

  6. 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลที่จะเข้าใจสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมโดยใช้ประสบการณ์ของตนเอง 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรับผิดชอบ และมีเสรีภาพในการจัดและการกระทำ 3. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างแผน และดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 4. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดและประเมินผลงานของตนเอง

  7. คุณค่าของการสอนแบบโครงการคุณค่าของการสอนแบบโครงการ คุณค่าของการสอนแบบโครงการดังนี้ (ประนอม เดชชัย, 2531:2535) 1. เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะในการปฏิบัติงาน 2. ทำให้ผู้เรียนรู้จักวิธีทำงานอย่างมีระบบและแผนงานที่ดี 3. ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนกระบวนการในการค้นหาความรู้ 4. ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง ในแง่ของวิธีการทำงานอย่างมีระบบ และผลลิตที่ได้จากโครงการ

  8. แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการออกแบบโครงการ ขั้นการสอนแบบโครงการดังนี้(เจียมใจ บุญแสน, 2536: 13) 1. ขั้นนำเสนอ เป็นขั้นที่ครูเสนอเหตุการณ์หรือสถานการณ์ให้นักเรียนเกิดความต้องการที่จะวางโครงการในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง 2.ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย เป็นขั้นที่นักเรียนทำการเลือกปัญหา ตั้งจุดมุ่งหมายในการศึกษา โดยการทำงานเป็นกลุ่ม ทำการเลือกประธาน รองประธานกรรมการและเลขานุการ

  9. 3. ขั้นวางแผน เป็นขั้นที่นักเรียนภายในกลุ่มช่วยกันวางแผนว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ซึ่งการวางแผนจะประกอบด้วย 1.1 ชื่อ โครงการ บอกชื่อโครงการที่นักเรียนจะทำ 1.2 หลักการ บอกเหตุผลที่จะต้องจัดทำโครงการ 1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ การปฏิบัติงานครั้งนี้จะมีผลดีอย่างไรบ้าง 1.4 เจ้าของโครงการ ผู้จัดทำโครงการมีใครบ้าง 1.5 ที่ปรึกษา ผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือในการทำโครงการ

  10. 1.6 สถานที่ปฏิบัติโครงการ ใช้สถานที่ใดในการดำเนินการจัดทำ โครงการ 1.7 วันเวลาในการปฏิบัติงาน ใช้งบประมาณเท่าใด แยกเป็นรายการในการใช้จ่ายเรื่องใดบ้าง 1.8 งบประมาณในการดำเนินการ ใช้งบประมาณเท่าใด แยกเป็นรายการในการใช้จ่ายเรื่องใดบ้าง 1.9 วิธการศึกษาค้นคว้า ใช้วิธีหาข้อมูลอย่างไรบ้างในการทำโครงการบรรลุจุดมุ่งหมาย 1.10 เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ วัสดุ อุปกรณ์อะไรบ้าง

  11. 1.11 ผลที่คาดว่าจะได้รับ คาดว่าโครงการที่ทำสามารถแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง และจะได้ผลการดำเนินงานครั้งนี้อย่างไรบ้าง 4. ขั้นการดำเนินงาน เป็นขั้นที่ทำตามโครงการที่วางแผนไว้ ของแต่ละกลุ่ม 5. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ให้นักเรียนเป็นผู้ประเมินว่า โครงการนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่ ในการทำโครงการนี้ได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 6. ขั้นติดตามผล เป็นขั้นการติดตามผลของโครงการต่อไปเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

  12. เทคนิคการสอนแบบโครงการ เทคนิคการสอนแบบโครงการ เทคนิคการสอนแบบโครงการมีดังนี้ (วิชัย แหวนเพชร,2530: 249) 1. ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายในการทำงานแบบโครงการ 2. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนในการเลือกโครงการ 3.โครงการที่ทำจะต้องมีคุณค่า คุ้มค่ากับเวลา ทุนที่ทำ 4. โครงการที่ทำ จะต้องมีความเป็นไปได้ ไม่ใช่แบบที่สร้างวิมานในอากาศ 5. โครงการที่ทำต้องส่งเสริมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และความคิดอิสระ 6. โครงการที่ทำต้องมีการกำหนดเวลาที่ทำเสร็จที่แน่นอน 7. โครงการที่ทำต้องมีการประเมินผลในรูปของคุณค่าทางการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับและสนองความต้องการของผู้เรียน

  13. ข้อค้นพบจากการวิจัย จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบโครงการ มีข้อค้นพบจากการวิจัย ดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ สงวนศรี นักงาน(2530)วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาสังคมศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยสอนแบบโครงการและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปราณี วัฒนานิมิตรกูล (2532)

  14. วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาสังคมศึกษาพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยสอนแบบโครงการและกลุ่มควบคุม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเกษม จันทร์เหลือ (2534) วิจัยการสอนแบบโครงการในวิชาออกแบบเขียนแบบ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยสอนแบบโครงการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน ความคงทนในความจำเนื้อหาความรู้และทักษะในการแก้ปัญหากลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  15. 2. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล โศจิกานต์ ศรีวิเชียร (2540) วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนกลุ่มทดลองเรียนด้วยสอนแบบโครงการและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. พฤติกรรมความเป็นผู้นำ ปราณี วัฒนานิมิตกูล (2532) วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาสังคมศึกษา พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองเรียนด้วยสอนแบบโครงการและกลุ่มควบคุม มีพฤติกรรมความเป็นผู้นำภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  16. 4. ความสามารถในการแก้ปัญหา สงวนศรี นักงาน (2530) วิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบโครงการ และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .03

  17. สิ้นสุดการนำเสนอ

More Related