140 likes | 211 Views
รูปแบบการบูรณาการงานเอดส์กับศาสนา: บทเรียนจากศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน. กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ( Target Population ). 60 แห่ง ในพื้นที่ 52 อำเภอ 21 จังหวัด ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 4,800 คน เด็กกำพร้า เด็กได้รับผลกระทบ และเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง 3,000 คน
E N D
รูปแบบการบูรณาการงานเอดส์กับศาสนา: บทเรียนจากศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน
กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน (Target Population) • 60 แห่ง ในพื้นที่ 52 อำเภอ 21 จังหวัด • ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 4,800 คน • เด็กกำพร้า เด็กได้รับผลกระทบ และเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง 3,000 คน • ผู้ดูแลเด็กกำพร้า เด็กได้รับผลกระทบ และเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง 2,400 คน • วัด โบสถ์ มัสยิด 60 แห่งที่ได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน • อาสาสมัครศูนย์ฟื้นฟูฯ ที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพ 2,400 คน • สมาชิกชุมชนในพื้นที่ศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน 60 พื้นที่
สถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน • การดำเนินงานแก้ไขปัญหาเอดส์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดผลกระทบจากโรคเอดส์ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะการเข้าถึงการรักษาและบริการสังคมอื่นๆ ที่ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก • ผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์บางส่วนเข้าถึงการรักษาและสิทธิประโยชน์จากระบบบริการทางสุขภาพ แต่การให้บริการยังไม่ครอบคลุมถึงการแก้ไขปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม • ชุมชนยังต้องการความรู้เข้าใจปัญหาที่มีผลกระทบต่อชุมชนเพราะสมาชิกบางส่วนยังขาดการมีส่วนร่วมและการพัฒนาศักยภาพในการจัดการปัญหาเอดส์ด้วยตนเอง
สถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน (ต่อ) • ผู้นำศาสนามีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการจัดการปัญหาเอดส์ แต่ยังขาดความตระหนักและความเข้าใจต่อปัญหาเอดส์
ผลกระทบของโรคเอดส์ ที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินงาน • ผู้ติดเชื้อฯ และครอบครัวได้รับผลกระทบทางจิตใจ อันเกิดจากทัศนคติเชิงลบ การไม่เข้าใจปัญหา และการตีตราจากชุมชน • การที่ชุมชนให้การดูแลช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ และมองผู้ติดเชื้อฯ และผู้ได้รับผลกระทบเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ ทำให้ผู้ติดเชื้อฯไม่ได้รับโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการวางแผน และลงมือแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน • ผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ ผู้ติดเชื้อฯ และผู้ได้รับผลกระทบยังมีความห่วงกังวลเรื่องรายได้ และอนาคตของครอบครัว ซึ่งมีผลต่อการดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดเชื้อฯ
กิจกรรมของศูนย์ฟื้นฟูฯกิจกรรมของศูนย์ฟื้นฟูฯ 2.อบรมการให้คำปรึกษาและการดูแล รอบด้านให้กับอาสาสมัคร • 1. พัฒนากลไกสนับสนุนการดูแล OVC ในชุมชนและโรงเรียน • 2. พัฒนาโปรแกรมสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับ PLHAs ผู้ดูแล และ OVC 1. ปฐมนิเทศ วางแผน 2. ประชุมกก.ศูนย์ฯ ทุก 3 เดือน 3. สัมมนาศูนย์ฯ ระดับภูมิภาค 4. พัฒนาคู่มือฯ สำหรับ FBOs Obj. หลัก ข้อ 2. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนและผู้ใหญ่ (ผู้ติดเชื้อฯ) Obj. หลัก ข้อ 4. เสริมสร้างการดูแลและสนับสนุนผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วย และ ครอบครัวแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง • 1. การแจกจ่ายถุงยางอนามัยฟรี การพัฒนา วัด โบสถ์ มัสยิด ให้เป็นศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต โดยมีบทบาทเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนชุมชน ในด้านการป้องกันและดูแล สนับสนุน PLHAs และผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ 3. เพื่อให้เด็กกำพร้า เด็กที่มีความเสี่ยง และครอบครัวที่ได้รับผลกระทบฯ ได้รับการดูแลสนับสนุนจาก FBOs และ ชุมชน 1. เพื่อให้ FBOs เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนชุมชนในการช่วยเหลือ ดูแลPLHAs และผู้ได้รับผลกระทบ 2. เพื่อให้ PLHAs ครอบครัว และสมาชิกในชุมชนเข้าถึงบริการทางสุขภาพโดยการสนับสนุนจาก FBOs 4. เพื่อส่งเสริมเครือข่าย FBO ให้มีการดูแลและสนับสนุนชุมชนอย่างยั่งยืน 1. TOT เรื่องการให้คำปรึกษา • 1. ประชุมกก.โครงการฯ และผู้ประสานงานฯ • 2. เวิรค์ชอปการทบทวนภายในของคณะ กก. 3. การเยี่ยมบ้านและการดูแลที่บ้าน 4. การให้คำปรึกษา และส่งต่อ • 3. การรณณงค์ สื่อสารสาธารณะ 5. การดูแลสุขภาพทางเลือก
ผลสำเร็จการดำเนินงาน • เกิดการพัฒนาแกนนำอาสาสมัครศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชนจำนวน 44 คน ซึ่งเป็นกลไกหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาเอดส์สู่ชุมชนเป้าหมาย • แกนนำฯจาก ศฟช. 60 พื้นที่: เป็นแกนนำพุทธ 20 อิสลาม 12 และคริสต์ 12 • แกนนำฯมาจากภาคศาสนา 14 คน มาจากกลุ่มผู้ติดเชื้อฯ 20 คน และภาคประชาสังคม/ชุมชน 10 คน • มีการประเมินตนเองของแกนนำ/ชุมชน • คู่มือในการดูแลผู้ติดเชื้อฯ และผู้ได้รับผลกระทบโดยประยุกต์หลักการ/คำสอนทางศาสนา
บทเรียนการดำเนินงาน • อะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงาน • กระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนคติผู้นำศาสนา สามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนทัศนะของชุมชนที่มีต่อเรื่องเอดส์ • การใช้องค์กรศาสนาเป็นแกนหลักในการกระตุ้นให้ผู้ติดเชื้อฯ และชุมชนได้ค้นหาความเข้มแข็ง และศักยภาพในชุมชน • การประยุกต์ใช้คำสอนทางศาสนาเพื่อดูแลผลกระทบทางด้านจิตใจ • การพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างรายให้ผู้ติดเชื้อฯอย่างยั่งยืนโดยปรับใช้แนวคิดเรื่องการตลาดในการส่งเสริมสินค้าของกลุ่ม • การพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาเอดส์สู่ชุมชน
บทเรียนการดำเนินงาน (ต่อ) • ปัจจัย ปัญหา อุปสรรค ซึ่งท้าทายและส่งผลต่อการดำเนินงาน • การขยายรูปแบบการทำงานของศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน • การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้นำศาสนา • การสร้างรายได้แบบยั่งยืนของผู้ติดเชื้อฯ • ถึงแม้องค์กรศาสนาจะมีศักยภาพในการดึงความร่วมมือและทรัพยากร แต่ในความเป็นองค์กรศาสนาก็ทำให้เกิดช่องว่างในการทำงานร่วมกับองค์กรภาคีอื่นๆ • ผู้นำศาสนาและภาคีชุมชนบางส่วน ยังมีความเชื่อว่า ผู้ติดเชื้อฯ ควรยอมรับ และเปิดเผยสถานะ การติดเชื้อฯ ต่อชุมชน เพื่อให้ได้รับการสงเคราะห์จากหน่วยบริการ หรือองค์กรชุมชนต่างๆ
บทเรียนการดำเนินงาน (ต่อ) • ปัจจัย ปัญหา อุปสรรค ซึ่งท้าทายและส่งผลต่อการดำเนินงาน (ต่อ) • ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อผู้นำศาสนาเกี่ยวกับทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อฯ ที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงในบางพื้นที่ ที่ยังพบเห็นทัศคนติเชิงลบและการตีตราจากผู้นำศาสนาเอง • การประยุกต์ใช้ศาสนธรรมกับเอดส์ให้เป็นเรื่องเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไป • การผลักดันให้เรื่องการจัดการปัญหาเอดส์ให้เป็นนโยบายขององค์กรศาสนาในระดับประเทศ • การกระตุ้นให้เกิดการทำงานโดยใช้ทรัพยากรภายในชุมชนเอง
บทเรียนการดำเนินงาน (ต่อ) • โอกาสที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงาน • บทบาทของผู้นำศาสนาในการเชื่อมหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาเอดส์ในชุมชน • ใช้ความเป็นผู้นำธรรมชาติของผู้นำศาสนาในการให้ความรู้ ให้กำลังใจ สร้างความเข้าใจในชุมชน และมีการใช้หลักศาสนธรรมเพื่อปรับทัศนคติและลดการรังเกียจ • ความตระหนักของชุมชนต่อเรื่องการจัดการปัญหาเอดส์โดยใช้ศักยภาพของตนเอง • ความหลากหลายของอาสาสมัครศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชนจากหลายภาคส่วน
บทเรียนการดำเนินงาน (ต่อ) • โอกาสที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงาน (ต่อ) • การทำงานที่อาศัยความสัมพันธ์ ความเชื่อใจ และความไว้วางใจที่เกิดจากรากฐาน และสัมพันธภาพของสมาชิกในชุมชน • การใช้มิติทางจิตวิญญาณในการดูแลผู้ติดเชื้อฯ ที่ส่งผลให้เกิดการจัดการสุขภาพของผู้ติดเชื้ออย่างเป็นองค์รวม • การทำงานที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ และการลดช่องว่างระหว่างผู้นำกับสมาชิกชุมชน • การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนผ่านกิจกรรมของศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน
ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานจากผลการการทบทวน หรือผลการประเมินผลดำเนินงาน • การปรับวิธีการทำงานเพื่อลดช่องว่างระหว่างความต้องการที่แท้จริงของชุมชนกับกรอบ และข้อบังคับของโครงการ/แหล่งทุน • การขยายแนวคิดการจัดการปัญหาเอดส์ไปยังองค์กรศาสนาอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียง • การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการและภาคีต่างๆในชุมชน โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อฯ ในการตัดสินใจและดำเนินการ • การทำงานควรมีการนำมิติทางจิตวิญญาณเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาเอดส์ • มีการประยุกต์ใช้หลักศาสนธรรมในการทำงาน • มีการผลักดันระดับนโยบายกับองค์กรศาสนาทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ
การนำรูปแบบของการดำเนินงานไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานปกติของประเทศ หรือ องค์กรต่างประเทศ • การผลักดันให้วัด โบสถ์ มัสยิด เป็นหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านเอดส์ในชุมชนร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในชุมชน • กระบวนการเสริมสร้างบทบาทการทำงานขององค์กรศาสนาในการจัดการปัญหาเอดส์โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการมองผู้ติดเชื้อฯ และชุมชนว่ามีศักยภาพและมีความเข้มแข็งในการจัดการปัญหาเอดส์ด้วยตนเอง • การใช้กระบวนการประเมินตนเอง (Self-Assessment)เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการปัญหาเอดส์