150 likes | 321 Views
อำเภอพนัสนิคม. โดย นางสาวสิ ราวร รณ พรงาม. ที่ตั้งและอาณาเขต. อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนสุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้.
E N D
อำเภอพนัสนิคม โดย นางสาวสิราวรรณ พรงาม
ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนสุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
โดยอาณาเขตอำเภอพนัสนิคมเดิมนั้นต่อมาได้แยกออกไปเป็นอำเภอใหม่ในจังหวัดชลบุรี ดังนี้ • บ้านท่าตะกูด เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอท่าตะกูด และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพานทองในเวลาต่อมา • ตำบลคลองพลู เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม ก่อนที่จะโอนมาขึ้นกับอำเภอบ้านบึงเมื่อ พ.ศ. 2418 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองใหญ่ในเวลาต่อมา
ประวัติศาสตร์ พนัสนิคมเป็นเมืองโบราณซึ่งเคยรุ่งเรืองเมื่อสมัยประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว หรือสมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุวรรณภูมิ จากหลักฐานต่าง ๆ น่าเชื่อถือว่าเมืองที่รุ่งเรืองดังกล่าวชื่อ "เมืองพระรถ" พนัสนิคมตั้งขึ้นเป็นเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2440 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและจัดระเบียบการปกครองใหม่เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปรดเกล้าฯให้เมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองบางปลาสร้อยรวมกัน และเมืองพนัสนิคมจึงเป็นอำเภอของชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2447 ตั้งแต่นั้นมา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เหล่าท้าวพญาและเหล่าครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งภูมิลำเนาขึ้นเรียกว่าหมู่บ้านแดนป่าพระรศ ต่อมาได้ยกฐานะกลายเป็นเมืองพนัสนิคมในเวลาต่อมา
"พนัสนิคม" ซึ่งเป็นชื่อของอำเภอที่เรียกใช้ในทางราชการทุกวันนี้ ชาวบ้านมักเรียกไปอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองเก่า" การที่เรียกเช่นนี้ เพราะว่าที่ตั้งอำเภอพนัสนิคมนี้เคยเป็นเมืองมาแต่ก่อนในอดีต ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากเรื่อยมาซึ่งจะนำประวัติศาสตร์การตั้งเมืองพนัสนิคมดังต่อไปนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2367 ได้ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2368 จึงได้โปรดยกตำบล บ้าน ขึ้นเป็นเมือง รวม 27 เมือง ในจำนวนนี้ ได้ยกหมู่บ้านแดนป่าพระรศขึ้นเป็นเมืองเรียกว่าเมืองพนัสนิคม เมืองเหล่านี้โดยจัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี
ตำบลบ่อทอง เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ่อทอง เมื่อ พ.ศ. 2528 • ตำบลเกาะจันทร์ และตำบลท่าบุญมี เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเกาะจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2550 • กล่าวคืออำเภอพนัสนิคมแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองพนัสนิคม จนถึง พ.ศ. 2447 ได้รวมเมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองปลาสร้อย เป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
ชาวลาวเวียงจันทน์ในอำเภอพนัสนิคมชาวลาวเวียงจันทน์ในอำเภอพนัสนิคม ชาวลาวเวียง คือ ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ ในช่วงสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ของกองทัพสยาม ตั้งแต่สมัยธนบุรี - ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ฝ่ายไทยยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน
พระพุทธรูปประจำเมือง หอพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีงานบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีงานบุญ ที่เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวข้าวของเกษตรกรชาวนา ที่จัดขึ้นในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มักจัดขึ้นในราวกลางเดือน 3 - 6 ซึ่งเป็นเวลา ปัจจุบันเทศบาลเมืองพนัสนิคมได้นำมาผสมผสานกับประเพณีของไทย ลาว และจีน จนกลายเป็นประเพณีที่รวมกิจกรรมของทั้งไทย ลาว และจีนไว้ด้วยกัน จัดขึ้นในวันศุกร์ สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เรียกว่า ประเพณีงานบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักสานพนัสนิคม
สถานที่สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งโบราณคดี • โบราณสถาน หอไตรวัดใต้ต้นลาน และแหล่งโบราณคดีวัดใต้ต้นลาน • โบราณวัตถุ โค ชนิดหิน (วัดหน้าพระธาตุ) • แหล่งโบราณคดี วัดหัวถนน • แหล่งโบราณคดีหนองใน • แหล่งโบราณคดีที่ฝังศพโบราณบ้านเหนือ • แหล่งโบราณคดีบ้านบนเนิน • แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา • ตลาดเครื่องจักสานพนัสนิคม • ค้างคาวแม่ไก่ วัดหลวงพรหมวาส • ถ้ำนางสิบสอง
พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี (พระพนัสบดี) (โบราณวัตถุ) • พระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระพุทธรูปมิ่งเมือง) พนัสนิคม (โบราณวัตถุ) • พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อติ้ว) (โบราณวัตถุ) • โบราณสถาน เมืองพระรถ (พนัสนิคม) และแหล่งโบราณคดีโบราณสถานนอกเมืองพระรถ • โบราณสถาน สระน้ำ (สระสี่เหลี่ยม) • โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี • โบราณสถาน วัดโบสถ์
ตำนานเมืองพระรถ • วรรณคดีและตำนานพระรถ-เมรี เมืองพระรถเป็นชุมชนเมืองโบราณ อยู่ที่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม อยู่ห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคม มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ไปทางถนนพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตัดทับส่วนหนึ่งของกำแพงและคูเมืองด้านทิศตะวันออก จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบเชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองในสมัยทวารวดี(ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๖)และเจริญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘)
เมืองพระรถ จัดว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่สมัยทวารวดี ตั้งอยู่ระหว่างที่สูงและที่ลุ่มมาบรรจบกัน บริเวณรอบเมืองเป็นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวแบบทดน้ำ มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย ลำน้ำที่ไหลผ่านเข้ามาในเขตเมืองพระรถ ได้แก่ คลองสระกลาง คลองหลวง คลองพานทอง คลองสระกลางไหลมาทางด้านทิศใต้ ผ่านตัวอำเภอพนัสนิคมและวัดเกาะแก้ว มายังคูเมืองพระรถด้านตะวันออกเรียกว่า คลองเมือง ดังนั้นเมืองนี้จึงมีสภาพเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมท้องถิ่น เพราะมีลำน้ำต่าง ๆ เชื่อมต่อกับชุมชนร่วมสมัยอื่น ๆ เช่น เมืองศรีมโหสถ