290 likes | 417 Views
เครือข่ายการผลิตในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของไทย : นัยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม. ผศ. ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ archanun@econ.tu.ac.th 22 กรกฎาคม 2552. เค้าโครงการนำเสนอ. ความท้าทายเชิงนโยบาย Stylized Facts เกี่ยวกับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของไทย
E N D
เครือข่ายการผลิตในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของไทย: นัยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ผศ. ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ archanun@econ.tu.ac.th 22 กรกฎาคม 2552
เค้าโครงการนำเสนอ • ความท้าทายเชิงนโยบาย • Stylized Facts เกี่ยวกับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของไทย • กรอบนโยบายการพัฒนา • IPNs ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของไทย • นัยเชิงนโยบาย
ความท้าทายเชิงนโยบาย (Policy Issues) • เครือข่ายการผลิต หรือ International Production Networks (IPNs) เป็นปรากฏการณ์ที่การผลิตสินค้าหนึ่งๆ ออกเป็นขั้นตอนการผลิตย่อยๆ และสามารถกระจายไปผลิตในที่ต่างๆ ทั้งในและระหว่างประเทศ • IPNs เป็นปรากฏการณ์การผลิตที่สำคัญของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ • IPNs หมายถึงโอกาสให้ประเทศต่างๆสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็หมายถึงการแข่งขันที่ก็รุนแรงขึ้นด้วย
ชิ้นส่วนของฮาร์ดดิสก์ชิ้นส่วนของฮาร์ดดิสก์
ประเทศภายใต้ IPNs เชื่อมโยงกันระหว่างกันมากขึ้น ชิ้นส่วนที่ผลิตจากประเทศหนึ่งจะส่งไปอีกประเทศหนึ่งเพื่อทำการผลิตต่อและส่งออกในที่สุด • IPNs ท้าทายแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ คลัสเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Clusters) • ผู้กำหนดนโยบายในประเทศกำลังพัฒนาเชื่อว่า Industrial Clusterได้กลายมาเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงลึกในมุมมองของผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจและยังหมายถึงว่าขั้นตอนการผลิตทุกๆ ขั้น (แถบจะทุกๆขั้น)จะเกิดขึ้นในประเทศนั้น
Stylized Facts อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของไทย
มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์
ส่วนแบ่งตลาดโลกของไทยส่วนแบ่งตลาดโลกของไทย หมายเหตุ: ร้อยละต่อการส่งออกของโลก 6 ประเทศผู้ส่งออกสำคัญได้แก่ จีน ไทย มาเลเซีย ไอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และสิงค์โปร์
มูลค่าส่งออกเฉลี่ยต่อหน่วยของประเทศผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 1996-2008
นโยบายพัฒนาในอดีต (1983-2000) ส่งเสริมให้บริษัทข้ามชาติใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุน (เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ) • ภายหลังปี 2000 นโยบายภาครัฐปรับหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพในการผลิต (Supply-side Capability) ที่ผลักดันทุกๆ ด้านพร้อมกันทั้งการส่งเสริมการทำวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาเครือข่ายการผลิตภายในประเทศ (Supply Chain Development) • อย่างไรก็ตามไม่มีนโยบายที่ฝืนกลไกตลาด (Market Friendly Approach)
การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ • อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ 1. ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนมาก แต่ละชิ้นส่วนมีเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลายตั้งแต่ที่เป็น Capital Intensive อย่างแผ่น Wafer หรือแผ่น Media ไปจนถึงการประกอบชุดหัวอ่าน หรือการประกอบชิ้นส่วนให้เป็นฮาร์ดดิสก์ (HDA)
2. ในหลายๆ ชิ้นส่วน ซัพพลายเออร์เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของตนเอง 3. ชิ้นส่วนต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์ส่วนมากมีขนาดเล็กทำให้สามารถขนส่งทางอากาศได้ 4. อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไม่ได้นำเอาระบบ Just in Time มาใช้เต็มที่ แต่ใช้ระบบการตั้งสต็อก หรือที่เรียกว่า Vendor-managed inventory (VMI) ทำให้โอกาสที่การผลิตจะสะดุดเนื่องจากปัญหาอันเนื่องจากซัพพลายเออร์และผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์อยู่กันคนละประเทศก็ลดลง
ประเทศไทยเริ่มจากการเป็นฐานการประกอบชุดหัวอ่าน หรือ HSA (Head-Stack Assembly) ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา โดยนำเข้าชิ้นส่วนต่างๆจากมาเลเซียและสิงคโปร์ • อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาการผลิตได้ยกระดับขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันได้มาสู่ขั้น Engineering Stage อันเนื่องจากการสะสมทักษะฝีมือแรงงาน • ปัจจุบันฐานการผลิตในประเทศไม่เพียงแค่รับคำสั่งจากบริษัทแม่ (Parent Company) เท่านั้น แต่มีส่วนร่วมในการพัฒนาและออกแบบกระบวนผลิต
ฐานการผลิตของไทยมีความสามารถที่จะแปลง Blue Print ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทแม่มาเป็นแผนปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ประสบการณ์และความสามารถทางวิศวกรรมเป็น Tacit Knowledge ที่อยู่กับพนักงานได้มาจากประสบการณ์การทำงานโดยตรง • โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังปี 2006 เป็นต้นที่เทคโนโลยีการผลิตฮาร์ดดิสก์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจาก Longitudinal Magnetic Recording (LMR)ไปสู่ Perpendicular Magnetic Recording (PMR) ทำให้ความต้องการนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรภายในโรงงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก
เมื่อฐานการผลิตได้เข้าสู่ขั้นตอน Engineering Stage ความร่วมมือกัน (Effective Coordination) ระหว่างผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์และซัพพลายเออร์ในชิ้นส่วนบางรายการ (Layer ที่ 1) เป็นสิ่งที่จำเป็น • ชิ้นส่วนที่มีการซื้อขายกันใน Layer ที่ 1 หลายๆ ชิ้นมีลักษณะเฉพาะ เช่น มอเตอร์ Actuators' Arms และชิ้นสำหรับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์และมีรายละเอียดมากมายที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์และ Tier-1 ซัพพลายเออร์จำเป็นต้องอยู่ใกล้กันในลักษณะคลัสเตอร์
เรื่องดังกล่าวสำคัญสำหรับสินค้าที่มีการแข่งขันรุนแรงและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สายการผลิตต้องมีความคล่องตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตใดๆ ที่เกิดขึ้น • นอกจากนั้น Teir-1 ซัพพลายเออร์เหล่านี้มักจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับบริษัทฮาร์ดดิสก์ การเลือกตั้งโรงงานให้ใกล้กับโรงงานฮาร์ดดิสก์เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองรักษาสถานภาพการอยู่ใน IPNs • แม้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์และ Tier-1 ซัพพลายเออร์อยู่ใกล้กันในลักษณะคลัสเตอร์ แต่ไม่ได้หมายความว่าการผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นจะต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ
การเกิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Clustering)ไม่สามารถอนุมานได้ว่าอุตสาหกรรมจะต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมด • ตัวอย่างที่ชัดเจนในกรณีนี้คือชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ที่แม้ซัพพลายเออร์ที่ผลิต PCBA ให้กับผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ในประเทศ แต่การผลิต PCBA เหล่านั้นยังคงมีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น แผ่น PCB ICs Semiconductor จากต่างประเทศอย่างมาก • อย่างไรก็ตามการจัดซื้อชิ้นส่วนต่างๆของ Tier-1 Supplierใช้ ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์จะมีบทบาทในการเลือกแหล่งจัดซื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ในหลายกรณีบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ร่วมพัฒนากับบริษัทข้ามชาติที่เป็น Tier-2 ซัพพลายเออร์ให้ผลิต ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับฮาร์ดดิสก์ของตนเป็นการเฉพาะ • ข้อยกเว้นที่พบใน Layer ที่ 1 คือ พบในกรณีของ Wafer และแผ่น Media ที่มักจะเป็นการนำเข้าจากบริษัทสาขาในต่างประเทศทั้งนี้เพราะทั้ง Wafer และ Media เป็นเสมือนเป็นชิ้นส่วนพื้นฐาน • ชิ้นส่วนทั้ง 2ก็เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่กำหนดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละบริษัทโดยเฉพาะแผ่นบันทึกข้อมูลที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์อย่างมาก บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์มักจะนำเข้าชิ้นส่วนทั้ง2 จากบริษัทสาขาที่อื่นๆ เช่น สหรัฐฯ รัฐ Johor ของมาเลเซีย
นอกจากนั้นธรรมชาติการผลิตทั้งแผ่น Wafer และ Media ใช้เงินลงทุนที่สูงมาก เช่น บริษัท Showa Denko เพิ่งเปิดโรงงานผลิตแผ่น Media ที่ใหญ่ที่สุดที่สิงค์โปร์เมื่อปี 2006 มีเงินลงทุนมากถึง 60,000 ล้านเยนในขณะที่มีการจ้างงานเพียง 600 คนเท่านั้น • อธิบายดังกล่าวน่าจะประยุกต์กับชิ้นส่วนโลหะชิ้นเล็กเช่นกัน เช่น Spring Wire, Bottom VCM, Top VCM, TG Clamp, Top Cover Assy, Top Cover Seal, Positional Seal, Window Clock Seal ที่ economies of scale มีความสำคัญมาก เช่น กรณี MMI Holding ที่สิงค์โปร์
95% Import from East Asia Wafer Fab Machined Cover Suspension -Base plate HDD Makers -Seagate -WD -IBM -Fujitsu Slider PCB ICs Actuator Arms PCBA -PCBs -FCBs -Semi-conductors -Microprocessor -Memory chips -Coil Assembly Motor “Specialized” Media Glass/Aluminum 75% Import from East Asia 97%Import from East Asia
นัยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมนัยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม 1. การใช้สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่ใช่ดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการสร้างคลัสเตอร์ • การเกิดขึ้นพร้อมๆ กันระหว่างเครือข่ายการผลิตและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมชี้ให้เห็นว่าคลัสเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Cluster) ไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายสุดท้ายของการสร้างคลัสเตอร์ คือ อุตสาหกรรมนั้นใช้ชิ้นส่วนทุกๆ ชิ้นในประเทศ • Clustering ช่วยเพิ่มการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ แต่จะขึ้นไปถึงเท่าไหร่จะถูกกำหนดปัจจัยทางเศรษฐกิจพื้นฐาน (Economic Fundamental)
2. การรักษาสถานภาพหรือยกระดับคลัสเตอร์ • ปัจจัยทางด้านอุปทานเป็นสำคัญโดยเฉพาะความพร้อมของบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์และการตรวจสอบมาตรฐาน • แนวนโยบายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาและพัฒนาบุคคลากรน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆเพราะโครงการเหล่านี้ทำให้สามารถผลิตงานวิจัยและบุคลากรที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับตามความต้องการของภาคเอกชนอย่างแท้จริง • แต่การใช้คลัสเตอร์เป็น Synonym กับการใช้ชิ้นส่วน 100 % ที่ยังมีอยู่ใน Ideology ของผู้กำหนดนโยบายทำให้ภาคเอกชนยังความกังวลเกี่ยวกับ Policy Reversal
การเตรียมความพร้อมในเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญการเตรียมความพร้อมในเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญ • ไม่ว่ามูลเหตุจูงใจในการใช้มาตรฐานจะเป็นอย่างไร แต่การที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตที่กำลังการผลิตการต้องทำตามกฎต่างๆ เหล่านั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง • แนวนโยบายมาตรฐานอุตสาหกรรมควรเน้นการอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนสามารถปฏิบัติตามกฎต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที แทนที่จะเป็นเพียงผู้บังคับใช้กฎระเบียบแทนรัฐบาลต่างประเทศ
เรื่องดังกล่าวมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น รถยนต์ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ประเทศไทยล้วนแล้วแต่เป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของโลกทั้งสิ้น 3. การเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการคนไทยในเครือข่ายการผลิต • ผู้ประกอบการท้องถิ่นเหล่านี้โดยเฉพาะ SMEs ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจในวัฒนธรรมทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ • ดังนั้นการดำเนินนโยบายในลักษณะกระตุ้น SMEs ทั้งหมดพร้อมๆกันไม่น่าจะเกิดประสิทธิผล
แต่น่าจะจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ โดยควรเริ่มจากผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เคยทำงานกับบริษัทข้ามชาติทั้งที่เคยเป็นพนักงานในประเทศ หรือเคยมีกับบริษัทข้ามชาติในต่างประเทศเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ และนำกรณีที่ประสบความสำเร็จมาเป็น Demonstration Case ไปยังผู้ประกอบการรายอื่นๆ
โครงสร้างภาษีนำเข้ายังเป็นปัญหาทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศเข้าสู่เครือข่ายการผลิตได้ลำบาก • แม้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้ามาโดยตลอด แต่การออกแบบโครงสร้างภาษีนำเข้าในลักษณะนี้ต้องใช้ความรู้เชิงลึกในภาคอุตสาหกรรมอย่างมากและมีพลวัตที่สูง โอกาสผิดพลาดจึงอาจเกิดขึ้นตลอดเวลา • โครงสร้างภาษีนำเข้าดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ “มีศักยภาพแต่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่เครือข่ายการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีได้มาจากการสะสม หรือมีลักษณะเป็น Tacit Knowledge