1 / 6

การปรับตัวของชุมชนไทย ถิ่นที่อยู่อาศัย และการจัดการป่าไม้พื้นบ้าน โกมล แพรกทอง กลุ่มนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ส่วนวิจัยแล

การปรับตัวของชุมชนไทย ถิ่นที่อยู่อาศัย และการจัดการป่าไม้พื้นบ้าน โกมล แพรกทอง กลุ่มนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.

chanton
Download Presentation

การปรับตัวของชุมชนไทย ถิ่นที่อยู่อาศัย และการจัดการป่าไม้พื้นบ้าน โกมล แพรกทอง กลุ่มนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ส่วนวิจัยแล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปรับตัวของชุมชนไทยถิ่นที่อยู่อาศัยและการจัดการป่าไม้พื้นบ้านการปรับตัวของชุมชนไทยถิ่นที่อยู่อาศัยและการจัดการป่าไม้พื้นบ้าน โกมลแพรกทอง กลุ่มนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้กรมป่าไม้ การปรับตัวของชุมชนไทยกับถิ่นที่อยู่อาศัยได้ก่อให้เกิดระบบการจัดการป่าไม้พื้นบ้าน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอีกสาขาหนึ่งของไทยที่ได้ผ่านการแลกเปลี่ยนกลั่นกรองสะสมและถ่ายทอดต่อเนื่องกันมายาวนาน จากผลการซ้อนทับและปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในการจัดการป่าไม้ระหว่าง อารยธรรมต่างๆที่เคยรุ่งเรืองอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ที่เคยเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าของประเทศไทยเช่นการรักษาป่าต้นน้ำการทำเหมืองฝายในพื้นที่ต้นน้ำลำธารการปลูกไม้ไต้ร่มการทำไร่หมุนเวียนของอาณาจักรล้านนาของภาคเหนือการสร้างสวนสมรมในพื้นที่ภูเขาการจัดการป่าพรุการปลูกต้นไม้บนสันทรายของอาณาจักรศรีวิชัยในภาคใต้การรักษาป่าปู่ตาป่าบุ่งป่าทามในพื้นที่ของอาณาจักรเจนละในลุ่มน้ำมูลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือการรักษาต้นไม้ไว้ในนาของอาณาจักรทราวดีในภาคกลางเป็นต้นการจัดการป่าไม้พื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นยังคงหลงเหลือเป็นเอกลักษณ์ของการจัดการป่าไม้ของชุมชนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคนกับชุมชนป่า ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าเป็นการสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคนกับชุมชนป่าซึ่งในแต่ละระบบจะมีระบบความสัมพันธ์ภายในระบบของตนเองโดยชุมชนคนจะมีประชากรโครงสร้างทางสังคมปรัชญาชีวิตและเทคโนโลยีซึ่งมีการเชื่อมโยงกันภายใต้ระบบต่างๆเช่นการเมืองการปกครองการบริหารฯลฯในขณะเดียวกันระบบนิเวศเป็นการเชื่อมโยงระหว่างคนกับป่าที่มีการเชื่อมโยงภายใต้ระบบต่างๆเช่นวงจรสายโซ่อาหารวงจรแร่ธาตุชนิดต่างๆวงจรน้ำเป็นต้นในทั้งสองระบบจะมีการปรับตนเองเสมอเมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้นเพื่อสร้างเป็นจุดสมดุลใหม่การเชื่อมโยงกันระหว่างสังคมมนุษย์และระบบนิเวศได้ก่อให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานมวลสารและข้อมูลข่าวสารต่างๆระหว่างระบบสังคมมนุษย์และระบบนิเวศ (Rambo, 1984) และจะปรับตนเองเมื่อมีผลกระทบจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งเช่นจากสังคมมนุษย์ไปสู่ระบบนิเวศเช่นเมื่อมนุษย์เปิดพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเกษตรกรรมจะเกิดจากการกัดชะพังทลายของดินและน้ำท่วมฉับพลันย้อนกลับมาสร้างความเสียหายให้มนุษย์เป็นต้นดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องหาวิธีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อรักษาความสมดุลของระบบทั้งสองเช่นการเปิดป่าเพื่อการเกษตรกรรมจะ ต้องนำระบบวนเกษตรมาใช้ซึ่งจะไม่เป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์สังคมพืชและสังคมสัตว์เป็นต้น

  2. ถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชนกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชนกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย กับการปรับตัวของชุมชน ความสูง(เมตร) พื้นที่อนุรักษ์, ชุมชนชาวเขา, การใช้ที่ดินไฟป่า, การใช้น้ำ, ดินพังทลาย,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ป่าดิบเขา พื้นที่อนุรักษ์,ชุมชนตั้งใหม่, ป่าชุมชน, ไฟป่า,เกษตรทางเลือก, การใช้ที่ดิน, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนที่สูง 1,000 ป่าดิบชื้นบน ระบบนิเวศป่าบก แหล่งน้ำ, ป่าชุมชน ไฟป่า,ไม้ในนา, เกษตรทางเลือก ป่าเต็งรัง ชุมชนที่ดอน 700 เกษตรแผนใหม่ เกษตรธรรมชาติ การปลูกไม้ยืนต้น ต้นไม้กับลม ประชาคมชนบท, น้ำเสีย, ขยะ, ที่ดินสาธารณะ, ต้นไม้ในเขตหมู่บ้าน ประชาคมเมือง,อากาศ-น้ำเสีย, ขยะ, ที่ดินสาธารณะ,ต้นไม้ในเมือง ป่าผสมผลัดใบ พื้นที่อนุรักษ์,การพัฒนาอาชีพ,การท่องเที่ยว เชิงนิเวศ,การประมง,การทำนา, ต้นไม้กันลม ชุมชนน้ำฝน พื้นที่อนุรักษ์,การประมง, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ป่าชายเลน,ปะการัง การประมง, การทำนา, ต้นไม้กันลม ระบบนิเวศเกษตร 400 ป่าดิบแล้ง ชุมชนชลประทาน ป่าดิบชื้นล่าง ชุมชนชนบท ระบบนิเวศ เกษตร-อุตสาหกรรม ป่าพรุ ป่าสันทราย ชุมชนเมือง ป่าชายเลน ชุมชนพรุ ชุมชนสันทราย ชุมชนชายฝั่ง ระบบนิเวศ พื้นที่ชายฝั่ง ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่อนุรักษ์,การประมง, ปะการัง,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปะการังและหญ้าทะเล ที่มา: โกมล แพรกทอง (2543) ถิ่นที่อยู่อาศัย ชุมชนชาวเกาะ 1. ปัจจัยทางระบบนิเวศได้แก่ระบบนิเวศบกระบบนิเวศชุ่มน้ำและระบบนิเวศทะเลรวมทั้งการซ้อนทับระหว่างระบบนิเวศที่ทำให้ถิ่นที่อยู่อาศัยมีความสลับ ซับซ้อนยิ่งขึ้นเช่นพื้นที่รอยต่อพื้นที่ชุ่มน้ำฯลฯ 2. ปัจจัยของการพัฒนาของมนุษย์ ได้แก่ระบบป่าไม้ระบบป่าไม้-เกษตร ระบบเกษตร ระบบเกษตร-ป่าไม้ ระบบชานเมืองและระบบเมือง 3. ปัจจัยทางด้านชีวภาพได้แก่ป่าดิบเขาป่าดิบชื้นบนป่าผลัดใบป่าเต็งรังป่าดิบชื้นล่างป่าพรุป่าสันทรายป่าชายเลนและปะการังและหญ้าทะเล 4. ปัจจัยภูมิประเทศได้แก่ที่สูงที่ดอนที่ราบที่พรุที่สันทรายที่ชายเลนและที่เกาะริมทะเล 5. ปัจจัยการบริหารท้องถิ่นได้แก่ระบบการบริหารระดับชุมชนเมืองเช่นเทศบาลมหานครหรือระดับชุมชนชนบทเช่นองค์การบริหารส่วนตำบล 6. ปัจจัยการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรได้แก่ระบบเกษตรที่สูงระบบเกษตรที่ดอน ระบบเกษตรน้ำฝนและระบบเกษตรชลประทาน 7. ปัจจัยทางด้านทุนสังคมของชุมชนได้แก่ความเชื่อ ศรัทธาร่วมกันกลุ่มและเครือข่าย 8. ปัจจัยทางด้านการจัดการที่ดินป่าไม้ ได้แก่ ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าเอกชน ป่าชุมชน

  3. การปรับตัวของชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆการปรับตัวของชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆ จากการศึกษาการปรับตัวของชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนจำนวน 62 โครงการในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยภายใต้โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก/แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กของชุมชนโดยการสังเกตสัมภาษณ์ประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้รู้ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปผลการปรับตัวของชุมชนในถิ่นที่อาศัยต่างๆตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในถิ่นที่อยู่อาศัย10 แบบดังนี้ (โกมล, 2543 )

  4. ชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัยชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัย การจัดการป่าไม้พื้นบ้านในถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆ 4) เกษตรชลประทาน การปลูกต้นไม้ไม้กันลมตามแนวถนนตามคลองชลประทานรอบบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเดิมรอบสระน้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารและไม้ฟืนการจัดการป่าใช้สอยการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน 5) เขตชุมชนชนบท การปลูกป่าชุมชนสวนสาธารณะปลูกต้นไม้สองข้างถนนแหล่งน้ำสาธารณะปลูกต้นไม้ในสวนหลังบ้านการสร้างหมู่บ้านน่าอยู่ (Ecovillage) 6) เขตชุมชนเมือง การปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะแนวถนนแม่น้ำการปลูกต้นไม้ในวัดบ้านโรงเรียนการรักษาต้นไม้ใหญ่การปลูกต้นไม้ในวรรณคดีไม้ดอกหอมไม้มงคลการสร้างเมืองน่าอยู่ (Ecocity) 7) พื้นที่ชุ่มน้ำ การรักษาต้นไม้ในพรุการปลูกต้นไม้กันลมการจัดการต้นกระจูดการปลูกต้นสาคูการจัดการป่าใช้สอยการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน

  5. ชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัยชุมชนในถิ่นที่อยู่อาศัย การจัดการป่าไม้พื้นบ้านในถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆ 8) ชายฝั่ง การปลูกป่าชายเลนการรักษาป่าชายเลนการปลูกต้นไม้กันลมการจัดการป่าจากการจัดการป่าใช้สอยการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน 9) สันทราย การรักษาต้นตาลไว้ในนาเป็นแนวกันลม การจัดการป่าใช้สอยการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้านเพื่อการป้องกันลมและแหล่งอาหารการปลูกต้นไม้กันลมและไม้ฟืนการจัดการป่าใช้สอยการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน 10) หมู่เกาะ การอนุรักษ์หญ้าทะเลการปลูกต้นมะพร้าวการปลูกต้นไม้ผสมผสานการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำบนเกาะการจัดการป่าใช้สอยการอนุรักษ์ป่าของหมู่บ้าน

  6. เอกสารอ้างอิง 1.โกมลแพรกทอง 2543 ถิ่นที่อยู่อาศัยกับการปรับตัวของชุมชนในรายงานการประเมินผลและสรุปผลการสัมมนาโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมโครงการขององค์กรเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น 2544 2.โกมลแพรกทองอดิศรนุชดำรงค์สุชาติกัลยาวงศาและเตือนใจนุชดำรงค์ 2544 การประเมินการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ในประเทศไทยในการสรุปรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าในเขตร้อนและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงคณะอนุกรรมการประสานงานโครงการวิจัยฯสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ 3. Evan J. 1982. Plantation Forestry in the Tropics. Oxford University Press : Oxford 4. Smith M David. 1962. The Practice of Silviculture. John Wiley & Sons .Inc : New York. 5. Friedman Thomas L. 2000. The Lexus and Olive Tree. Harper Collins Publisher : London. 6. Toffler Alvin. 1980. The Third Wave. Bantam Books, :New York. 7.  Poplin, D.E. 1979 Communities: A Survey of Theories and Methods of Research, Macmillan Publishing Co. Inc, London. 8.  Hillerry Jr., G.A. 1955. Definition of Community: Areas of Agreement: Rural sociology 20, 118-119 9.  Rambo, A.T. 1984 Human Ecology Research by Social Scientist on Tropical Agroecosystem. In A.T. Rambo and P.E. Sajise, An Introduction to Human Ecology Research on Agricultural Sytem in Southeast Asia, University of Philippines at Los Bonos

More Related