570 likes | 1.78k Views
แม่เหล็กไฟฟ้า. 1. กฏของคูลอมบ์ 2. สนามไฟฟ้า 3. กฏของเกาส์ 4. ศักย์ไฟฟ้า 5. ความจุและไดอิเล็กทริก 6. สนามแม่เหล็ก 7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก 8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก 9. สมการแมกซ์เวล. เป็นแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุ q i. เป็นแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุ q i โดย q j.
E N D
แม่เหล็กไฟฟ้า 1. กฏของคูลอมบ์ 2. สนามไฟฟ้า 3. กฏของเกาส์ 4. ศักย์ไฟฟ้า 5. ความจุและไดอิเล็กทริก 6. สนามแม่เหล็ก 7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก 8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก 9. สมการแมกซ์เวล
เป็นแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุqiเป็นแรงลัพธ์ที่กระทำต่อประจุqi เป็นแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุqiโดยqj คือเวกเตอร์หนึ่งหน่วย มีทิศออกจาก qjไปยัง qi rij คือระยะห่างระหว่าง qiกับ qj 1. กฏของคูลอมบ์ สรุป • ประจุไฟฟ้าเหมือนกันผลักกัน ประจุไฟฟ้าต่างกันดูดกัน • ประจุไฟฟ้าหน่วยเล็กที่สุดในธรรมชาติคือประจุของอิเลคตรอน (ประจุลบ)หรือโปรตอน(ประจุบวก) ซึ่งมีขนาดเท่ากับ 1.6x10-19 C • กฎของคูลอมบ์ : ขนาดของแรงทางไฟฟ้า FEระหว่างประจุ q1และ q2ที่อยู่ห่างกันเป็นระยะทาง r • ระบบประจุn ตัวประจุ q1, q2,…,qnแรงลัพธ์ที่ประจุใดๆกระทำต่อประจุqiจะหาได้จากผลบวกเวกตอร์ของแรงระหว่างประจุแต่ละคู่ตามสมการ แรง Fijเป็นบวก จะเป็นแรงผลัก แรง Fijเป็นลบ จะเป็นแรงดูด
q1 - r31 q2 q3 - + r32 กฎของคูลอมบ์ยังอธิบายได้อีกว่า แรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกระทำกันเป็นคู่ๆ แม้ว่าจะมีประจุอื่นๆ มาวางอยู่ใกล้ก็ตาม แสดงว่าแรงกระทำระหว่างประจุคู่หนึ่งจะไม่เปลี่ยนเลย เมื่อมีประจุที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือ ไม่ว่าระบบจะประกอบด้วยประจุไฟฟ้าจำนวนเท่าใดก็ตาม กฎของคูลอมบ์สามารถใช้คำนวณหาแรงระหว่างประจุทุกๆ คู่ได้ เช่น ถ้าประจุ q1, q2 และ q3 อยู่ในตำแหน่งใดๆ ดังรูป แรงที่กระทำบน q3 เนื่องจาก q1และ q2จะหาได้จากผลรวมแบบเวกเตอร์ระหว่างแรง และ แรงผลัก แรงดูด
2. สนามไฟฟ้า สรุป • เมื่อนำประจุทดสอบ q0 วางในสนามไฟฟ้า ความเข้มสนามไฟฟ้า E ณ จุดใดๆ โดยมีประจุ q เป็นแหล่งกำเนิด ซึ่งอยู่ห่างจากจุดนั้นเป็นระยะทาง r คือ : …แหล่งกำเนิดเป็นจุดประจุ q • ความเข้มสนามไฟฟ้าสำหรับแหล่งกำเนิดเป็นกลุ่มประจุคือ : • ความเข้มสนามไฟฟ้าสำหรับแหล่งกำเนิดมีประจุกระจายอย่างเอกรูปคือ : • เมื่อประจุไฟฟ้า q มวล m วิ่งในสนามไฟฟ้า อัตราเร่งของประจุไฟฟ้าคือ :
สนามไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุ q สนามไฟฟ้าตัวนำทรงกลมกลวงรัศมี a E = 0 (ภายในทรงกลม r < a) (ภายนอกทรงกลม r >= a) เมื่อ r คือระยะวัดจากจุดศูนย์กลางทรงกลม
3. กฏของเกาส์ สรุป - ฟลักซ์ไฟฟ้า คือ จำนวนเส้นสนามไฟฟ้าที่พุ่งผ่านพื้นผิวที่ตั้งฉากผืนหนึ่ง ดังนั้น ฟลักซ์ไฟฟ้าเป็นสัดส่วนตรงกับจำนวนของเส้นสนามไฟฟ้าที่ตั้งฉากกับพื้นผิว - ถ้าสนามไฟฟ้าเอกรูป ทิศของสนามไฟฟ้าที่ทำมุม กับเส้นปกติของพื้นที่ผิว A แล้วฟลักซ์ไฟฟ้ามีค่าเท่ากับ - โดยทั่วไป ฟลักซ์ไฟฟ้าที่ผ่านพื้นผิวอันหนึ่ง จะมีค่าเท่ากับ - กฎของเกาส์กล่าวว่าฟลักซ์ไฟฟ้าสุทธิ ที่ผ่านผิวปิดของเกาส์จะเท่ากับประจุไฟฟ้าสุทธิภายในหารด้วย
ตาราง สูตรคำนวณสนามไฟฟ้าโดยใช้สูตรของเกาส์ การกระจาย สนามไฟฟ้า ตำแหน่ง ทรงกลมฉนวนรัศมี R มีประจุไฟฟ้รวม Q kEQ/r2 r > R และมีความหนาแน่นเอกรูป kEQr/R3 r < R ทรงกลมกลวงเปลือกบางรัศมี RkEQ/r2 r > R และมีประจุรวม Q 0 r < R เส้นประจุบนฉนวนยาวอนันต์ ภายนอกเส้นฉนวน มีความหนาแน่นประจุไฟฟ้าเชิงเส้น แผ่นฉนวนแบบราบบาง ใหญ่อนันต์ ทุกที่ภายนอกแผ่นฉนวน และมีความหนาแน่นประจุไฟฟ้าเชิงพื้นผิว แผ่นตัวนำราบบาง ใหญ่อนันต์ ภายนอกแผ่นตัวนำ ที่มีความหนาแน่นประจุไฟฟ้าเชิงพื้นผิว 0 ภายในตัวนำ
สรุป 4. ศักย์ไฟฟ้า 1. เมื่อประจุ q0 เคลื่อนที่ระหว่างจุด A กับ B ในสนามไฟฟ้า Eพลังงานศักย์ที่เปลี่ยนไปคือ 2. ความต่างศักย์ V ระหว่างจุด A กับ B ในสนามไฟฟ้า E คือ 3. ความต่างศักย์ระหว่างจุด A กับ B ในสนามไฟฟ้าเอกรูป เมื่อ d เป็นระยะระหว่างA กับ B วัดตามแนวสนาม: V= -Ed 4. ผิวสมศักย์ คือ ผิวที่ทุกจุดบนผิวนั้นมีศักย์ค่าเดียวกัน ผิวสมศักย์จะตั้งฉากกับสนามไฟฟ้า 5. ศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุ q ณ ตำแหน่งที่ห่างจากจุด q เป็นระยะ r คือ V = kEq/r ถ้าเป็นศักย์เนื่องจากกลุ่มของประจุ จะหาได้จากการรวมกันทาง พีชคณิตของศักย์อันเนื่องจากแต่ละจุดประจุ
6. พลังงานศักย์ของประจุจุดคู่หนึ่งที่วางห่างกันเป็นระยะ r12 คือU = kEq1q2/r12พลังงานศักย์ของประจุที่กระจาย หาได้จากการ รวมกันทางพีชคณิตของคู่ประจุทุกคู่ 7. ถ้ารู้ศักย์ไฟฟ้าในเทอม x, y, z เราสามารถหาองค์ประกอบ ของสนามไฟฟ้าได้ เช่น Ex = - dV/dx 8. ศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากประจุกระจายอย่างต่อเนื่อง ทุกจุดบนผิวตัวนำที่มีประจุและมีความสมดุลทางไฟฟ้าสถิต จะมีศักย์เท่ากัน และที่จุดภายในเนื้อของตัวนำจะมีศักย์คงที่และค่า เดียวกับที่ผิวตัวนำ
9. ศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากจุดประจุกระจายเป็นวงแหวนรัศมี a ที่จุดเป็นแนวแกน ห่างจากศูนย์กลางของวงแหวนเป็นระยะ x คือ 10. ศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากประจุกระจายเป็นแผ่นจานกลมรัศมี a ที่จุดบนแกน ของจานห่างจากจานเป็นระยะ x คือ 11. ศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากประจุกระจายเป็นทรงกลมตันที่เป็นฉนวนรัศมี R มีประจุทั้งหมด Q คือ
สรุป 5. ความจุไฟฟ้าและไดอิเล็กทริก ความเร็วของประจุ ประจุ +q เคลื่อนที่จากจุด A ไปยังจุด B พลังงานศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ พลังงานศักย์ไฟฟ้าที่ลด = พลังงานจลน์ที่เพิ่มขึ้น v = ความเร็วของประจุ (m/s) ความจุไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า หมายถึง ความสามารถในการกักเก็บประจุไฟฟ้าของวัตถุ วัตถุที่สามารถรับประจุได้มากแต่ทำให้ศักย์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นน้อย แสดงว่าวัตถุนั้นมีความจุไฟฟ้ามาก ความจุไฟฟ้า C คืออัตราส่วนระหว่างประจุไฟฟ้า Q กับความต่างศักย์ V C = ความจุไฟฟ้า (F) Q = ปริมาณประจุไฟฟ้า (C) V = ศักย์ไฟฟ้า (V) สัญญลักษณ์ตัวเก็บประจุไฟฟ้า
ความจุไฟฟ้าของวัตถุรูปทรงต่างๆความจุไฟฟ้าของวัตถุรูปทรงต่างๆ 1.ทรงกลม ความจุไฟฟ้าของทรงกลมรัศมี R จะแปรผันตามรัศมีของทรงกลม ดังนั้นตัวนำทรงกลมใหญ่จะมีความจุมากกว่าตัวนำทรงกลมเล็ก C = ความจุไฟฟ้า (F) R = รัศมีของทรงกลม (m) kE = ค่าคงที่ = 1/40 และ 2. แผ่นโลหะที่ขนานกัน ความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุแบบแผ่นตัวนำขนานที่อยู่ห่างกันเป็นระยะ d และมีพื้นที่ของแผ่นตัวนำเป็น A C = ความจุไฟฟ้า (F) Q = ประจุไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำ (C) V = ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นทั้งสอง (V) A = พื้นที่ของแผ่นโลหะ(m2) d = ระยะระหว่างแผ่นโลหะ (m) = Permittivity Constant = 8.85x10-12 C2/N.m2
3.ทรงกระบอกสองชั้น ความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุแบบบทรงกระบอกที่มีความยาว L มีทรงกระบอกภายในรัศมี a และทรงกระบอกกลวงบางรัศมี b มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน 4. ทรงกลมสองชั้น ความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุแบบบทรงกลมที่มีรัศมีทรงกลมเล็กเป็น a และรัศมีทรงกลมกลวงบางเป็น b พลังงานที่สะสมในตัวเก็บประจุ(U) มีหน่วยเป็นจูล(J)
C2 C3 C1 • • • • B Q2 C Q3 D Q4 A Q1 Q1 C1 Q1 C1 Q1 C1 A B การต่อตัวเก็บประจุ Q = Q1 = Q2 = Q3 1. แบบอนุกรมประจุ Q แต่ละตัวจะเท่ากันคือ 2. แบบขนานความต่างศักย์ระหว่างแต่ละตัวจะเท่ากันคือ V = V1 = V2 = V3 Q = Q1 + Q2 + Q3 CeqVAB = C1VAB + C2VAB + C3VAB Ceq = C1 + C2 + C3
ไดอิเลกตริก ไดอิเลกตริก (Dielectric) คือวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า ถ้าใช้กั้นระหว่างแผ่นตัวนำของตัวเก็บประจุ จะทำให้ค่าความจุสูงขึ้น ขึ้นกับค่าคงที่ของไดอิเลกตริก k C = kC0 ข้อดีของไดอิเลกตริก • เพิ่มค่าความจุ • เพิ่มโวลท์ใช้งานสูงสุด • กันไม่ให้ตัวนำแตะกัน
มีหน่วยเป็น Wb/m2 เรียกว่าเทสลา (tesla; T) สรุป 6. สนามแม่เหล็ก • แรงแม่เหล็กที่กระทำบนประจุ q ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ในสนามแม่เหล็ก คือ ขนาดของแรงนี้คือ FB = qvB sin เมื่อ เป็นมุมระหว่าง และ T =Wb/m2 =N/A.m • ในกรณีที่อนุภาคประจุไฟฟ้า q เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เข้าไปในบริเวณที่มี ทั้งสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก แรงลัพธ์ ที่กระทำบนประจุ q หา ได้ตามสมการลอเรนซ์ คือ
เมื่อ คือเวกเตอร์ที่ชี้ในทิศการไหลของกระแสไฟฟ้า I มีขนาดเท่ากับความยาว L ของตัวนำ • ตัวนำยาว L ที่มีกระแสไฟฟ้าไหล I และวางอยู่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ ตัวนำนี้จะถูกสนามแม่เหล็กกระทำด้วยแรง • สำหรับตัวนำเส้นลวดใดๆ ที่มีกระแส I ไหลผ่านและวางอยู่ในสนาม แม่เหล็กที่สม่ำเสมอ แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อความยาวน้อยๆ ของลวดตัวนำ คือ และแรงลัพธ์ ที่สนามแม่เหล็ก กระทำบนลวดตัวนำทั้งหมด คือ Note ถ้าเป็นเส้นลวดโค้งเชื่องต่อกันเป็นลูปปิด แรงแม่เหล็กจะเป็นศูนย์
โมเมนต์แม่เหล็ก ของวงกระแส คือ มีหน่วยเป็น A.m2 • เมื่อ คือพื้นที่ของวงกระแสและมีทิศตั้งฉากกับระนาบของวงกระแส • ทอร์ก ที่กระทำบนวงกระแส เมื่อวงกระแสวางอยู่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ เป็น • ถ้าอนุภาคไฟฟ้ามวล m ที่มีประจุ q เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กที่ สม่ำเสมอ B และความเร็วต้น v มีทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กแล้ว อนุภาคจะเคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยระนาบการเคลื่อนที่จะตั้งฉากกับทิศ ของสนามแม่เหล็ก โดยวงโคจรมีรัศมี r เป็น ความถี่เชิงมุมของการหมุนของอนุภาคนี้จะได้
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนราบที่วางอยู่ในสนามแม่เหล็ก B จะเกิด ปรากฏการณ์ฮอล(Hall Effect) และวัดความต่างศักย์ตามขวางในแถบตัวนำซึ่งเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้าของฮอล (Hall Voltage) ได้เป็น VH = vdBd ให้ n เป็นจำนวนพาหะไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร และ A เป็นพื้นที่หน้าตัดของแถบตัวนำแล้วจะได้ เมื่อให้พื้นที่ A = td เมื่อ t เป็นความหนา และ d เป็นความกว้างของแถบตัวนำแบน แล้วจะได้ และสัมประสิทธิ์ของฮอล (Hall Coefficient) จะได้
สรุป 7. แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก เมื่อ0 = เป็นค่าความซาบซึมได้ของสูญญากาศ = 4 x10-7 Wb/A.m … (1) • กฎของ Biot-Savart คือ กฎนี้ใช้สำหรับหาสนามแม่เหล็กที่จุด P ห่างจากตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าสม่ำเสมอ I เป็นระยะทาง r • สนามแม่เหล็กรวมทั้งหมดที่จุด P หาได้จากการอินทิเกรทสมการ (1) ตลอดความยาวของตัวนำ นั่นคือ … (2) • สนามแม่เหล็กที่ระยะทาง a จากเส้นลวดยาวตรงและมีกระแส ไฟฟ้าสม่ำเสมอ I ในเส้นลวดคือ … (3)
แรงแม่เหล็กต่อหนึ่งหน่วยความยาวระหว่างตัวนำคู่ขนานที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทาง a และมีกระแสไฟฟ้า I1และ I2 ในตัวนำ จะมีค่าเท่ากับ … (4) จะเป็นแรงดูดถ้ากระแสในตัวนำทั้งสองมีทิศเหมือนกัน และจะเป็นแรงผลักถ้ากระแสในตัวนำทั้งสองมีทิศตรงข้ามกัน • กฎของแอมแปร์ แถลงได้ว่า อินทิกรัลเชิงเส้นของ รอบเส้นทาง ปิดใดๆ จะเท่ากับ 0I นั่นคือ … (5) เมื่อ I คือกระแสไฟฟ้ารวมสม่ำเสมอที่ไหลผ่านพื้นผิวที่ล้อมรอบด้วยเส้นทางปิด (closed path)
ใช้กฎของแอมแปร์ หาค่าสนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์และโซลีนอยด์แล้วจะได้ • สำหรับสนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์ คือ • สำหรับสนามแม่เหล็กภายในโซลีนอยด์ คือ เมื่อ n = N/L , N = จำนวนรอบของขดลวด • ฟลักซ์แม่เหล็ก B ที่ผ่านพื้นผิวใดๆ นิยามโดยใช้อินทิกรัลเชิงผิวดังนี้ … (6)
9. สมการแมกซ์เวล สรุป • สมการแมกซ์เวล เมื่อนำมารวมกันสามารถอธิบาย ปรากฏการณ์ทางแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ซึ่งมี 4 สมการ ดังนี้ (1) กฏของเกาส์สำหรับไฟฟ้า (2) กฏของเกาส์สำหรับแม่เหล็ก (3) กฏของฟาราเดย์ (4) กฏของแอมแปร์-แมกซ์เวล
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำนายด้วยสมการของแมกซ์เวล มีสมบัติ ดังนี้ • สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจะสอดคล้องกับสมการคลื่น ซึ่งจะพิสูจน์ได้ จากสมการที่ 3 และ 4 ของแมกซ์เวล คือ • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางในสูญญากาศหรือบริเวณที่ว่างเปล่ามีค่าเท่ากับ ความเร็วแสง c เมื่อ • สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะตั้งฉากกันและต่าง ก็ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ซึ่งกล่าวได้ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นตามขวาง • ขนาดของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คือ E และ B ในขณะหนึ่งๆ ของ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะสัมพันธ์กันตามสมการ E/B = c
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาเอาพลังงานติดตัวไปด้วย อัตราการไหลของพลังงานผ่าน หนึ่งหน่วยพื้นที่ กำหนดด้วย Poynting Vector S ในแนวตั้งฉากกับผิวอย่าง สมบูรณ์ ความดันของรังสีคลื่นคือ • P = S/c …… (Complete Absorbtion) • ถ้าพื้นผิวสะท้อนคลื่นอย่างสมบูรณ์ ความดันจะเป็น 2 เท่า • สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของคลื่นไซน์ที่เป็นคลื่นระนาบที่เดินทางในแนวแกน x เขียนได้เป็น • E = Emax cos (kx- t) • B = Bmax cos (kx- t) • เมื่อ คือ ความถี่เชิงมุม และ k คือ เลขคลื่นเชิงมุม สมการนี้คือ solution ของสมการคลื่นสำหรับ E และ B • เมื่อ = 2fและ k = 2/ เมื่อ f คือความถี่ (Hz) และ คือ ความยาวคลื่น (m) จะพบว่า/k = f = c
ค่าเฉลี่ยของ Poynting vector สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นคลื่น ระนาบ จะมีขนาด • ความเร็วเฉลี่ยของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นคลื่นไซน์มีค่าเท่ากับ ค่าเฉลี่ยของ Poynting vector ใน 1 คาบคือหลายคาบ • สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลอบคลุมช่วงของความถี่และ ช่วงของความยาวคลื่นที่กว้างมาก ความถี่และความยาวคลื่นจะ สัมพันธ์กันตามสมการ c=f
เอกสารประกอบการค้นคว้าเอกสารประกอบการค้นคว้า ภาควิชาฟิสิกส์. เอกสารประกอบการสอนฟิสิกส์เบื้องต้น, คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาฟิสิกส์. ฟิสิกส์2, คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย D.C. Giancoli. Physics Principles with Applications, 3rded., Prentic-Hall, ISBN: 0-13-666769-4, 1991. D. Halliday, R.Resnick and K.S. Krane. Volume Two extended Version Physics, 4th ed., John Wiley & Sons, 1992. R.A.Serway, Physics for Scientists & Engineers with Modern Physics, 4th ed., 1996. http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/howstuffwork/electro-mag/electro-magthai1.htm http://www.skn.ac.th/skl/skn422/file/field.htm http://www.physics.uoguelph.ca/tutorials/tutorials.html http://www.thinkquest.org/library/site_sum.html?tname=10796&url=10796/index.html http://www.launc.tased.edu.au/online/sciences/physics/tutes1.html http://www.colorado.edu/physics/2000/index.pl http://www.dctech.com/physics/tutorials.php http://www.physics.sci.rit.ac.th