1 / 20

หน่วยตรวจสอบภายใน

หน่วยตรวจสอบภายใน. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. โครงการพัฒนาหน่วยรับตรวจ เรื่อง การจัดทำรายงานการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2524. โดยนางสาวจริยา สุทธิเดช หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน. การตรวจสอบภายใน คืออะไร.

Download Presentation

หน่วยตรวจสอบภายใน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยตรวจสอบภายใน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โครงการพัฒนาหน่วยรับตรวจ เรื่อง การจัดทำรายงานการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ พ.ศ.2524 โดยนางสาวจริยา สุทธิเดช หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน

  2. การตรวจสอบภายใน คืออะไร การตรวจสอบภายใน คือ กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม และเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น และช่วยให้ส่วนราชการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการ บริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ

  3. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายในวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน คือ การปฏิบัติงานโดยอิสระปราศจากการแทรกแซง ในการทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร ด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ ประเมิน ให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ เพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานทุกระดับขององค์กร สามารถปฏิบัติหน้าที่และดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  4. ความสำคัญของการตรวจสอบภายในความสำคัญของการตรวจสอบภายใน 1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใส ในการปฏิบัติงาน (Transparency) 2. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชีและรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) ทำให้ส่วนราชการได้ข้อมูลหรือรายงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ

  5. ความสำคัญของการตรวจสอบภายในความสำคัญของการตรวจสอบภายใน • ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน (Efficiency and Effectiveness of Performance) ของส่วนราชการซึ่งจะทำให้มีทิศทางมุ่งสู่ประโยชน์ และเป้าหมายโดยรวม • ให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) และสามารถตรวจสอบได้

  6. ความสำคัญของการตรวจสอบภายในความสำคัญของการตรวจสอบภายใน • เป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอำนาจ (Check and Balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรร การใช้ทรัพยากรของส่วนราชการเป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุด • 6. ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบหรือการทุจริตในส่วนราชการ ลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จของงาน

  7. ขอบเขตของงานตรวจสอบภายในขอบเขตของงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 1. การสอบทานความเชื่อถือได้และความสมบูรณ์ของสารสนเทศ ด้านการบัญชี การเงิน และการดำเนินงาน 2. การสอบทานให้เกิดความมั่นใจว่าระบบที่ใช้เป็นไปตามนโยบาย แผน และวิธีปฏิบัติงาน ที่องค์กรกำหนดไว้ และควรแสดงผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้น 3. การสอบทานวิธีการป้องกันดูแลทรัพย์สินว่าเหมาะสม และสามารถพิสูจน์ความมีอยู่จริง ของทรัพย์สินเหล่านั้นได้

  8. ขอบเขตของงานตรวจสอบภายในขอบเขตของงานตรวจสอบภายใน 4. การประเมินการใช้ทรัพยากรว่าเป็นไปโดยความประหยัดและมีประสิทธิภาพ5. การสอบทานการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ว่าได้ผลตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมถึงความคืบหน้าตามแผนงานที่กำหนดไว้6. การสอบทานและประเมินผลความเหมาะสมและความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในขององค์กร

  9. ประเภทของการตรวจสอบภายในประเภทของการตรวจสอบภายใน 1. การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing)2. การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing)3. การตรวจสอบการบริหาร (Management Auditing)4. การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Auditing)5. การตรวจสอบระบบงานสารสนเทศ (Information System Auditing)6. การตรวจสอบพิเศษ (Special Auditing)

  10. งานตรวจสอบภายใน • แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ • การให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service) • การให้คำปรึกษา (Consulting Service)

  11. การให้ความเชื่อมั่น-บทบาททั่วไปการให้ความเชื่อมั่น-บทบาททั่วไป • ประกอบด้วย • การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Audit) • การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Audit) • การตรวจสอบระบบงานสารสนเทศ (Information System Auditing)

  12. ให้เกิดความมั่นใจในความถูกต้องและเชื่อถือได้ของให้เกิดความมั่นใจในความถูกต้องและเชื่อถือได้ของ ข้อมูลทางการบัญชีและการเงิน รายงานผลการดำเนินงาน รายงานการเงิน การใช้ทรัพยากร 3Es

  13. การให้ความเชื่อมั่น-บทบาทพิเศษการให้ความเชื่อมั่น-บทบาทพิเศษ • ประกอบด้วย • การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing) • การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง (Performance Auditing) • การตรวจสอบพิเศษ หรือ การตรวจสอบสืบสวน (Special • Auditing or Investigative Auditing)

  14. ให้คำปรึกษา การให้คำแนะนำ และให้บริการ ที่เกี่ยวข้องแก่องค์กร ลักษณะและขอบเขตของงานเป็นไปตามความตกลงร่วมกัน เพิ่มคุณค่า และปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์การ ตัวอย่างเช่น การให้คำปรึกษา คำแนะนำ การอำนวยความสะดวก การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานการฝึกอบรม และการพัฒนาระบบงาน

  15. ความสัมพันธ์อันดีกับ Audit Commitee การขอให้สำนักตรวจสอบภายในตรวจสอบเฉพาะกิจเกินแผนปกติให้แจ้ง Audit Committee และรายงานประชุมร่วม

  16. งานตรวจสอบภายในให้อะไรแก่องค์กรงานตรวจสอบภายในให้อะไรแก่องค์กร • สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริหารต่อการดำเนินงานของส่วนต่าง ๆ ภายในองค์กรว่าเป็นไปอย่างมีคุณภาพ คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ • ให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง • 3. ผู้บริหารสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

  17. บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่ 1. การพัฒนางานให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหาร เน้น การตรวจสอบเพื่อการบริหาร ผู้ตรวจสอบภายในต้องคิดเยี่ยงผู้บริหาร 2. การตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยง ผู้ตรวจสอบภายในต้องเลือกกิจกรรม การตรวจสอบในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงก่อนรวมทั้งวางแผนและกำหนดเทคนิคการตรวจสอบที่เหมาะสม

  18. บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่ • การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีการประชุม ประสานกันระหว่างผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้ตรวจสอบภายนอก ทั้งในการวางแผนและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับผลการตรวจสอบ อันมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร 4. การตรวจสอบในเชิงรุกแบบก้าวหน้าและสร้างสรรค์ผู้ตรวจสอบภายในทำหน้าที่ในการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดสิ่งที่ดี สนับสนุนการป้องกันปัญหาโดยการปลุกจิตสำนึกการควบคุมภายใน ด้วยตนเองของบุคลากรภายในองค์กร

  19. บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่ 5. การใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศสมัยใหม่ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัย เพื่อนำมาใช้ช่วยปฏิบัติงานของตน เช่น การสืบค้นติดตามสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต การใช้โปรแกรมและเครื่องมือการตรวจสอบที่ทันสมัย การจัดทำฐานข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิงเปรียบเทียบ และความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

  20. Learn to walk before you run. “เรียนด้วยการก้าวไปก่อนที่จะวิ่ง” หน่วยตรวจสอบภายใน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา http://iau.vec.go.th

More Related