1 / 21

ยุคของคอมพิวเตอร์ (2)

ยุคของคอมพิวเตอร์ (2). คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม ( พ.ศ. 2508 - 2512 ).

chaim
Download Presentation

ยุคของคอมพิวเตอร์ (2)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุคของคอมพิวเตอร์ (2)

  2. คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม ( พ.ศ. 2508 - 2512 ) • การปฏิบัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกและครั้งสำคัญเริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี ได้แก่ การคิดค้นวงจรรวม” (Integrated Circuit) หรือ IC ซึ่งได้แก่ สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ชิ้นเล็กๆ ที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะ (Losic circuit) ไว้ได้หลายวงจร วงจรเหล่านี้จะถูกพิมพ์ลงบนซิลิกอน (Silicon) และเราเรียกมันว่า “ชิป” (Chip)

  3. พ.ศ. 2507 IBM system 360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง • เริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น

  4. IBM System 360

  5. ตัวอย่างของภาษา FORTRAN READ X IF((X.GT.0) .AND. (X.LT.100)) THEN PRINT *, ‘VALUE OF X IS :’,X ELSE PRINT * , ‘X IS NOT BETWEEN 0 AND 100’

  6. ในปี ค.ศ. 2508 บริษัท Digital Equipment Corporation (DIC) ได้เปิดตัวมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรกออกมาด้วยขนาดและราคาที่ย่อมเยากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เพื่อมุ่งหวังจะให้เป็นรุ่นที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก อย่างไรก็ดีแนวการออกแบบมินิคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การที่ผู้ใช้สามารถทำงานโต้ตอบกับระบบได้หลายๆ คนพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างระบบได้อีกด้วย และมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8

  7. PDP-8 Mini Computer

  8. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า) • ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

  9. คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ. 2513 - 2532) • IC ได้ถูกพัฒนาให้มีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากบรรจุทรานซิสเตอร์ไม่กี่ร้อยตัว เป็นหลายพันหลายหมื่นตัว ซึ่งเรียกว่า LSI (Large Scale Integrated Circuit: ภายในมีทรานซิสเตอร์มี 1000 ตัว ต่อชิพหนึ่งตัว) และ VLSI (Large Scale Integrated Circuit: ภายในมีทรานซิสเตอร์ 100,000 ตัว ต่อชิพหนึ่งตัว) เมื่อมีการใช้ LSI และ VLSI สามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)

  10. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกได้แก่ Altair 8800 ซึ่งจำหน่ายออกมาในรูปแบบของชุดเครื่องที่ผู้ใช้จะต้องนำมาประกอบและโปรแกรมให้ทำงานเอง ต่อมาในปี ค.ศ. 2520 Stephen wozniakและ Steven Jobs ได้เปิดตัวเครื่อง Apple ในขณะเดียวกันกับที่บริษัท Radio shack ได้แนะนำเครื่อง TRS-80 ออกสู่ท้องตลาด เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) จอภาพและภาษาโปรแกรมต่างๆ

  11. นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาภาษา C และระบบปฏิบัติการ UNIX โดยเค็นทอมสัน (Ken Thompson) และเดนนิสริชชี (Dennis Ritchie) ในห้องปฏิบัติการ Bell ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมาก พวกเขาได้ใช้ภาษา C ที่สร้างขึ้น สร้างระบบปฏิบัติการ UNIX สำหรับเครื่อง DEC PDP-11 จากนั้น UNIX ก็เป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอิสระ จากการที่ต้องเรียนรู้ระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่จะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่

  12. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก • มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

  13. คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย ( พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน) • วงจรวีแอลเอสไอ ได้รับการพัฒนาให้มีความหนาแน่นของจำนวนทรานซิสเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันสามารถผลิตจำนวนทรานซิสเตอร์ลงในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กได้มากกว่า สิบล้านตัว ทำให้วงจรหน่วยประมวลผลกลางมีขีดความสามารถมากขึ้น

  14. เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผลและการจัดการข้อมูลก็ทำได้มาก สามารถประมวลผลและแสดงผลได้ครั้งละมากๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Multitasking) ดังจะเห็นได้จากโปรแกรมระบบปฏิบัติการเภทวินโดวส์และยังมีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร มีการทำงานเป็นกลุ่ม (Work group) โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า (Local Area Network : LAN) เมื่อเชื่อมการทำงานหลายๆกลุ่มองค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) และหากนำเครือข่ายองค์การเชื่อต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลกก็เรียกว่าอินเตอร์เน็ต (Internet)

  15. คอมพิวเตอร์ในยุคที่ห้านี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล

  16. องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ • ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or RobotarmSystem)คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น

  17. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น • การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

  18. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น

More Related