1.18k likes | 1.45k Views
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ นครราชสีมา.
E N D
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้
ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบเครือข่ายประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบเครือข่าย • การแบ่งกันใช้ข้อมูล • เพื่อให้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ • เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบประมวลผล มีการสำรองข้อมูลตลอดเวลา • เพื่อให้สามารถประมวลผลแบบกระจาย • เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากร • เพื่อใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
1. LAN (Local Area Network)2. MAN (Metropolitan Area Network)3.WAN (Wide Area Network) ประเภทของระบบเครือข่าย
LAN (Local Area Network) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน เช่น การเชื่อมต่อในตึกเดียวกัน หรือห้องเดียวกัน การเชื่อมต่อในมหาวิทยาลัย การเชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆ โดยส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสารกัน โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อกันอยู่นั้นสามารถที่จะแบ่งกันใช้ข้อมูล สามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ รวมทั้งยังสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้
MAN (Metropolitan Area Network) เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อกัน มักจะเป็นบริษัทหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น
WAN (Wide Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ เป็นการใช้หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น สำนักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ Tokyo โดยการเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยการใช้ ATM, DSL, ISDN หรือ อื่นๆ แต่การเชื่อมต่อจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อต่ำกว่าการเชื่อมต่อแบบ LAN
อาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะเป็นในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควรจะเกิน 10 เครื่อง
ลักษณะการทำงาน การทำหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องของระบบเน็ตเวิร์คเป็นสำคัญ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Peer to Peer Networkเป็นลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียม กันหมด (Peer) ไม่มีเครื่องไหนทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางของเน็ตเวิร์คเครื่องทุกเครื่องเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ถูกใช้ สามารถเป็นได้ทั้ง Client และ Server ไม่มีเครื่องไหนมีหน้าที่ดูแลจัดการระบบทั้งหมด เป็นต้นว่าการแชร์ทรัพยากรจะทำอย่างไร ใครเป็นผู้ดูแล ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลและทรัพยากรของตัวเอง
2. Client-Serverในกรณีที่องค์กรของเรามีผู้ใช้เครื่อง มากกว่า 15-20 เครื่อง ระบบเน็ตเวิร์คแบบ peer to peer จะไม่เหมาะสม เราควรเลือกใช้ระบบ client-server จะเหมาสมกว่าเพราะมีความสามารถในการดูแลควบคุมการใช้งานของระบบเน็ตเวิร์คที่มีผู้ใช้จำนวนมากได้ดีกว่า ระบบเน็ตเวิร์คแบบนี้จะเป็นระบบที่มีศูนย์กลาง มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ อำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล รักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ มีหน้าที่คล้ายๆเป็นหัวหน้ากลุ่ม เราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ ว่า server ส่วนเครื่องที่เหลือในระบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เราเรียกว่าclient หรือ workstation เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบ ที่ทำหน้าที่รับบริการจากเครื่อง server ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานทุกอย่างของเน็ตเวิร์ค เช่นของมูลเครื่องพิมพ์จะถูกดูแล และ แชร์โดยเครื่อง server อุปกรณ์ทุกอย่างจะถูกเชื่อมต่อโดยตรง เครื่อง client ทุกเครื่องจะใช้งานทรัพยากรต่างๆ ผ่านทาง server
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบ่งตามสื่อได้ 2 ประเภทคือ • Ethernet / Fast Ethernet / Gigabit Ethernet LAN • Wireless LAN
Ethernet / Fast Ethernet / Gigabit Ethernet LAN การเชื่อมต่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ LAN ในปัจจุบัน โดยมีอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10 Gbpsโดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือ สาย Fiber optic • ระยะทางและความเร็วในการเชื่อมต่อแบบ Ethernet
ตัวอย่างอุปกรณ์ Ethernet Ethernet Card Fiber Optic UTP
Wireless LAN รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดไว้ • มาตรฐานการใช้งาน Wireless ในประเทศไทย • IEEE 802.11 ความถี่ 2.4~2.5GHz ความเร็วโดยรวม 2Mbps • IEEE 802.11b ความถี่ 2.4~2.5GHz ความเร็วโดยรวม 11Mbps / 22Mbps • IEEE 802.11a ความถี่ 5.15~5.35GHz, 5.47~5.725GHz ความเร็วโดยรวม มากที่สุด 54Mbps • IEEE 802.11g ความถี่ 2.4~2.5GHz ความเร็วโดยรวม 54Mbps • IEEE 802.11nความถี่ 2.4GHz / 5GHz ความเร็วโดยรวม 300Mbps
วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบ่งได้ดังนี้วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบ่งได้ดังนี้ • การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค(Ad-Hoc) คือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองตัวขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Access Point
การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง คือ การติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access Point) เป็นศูนย์กลาง โดยแต่ละเครื่องสามารถเชื่อมต่อสู่เครือข่ายภายนอกได้ผ่านทาง Access Point
หมายถึงรูปแบบในการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ สายเคเบิ้ล และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อที่จะให้ข้อมูลได้ทำงานตามทิศทางที่เราได้กำหนดไว้ โครงสร้างเน็ตเวิร์คที่ต่างกันมีความต้องการด้านอุปกรณ์ต่างๆ เช่นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ รูปแบบของระบบเครือข่าย
รูปแบบของระบบเครือข่ายรูปแบบของระบบเครือข่าย • Mesh • Bus • Star • Tree • Ring
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Mesh (Full Mesh)
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Mesh • ข้อดี • ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสามารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ • ข้อเสีย • สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆ • ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยน และบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus • เป็นเน็ตเวิร์คที่ง่ายที่สุด และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องด้วยการใช้สายเคเบิ้ลเป็นสายหลัก เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องโดยมีเน็ตเวิร์คการ์ดเป็นตัวเชื่อมระหว่างสายเคเบิ้ลกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปตามสาย ไปยังคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่อง ไม่สนใจว่าเครื่องไหนคือผู้รับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะตรวจสอบเอง ว่าข้อมูลที่ส่งออกมานั้นเป็นของเครื่องตนเองหรือไม่ ถ้าไม่ จะปล่อยข้อมูลผ่านไป แต่ถ้าใช่ ก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ในระบบนี้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันหลายเครื่องในเวลาเดียวกันเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์คจะน้อยลงเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์มากขึ้น สายเคเบิ้ลที่เป็นสายกลางที่ต้องใช้รับและส่งข้อมูล เรียกว่า backbone สายที่ใช้ส่วนมากจะเป็นสาย coaxial มีลักษณะคล้ายๆกับสายเคเบิ้ลทีวี การใช้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ปิดหัวและท้ายของสายเคเบิ้ลด้วย เรียกว่า terminatorคอยรับสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไป ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนสัญญาณได้ บัส เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุดในการติดตั้งเน็ตเวิร์ค ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์มากมาย มีเพียงแค่สายเคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค-การ์ด และเทอร์มิเนเตอร์ ก็พอแล้ว มักใช้กับเน็ตเวิร์คขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มากนัก
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus • ข้อดี • ประหยัด สะดวก ง่ายต่อการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย • ใช้สายเคเบิลน้อยกว่าการต่อแบบ Star • ข้อเสีย • ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ถ้าสายหลักชำรุด • จำเป็นต้องมี Terminator ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายหลัก เพื่อป้องกันสัญญาณสะท้อนกลับไปมาภายในสาย • ค้นหาจุดที่เกิดปัญหาได้ยาก ถ้าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ • จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีผลกับประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ค • มีการชนกันของข้อมูลที่ส่งออกไปมากจนทำให้เกิดปัญหา
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Star
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Star เป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าสู่อุปกรณ์ส่วนกลางที่เรียกว่า ฮับ (HUB) ข้อมูลหรือสัญญาณจะเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่ผู้รับโดยผ่านฮับ • ข้อดี • ง่ายต่อการต่ออุปกรณ์และการเดินสาย • สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่าย และไม่รบกวนส่วนอื่น • ง่ายต่อการตรวจสอบจุดที่เกิดปัญหา และการแยกอุปกรณ์บางส่วนออกจากระบบ • ข้อเสีย • เปลืองสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบ Bus • ถ้า hub หรือ switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อมตรงกลาง
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Tree
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Tree • เป็นการผสมผสานกันระหว่างการต่อแบบ Bus และ Star หรือเป็นการต่อStar ซ้อนกันหลายชั้น • ข้อดี • ในแต่ละส่วนย่อยๆ จะต่อถึงกันแบบ Star ทำได้รับข้อดีของการต่อแบบ Star มาด้วย • ข้อเสีย • ระยะทางในแต่ละส่วนย่อยๆ จะถูกจำกัดโดยชนิดของสาย • ถ้าสายหลักหรือ Hub ตัวกลางหลักเสีย ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ • ยากต่อการติดตั้งและเดินสาย
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ในลักษณะของรูปวงแหวนโดยใช้สายเคเบิ้ล การต่อลักษณะนี้จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย การส่งข้อมูลจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเป็นรูปวงแหวนในทิศทางเดียวกัน เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูล มันจะทำการใส่ข้อมูลตำแหน่งของเครื่องที่มันต้องการจะส่งไปให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะนำสัญญาณมาเช็คว่าเป็นของตนเองหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็จะส่งไปให้เครื่องต่อไป สัญญาณจะวิ่งไปจนกระทั่งเจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และรับข้อมูลนำไปใช้เนื่องจากสัญญาณจะวิ่งไปเรื่อยๆ เป็นวงกลม จึงไม่ต้องการอุปกรณ์ปิดหัวท้าย มักจะใช้กับเน็ตเวิร์คที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ใช้โทเค็นเป็นสือในการส่งสัญญาณ โทเค็นจะถูกวิ่งผ่านไปทุกเครื่องเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลจะดึงโทเค็นไปใช้และส่งสัญญาณออกมา เครื่องที่มีโทเค็นเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring • ข้อดีของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring • การเพิ่มเติมขนาดของระบบเครือข่าย ส่งผลต่อประสิทธิภาพไม่มาก • ลดจำนวนตัวรับและส่งสัญญาณลงครึ่งหนึ่ง (ในกรณี Ring ทางเดียว) • ทุกๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะช่วยขยายสัญญาณ ทำให้สามารถต่อเป็นวงใหญ่ได้ • ข้อเสียของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring • ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัว • ถ้าอุปกรณ์บางตัวหรือสายเคเบิ้ลชำรุด จะทำให้เครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ (ในกรณี Ring ทางเดียว)
ระบบเครือข่ายรูปแบบผสม (Hybrid Network) • เป็นการผสมความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบโดย พิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้ • จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย • สื่อนำข้อมูล (Transmission Media) • เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล(Software)
โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการและรูปแบบการส่งข้อมูล จังหวะเวลาในการส่งข้อมูล ลำดับการรับส่งข้อมูล และวิธีจัดการป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ โปรโตคอลเปรียบเสมือนภาษาที่ใช้สื่อสารในระบบเครือข่าย ดังนั้นถ้าใช้โปรโตคอลที่ต่างกันก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง นายพูดอะไร ไม่รู้เรื่อง ๑ภ฿ @& g)
NetBEUI (Network Basic End Use Interface) เป็น Protocol ที่เหมาะสมสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับเครือข่ายขนาดใหญ่ เนื่องจาก Protocol นี้ไม่สามารถค้นหาเส้นทางการส่งข้อมูล (Routable) ที่เหมาะสมได้ ข้อดีของ Protocol นี้คือใช้งานง่ายไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นที่นิยมใช้กับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ถูกใช้ในอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถค้นหาเส้นทางการส่งข้อมูล และสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการได้อย่างกว้างขวาง แต่การติดตั้งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร
คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่าย - Bit (บิต) หน่วยทางไฟฟ้า มีค่าเท่ากับ 0 หรือ 1 - Bandwidth (แบนด์วิทช์) คือ ความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย มีหน่วยเป็น bps (บิตต่อวินาที) อุปกรณ์เครือข่าย
Router • ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อภายในแตกต่างกัน หรือเชื่อมระหว่าง LAN และ WAN
ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ • Bandwidth 10/100/1000 Mbps • แต่ละพอร์ตไม่มีการใช้งานร่วมกัน • Switch
Hub • ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน • Bandwidth 10/100/1000 Mbps • แต่ละพอร์ตใช้งานร่วมกัน(เชื่อมกันหมด)
ความแตกต่างระหว่าง Hub และ Switch • Hub จะส่งข้อมูลที่เข้ามาไปยังทุกๆ พอร์ตของ Hub ยกเว้นพอร์ตที่ข้อมูลดังกล่าวเข้ามายัง Hub ในขณะที่ Switch จะทำการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ต่อกับพอร์ตต่างๆ ทำให้ Switch ส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ไม่ส่งไปทุกๆ พอร์ตเหมือนกับ Hub ซึ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลภายในระบบเครือข่ายไม่มากเกินความจำเป็น • Hub เป็นเพียงตัวขยายสัญญาณข้อมูล (Repeater) เท่านั้น ในขณะที่ Switch จะมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า, มีการเรียนรู้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ, การตัดสินใจส่งข้อมูลออกไปพอร์ตใด
Ethernet Card • ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านทาง Switch หรือ Hub • Bandwidth 10/100/1000 Mbps
ไฟสถานะของEthernet Card • LINK ถ้าสว่างแสดงว่า มีการเสียบสายแลนเข้ากับการ์ด และสามารถใช้งานได้ • 10 ถ้าสว่างแสดงว่า อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อด้วยความเร็ว 10 MB/s เช่นเดียวกับไฟ 100 ถ้าสว่างแสดงว่าเชื่อมด้วยความเร็ว 100 MB/s • ACT (Activity) ถ้ากระพริบแสดงว่ามีการส่งข้อมูลเข้า-ออกการ์ด (เนื่องมาจากกิจกรรมการใช้เครือข่ายต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต, การแชร์ไฟล์ ฯลฯ ถ้ามีการส่งข้อมูลจำนวนมากจะเปลี่ยนจากกระพริบมาเป็นสว่างค้างตลอดเวลา
ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางสายโทรศัพท์ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางสายโทรศัพท์ • Bandwidth 56 Kbps • Modem Internal Modem External Modem
ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์กับ ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless) • Bandwidth 11/54 Mbps • Access Point
Wireless Card • ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย • Bandwidth 11/54 Mbps PCMCIA USB PCI for PC
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) • ใช้ในการเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ Ethernet Switch หรือ Hub • Bandwidth 10/100/1000 Mbps • ความเร็วในการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับการเข้าหัวสาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ • ระยะทางในการเชื่อมต่อ < 100m
สาย UTP และหัว RJ-45 • สาย UTP ที่ใช้ใน Ethernet Lanจะเข้าหัวแบบ RJ-45 • ภายในสาย UTP จะมีสายทองแดงย่อยอีก 8 เส้น โดยถูกจัดกลุ่มเป็นคู่ๆ ทั้งหมด 4 คู่ RJ-45 UTP
การเข้าหัว RJ-45 มีได้ 2 แบบ คือ • แบบ A (Standard 568A) มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้ • ขาว/เขียว • เขียว • ขาว/ส้ม • น้ำเงิน • ขาว/น้ำเงิน • ส้ม • ขาว/น้ำตาล • น้ำตาล
แบบ B (Standard 568B) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้ • ขาว/ส้ม • ส้ม • ขาวเขียว • น้ำเงิน • ขาว/น้ำเงิน • เขียว • ขาว/น้ำตาล • น้ำตาล
สาย UTP มี 2 แบบ ตามการเข้าหัว RJ-45 ดังนี้ • สายตรง (UTP Straight Cable) เป็นสายที่ใช้ทั่วไป และพบมาก โดยใช้ในการเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายจำพวก Hub และ Switch โดยการเข้าหัวทั้ง 2 ปลายจะเป็นแบบเดียวกัน (A หรือ B ก็ได้) • สายครอส(UTP Cross-over Cable) ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องโดยตรง ไม่ผ่านอุปกรณ์ประเภท Hub และ Switch นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Router (ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบหนึ่ง) โดยการเข้าหัวที่ปลายทั้ง 2 จะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ปลายข้างหนึ่งเข้าหัวแบบ A อีกปลายจะเข้าหัวแบบ B