1 / 10

สรุปสาระสำคัญ

ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2547. สรุปสาระสำคัญ.

Download Presentation

สรุปสาระสำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือนประกาศในราชกิจจานุเบกษา 23 ธันวาคม 2547

  2. สรุปสาระสำคัญ • 1. ทำการแก้ไขปรับปรุงประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน เพื่อให้การจ่ายเงินทดแทนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น • 2. ให้ยกเลิก • 2.1 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ลงวันที่ 12 กันยายน 2537

  3. สรุปสาระสำคัญ • 2.2 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 กันยายน 2539 • 2.3 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน 2540

  4. สรุปสาระสำคัญ • 3. คำร้องที่ยังไม่สิ้นสุดหรือผู้ใดมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 กันยายน 2539 และ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน 2540อยู่ก่อนวันที่ประกาศใช้บังคับ ให้ยังบังคับและคงได้รับค่าทดแทนตามประกาศเดิมต่อไปจนกว่าจะครบตามสิทธินั้น • 4. มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป

  5. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 1. กรณีลูกจ้างสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกาย ให้จ่ายค่าทดแทนตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนตามตารางที่ 1 ท้ายประกาศ กรณีที่มีการสูญเสียอวัยวะอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางให้มีระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนตามผลการประเมินการสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพร้อยละ 1 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทน 2 เดือน • 2. ลูกจ้างต้องได้รับการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหลังจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้ • 2.1 หลังจากได้รับการรักษาเสร็จสิ้นแล้วและสมรรถภาพการใช้งานของอวัยวะนั้นๆคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก • 2.2 เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

  6. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 3. ให้แพทย์เป็นผู้ประเมินการสูญเสียอวัยวะหรือการสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะ โดยใช้วิธีการประเมินและอัตราการสูญเสียสมรรถภาพตามคู่มือแนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายและทางจิตใจที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด • 4. กรณีที่สูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะเกินร้อยละ 60ของสมรรถภาพทั้งร่างกาย หรือมีกาสูญเสียตามตารางที่ 2 ท้ายประกาศ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างทุพพลภาพตามมาตรา 18 (3) และให้มีระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทน 15 ปี • 5. หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ตามมาตรา 18 วรรค 3 ให้เป็นไปดังนี้

  7. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 5.1 กรณีได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน = ค่าจ้างในเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย • 5.2 กรณีที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน = ค่าจ้างรายวันในวันที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายคูณ 26 • 5.3 กรณีที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง = ค่าจ้างในชั่วโมงที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายคูณ 8 และ 26 • 5.4 กรณีที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย = ค่าจ้างงวดสุดท้ายที่ได้รับหารด้วยจำนวนวันที่ทำงานในงวดนั้นและคูณด้วย 26 ถ้าคำนวณตามผลงานไม่ได้ให้คำนวณจากค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ทำงานอยู่และคูณ 26 • 5.5 หากได้รับเงินค่าจ้างนอกเหนือจากข้อ 5.1-5.4 ให้คำนวณจากค่าจ้างงวดสุดท้ายหารด้วยวันทำงานปกติในงวดนั้นและคูณ 26 • หากได้รับค่าจ้างหลายประเภทให้คำนวณแต่ละประเภทและนำมารวมกันเป็นค่าจ้างรายเดือน

  8. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 6. ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตามค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายการคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ทำงานอยู่คูณ 26 และไม่เกินร้อยละ 60 ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนซึ่งคำนวณจากค่าจ้างสูงสุดที่ใช้เป็นฐานคำนวณเงินสมทบหาร 12 • ตารางแนบท้ายประกาศ ตารางที่ 1 ประเภทการสูญเสียอวัยวะและระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน ตารางที่ 2 ประเภทการทุพพลภาพและระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน

  9. จบการนำเสนอ

More Related