100 likes | 842 Views
โครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา. จัดทำโดย 1. นางสาว วรรณวิภา ศรีวิจิตรโชค เลขที่ 29 2. นางสาว ศิริพร ช้างสิงห์ เลขที่ 30 3. นางสาว สุปรียา ศรีเหรา เลขที่ 32 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเรื่องขนมไทย
E N D
โครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
จัดทำโดย 1.นางสาว วรรณวิภา ศรีวิจิตรโชคเลขที่ 29 2.นางสาว ศิริพร ช้างสิงห์ เลขที่ 30 3.นางสาว สุปรียา ศรีเหรา เลขที่ 32 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเรื่องขนมไทย 2. เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้ความรู้เกี่ยวกับขนมไทยในด้านความหลากหลายและคุณประโยชน์ 3. เพื่อเผยแพร่ขนมไทยให้เป็นที่รู้จักและรักษาเอกลักษณ์ในด้านการรับประทานอาหารของไทยไว้ ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1.ใช้โปรแกรม Web Page Maker ในรูปแบบเว็บไซต์ในการนำเสนอ 2. นำเสนอและเผยแพร่ขนมไทย เพื่อสืบสานเอกลักษณ์ของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ขนมไทย มีรากเหง้ามาจากสังคมเกษตรผูกพันกับธรรมชาติวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นขนมก็ล้วนมาจากธรรมชาติดังนั้นคุณสมบัติหลายประการของผลผลิตตามธรรมชาติก็จะยังคงมีอยู่มากจากการสำรวจคุณค่าทางโภชนาการขนมไทย ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพบว่าขนมไทยส่วนใหญ่ นอกจากจะมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆอย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีนไขมันแล้วยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายรวมอีกด้วย อาทิเช่น แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เรตินอล แคโรทีน เป็นต้นซึ่งคุณค่าอาหารรวมหมู่แบบนี้จะหาไม่ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะเป็นการสกัดสารอย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุในแคปซูลเพื่อขายในราคาแพงๆ เท่านั้นและในขนมถุงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็ยังหาทำยาได้อยากเช่นกันดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่ศึกษาเกี่ยวกับขนมไทยเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอผ่านโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง ขนมไทย ด้วยโปรแกรม Web Page Maker ในรูปแบบเว็บไซต์เพื่อเป็นความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับขนมไทย
สรุปผลการศึกษา จากการจัดทำโครงงานพบว่าจากการศึกษาข้อมูลทั้งหมดเรื่อง ขนมไทย โดยสรุปได้ว่า "ขนม" ซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นของกินหลังอาหาร หรือกินเล่น มีรสชาติหวานมัน อร่อยถูกปาก เพราะปรุงจาก แป้ง ไข่ กะทิ และน้ำตาลเชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยม มีชื่อว่า "ท้าวทองกีบม้า" ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า "มารี กีมาร์ เด ปนา"แบ่งขนมไทยได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ ประเภทไข่ นึ่ง และต้ม ในแต่ละภาคนั้นมีขนม วิธีทำ และวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะทำ จากข้าวเหนียวเป็นหลัก โดยใช้วิธีการต้ม ภาคกลางส่วนใหญ่จะทำมาจากข้าวเจ้า ภาคอีสานเป็นขนมที่ทำกันง่าย ไม่ค่อยพิถีพิถัน และภาคใต้มีความเชื่อในเทศการวันสารท จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น
ขนมมงคล 9 อย่าง หมายถึง ขนมไทยที่นำไปใช้ประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ รับแขก ในงานพิธีมงคลต่างๆ โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะ และ เป็นสิริมงคลมีทั้งหมด 9 ชนิด และขนมต่างๆได้นำมาใช้ในพิธีกรรมและงานเทศกาล เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศการเข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา ขนมสำหรับพิธีแต่งงาน พิธีบวงสรวลเทพยดาและพระภูมิ เป็นต้น ซึ่งวัตถุนั้นได้มาจากธรรมชาติจึงมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆอย่าง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้นเพื่อนำเสนอให้ผู้ทีสนใจในเรื่องขนมไทยเป็นเว็บไซต์โดยใช้โปรแกรม Web Page Maker เนื่องจากเป็นสื่อที่น่าสนใจ สะดวก และง่ายต่อการศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่องขนมไทยจากสื่อการเรียนรู้ 2. ผู้เรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของขนมไทย และคุณประโยชน์ของ ขนมไทย 3. ผู้เรียนช่วยกันเผยแพร่ขนมไทยและเอกลักษณ์วัฒนธรรมด้านอาหารของไทย