1 / 72

รองศาตราจารย์.สมประสงค์ น่วมบุญลือ

ความสัมพันธ์ของญัติ. รองศาตราจารย์.สมประสงค์ น่วมบุญลือ. ตรรกวิทยายอมรับญัติมาตรฐาน ๔ แบบ คือ A E I O ซึ่งมีความสัมพันธ์กับญัติตรงข้ามกัน จึงต้องทำความเข้าใจว่า ประการแรก ความสัมพันธ์ของญัติมาตรฐานทั้ง ๔ นี้มีรูปแบบสัมพันธ์กันอย่างไรกับญัติที่อยู่ตรงข้ามกัน

cathy
Download Presentation

รองศาตราจารย์.สมประสงค์ น่วมบุญลือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสัมพันธ์ของญัติ รองศาตราจารย์.สมประสงค์ น่วมบุญลือ

  2. ตรรกวิทยายอมรับญัติมาตรฐาน ๔ แบบ คือ A E I O ซึ่งมีความสัมพันธ์กับญัติตรงข้ามกัน จึงต้องทำความเข้าใจว่า ประการแรกความสัมพันธ์ของญัติมาตรฐานทั้ง ๔ นี้มีรูปแบบสัมพันธ์กันอย่างไรกับญัติที่อยู่ตรงข้ามกัน ประการที่สองญัติ ๒ ญัติมีความสัมพันธ์ในแง่จริง เท็จ หรือยังไม่แน่ต่อกันและกันอย่างไร ถ้า ญัติหนึ่งเป็นจริง หรือ เป็นเท็จ

  3. ดังนั้น ในการอ้างเหตุผลเมื่อกล่าวญัติใดออกมาว่าเป็นจริงหรือเท็จแล้ว เราจะต้องตีความได้ว่า นอกเหนือจากที่กล่าวออกมาโดยตรงแล้ว โอกาสใดบ้างที่ญัติอื่นจะเป็นจริงหรือเท็จ หรือยังไม่แน่ ญัติที่เรียกว่าตรงข้ามกันก็ต่อเมื่อญัติที่ตรงข้ามกันนี้ มีประธานและส่วนขยายเดียวกัน แต่ต่างกันในปริมาณ หรือคุณภาพ หรือทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งมีหลักการพิจารณาดังนี้

  4. ๑. เมื่อญัติสากล ๒ ญัติ มีประธานและส่วนขยายเดียวกัน แตกต่างกันในคุณภาพเท่านั้น การตรงข้ามระหว่าง ๒ ญัตินี้เรียกว่า CONTRARY ตัวอย่างเช่น

  5. สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้ SAP(A) CONTRARY (E) SEP SIP(I) (O) SOP

  6. A ทุกคน เป็น ผู้มีศักยภาพในตัว SAP All S is PA ทุกคน เป็น ผู้มีศักยภาพในตัว SAP All S is P E ไม่มีใครสักคน เป็น ผู้มีศักยภาพ SEP No S is P หรือ ทุกคน ไม่เป็นผู้มีศักยภาพ SEP All S is not P

  7. ๒. เมื่อมีญัติ ๒ ญัติ เป็นปัจเจก มีประธานและส่วนขยายเดียวกัน แตกต่างในคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ญัตินี้เรียกว่า SUB-CONTRARY ตัวอย่าง เช่น

  8. สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้ SAP(A) (E) SEP SIP(I) SUB-CONTRARY (O) SOP

  9. I นักการเมืองบางคนเป็น ผู้มีความซื่อสัตย์ SIP Some S is P O นักการเมืองบางคน ไม่เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ SOP Some S is not P

  10. ๓. เมื่อญัติ ๒ ญัติ มีประธานและส่วนขยายเดียวกัน ต่างกันในปริมาณเท่านั้น เราเรียกว่า SUBALTERN มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ คู่ A กับ I และคู่ E กับ O ดังตัวอย่าง เช่น

  11. สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้ SAP(A) (E) SEP SIP(I) (O) SOP SUBALTERN SUBALTERN CONTRA DICTORY CONTRA DICTORY

  12. A ทุกคน เป็น สัตว์โลก SAP All S is PA ทุกคน เป็น สัตว์โลก SAP All S is P I บางคน เป็น สัตว์โลก SIP Some S is P และ E ไม่มีใคร เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ SEP No S is P O บางคน ไม่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ SOP Some S is not P

  13. ๔. เมื่อญัติ ๒ ญัติ มีประธานและส่วนขยายเหมือนกัน แต่ต่างกันทั้งปริมาณและคุณภาพ เราเรียกญัตินี้ว่า CONTRADICTORY มี ๒ ลักษณะ ดังตัวอย่าง เช่น

  14. สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้สามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้ SAP(A) (E) SEP SIP(I) (O) SOP CONTRA DICTORY CONTRA DICTORY

  15. A ทุกคน เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ SAP All S is PA ทุกคน เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ SAP All S is P O บางคน ไม่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ SOP Some S is not P E ไม่มีใคร เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ SEP No S is P I บางคน เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ SIP Some S is P

  16. สรุป ลักษณะความสัมพันธ์ของญัติ Contrary คุณภาพเท่านั้น SAP,SEP ทั้งสองญัติประธานกระจาย Sub-contrary คุณภาพเท่านั้น SIP,SOP ทั้งสองญัติประธานไม่กระจาย Subaltern ปริมาณเท่านั้น SAP,SIP & SEP,SAP แต่ละคู่เป็นยืนยันหรือปฏิเสธ Contradictory ทั้งปริมาณและคุณภาพ SAP,SOP & SEP,SIP

  17. ทั้งหมดสามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้ทั้งหมดสามารถเขียนเป็นรูปได้ดังนี้ SAP(A) CONTRARY (E) SEP SIP(I) SUB-CONTRARY (O) SOP SUBALTERN SUBALTERN CONTRA DICTORY CONTRA DICTORY

  18. จากญัติที่กำหนดมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เราสามารถหาความสัมพันธ์กับรูปแบบญัติที่เหลืออีก ๓ รูปแบบได้ โดยพิจารณาว่า ญัติที่กำหนดนั้นเป็นจริงหรือเท็จ ดังนี้

  19. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับญัติ E I O

  20. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงแล้ว จะกล่าวว่าทุกผลจะไม่เป็นสีแดงในคราวเดียวกันย่อมเป็นไปไม่ได้

  21. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงแล้ว การกล่าวว่ามะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงในคราวเดียวกันย่อมเป็นจริง

  22. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงแล้ว การกล่าวว่ามะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงในคราวเดียวกันย่อมไม่จริง

  23. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับญัติ E I O

  24. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็นยังไม่แน่ เพราะเหตุเมื่อกล่าวว่า มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงไม่จริง นั่นหมายถึง ว่ามะเขือเทศไม่เป็นสีแดงบางส่วนหรือไม่เป็นสีแดงทั้งหมดก็ได้

  25. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ย่อม ยังไม่แน่ เพราะเหตุว่า มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงไม่จริง นั่นคือ มะเขือเทศไม่เป็นสีแดงบางส่วน หรือไม่เป็นสีแดงทั้งหมดก็ได้

  26. ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็นจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงไม่จริง ดังนั้นต้องมีมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงแน่นอน

  27. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับญัติ E I O

  28. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดงแล้ว การกล่าวว่ามะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดงในคราวเดียวกันย่อมไม่จริง

  29. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลw,jเป็นสีแดงแล้ว การกล่าวว่ามะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงในคราวเดียวกันย่อมไม่จริง

  30. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็น จริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดงแล้ว การกล่าวว่ามะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงในคราวเดียวกันย่อมไม่จริง

  31. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับญัติ E I O

  32. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นยังไม่แน่ เพราะเหตุเมื่อกล่าวว่า มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงไม่จริง นั่นหมายถึง ว่ามะเขือเทศอาจเป็นสีแดงบางส่วนหรือเป็นสีแดงทั้งหมดก็ได้

  33. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดงไม่จริง ดังนั้นต้องมีมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงแน่นอน

  34. ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ย่อม ยังไม่แน่ เพราะเหตุว่า มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดงไม่จริง นั่นคือ มะเขือเทศอาจเป็นสีแดงบางส่วน หรือเป็นสีแดงทั้งหมดก็ได้

  35. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A E O

  36. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นยังไม่แน่ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงจริง มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงหรือทั้งหมดเป็นสีแดงก็ได้

  37. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงจริง มะเขือเทศทุกผลจะไม่เป็นสีแสดงย่อมเป็นไปไม่ได้

  38. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ย่อมยังไม่แน่ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงจริง มะเขือเทศแาจมีสีแดงบางผลหรือทั้งหมดก็ได้

  39. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A E O

  40. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงไม่จริงเสียแล้ว แสดงว่ามะเขือเทศทั้งหมดจะเป็นสีแดงไม่ได้

  41. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ย่อมจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงไม่จริง มะเขือเทศทั้งหมดย่อมไม่เป็นสีแดง

  42. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ย่อมจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลเป็นสีแดงไม่จริง มะเขือเทศบางผลย่อมไม่เป็นสีแดงแน่นอน

  43. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A E I

  44. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงจริง มะเขือเทศทุกผลจะเป็นสีแดงไม่ได้

  45. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเป็นบังไม่แน่ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงจริง มะเขือเทศบางผลอาจไม่เป็นสีแดงหรือทุกผลไม่เป็นสีแดงก็ได้

  46. ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ย่อมยังไม่แน่ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงจริง มะเขือเทศบางผลอาจไม่เป็นสีแดงหรือทุกผลไม่เป็นสีแดงก็ได้

  47. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A E I

  48. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ A มะเขือเทศทุกผลเป็นสีแดง ย่อมเป็นจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงไม่จริงเสียแล้ว แสดงว่ามะเขือเทศทั้งหมดจะต้องเป็นสีแดง

  49. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ E มะเขือเทศทุกผลไม่เป็นสีแดง ย่อมเท็จ เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงยังไม่จริง มะเขือเทศทั้งหมดไม่เป็นสีแดงก็ต้องเป็นเท็จ

  50. ญัติ O มะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดง ไม่จริง ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ญัติ I มะเขือเทศบางผลเป็นสีแดง ย่อมจริง เพราะเหตุว่า เมื่อมะเขือเทศบางผลไม่เป็นสีแดงไม่จริง มะเขือเทศบางผลย่อมเป็นสีแดงแน่นอน

More Related