1 / 30

เทคนิควิธีการ จัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

เทคนิควิธีการ จัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. สุธาสินี ศรีวิชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฎ เชียงราย. เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. 1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม 2. การศึกษาเป็นรายบุคคล 3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี

Download Presentation

เทคนิควิธีการ จัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิควิธีการ จัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สุธาสินี ศรีวิชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

  2. เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม 2. การศึกษาเป็นรายบุคคล 3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี 4. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นการปฏิสัมพันธ์ 5. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ 6. การเรียนแบบร่วมมือ 7. การเรียนแบบมีส่วนร่วม 8. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

  3. 1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม (Indirect Instruction) การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม มีแนวคิดพื้นฐานว่า “ยิ่งผู้เรียนมีวุฒิภาวะสูงขึ้น ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องค้นหา ค้นพบข้อมูล และสรุปข้อความรู้จากประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น แนวคิดนี้ตรงกับ แนวคิดของทฤษฎี Constructivism ซึ่งมีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้าง construct ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม

  4. 1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม (Indirect Instruction) การเรียนการสอนตามแนวคิด Constructivism ครูต้องมีบทบาทดังนี้ 1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต 2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน 3. ช่วยผู้เรียนให้เกิดการคิดค้นต่อๆไป 4. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน

  5. 1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม (Indirect Instruction) ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ซึ่งเน้นการสร้างความรู้ ได้แก่ การเรียนแบบสืบค้น Inquiry แบบค้นพบ Discovery แบบแก้ปัญหา Problem Solving แบบสร้างแผนผังความคิด Concept mapping แบบใช้กรณีศึกษา Case Studies แบตั้งคำถาม Questioning และแบบใช้การตัดสินใจ Decision making

  6. การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้นการจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น เป็นการใช้คำถามที่มีความหมาย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสืบค้น หรือค้นหาคำตอบในประเด็นที่กำหนด ขั้นตอนกระบวนการสืบค้นInquiry Process 1. กำหนดปัญหา 2. กำหนดสมมุติฐาน 3. รวบรวมข้อมูล 4. ทดสอบสมมุติฐาน 5. สร้างข้อสรุป

  7. การเรียนแบบค้นพบ เป็นการฝึกทักษะการสังเกต การสืบค้น การให้เหตุผล การอ้างอิงหรือการสมมุติฐาน ซึ่งพัฒนาไปจากข้อมูลที่มีอยู่เดิม ขั้นตอนในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ “ค้นพบ” 1. กำหนดประเด็น 2. จัดสื่อและกิจกรรม 3. ให้ผู้เรียนเขียนข้อสรุปของเนื้อหา 4. ให้ผู้เรียนระบุลำดับของเหตุการณ์ 5. วิเคราะห์ส่วนต่างๆของรูปแบบเหตุการณ์ 6. ให้ผู้เรียนพิสูจน์ว่าการสรุปนั้นถูกต้อง

  8. การเรียนแบบแก้ปัญหา เป็นการเน้นให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ ขั้นตอนการแก้ปัญหา 1. ศึกษาและสรุปว่าปัญหาคืออะไร 2. กำหนดขอบเขตของปัญหา 3. วิเคราะห์งานเพื่อแบ่งปัญหา 4. รวบรวมข้อมูลสำหรับแต่ละเรื่อง 5. ประเมินข้อมูลเพื่อขจัดความลำเอียง 6. สังเคราะห์ข้อมูล 7. หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ 8. นำเสนอผลการแก้ปัญหา

  9. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิดการเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด เป็นการฝึกให้ผู้เรียนจัดกลุ่มความคิดรวบยอดของตน เพื่อให้เห็นภาพรวมของความคิด เห็นความสัมพันธ์ของความคิดรวบยอดเป็นภาพ การเขียนแผนผังสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ดังนี้ 1. แผนผังความคิดรวบยอด concept map 2. แผนผังใยแมงมุม spider map

  10. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิดการเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด 3. แผนผังรูปวงกลมทับเหลื่อม overlapping circles map สิ่งที่ต่างกัน สิ่งที่ต่างกัน สิ่งที่เหมือนกัน 4. แผนผังวงจร circle map

  11. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิดการเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด 5. แผนผังก้างปลา fishbone map 6. แผนผังแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองกลุ่ม two-group interaction map

  12. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิดการเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด 7. แผนผังตารางเปรียบเทียบ compare table map

  13. การตั้งคำถาม การถาม คือ ยุทธศาสตร์การสอนที่สำคัญ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความรู้ ความคิด และความเข้าใจ ประเภทของคำถาม 1. คำถามระดับต่ำและระดับสูง 2. คำถามเกี่ยวกับผล 3. คำถามแบบปิดและแบบเปิด

  14. การตั้งคำถาม เทคนิคการตั้งคำถาม 1. ควรเริ่มต้นตั้งคำถามในระดับความจำหรือความ เข้าใจ 2. เมื่อผู้เรียนประสบความยากลำบากในการตอบ คำถาม ครูควรเข้ามาช่วย 3. ถามให้ทั่วถึงทุกคน 4. ควรเพิ่มระดับความยากของคำถามขึ้นตามลำดับ 5. สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้

  15. การตั้งคำถาม ประโยชน์ของการตั้งคำถาม 1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดีขึ้น 2. ช่วยครูในการวางแผนการเรียนการสอน 3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน 4. ช่วยเน้นประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ 5. ช่วยครูในการประเมินผลการเรียนการสอน 6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้ผู้เรียน

  16. 2. การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study) การศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นแนวทางหนึ่งของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนแต่ละคนปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง และฝึกทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมที่ครูสามารถเลือกใช้ให้ผู้เรียนปฏิบัติในการศึกษาเป็นรายบุคคล มีดังนี้ รายงาน การระดมสมอง การค้นคว้าอย่างอิสระ การสืบค้น เรียงความ การแก้ปัญหา การเรียนเสริม การทำนิตยสาร โครงงาน การตัดสินใจ ศูนย์การเรียน ชุดการสอน แบบจำลอง คู่สัญญา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เกม การมอบหมายงานเป็นรายบุคคล คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  17. 3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี (Technology-Related Instruction) ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเป็นส่วนเสริม หรือสนับสนุนการเรียนและสอนอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ครูมืออาชีพที่แท้จริง จึงใช้เทคโนโลยีในฐานะเครื่องช่วยสอน ไม่ได้ใช้แทนการสอน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย 1. สื่อพิมพ์ ตำราเรียน และแบบฝึกหัด 2. แหล่งทรัพยากรในชุมชน 3. ศูนย์การเรียน 5. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4. ชุดการสอน 6. บทเรียนสำเร็จรูป

  18. 4. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นการปฏิสัมพันธ์ (Interactive Instruction) • เน้นการอภิปราย การแบ่งปันความรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถาม-ตอบ และการทำงานกลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน • เทคนิคการสอนที่ใช้กลุ่มย่อย ประกอบด้วย • 1. คู่คิด 5. กลุ่มติว • 2. การระดมสมอง 6. การฝึกปฏิบัติการ • 3. Buzzing 7. กลุ่มเอกฉันท์ 1-3-6 • 4. กระบวนการแก้ปัญหา

  19. 5. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ (Experiental Instruction) ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียน ประกอบด้วย 1. เกม 2. กรณีตัวอย่าง 3. สถานการณ์จำลอง 4. ละคร 5. บทบาทสมมุติ

  20. 6. การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) บทบาทของครู 1. กำหนดขนาดของกลุ่ม 2. ดูแลการจัดลักษณะการนั่งของสมาชิกกลุ่ม 3. ชี้แจงกรอบกิจกรรมให้เข้าใจก่อน 4. สร้างบรรยากาศที่เสริมสร้างการแลกเปลี่ยน 5. เป็นที่ปรึกษาของทุกกลุ่มย่อย 6. ยกย่อง ให้รางวัลเมื่อผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 7. กำหนดเวลาให้ชัดเจน

  21. 6. การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ขั้นตอนของการเรียนแบบร่วมมือ 1. ขั้นเตรียม 2. ขั้นสอน 3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม 4. ขั้นตรวจสอบผลงาน 5. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม

  22. 6. การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เทคนิคที่ใช้ในการสอนแบบร่วมมือ 1. Jigsaw 2. Team – Games – Tournaments (TGT) 3. Student Teams and Achievement Divisions (STAD) 4. Team Assisted Individualization (TAI) 5. Group Investigation (GI) 6. Learning Together (LT) 7. Numbered Heads Together (NHT) 8. Co-op Co-op

  23. 7. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วยหลักการเรียนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ 1. การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 2. กระบวนการกลุ่ม

  24. 1. การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ องค์ประกอบของการเรียนรู้ 1. ประสบการณ์ 2. การสะท้อนความคิดและอภิปราย 3. ความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด 4. การทดลองหรือประยุกต์แนวคิด

  25. 2. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม (Group Process) มีส่วนร่วมอยู่สูงสุด(Maximum Participation) บรรลุงานสูงสุด (Maximum Performance) การเรียนรู้สูงสุด การออกแบบกลุ่ม การออกแบบงาน

  26. 8. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ 1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ 2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางด้านความรู้และจิตใจ 3. บูรณาการระหว่างความรู้และการปฏิบัติ 4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่อยู่ในห้องเรียน 5. บูรณาการระหว่างวิชา

  27. 8. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ประเภทของการบูรณาการ 1. แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) 2. แบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) หลักการสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียน การสอนแบบบูรณาการ จัดประสบการณ์ ตรงให้กับผู้เรียน เน้นการปลูกฝัง จิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้อง จัดบรรยากาศ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน กล้าคิด กล้าทำ ให้ผู้เรียนได้ ร่วมทำงานกลุ่ม

  28. 8. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การเรียนการสอนแบบ Storyline Method แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ 1. สังเคราะห์และวิเคราะห์เนื้อหา 2. เขียนแผนการสอน โดยใช้เส้นทางการเดินเรื่อง 3. จัดกิจกรรมตามหัวเรื่อง 4. เส้นทางการเดินเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ 5. องค์ทั้ง 4 ของเส้นทางการเดินเรื่อง 6. บทบาทครู

  29. 8. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การเรียนการสอนแบบ Storyline Method ประโยชน์ของการเรียน Storyline Method 1. เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน 3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 4. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ

  30. 8. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การเรียนการสอนแบบ Storyline Method ประโยชน์ของการเรียน Storyline Method 5. ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดระดับสูง 6. ได้ฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม 7. ได้สร้างจินตนาการตามเรื่องที่กำหนด 8. ได้เรียนรู้สิ่งใกล้ตัวไปหาสิ่งไกลตัว 9. ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

More Related