1 / 36

เมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญา

เมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญา. เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญามีหน้าที่ต้องทำตามสัญญา ถ้าไม่ทำตามสัญญาก็จะเรียกว่ามีการผิดสัญญา หรือ ผิดนัด การผิดนัด คือ การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้(นัด) ซึ่งต้องพิจารณาว่ากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้

Download Presentation

เมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญาเมื่อไหร่ถึงจะถือว่ามีการผิดสัญญา • เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญามีหน้าที่ต้องทำตามสัญญา ถ้าไม่ทำตามสัญญาก็จะเรียกว่ามีการผิดสัญญา หรือ ผิดนัด • การผิดนัด คือ การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้(นัด) • ซึ่งต้องพิจารณาว่ากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้ • แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ • กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน • กรณีผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน

  2. ตัวบท มาตรา ๒๐๔ ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว 2 1

  3. กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนกรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน • ได้แก่ กรณีที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระก็จะถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญาหรือผิดนัดทันที โดยที่เจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน หรือบอกกล่าวให้ชำระหนี้อีก เพราะถือว่าลูกหนี้ทราบแล้วถึงกำหนดชำระหนี้ • กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน แบ่งได้ ๒ กรณี • ๑.๑ กรณีหนี้มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน หรือ • ๑.๒ กรณีต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทิน

  4. ๑.๑ กรณีหนี้มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน • ได้แก่ กรณีที่คู่สัญญากำหนดให้ชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน • ดำ ยืมเงินแดง โดยมีกำหนดเวลาใช้คืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ • แดง เช่าบ้านขาว โดยมีกำหนดเวลาทำชำระค่าเช่า ทุกๆสิ้นเดือน • ขาว ซื้อเครื่องปรับอากาศจากเขียว ๒๐ เครื่องกำหนดส่งมอบ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ • เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระก็จะถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญา โดยจะถือว่าตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นถัดวันครบกำหนด

  5. ดำ ยืมเงินแดง โดยมีกำหนดเวลาใช้คืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ 31 ต.ค. 57 31 1 ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดทันที กำหนดเวลาชำระหนี้

  6. ๑.๒ กรณีต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทิน • ได้แก่ กรณีที่คู่สัญญากำหนดว่า การชำระหนี้ให้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อน โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าสามารถนับได้โดยปฏิทิน • เช่น แดงยืมเงินดำ โดยตกลงกันว่า ถ้าดำจะเอาเงินคืนเมื่อให้บอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย ๓๐ วัน เพื่อแดงจะได้หาเงินมาคืนดำทัน • ดังนั้น ถ้าครบ ๓๐ วันแล้ว แดงยังไม่ชำระ ถือว่าแดงผิดนัด

  7. -แดงยืมเงินดำ โดยตกลงว่าถ้า ดำจะเอาเงินคืนเมื่อให้บอกกล่าว ล่วงหน้าอย่างน้อย ๓๐ วัน ต่อมา วันที่ ๓๐ กันยายน ดำได้เรียกให้ แดงคืนเงิน โดยขอให้แดงคืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม บอกกล่าวให้ชำระหนี้ หนี้ถึงกำหนด ๓๐ ๑ ๓๑ ๑ ๓๐ ๓๐ วัน แดงเป็นผู้ผิดนัด

  8. กรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนกรณีที่ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน • ได้แก่ กรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกรณีอื่นที่ไม่ใช่ปีปฏิทิน หรือไม่อาจคำนวณนับได้ตามปีปฎิทิน • เช่น ดำซื้อม้าจากแดง โดยทั้งสองตกลงกันว่าดำจะสร้างคอกม้าก่อน ถ้าสร้างเสร็จเมื่อไหร่ ก็ให้แดงส่งมอบลูกม้า เช่นนี้ กำหนดชำระหนี้หนี้ของแดง ไม่ใช่กำหนดชำระตามปีปฎิทิน กล่าวคือ ไม่รู้ว่าดำจะสร้างคอกม้าเสร็จเมื่อใด เช่นนี้

  9. ดำเตือนแดงว่าสร้างคอกม้าดำเตือนแดงว่าสร้างคอกม้า เสร็จแล้ว ให้ส่งมาให้ภายใน ๑๕ วัน วันที่ ๑๖แดง ได้ชื่อว่าผิดนัด ดำสร้างคอกม้าเสร็จ ๑ ๑๕

  10. ประเด็นอื่นที่ต้องพิจารณาร่วมกับการผิดนัดประเด็นอื่นที่ต้องพิจารณาร่วมกับการผิดนัด • การพิจารณาว่ามีการผิดนัด หรือผิดสัญญาหรือไม่ นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่องกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ยังจะต้องพิจารณาประเด็นอื่นๆ ประกอบอีกด้วย ดังนี้ • สถานที่ชำระหนี้ • ทรัพย์ที่ชำระหนี้ • บุคคลผู้ชำระหนี้ และรับชำระหนี้ • กล่าวคือ แม้ลูกหนี้จะชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา แต่ถ้าการชำระหนี้นั้นไม่ถูกต้องทั้ง ๓ เรื่อง ก็ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด หรือผิดสัญญาเช่นเดียวกัน • เช่น ดำ ยืมเงินแดง โดยมีกำหนดเวลาใช้คืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ถ้าวันดังกล่าวดำนำเงินมาคืนดำจริง แต่จำนวนไม่ครบตามที่สัญญา ก็ถือว่าดำผิดนัด หรือผิดสัญญาเช่นเดียวกัน

  11. สถานที่ชำระหนี้ • คู่สัญญาต้องชำระหนี้ให้ตรงสถานที่อันเป็นสถานที่ชำระหนี้ ถ้าชำระหนี้ผิดสถานที่ เรียกว่าผิดสัญญาเช่นเดียวกัน • สถานที่ชำระหนี้ใดแก่ที่ใด • กรณีที่สัญญากำหนดสถานที่ชำระหนี้ได้แก่ ที่ใดได้แก่ สถานที่นั้น • กรณีที่สัญญาไม่ได้กำหนดสถานที่ สถานที่ชำระหนี้ได้แก่ • ถ้าสิ่งที่ชำระเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง(รู้ว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใด ตั้งแต่ขณะทำสัญญา) สถานที่ส่งมอบได้แก่ สถานที่ที่ทรัพย์ได้ อยู่ ในขณะที่ก่อหนี้ • ถ้าสิ่งที่ชำระเป็นอย่างอื่น(เช่น เงิน หรือยังไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใดในขณะทำสัญญา) สถานที่ชำระหนี้ได้แก่ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้

  12. ทรัพย์ที่ชำระหนี้ • สัญญาบางประเภทการชำระหนี้ได้แก่ การส่งมอบตัวทรัพย์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ • ดังนั้นการชำระหนี้ก็จะต้องชำระหนี้ด้วยทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา • บุคคลผู้ชำระหนี้ และรับชำระหนี้ • บุคคลผู้ชำระหนี้ • ถ้าเป็นหนี้ที่คู่สัญญาต้องทำเองเฉพาะตัว จะให้คนอื่นชำระไม่ได้ เช่น จ้างมาร้องเพลง ผู้ชำระหนี้ต้องเป็นตัวลูกหนี้ • ถ้าเป็นหนี้ที่คู่สัญญาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กระทำเอง เช่น สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ชำระหนี้จะเป็นผู้อื่นก็ได้ • ผู้รับชำระหนี้ • ต้องเป็นคู่สัญญา หรือผู้รับมอบอำนาจแทนคู่สัญญา เช่น การชำระหนี้เงินกู้ยืม ก็ต้องชำระแก่ธนาคาร หรือพนักงานธนาคาร

  13. ความระงับแห่งสัญญา -คู่สัญญาตาย -วัตถุแห่งหนี้สูญหาย/ถูกทำลาย ทั้งหมด นิติเหตุ เหตุที่ ทำให้ สัญญา ระงับ การแสดงเจตนา ฝ่ายเดียว(บอกเลิกสัญญา) นิติกรรม (การแสดงเจตนา) การแสดงเจตนา 2 ฝ่าย(ตกลงเลิกสัญญา)

  14. เหตุเพราะความผิด โดยข้อสัญญา เหตุที่ไม่ใช่ความผิด โดยการบอกเลิกสัญญา เหตุเพราะความผิด โดยข้อกฎหมาย เหตุที่ไม่ใช่ความผิด โดยการตกลงเลิกสัญญา

  15. เหตุทีทำสัญญาระงับ แบ่งได้ ๒ เหตุ • ระงับโดยนิติเหตุ • ระงับโดยนิติกรรม • ระงับโดยนิติเหตุ • ได้แก่ ระงับด้วยเหตุต่างๆ อันมิใช่โดยนิติกรรม หรือ ระงับด้วยเหตุต่างๆที่กฎหมายกำหนด

  16. นิติเหตุที่ทำให้สัญญาระงับ เช่น • ความมรณะของคู่สัญญา • เฉพาะสัญญาที่ให้ความสำคัญกับลักษณะของคู่สัญญา เช่น ลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน หรือ ผู้เช่าในสัญญาเช่าถึงแก่ความตาย • ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหาย หรือถูกทำลาย • สัญญาที่มีวัตถุประสงค์โอนการครอบครอง เช่น สัญญาเช่าถ้าทรัพย์สินที่เช่าสูญหาย หรือบุบสลายทั้งหมด

  17. ระงับโดยนิติกรรม • ได้แก่ ระงับได้ด้วยการแสดงเจตนาของคู่สัญญา (นิติกรรมระงับสิทธิ) • ระงับด้วยการแสดงเจตนาสองฝ่าย (ตกลงเลิกสัญญา) • ระงับด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว (บอกเลิกสัญญา)

  18. ระงับด้วยการแสดงเจตนาสองฝ่ายระงับด้วยการแสดงเจตนาสองฝ่าย • การแสดงเจตนาสองฝ่าย ได้แก่ การตกลงเลิกสัญญา • การตกลงเลิกสัญญาอาจทำได้ตั้งแต่ขณะเข้าทำสัญญาได้ เช่น • นาย ก. เช่าบ้าน นาย ข. มีกำหนดเวลา ๑ ปี เช่นนี้ ถือว่า นาย ก. และ นาย ข. ได้ตกลงว่าเมื่อครบ ๑ ปี สัญญาระหว่างเขาทั้งสองจะสิ้นสุดลง • การตกลงเลิกสัญญาอาจทำได้ภายหลังจากทำสัญญาก็ได้ • นาย ก. เช่าบ้าน นาย ข. มีกำหนดเวลา ๑๐ ปี ต่อมาหลักจากเช่าได้ ๓ ปี นาย ก. ได้ขอเลิกสัญญา ด้วยเหตุผลว่าที่ทำงานได้ให้นาย ก. ไปทำงานที่ต่างประเทศ ข. เข้าใจว่านาย ก. มีความจำเป็น จึงตกลงเลิกสัญญาเช่ากับนาย ก.

  19. ระงับด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวระงับด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว • การแสดงเจตนาฝ่ายเดียว ได้แก่ การแสดงเจตนาโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ต้องการให้สัญญาระงับลง หรือที่เรียกว่า การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว หรือ การขอเลิกสัญญา • การบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะกระทำได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ เท่านั้น • มีข้อสัญญาให้บอกเลิกโดยฝ่ายเดียวได้ • มีข้อกฎหมายให้บอกเลิกโดยฝ่ายเดียวได้ • ถ้าไม่มีข้อสัญญา หรือข้อกฎหมาย ระบุให้บอกเลิกสัญญาโดยฝ่ายเดียวได้ ก็ไม่สามารถจะเลิกสัญญาโดยการแสดงเจตนาโดยคู่สัญญาฝ่ายเดียวเพียงลำพังได้

  20. เหตุในการบอกเลิกสัญญาเพราะคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ใช่ สาระสำคัญของสัญญา ม.387 คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ไม่ชำระหนี้ กำหนดเวลาชำระหนี้เป็น สาระสำคัญของสัญญา ม.388

  21. กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา ม.387 มาตรา 387 “ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้”

  22. วิธีการบอกเลิกสัญญา • เจ้าหนี้ต้องแสดงเจตนาโดยการบอกกล่าวไปยัง ลูกหนี้ก่อน โดยให้ระยะเวลาอันสมควร ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ • ถ้าเจ้าหนี้ไม่บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน หรือกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่เพียงพอ(สมควร) จะถือว่าการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้สัญญาเลิกโดยการบอกเลิกโดยฝ่ายเดียว แต่สัญญาอาจเลิกโดยการตกลงของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย (สมัครใจเลิกสัญญา)

  23. บอกกล่าว บอกเลิกสัญญา ผิดนัด เพื่อให้โอกาสใน การหนี้มาชำระ

  24. ตัวอย่าง • ดำทำสัญญาซื้อรถแดง ๑ แสนบาท ผ่อนชำระราคางวดละ ๑ หมื่นบาท ชำระทุกสิ้นเดือน จนกว่าจะหมด เช่นนี้ ถ้าดำผิดสัญญาไม่ชำระงวดเดือนตุลาคม • ถ้าแดงจะบอกเลิกสัญญากับดำ แดงจะต้องเดือนให้ดำชำระงวดเดือนตุลาคม โดยให้เวลาพอสมควร ถ้าครบกำหนดแล้ว ดำยังไม่ชำระอีก แดงจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ๕ พ.ย. บอกกล่าวให้ชำระ ค่างวดภายในวันที่ ๑๐ พ.ย ๓๑ ต.ค. หนี้ถึงกำหนด ๑๐ พ.ย. ถ้ายังไม่ชำระ ตั้งแต่ ๑๑ พ.ย. บอกเลิกสัญญาได้

  25. กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญของสัญญา ม.388 มาตรา 388 “ ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดี หรือภายในระยะเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ก็ดีและกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ มิพักต้องบอกกล่าวดั่งว่าไว้ในมาตราก่อนนั้นเลย”

  26. กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ อาจเกิดจาก • 1. วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญา จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนด • แดงเช่าชุดครุยจากร้านให้เช่าชุดครุย โดยแดงมีกำหนดใช้ชุดครุย วันที่ ๒๐ มกราคม เช่นนี้ แดงควรจะได้ชุดครุยอย่างช้า วันที่ ๑๙ มกราคม ดังนั้น ถ้าวันที่ ๑๙ มกราคม แดงยังไม่ได้ชุดครุย แดงสามารถบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องเตือนให้ร้านให้เช่าชุด ส่งมอบชุดครุยให้ตนอีก • 2. สภาพแห่งสัญญา จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนด • การโดยสารเครื่องบิน รถบัส รถไฟ เป็นต้น • 3. เจตนาของคู่สัญญาจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนด

  27. วิธีการบอกเลิกสัญญาตาม ม.388 • ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ (ผิดนัด) เจ้าหนี้สามารถบอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ได้โดยทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อน ถึงกำหนดชำระหนี้ บอกเลิกสัญญา

  28. ผลของการเลิกสัญญา เลิกฝ่ายเดียว(บอก เลิกสัญญา) ผลของการเลิกสัญญาฝ่ายเดียว เลิกสัญญาทั้งสองฝ่าย (ตกลงเลิกสัญญา) ผลของการเลิกสัญญา 2 ฝ่าย

  29. ผลของการบอกเลิกสัญญา ม.391 • เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ตามข้อสัญญา หรือข้อกฎหมาย จะมีผลดังต่อไปนี้ • 1. คู่สัญญาแต่ละฝ่าย ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนเข้าทำสัญญา ตาม ม.391 ว.1 • สิ่งใดซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับไว้ เพราะคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ให้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องคืนให้จงสิ้น • ถ้าสิงที่จะต้องคืนเป็นเงิน ให้บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วย ตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

  30. ถ้าสิ่งที่ต้องคืนเป็นการงานอันได้กระทำ ให้คืนด้วยการใช้เงิน ตามควรค่าแห่งการนั้นๆ • ถ้าสิงที่ต้องคืนเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ ให้คืนด้วยการใช้เงิน ตามควรค่าแห่งการนั้นๆ • 2. การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไม่กระทบถึง สิทธิในการเรียกค่าเสียหาย ริบมัดจำ เรียกเอาเบี้ยปรับ

  31. ตัวอย่างที่ 1. • ก. ทำสัญญาขายที่ดินให้แก่ ข. จำนวน 3 แสนบาท ซึ่ง ข. ได้ชำระราคาให้แก่ ก. ในวันทำสัญญา 1 แสนบาทโดย ก. จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ข. ภายใน 15 วัน หากผิดนัด จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ข. วันละ 1,000 บาท จนกว่าจะทำการโอน ครั้นถึงกำหนด ข. พร้อมจะชำระราคาให้แก่ ก. แต่ ก. ผิดนัด เช่นนี้ ถ้า ข. บอกเลิกสัญญากับ ก. จะมีผลอย่างไร • ข. จะเรียกราคาคืนจาก ก. ได้หรือไม่ เท่าใด • ข. จะเรียกเบี้ยปรับจาก ก. ได้หรือไม่

  32. ตัวอย่างที่ 2. • ก. ทำสัญญาขายที่ดินให้แก่ ข. จำนวน 3 แสนบาท โดย ข. ตกลงวางมัดจำให้แก่ ก. ในวันทำสัญญาจำนวน 50,000 บาท โดย ข. แบ่งชำระราคาออกเป็นงวดๆ งวดละ 1 แสนบาท โดยมีข้อตกลงให้นำมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน และ ก. จะจัดการโอนที่ดินให้แก่ ข. ภายใน 15 วันนับแต่ได้ราคาครบถ้วน ซึ่ง ข. ได้ส่งมอบมัดจำให้แก่ ก. ในวันทำสัญญาจำนวน -30,000 บาท • ภายหลังจากทำสัญญา ข. ได้ชำระราคาให้แก่ ก. งวดแรก จำนวน 1.2 แสนบาท (ราคาที่ดิน 1 แสนบาท และ มัดจำส่วนที่เหลือจำนวน 2 หมื่นบาท) ส่วนงวดที่ 2 และ 3 ข. ผิดนัด ก. จึงบอกเลิกสัญญากับ ข. เช่นนี้ • ก. มีสิทธิอย่างไร บ้าง ?

  33. ตัวอย่าง 3. • ก. ทำสัญญาขายรถยนต์คันหนึ่งให้แก่ ข. ราคา 2 แสนบาท โดย ข. ชำระราคาให้แก่ ก. จนเสร็จสิ้นแล้ว และ ก. ได้ส่งมอบรถให้แก่ ข. แล้วเช่นกัน โดยตกลงจะไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถ อีก 10 วันถัดไป ครั้นถึงกำหนด ก. บ่ายเบี่ยงที่จะไปดำเนินการให้ ข. จึงบอกเลิกสัญญากับ ก. เช่นนี้ จะเกิดผลในทางกฎหมายอย่างไร

  34. ตัวอย่างที่ 4. • ก. ตกลงรับจ้างสร้างบ้านให้แก่ ข. มูลค่า 7 แสนบาท โดยมีกำหนดเวลาก่อนสร้าง 5 เดือน โดยผู้รับจ้างจะเป็นผู้จัดหาสัมภาระทั้งหมด ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ก. ก่อสร้างได้เพียง 30 % คิดทั้งสัมภาระ และค่าแรงเป็นเงิน 2 แสนบาท ข. จึงบอกเลิกสัญญากับ ก. เช่นนี้ • ก. และ ข. จะมีสิทธิหน้าที่ต่อกันอย่างไรบ้าง

  35. ผลของการตกลงเลิกสัญญาทั้งสองฝ่ายผลของการตกลงเลิกสัญญาทั้งสองฝ่าย • การตกลงเลิกสัญญา เกิดจากการแสดงเจตนาทั้งสองฝ่าย มีลักษณะเป็นการทำนิติกรรมระงับซึ่งสิทธิ ตาม ป.พ.พ. ม. 149 • การตกลงเลิกสัญญาจะมีผลทำให้สิทธิหน้าที่ ความรับผิดอันเกิดจากสัญญาระงับสิ้นลง อาทิเช่น สิทธิในการเรียกค่าเสียหาย สิทธิในการริบมัดจำ เบี้ยปรับ • ยกเว้นแต่ จะมีการตกลง หรือสงวนสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย มัดจำ เบี้ยปรับ ไว้ขณะที่มีการตกลงเลิกสัญญา • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนเข้าทำสัญญา • สิ่งใดซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับไว้ เพราะคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ให้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องคืนให้จงสิ้น

  36. สรุป • การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ หรือผิดสัญญา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิ ดังต่อไปนี้ • เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ • เรียกค่าเสียหาย • ริบมัดจำ • ริบเบี้ยปรับ • บอกเลิกสัญญา End

More Related