260 likes | 393 Views
บทบาท. กระทรวงการคลัง. ในการพัฒนาประเทศ. นายรังสรรค์ ศรีวร ศาสตร์ ปลัด กระทรวงการคลัง 19 มีนาคม 2557. หัวข้อการนำเสนอ. สถานเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทย บทบาทของกระทรวงการคลัง 10 โครงการ Flagship ของกระทรวงการคลัง. สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย.
E N D
บทบาท กระทรวงการคลัง ในการพัฒนาประเทศ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง19 มีนาคม 2557
หัวข้อการนำเสนอ • สถานเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย • ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทย • บทบาทของกระทรวงการคลัง • 10 โครงการ Flagship ของกระทรวงการคลัง
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย
1. สถานการณ์เศรษฐกิจโลกล่าสุด เศรษฐกิจโลกโดยรวมปรับตัวดีขึ้น นำโดย G-3 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยง • เศรษฐกิจยูโรโซน • อัตราการว่างงานยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง 12% ของกำลังแรงงานรวม • ปัญหาเงินฝืดในยุโรป • ปัญหาการเมืองในยุโรป • การเลือกตั้ง EU Parliament • ปัญหาการเมืองในอิตาลี • กรีซ ครบกำหนดชำระหนี้ • ปัญหาการเมืองในยุโรป และ • วิกฤติหนี้ของกรีซอาจปะทุอีก • เศรษฐกิจสหรัฐฯ • Fed เริ่มปรับลดขนาดมาตรการ QE เหลือ 65 bn USD ต่อเดือน • อัตราว่างงาน ม.ค. 57 ลดลงเหลือ ร้อยละ 6.7 ต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี • สัญญาณชี้เศรษฐกิจขยายตัวชะลอลงในไตรมาส 1/57 (จากสภาพอากาศที่หนาวจัด) • ความเสี่ยงหาก Fed ถอน QE เร็ว/ แรงกว่าที่คาด • เศรษฐกิจญี่ปุ่น • มาตรการลูกศร 3 ดอก ประกอบด้วย มาตรการ Q2 มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น • การปรับเพิ่ม VAT จาก 5% เป็น 8% ในเดือนเม.ย. 57 และปรับเพิ่มอีกเป็น10% ในเดือนต.ค. 58 • เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจชะลอตัวหลังขึ้นภาษี VAT เดือน เม.ย 57 • เศรษฐกิจจีน • การระดมทุนผ่านระบบธนาคารเงาได้ก่อให้เกิดความเสี่ยง ในภาคการเงินของจีน ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมผ่านตลาดเงินปรับเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วอยู่เป็นระยะ และยังมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัททรัสต์ ซึ่งอาจส่งต่อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว • ปัญหาหนี้เสียของธนาคารเงาและการขาดสภาพคล่อง อาจส่งผลให้เกิดวิกฤติการเงิน+อสังหาฯ ในจีน • เศรษฐกิจอาเซียน • เศรษฐกิจอาเซียนโดยรวมขยายตัวเร่งขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยภาคการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง G-3 จะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียนในระยะต่อไป • ความเสี่ยงจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายจาก การปรับลดขนาดมาตรการ QE กระทรวงการคลัง 4
2. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน (1) เศรษฐกิจไทยปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากอุปสงค์จากต่างประเทศ ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศจะขับเคลื่อนจากการบริโภคภาครัฐเป็นสำคัญ • เศรษฐกิจไทยในปี 2556 ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงจากปีก่อน และการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ • ด้านการใช้จ่ายมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกบริการ ในขณะที่ อุปสงค์ในประเทศจะขับเคลื่อนจากการบริโภคภาครัฐเป็นสำคัญ • ด้านการผลิตได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากสาขาขนส่งสื่อสาร และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร จากการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในปี 2556 ที่ร้อยละ 19.6 ที่มา: สศช. และประมวลผลโดย สศค. กระทรวงการคลัง 5
2. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน (2) กระทรวงการคลังเดิมคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2557 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 (ณ ธ.ค. 56) แต่หากพิจารณาผลกระทบจากปัจจัยผลทางการเมืองแล้ว ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 3.1 • เศรษฐกิจไทยในปี 2557 เดิมคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ในระดับปกติที่ร้อยละ 4.0 อันมีปัจจัยสนับสนุนจาก • อุปสงค์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจญี่ปุ่น และการลงทุนภาครัฐ เป็นต้น • อย่างไรก็ดี จากปัญหาความไม่สงบทางการเมือง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านการเบิกจ่ายของภาครัฐและจากการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ปรับลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอุปสงค์ในประเทศให้ชะลอตัวตามไปด้วย ทั้งนี้ หากพิจารณารวมผลกระทบทาง การเมืองแล้วคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 3.1 ที่มา: สศช. และประมวลผลโดย สศค. (คาดการณ์ ณ ธ.ค. 56 ) กระทรวงการคลัง 6
2. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน (3) เศรษฐกิจไทยด้านอุปสงค์ การส่งออกในเดือน ม.ค. 2557 หดตัวร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (โดยเป้าการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ปี 2557 อยู่ที่ร้อยละ 5.0) Total ExportValue • การส่งออกของไทยในเดือน ม.ค. 2557 หดตัว ร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน • มิติด้านสินค้า ตามการลดลงของการส่งออกสินค้าในหมวดยานพาหนะ สินค้าเกษตรที่หดตัวร้อยละ -12.4 และร้อยละ -5.3 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 7.8 ตามลำดับ • มิติด้านคู่ค้า การส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักที่หดตัว อาทิ จีน ฮ่องกง และทวีปออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศ G3 (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น) ขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ 7 กระทรวงการคลัง 7
8 2. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน (4) เศรษฐกิจไทยด้านอุปสงค์ อุปสงค์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 2557 ส่งสัญญาณชะลอตัว ทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน • อุปสงค์ภายในประเทศ ในเดือน ม.ค. 2557 ส่งสัญญาณชะลอตัวทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน • การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน จากยอดขายรถยนต์นั่งและยอดขายรถจักรยานยนต์หดตัวลงเป็นประวัติการณ์ สอดคล้องกับการบริโภคในภาคชนบท ตามการหดตัวของรายได้เกษตรกร • การลงทุนภาคเอกชน ส่งสัญญาณชะลอตัว ทั้งจากลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการ ลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่หดตัวร้อยละ -12.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน Passenger Car Sales ที่มา: รวบรวมโดย สศค. กระทรวงการคลัง 8
9 2. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน (5) เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน เศรษฐกิจไทยภาคการผลิตในเดือน ม.ค. 2557 ส่งสัญญาณชะลอตัวจากการผลิตอุตสาหกรรมและ ภาคบริการ ขณะที่การผลิตเกษตรขยายตัวในเกณฑ์ดี • เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือน ม.ค. 2557 ส่งสัญญาณชะลอตัวโดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการ • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)หดตัวลงจากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ และยานยนต์ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และวิทยุโทรทัศน์ • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่จากเครื่องชี้ล่าสุดพบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในช่วง 1- 24 ก.พ. 2557 หดตัวที่ร้อยละ -19.6 สะท้อนถึงกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง • ผลผลิตภาคเกษตรกรรม ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตยางพารา จากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น Manufacturing Production Index (MPI) ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง 9
10 10 2. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน (6) เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับแข็งแกร่ง Unemployment Rate • เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศยังคงแข็งแกร่ง • เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 2556 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 2557 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการบริโภคภาคเอกชน • เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง และเพียงพอที่จะรองรับความผันผวนได้ โดย อยู่ที่ระดับ 168.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น) ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงการคลัง 10
ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทยปัจจัยเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทยปัจจัยเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจไทย ปัจจัยเสี่ยง โอกาส ความไม่แน่นอนทางการเมือง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และสหภาพยุโรป ความผันผวนจากต่างประเทศ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภัยธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง โรคระบาด
บทบาทของกระทรวงการคลังบทบาทของกระทรวงการคลัง
บทบาทของกระทรวงการคลังบทบาทของกระทรวงการคลัง วิสัยทัศน์ : “เสาหลักทางการคลังและเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” “Being Fiscal and Economic Pillar for Sustainable Development” พันธกิจ : 1. เสนอแนะและกำหนดนโยบายการคลังและระบบการเงิน 2. เสนอแนะและกำหนดนโยบายภาษี และบริหารการจัดเก็บภาษี 3. เสนอแนะและกำหนดนโยบายรายจ่ายและหนี้สาธารณะ บริหารรายรับ รายจ่ายและหนี้สาธารณะและบริหารพัสดุภาครัฐ 4. บริหารที่ราชพัสดุ เหรียญกษาปณ์ รัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ และ ทรัพย์สินอื่นๆของรัฐ
ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง • ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง • ปีงบประมาณ 2556-2559 • 3 เป้าหมาย • การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ • การสนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน • การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) 4 ยุทธศาสตร์ 1. Growth & Competitiveness 2. Inclusive Growth 3. Green Growth 4. Internal Process • AEC Blueprint • Single Market and Production Base • Competitive Economic • Equitable Economic • Integration into the Global Economy เชื่อมโยง • ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง • ด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับ • ประชาคมอาเซียน • 4 ยุทธศาสตร์ 13 กลยุทธ์ 36 มาตรการ • เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน • เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน • พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค • บูรณการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เชื่อมโยง
แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2557
เป้าหมายที่ 1 ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างระบบ สวัสดิการพื้นฐานให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ ให้แก่คนฐานราก ยุทธศาสตร์ที่ 3 กระจายรายได้ และการถือครองทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม
เป้าหมายที่ 2 สนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจการพัฒนาภาคเอกชน ให้เกิดการสร้างมูลค่า ยุทธศาสตร์ที่ 5 เชื่อมโยงธุรกิจ เพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ส่งเสริมความโปร่งใส ในการดำเนินงาน ของภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ 7 เสริมสร้างความมั่นคง ทางการคลัง เป้าหมายที่ 3 รักษาความยั่งยืนทางการคลัง ยุทธศาสตร์ที่ 9 เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระทรวงการคลัง
10 โครงการ Flagship ของกระทรวงการคลัง
1. การอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2. การบริหารสินทรัพย์ราชการให้เกิดประโยชน์
3. การบริหารการคลังท้องถิ่น 4. การเสริมสร้างศักยภาพทางการเงินแก่ภาคประชาชน
5. การบริหารรายจ่ายเพื่อความยั่งยืนทางการคลัง 6. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
7. การปฏิรูปและเพิ่มทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อิสลาม ที่อยู่อาศัย เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน/ SMEs 8. นโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
9. การปฏิรูประบบภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 10. การส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต ในการดำเนินการของภาครัฐ http://www.gprocurement.go.th 25