270 likes | 420 Views
การศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ. จันทร์เพ็ญ ขวัญศิริกุล นิภาพร ศรีอุบล อรวรรณ คำเจริญคุณ. บทนำ. คำถามการวิจัย. คำถามหลัก ทัศนคติเกี่ยวกับการคงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพของ เทศบาล, บุคคลทั่วไป, และชาวแพเป็นอย่างไร ? คำถามรอง ชุมชนชาวเรือนแพมีผลกระทบต่อแม่น้ำน่านอย่างไร ?
E N D
การศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพการศึกษาการดำรงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ จันทร์เพ็ญ ขวัญศิริกุล นิภาพร ศรีอุบล อรวรรณ คำเจริญคุณ
คำถามหลัก • ทัศนคติเกี่ยวกับการคงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพของ เทศบาล, บุคคลทั่วไป, และชาวแพเป็นอย่างไร ? คำถามรอง • ชุมชนชาวเรือนแพมีผลกระทบต่อแม่น้ำน่านอย่างไร ? • แนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทัศนคติของชุมชนเป็นอย่างไร • การย้ายขึ้นมาอยู่บนบกของชาวแพจะมีผลกระทบต่อเอกลักษณ์ของ เมืองพิษณุโลก, คำขวัญ, ธุรกิจการท่องเที่ยวหรือไม่ อย่างไร ? • ปัญหาที่เกิดจากการอยู่แพมีอะไรบ้าง ? • ทำไมโครงการเคลื่อนย้ายชาวแพจึงยืดเยื้อ ?
ทบทวนวรรณกรรม • ศรีสุวรรณ แสงศิริ 2523 : 37-48 ได้ศึกษาวิจัย สภาพความเป็นอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ ปัญหาที่เกิดจาก การอยู่แพและปัญหาความต้องการของชาวแพในเรื่องบริการและ สวัสดิการทางด้านสาธารณสุข และสาธารณูปโภค • กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพิษณุโลก.2531 : 14-21 ได้ทำโครงการพสม.ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก ระยะที่ 1 พบว่าชุมชนชาวเรือนแพมีโครงสร้าง ของประชากรผู้สูงอายุมาก กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ประชากรในวัยแรงงานมีน้อย อัตราการเจ็บป่วยพบมากในผู้สูงอายุและเด็ก
คณะทำงานวิจัยกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา. 2535 : 27-28 ได้ทำการศึกษาวิจัยได้แสดงความเห็นของบุคคลชั้นนำที่มีต่อ เรือนแพพบว่า เรือนแพเป็นเอกลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่ต้อง ระมัดระวังเรื่องการสุขาภิบาลโดยเฉพาะความสะอาดและสิ่งปฏิกูล • ปราณี แจ่มขุนเทียน. 2536 : 78 ได้เสนอแนวทางอนุรักษ์เรือนแพโดยดำเนินการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เรือนแพหรือเรือนแพที่จัดขายของที่ระลึก
วัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษาทัศนคติของชุมชนชาวเรือนแพ, หน่วยราชการที่เกี่ยว ข้อง, บุคคลทั่วไปเกี่ยวกับการคงอยู่ของแม่น้ำน่าน • เพื่อศึกษาผลกระทบของชาวแพที่มีต่อปัญหามลภาวะของแม่น้ำน่าน และเอกลักษณ์ของจังหวัด • เพื่อศึกษาแนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ประโยชน์ของการวิจัย เพื่อทราบถึงสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับทัศนคติของชุมชนในเรื่องการคงอยู่ของชุมชนชาวเรือนแพ และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ เกิดขึ้น
ระเบียบวิธีวิจัย • Descriptive studyโดยใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ • ประชากรที่ศึกษาเป็นชุมชนชาวเรือนแพ, หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง, บุคคลทั่วไปในชุมชน • คัดเลือกโดยวิธี Purposive sampling • เทคนิคการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ระดับลึกและการสังเกต
สถานการณ์ของแม่นำ้น่านในปัจจุบันสถานการณ์ของแม่นำ้น่านในปัจจุบัน
โครงการเคลื่อนย้ายชุมชนชาวเรือนแพโครงการเคลื่อนย้ายชุมชนชาวเรือนแพ • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ที่ทำการปกครองจังหวัด • องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก • เทศบาลนครพิษณุโลก
โครงการแก้ไขปัญหา • โครงการระยะสั้น • ควบคุมจำนวนเรือนแพไม่ให้เพิ่มขึ้น • ป้องกันการต่อเติมดัดแปลงเรือนแพเป็นร้านขายอาหาร • แนะนำป้องกันการทิ้งขยะลงแม่นำ้ของชาวแพ • ส่งเสริมการทำสุขาและดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล จากเรือนแพ • โครงการระยะยาว • การเคลื่อนย้ายชุมชนชาวแพขึ้นบกและจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยใหม่ บริเวณที่สาธารณประโยชน์คลองโคกช้าง
กระแสความเคลื่อนไหวจากสื่อมวลชนกระแสความเคลื่อนไหวจากสื่อมวลชน • เอกลักษณ์ของจังหวัด • การปรับปรุงและพัฒนาไม่จำเป็นต้องรื้อเรือนแพออก • เรือนแพเป็นส่วนน้อยที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะของแม่น้ำ • พัฒนาให้มีจิตสำนึกรักชุมชนและช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อม
ผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไปของชุมชนชาวเรือนแพข้อมูลทั่วไปของชุมชนชาวเรือนแพ • จากสถิติของสำนักงานเทศบาลพิษณุโลก ปี 2543 พบว่า มีเรือนแพรวมทั้งสิ้น 192 หลัง แยกเป็น - แพที่อยู่อาศัย 189 หลัง ( เป็นแพที่เตรียมย้ายขึ้น 142 หลังและที่จะยังอยู่ต่อไป 50 หลัง ) - แพอาหาร 3 หลัง ( ยังอยู่ทั้งหมด ) • กว่าร้อยละ 50 มีอาชีพรับจ้างและบริการ รองลงมา คือ ค้าขาย และมีอาชีพประมงเพียง 2 ราย • รายได้ของครัวเรือน
ข้อดี-ข้อเสียที่เกิดจากการอยู่แพมีอะไรบ้าง ? ข้อดี “ใช้น้ำจากแม่น้ำอาบ แกว่งสารส้มแล้วเอามา ล้างถ้วยล้างจาน ซักผ้า “ อยู่นี่ก็สะดวกดี เช้ามาก็ขนของขึ้นไปขายที่ตลาดได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ” “ย้ายขึ้นมาแล้วก็ลำบากตรงการเดินทาง อยู่แพใกล้โรงเรียนลูกใกล้ ที่ทำงาน บางบ้านรายได้น้อยไม่พอเจียดไปส่งเป็นรายเดือน”
ข้อเสีย ปัญหาความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย “ ค่าบวบแพก็แพง ต้องมีคนอยู่โยงเฝ้าบ้าน 1 คน เวลาน้ำขึ้นน้ำลง บางทีคนเฝ้าบ้านเผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาลูกจมน้ำหายไปไหน ก็ไม่รู้ อีกอย่างเค้าก็มองว่าชาวเรือนแพทำให้แม่น้ำน่านสกปรกเรา เลยเห็นว่าย้ายขึ้นจะดีกว่า “ “ น้ำเสียที่เค้าทิ้งมาจากในเมืองมันมีกลิ่นเหม็น ยิ่งหลังฝนตกใหม่ๆ น้ำฝนมันชะล้างอะไรๆ ที่สิ่งสกปรกก็ทิ้งลงแม่น้ำหมด กลิ่นจะ เหม็นรุนแรงมาก เวลาจะใช้น้ำก็ต้องตักน้ำจากนอกตัวเรือนแพ “
ปัญหาสุขภาพ สุขภาพร่างกาย “ ไม่รู้สินะตั้งแต่อยู่มาก็ไม่เห็นเคยมีโรคท้องร่วงระบาดเลย โรคอื่นๆ จากการใช้น้ำหรือผื่นคันที่ผิวหนังก็ไม่เห็นมี อาจเพราะเคยชินกัน มาตลอด แต่ตัวพี่เองช่วงเลี้ยงลูกก็จะต้มน้ำให้ลูกตลอด “ “ ใช้น้ำจากแม่น้ำมาตลอดร่างกายก็แข็งแรงดีไม่เห็นเป็นอะไร แต่ถ้ามีเด็กอ่อนก็จะต้มน้ำให้กินให้อาบพอมันโตเดินได้ ก็โน่น น้ำในแม่น้ำนั่นแหละ “
สุขภาพจิต “ย้ายขึ้นมาอยู่บนบกแล้วก็สบายดีไม่เจ็บไม่ไข้และก็ไม่ต้องกลัวว่าใคร จะมาหาว่าเราทำแม่น้ำสกปรก ไม่มีใครเอารถไถมาไล่ขู่ให้รีบ ถอยแพหนีตอนที่เค้าจะทำเขื่อนอีก “ “เวลาน้ำขึ้นลงถ้าอยู่คนเดียวตอนสามีและลูกไปทำงานกันหมดก็ เหนื่อยเหมือนกันเวลาลากแพเข้าออก ยิ่งตอนมีพายุฝนดึกๆ ต้องอดหลับอดนอนเป็นห่วงแพ บางทีตอนท้องลูกคนเล็กเราก็ ท้องแก่แล้วยังต้องมาคอยลากแพอีกมันลำบากเหมือนกันถ้าลาก ไม่ไหวก็ปล่อยมันทิ้งไว้ แต่ทำอย่างไรได้ก็เรายังไม่มีเงินย้ายไปอยู่ไหน
ชุมชนชาวเรือนแพมีผลกระทบต่อแม่น้ำน่านอย่างไร ? “ ชาวเรือนแพมีส่วนทำให้น้ำเสียบ้างเหมือนกันเพราะมีอยู่หลายหลัง มีอะไรก็ทิ้งลงแม่น้ำ้เลยไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย เศษอาหาร ขยะ อาจเป็นการแพร่เชื้อโรคได้ “ “ ชาวแพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำเสียและยังวางของไม่เป็น ระเบียบตามชายฝั่ง มันดูแล้วไม่น่ามอง แต่ถ้าเทียบกับท่อเทศบาลแล้ว น่าจะเป็นสาเหตุหลักมากกว่า “
แนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทัศนคติของชุมชนเป็นอย่างไร ? “ การแก้ปัญหาโดยย้ายชาวแพขึ้นมา แต่ในขณะที่ท่อของเทศบาลยังทิ้ง นำ้เสียลงมา ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด เค้าควรบำบัดนำ้เสียก่อน ปล่อยลงน้ำจะดีกว่า ” “ ควรควบคุมจำนวนแพอย่าให้มีมากกว่านี้ จัดสุขาภิบาลการใช้นำ้ การขับถ่ายของเสีย ขยะมูลฝอยหรือมีส้วมบนบกไว้ใช้ อีกอย่างถ้าแพ ยังอยู่ต่อก็ควรช่วยกันดูแลแม่นำ้อย่าไปทิ้งอะไรลงไป “
การย้ายเรือนแพขึ้นมาจะมีผลต่อเอกลักษณ์หรือไม่อย่างไร ? “ คำขวัญมันคงหายไป น้อยใจเหมือนกันเพราะเราอยู่กันมานาน นักท่องเที่ยวที่เค้าอยากมาดูก็ไม่ได้ดู “ “ ไม่ได้กระทบกระเทือนอะไรมากนักยกเว้นวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ เนื่องจากคนไทยกลัวการเปลี่ยนแปลง “ “ มีบ้างแต่ไม่มากนักเพราะยังมีจุดอื่นที่ promote ได้ ถ้านักท่องเที่ยว มาเห็นชาวแพทิ้งสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำอาจจะยิ่งแย่ไปกว่าการมองว่า น่าสนใจ “
โครงการเคลื่อนย้ายเรือนแพยืดเยื้อมานานเนื่องมาจากสาเหตุใด ? สาเหตุที่มาจากชุมชนชาวเรือนแพ - ไม่มีเงิน - ความไม่มั่นคงในที่อยู่ใหม่ - ยังยึดถือวิถีการดำเนินชีวิตแบบเก่า สาเหตุที่มาจากหน่วยราชการ - วัตถุประสงค์ของโครงการที่สื่อสารกับชาวแพ - ปัญหาเรื่องงบประมาณ
สรุปการวิจัยและข้อเสนอแนะสรุปการวิจัยและข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะ 1. กลวิธีในการดำเนินโครงการควรมีการนำหลักจิตวิทยาเข้ามาช่วย 2. แนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ คือ สร้างเรือนแพจำลอง 3. มีนโยบายที่เกี่ยวกับการดูแลแพอาหารและแพที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ 4. มีกิจกรรมที่เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชน 5. ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหามลภาวะของ แม่น้ำน่าน