1 / 22

บทที่ 6

บทที่ 6. การติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลและความรู้ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. รู้จักอินเทอร์เน็ต. ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

Download Presentation

บทที่ 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลและความรู้ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  2. รู้จักอินเทอร์เน็ต

  3. ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่าย โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย

  4. อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูงเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร เป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ

  5. สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยาบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา"

  6. บริการในระบบอินเทอร์เน็ตบริการในระบบอินเทอร์เน็ต 1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) เป็นการรับ – ส่งจดหมายถึงกันผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ (E-mail address) 2.การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า ดาวน์โหลด(download) ส่วนกระบวนการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตเรียกว่า อัพโหลด (upload) 3. การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (telnet) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆในที่ห่างไกล ช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้นๆ

  7. 4.โกเฟอร์ (gopher) บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บสารระบบ รายการแฟ้มข้อมูล และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียด 5. ข่าวสาร (Usenet) เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร มีการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดง ความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆผ่านทางอินเทอร์เน็ต 6.เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML)การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคนเราจึงมักได้ยินคำว่าโฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ(Webpage) อื่นๆได้อีก

  8. 7.การสนทนาผ่านเครือข่าย(chat) เป็นการบริการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกันโดยการพิมพ์รับ-ส่งแฟ้มข้อมูล และสนทนาด้วย เสียง และกล้องเว็บแคม 8. ชุมชนออนไลน์ เป็นการบริการเครือข่ายที่ผู้ใช้สามารถส่งข้อความและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงกันได้

  9. องค์ประกอบสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตองค์ประกอบสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ 2.โมเด็ม (Modem)ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem) 3.คู่สายโทรศัพท์(Telephone)เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต 4.ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต(account) จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการ 5.โปรแกรมระบบปฏิบัติการ สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า โปรแกรมบราว์เซอร์ 6.เครื่องพิมพ์ ใช้แสดงผลการพิมพ์จากเว็บไซต์ลงกระดาษ

  10. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต • 1. ติดตั้งโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วต่อเข้ากับสายโทรศัพท์ ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการแทน และซื้อชั่วโมงจากบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ใช้มากกว่า 1 เครื่องต่อด้วย ฮับ(hub) เพื่อกระจายสัญญาณ

  11. 2.ให้สายเช่าความเร็วสูงพร้อมโมเด็มและเราเตอร์ สามารถต่อได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์จำนานมาก พบได้ตามหน่วยงานต่างๆ

  12. การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  13. ความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)หรืออีเมล์ เป็นบริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งสามารถติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว โดยอีเมล์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน

  14. ประเภทของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ • การใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยซอฟต์แวร์ไคลเอนต์ ผู้ใช้งานต้องทำการล็อกอินเข้าระบบเครือข่ายหรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก่อน ส่งผ่านโปรแกรมจัดการในเครื่องคอมพิวเตอร์ • 2. การใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  15. การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ • login เข้าไป เลือกหา menu send mail หรือ outbox เมื่อคลิ้กเข้าไปจะพบแบบฟอร์มให้คุณกรอก ช่องแรกให้ใส่ e-mail address ของผู้ที่คุณต้องการส่งข้อความไปถึง ส่วน subject ก็เป็นหัวข้อของจ.ม.ที่คุณส่งไปให้ ซึ่งในช่องนี้คุณจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ทางที่ดีคุณควรจะใส่เพื่อให้ผู้รับจดหมายทราบว่า เรื่องที่คุณส่งมาเป็นเรื่องอะไร เร่งด่วนแค่ไหน

  16. ต่อมาคือช่อง cc ช่องนี้นั้นหมายถึงคุณต้องการส่งสำเนาจดหมายนี้ให้ใครบ้าง ให้ใส่ e-mail address ลงไป หากมีมากให้ใช้เครื่องหมาย , คั่นแต่ละ e-mail address ส่วนในช่อง Bcc นั้น ก็หมายถึงคุณต้องการส่งสำเนาให้ใครบ้างเช่นกันแต่จะแตกต่างกับ cc ตรงที่ผู้รับจะมองไม่เห็นว่าคุณส่งสำเนาให้ใครบ้างในขณะที่ CC นั้นผู้ที่รับเมล์จะสามารถรับทราบว่าเราส่ง copy ไปให้ใครบ้าง • ถึงตอนนี้คุณก็สามารถพิมพ์เนื้อความลงในช่องว่างด้านล่างได้ตามพอใจ เสร็จแล้ว คลิ้กปุ่ม send ซึ่งจะอยู่ไม่ด้านล่างก็ด้านบนของจอ รอสักครู่ก็เป็นอันเรียบร้อย แต่ถ้าหากคอมฯ ของคุณปรากฎหน้าต่างทำนองให้ยืนยันการส่ง ก็ไม่ต้องตกใจ ให้คลิ้ก OK ไป เท่านี้จดหมายของคุณก็ไปนอนรอที่ตู้รับปลายทางเป็นที่เรียบร้อย

  17. การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  18. รูปแบบการค้นหาข้อมูลความรู้รูปแบบการค้นหาข้อมูลความรู้ • การค้นหาข้อมูลความรู้จากที่อยู่ของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ • การค้นหาข้อมูลความรู้โดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านระบบ มี 2วิธี • 2.1 การสืบค้น(browse)โดยการเลือกเปิดดูเอาสารตามการเชื่อมโยง • 2.2 การค้นหา(search)โดยใช้โปรแกรมค้นหา

  19. การค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมค้นหาการค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมค้นหา • (search engine) • กูเกิล (google) เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มาก บริการการค้นหาของกูเกิลแยกเป็น 8หมวด ดังนี้ • เว็บ 6. แปลภาษา • รูปภาพ 7. Gmail • แผนที่ 8. เพิ่มเติม • ข่าว • บล็อก

  20. เทคนิคการค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาเทคนิคการค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยโปรแกรมค้นหา • บีบประเด็นให้แคบลง • การใช้คำที่ใกล้เคียง • การใช้คำหลัก • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข : ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้เครื่องหมายคำพูด (“ ”) • ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วยค้นหา

  21. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต • ปฏิบัติตามกฎและกติกา ละมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด • การใช้อีเมล์ : ไม่ควรส่งจดหมายลูกโซ่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น • การสนทนาผ่านเครือข่าย : ควรสนทนากับผู้ที่ต้องการสนทนาเท่านั้น หากคู่สนทนาไม่ประสงค์จะคุยด้วย ควรยุติการสนทนาทันที • การใช้กระดานสนทนา : ห้ามพาดพิงถึงสถานบันและบุคคลอื่น • การใช้ข้อมูลของเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต : ไม่ควรคัดลอกไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ • การส่งไฟล์ข้อมูล : ไม่ส่งไฟล์ที่เป็นซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายไปให้ผู้อื่น

  22. ขอบคุณครับ

More Related