1 / 12

สารต้านอนุมูลอิสระในอาหารไทย

สารต้านอนุมูลอิสระในอาหารไทย. จัดทำโดย นางสาวอา ภัส รา สระทองอ่อน 54070331 สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์. อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้อย่างไร ?.

carlo
Download Presentation

สารต้านอนุมูลอิสระในอาหารไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารต้านอนุมูลอิสระในอาหารไทยสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารไทย จัดทำโดย นางสาวอาภัสรา สระทองอ่อน 54070331 สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์

  2. อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้อย่างไร?อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้อย่างไร? • นอกจากเกิดจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายแล้ว ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์, จากรังสี, สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ เช่น ควันเสียและเขม่าจากเครื่องยนต์, ควันบุหรี่, ยาฆ่าแมลง, การออกกำลังกายอย่างหักโหม

  3. แหล่งที่มาของอนุมูลอิสระสามารถแบ่งได้อย่างง่ายๆ 1. อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเองภายในร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการ เผาผลาญของร่างกาย การออกกำลังกายอย่างหักโหม ความเครียด

  4. แหล่งที่มาของอนุมูลอิสระสามารถแบ่งได้อย่างง่ายๆ • 2. อนุมูลอิสระจากภายนอกร่างกายเช่น (1) การติด เชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส(2) การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุของกลุ่มโรคภูมิต้านทานตัวเอง (autoimmune diseases) เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี รังสีอัลตราไวโอเลต จากแสงแดดกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระบริเวณผิวหนัง

  5. อนุมูลอิสระทำให้เกิดอะไรกับร่างกายบ้าง?อนุมูลอิสระทำให้เกิดอะไรกับร่างกายบ้าง? • เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับรหัสพันธุรกรรมดีเอ็นเอในนิวเคลียสของเซลล์ อาจทำให้เซลล์กลายพันธ์และกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้าเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด จะกระตุ้นให้เกิดไขมันสะสมในหลอดเลือด นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดในสมองแตกหรือตีบได้ นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีส่วนทำให้เกิดต้อกระจก ภูมิต้านทานต่ำ โรคข้ออักเสบและแก่ก่อนวัย

  6. สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไรสารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร • สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น กระบวนการออกซิเดชั่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน หรือกระบวนการออกซิเดชั่นที่เกิดในร่างกาย เช่น การย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป มลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ รังสียูวี ล้วยทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายของเราซึ่งสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้ ในความเป็นจริงไม่มีสารประกอบสารใดสารหนึ่งสามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด แต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น

  7. บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระบทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ • สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่ โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็ว หรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทันอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

  8. ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ? ต้านอนุมูลอิสระเป็นสารอาหารจากธรรมชาติพบในผลไม้และผักบาง พวกเขาได้รับการพิสูจน์เพื่อปกป้องเซลล์มนุษย์จากความเสียหายและให้ oxidative : • แรงต้านทานภูมิคุ้มกันเพื่อ flusไวรัสและติดเชื้อ • ลดลงอย่างมากของการเกิดมะเร็งทั้งหมด • การป้องกันต้อหินและ macular เสื่อม • ลดความเสี่ยงของคอเลสเตอรอลออกซิเดชันและโรคหัวใจ • Anti - aging ของเซลล์และร่างกายโดยรวม

  9. แหล่งอาหารที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระแหล่งอาหารที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซี - ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม มะละกอสุก พริกชี้ฟ้าเขียว บร็อกโคลี ผักคะน้า ยอดสะเดา ใบปอ ผักหวาน ผักกาดเขียว

  10. วิตามินอี - น้ำมันจากจมูกข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี ซีลีเนียม - อาหารทะเล ปลาทูน่า เนื้อสัตว์และตับ บะหมี่ ไก่ ปลา ขนมปังโฮลวีต

  11. วิตามินเอ - ตับหมู ตับไก่ ไข่โดยเฉพาะไข่แดง* น้ำนม พืชผักที่มีสีเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีมสีเหลืองส้ม เช่น ผักตำลึง ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศ แคโรทีนอยด์ (บีตาแคโรทีนลูทีนและไลโคฟีน) - ผักที่มีสีเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น ผักตำลึง ผักกว้างตุ้ง ผักบุ้ง ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศ

  12. จบการนำเสนอ

More Related