4.06k likes | 8.38k Views
นโยบายสาธารณะและการวางแผน. อาจารย์เสรี พิจิตรศิริ. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. แนวคิดทั่วไป. ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มีระบอบการปกครองแบบใด มนุษย์ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐอยู่ด้วยเสมอ. เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ผู้รับผลกระทบ
E N D
นโยบายสาธารณะและการวางแผนนโยบายสาธารณะและการวางแผน อาจารย์เสรี พิจิตรศิริ
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ แนวคิดทั่วไป • ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มีระบอบการปกครองแบบใด มนุษย์ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐอยู่ด้วยเสมอ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ผู้รับผลกระทบ ผู้สนับสนุน หรือผู้คัดค้าน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ • คำกล่าวที่เรามักจะได้ยินได้ฟังอยู่เสมอๆ • นโยบายย่อมอยู่เหนือเหตุผล • เรื่องนี้เป็นเรื่องนโยบาย ผมพูดไม่ได้
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ จากคำกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บุคคลหลายคนเข้าใจและให้ความสำคัญต่อนโยบายอย่างมาก ในขณะที่อีกหลายคนไม่เข้าใจ เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า... “ทำไมจึงต้องกำหนดนโยบายเช่นนี้” ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ... • ความไม่รู้ • ความไม่เข้าใจในเรื่องของนโยบาย
นโยบายเกิดจากอะไร? • นโยบายเกิดจากปัญหาและความต้องการของสังคมในประเทศนั้น โดยปัญหาอาจจะเกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลไปกระทำหรือไม่กระทำ หรือไม่ปฏิบัติตามบางอย่าง หรือปัญหาจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ • ความต้องการอาจเป็นของบุคคลหรือกลุ่มชน ซึ่งเสนอต่อรัฐว่าต้องการอะไร ต้องการเรื่องใด ความต้องการเหล่านั้นและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น จะถูกผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐ โดยรัฐจะหาวิธีการแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของสังคม วิธีการที่รัฐบาลตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการเรียกว่า “นโยบาย” (Policy)
ความหมายของนโยบายสาธารณะความหมายของนโยบายสาธารณะ • คำว่า “นโยบาย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ • มาจากศัพท์ว่า “นย + อุบาย” หมายถึง เค้าความที่สื่อให้เข้าใจเอาเอง หรือหมายถึง“แนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์”
ความหมายของนโยบายสาธารณะความหมายของนโยบายสาธารณะ คำว่า “Policy” มีความหมายว่า แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก “Polis” ซึ่งหมายถึงเมือง รัฐ
ความหมายของนโยบายสาธารณะความหมายของนโยบายสาธารณะ นักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่า “นโยบายสาธารณะ” (Public Policy) ในหลายมิติตามวัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาของแต่ละคน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล กลุ่มที่ 3: ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล เดวิด อีสตัน(David Euston) (1953) • ให้คำนิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า “หมายถึงการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อสังคมเป็นส่วนร่วม” • บุคคลและองค์การที่สามารถใช้อำนาจดังกล่าว ได้แก่รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ หรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ไม่ว่าด้านใด ย่อมก่อให้เกิดผลต่อการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม นั้น ๆ
กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล เจส์ม แอนเดอร์สัน (James Anderson) (1970) • นโยบายสาธารณะ หมายถึง “แนวทางการกระทำ (Course of action) ของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความยากจน เกษตรกรรม เป็นต้น” • เป็นแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ แนวทางที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ไอรา ชาร์คานสกี้(Ira Sharkansky) (1970) • นโยบายสาธารณะ คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทำ กิจกรรมดังกล่าวครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ : 1. กิจกรรมเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น 2. กฎ ข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วินัยตำรวจ/ทหาร ข้อบังคับของพนักงานควบคุมโรงงาน 3. การควบคุมการกำหนดนโยบายหรือการกระทำทางการเมืองอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเสนอร่างกฎหมาย การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การสถาปนาหรือการตัดสัมพันธภาพการทูตกับประเทศต่าง ๆ 4. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองในโอกาสและเทศกาลที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เช่น วันชาติ วันสำคัญทางศาสนา
กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ธอมัส ดาย(Thomas R. Dye) (1984) • นโยบายสาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า รัฐบาลจะต้องทำอะไร ทำไมจึงต้องกระทำเช่นนั้น และอะไรเป็นความแตกต่างที่รัฐบาลกระทำขึ้น นโยบายสาธารณะจึงหมายถึง “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำ”
กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ลูอิส โคนิก(Louis Koenig) (1986) • นโยบายของรัฐ คือกิจกรรมที่รัฐบาลกระทำหรือไม่กระทำ ซึ่งมีผลต่อความกินดี อยู่ดีของประชาชน นโยบายสาธารณะมีเนื้อหาและผลของนโยบายที่ตามมาในการกำหนดชีวิตและอนาคตของประชาชน
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล ลินตัน คอล์ดเวลล์(Lynton Coldwell) • นโยบายสาธารณะ ได้แก่ “บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่สังคมอนุญาต หรือห้ามมิให้กระทำการ การตัดสินใจดังกล่าวอาจออกมาในรูปคำแถลงการณ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น และนโยบายนั้นจะต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้นในอนาคต”
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล วิลเลี่ยม กรีนวูด(William Greenwood) • นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้น เพื่อที่จะกำหนดแนวทางกว้าง ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางของการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล อาร์ เจ เอส เบเกอร์(R.J.S. Baker) • นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะทำอะไร
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล อมร รักษาสัตย์ นโยบายสาธารณะ • ในความหมายอย่างแคบ หมายถึง หลักการและกลวิธีที่นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ • ในความหมายอย่างกว้าง จะครอบคลุมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวเป้าหมายอีกด้วย
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล Heing Eulau และ Kenneth Prewitt • นโยบายสาธารณะ เป็นการตัดสินใจที่ไม่ใช่การตัดสินใจชั่วขณะ แต่เป็นการตัดสินใจที่แน่นอน มีลักษณะของการกระทำที่ไม่เปลี่ยนแปลง และกระทำซ้ำ ๆ ทำในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล ชาร์ลส์ จาคอป(Charles Jacop) • นโยบายสาธารณะ หมายถึง หลักการ แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่าง ๆ
กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ กับ อับราฮัม แทปแพลน(Harold Lasswell & Abraham Kaplan) • นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนงาน หรือโครงการที่ได้กำหนดขึ้น อันประกอบด้วย เป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ
กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล พินพันธุ์ นาคะตะ • นโยบายสาธารณะ หมายถึง โครงการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติในการจัดสรรคุณค่าต่าง ๆ ให้แก่สังคม
กล่าวโดยสรุป • ในความหมายที่แคบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม/การกระทำของรัฐบาล และมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล • ในความหมายที่กว้าง นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางในการกระทำของรัฐบาลอย่างกว้าง ๆ ที่รัฐบาลได้ตัดสินใจเลือก และกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีการวางแผนการจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ • นโยบายระดับชาติมักมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางแต่ขาดความชี้ชัดเฉพาะเจาะจง • นโยบายระดับล่าง จะต้องสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายระดับชาติ จะมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจง เน้นเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะความสำคัญของนโยบายสาธารณะ • เมื่อมีการกำหนดนโยบายหนึ่ง ๆ ขึ้นมา นโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายรัฐบาล ความศรัทธา ความเชื่อถือ ฝ่ายข้าราชการ นโยบายสาธารณะจะเป็นกลไก เครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดแนวทางการทำงาน ฝ่ายประชาชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบาย ผู้ศึกษานโยบายสาธารณะ เพื่อพัฒนาวิธีการศึกษา
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะความสำคัญของนโยบายสาธารณะ Harold D. Lasswell กล่าวว่า การกำหนดนโยบายสาธารณะ ก็คือการกำหนดว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือของการได้เสียผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนในสังคม
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะความสำคัญของนโยบายสาธารณะ • ฉะนั้น บุคคลใดมีความรู้ความเข้าใจและมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะได้มากกว่า จะได้เปรียบและหาประโยชน์ได้มากกว่า • นโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญต่อประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม กำหนดผลประโยชน์ของประเทศ กำหนดทิศทางการพัฒนา
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ การพิจารณาเฉพาะความหมายของนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีผู้อธิบายไว้แตกต่างกัน อาจจะยังไม่เข้าใจว่า สิ่งใดเป็นนโยบายสาธารณะ และสิ่งใดที่ไม่ใช่ จะดูจากองค์ประกอบ
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ เงื่อนไขสำคัญที่ทุก ๆ นโยบายจะต้องมีอยู่เสมอ นโยบายสาธารณะจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน (สอดคล้องหรือสนองความต้องการของประชาชนเป็นส่วนรวม) ต้องมีลักษณะเป็นแนวทางหรือหลักการที่จะทำให้เป้าหมายที่กำหนดไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จ (มีผลเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะกรณีหรือเฉพาะบุคคล) แนวทางเลือกในการตัดสินใจเพื่อจะกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำ ต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่น่าจะเป็นไปได้ (เมื่อนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่เพ้อฝัน)
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อนำเอานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ : ต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอน ต้องมีลำดับขั้นตอนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ต้องกำหนดการกระทำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเวลา สถานที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องมีประกาศให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วกัน (แถลงต่อสภา ประกาศผ่านสื่อมวลชน) ต้องมีการดำเนินการตามที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ของสังคม มีองค์ประกอบดังนี้ ต้องเป็นแผนงานรัฐบาล(ขณะที่อยู่ในตำแหน่ง) แผนงานดังกล่าว จะต้องมีการกำหนดเป็นโครงการไว้ล่วงหน้า (เพื่อเป็นหลักประกันว่า ได้ผ่านการพิจารณามาอย่างดีแล้ว, เพื่อให้มีเวลาแจ้งให้ประชาชนทราบเพื่อเตรียมตัวและอาจมีการแสดงความคิดเห็น) แผนงานของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นโครงการไว้แล้วนั้น จะต้องเกี่ยวกับเป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ ของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
ลักษณะของนโยบายสาธารณะลักษณะของนโยบายสาธารณะ • การจำแนกลักษณะของนโยบายสาธารณะตามผลกระทบที่พึงจะเกิดขึ้นจำแนกได้ 4 ประการ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างในสังคม (พอใจ ไม่พอใจ, ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์) เป็นกลไกในการจัดระเบียบสังคมไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอื่นหรือสังคมอื่น (ความรักชาติ, ความเป็นชาตินิยม ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ) เป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรปันส่วนสินค้าและบริการให้แก่สมาชิกของสังคม (เป็นธรรม, ทั่วถึง) เป็นเครื่องมือในการดึงดูด หรือถอนเงินมาจากสังคมโดยทั่วไป (ภาษีอากร, ค่าธรรมเนียม, ค่าปรับ แล้วนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบริการสาธารณะ เช่นการรักษาความสงบ, การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ, การส่งเสริมการศึกษา)
ลักษณะของนโยบายสาธารณะลักษณะของนโยบายสาธารณะ • การจำแนกลักษณะของนโยบายสาธารณะตามรูปแบบลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป(คล้ายกับองค์ประกอบ แต่เป็นการอธิบายลักษณะมากกว่าองค์ประกอบ) นโยบาย มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติ (แสดงเป้าหมายและแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย) นโยบายมีลักษณะส่งเสริมเสถียรภาพ นโยบายมีลักษณะแนบแน่น (มุ่งความสอดคล้องกันระหว่างนโยบายต่าง ๆ) นโยบายมีภาวะเอกรูป (จะต้องมีแบบแผนเป็นแนวเดียวกัน) นโยบายมีภาวะต่อเนื่องกัน (ทำต่อเนื่อง)
ลักษณะของนโยบายสาธารณะลักษณะของนโยบายสาธารณะ • การจำแนกลักษณะของนโยบายตามกระบวนการกำหนดนโยบาย ดรอร์ (Dror) อธิบายไว้ 12 ประการ เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนมาก (มีผู้เกี่ยวข้องมาก) มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (สอดคล้องสภาพแวดล้อม) มีองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย องค์ประกอบเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบาย มีลักษณะเป็นการตัดสินใจอย่างหนึ่ง (มีการนำทฤษฎีและแนวคิดของการตัดสินใจมาใช้) การกำหนดแนวทางปฏิบัติสำคัญ ๆ เพื่อนำทาง
การจำแนกลักษณะของนโยบายสาธารณะการจำแนกลักษณะของนโยบายสาธารณะ การจำแนกลักษณะของนโยบายตามกระบวนการกำหนดนโยบาย ดรอร์ (Dror) (ต่อ) นโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อให้มีการกระทำ งดเว้นการกระทำ เกิดขึ้นตามมา การกระทำดังกล่าวมุ่งทำในอนาคต การกระทำต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำโดยหน่วยงานของรัฐบาล การกระทำต่าง ๆ เหล่านั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสำเร็จตามนโยบาย (ประกอบด้วย 4 M : Man, Money, Material, Management) จุดมุ่งหมายของนโยบายที่ต้องการ คือผลประโยชน์ของชาติ (ไม่ใช่ตอบสนองต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง) การดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบาย ต้องกระทำในแนวทางที่ดีที่สุด(Best Possible) เพื่อผลประโยชน์สูงสุด
ประเภทของนโยบายสาธารณะประเภทของนโยบายสาธารณะ • หากทราบว่านโยบายที่พบเป็นนโยบายประเภทใดแล้ว จะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะได้ดียิ่งขึ้น • นักวิชาการจำแนกประเภทของนโยบายสาธารณะไว้ 4 ประการ จำแนกตามลักษณะของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของนโยบาย จำแนกตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย จำแนกตามกระบวนการของนโยบาย จำแนกตามลักษณะของกิจกรรมหรือภารกิจสำคัญของรัฐบาล
1. การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น) • ธีโอดอร์ โลวาย(Theodore Lowi) USA. จำแนกออก ดังนี้ • นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ (Regulative Policy) • มีวัตถุประสงค์ต้องการจัดระเบียบสังคมให้สงบสุขปราศจากการกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ • มักพบในรูปของกฎ ข้อบังคับ คำสั่ง • ตัวอย่างนโยบาย (การควบคุม การรักษาความสงบ การใช้สารพิษ การควบคุมคนเข้าเมือง การควบคุมยาเสพติด
การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น) • ธีโอดอร์ โลวาย(Theodore Lowi) USA. จำแนกออก ดังนี้ • นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบ กฎเกณฑ์ภายในหน่วยงานตนเอง (Self-Regulative Policy) • มุ่งกำกับตัวเอง • ส่วนใหญ่เป็นในแต่ละกลุ่มอาชีพ เช่น ทนายความ แพทย์ หอการค้า
การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น) • ธีโอดอร์ โลวาย(Theodore Lowi) USA. จำแนกออก ดังนี้ • นโยบายเกี่ยวกับการกระจายทรัพยากร (Distributive Policy) • มุ่งการจัดสรรทรัพยากรให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรมและทั่วกัน เช่น นโยบายการประกันสังคม การปฏิรูปที่ดิน การจ้างงานในชนบท
การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น) • ธีโอดอร์ โลวาย(Theodore Lowi) USA. จำแนกออก ดังนี้ • นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Redistributive Policy) • เนื่องจากนโยบายเดิมไม่เป็นธรรม จึงนำมาจัดใหม่ เช่น นโยบายเกี่ยวกับภาษีอากร การเวนคืนที่ดินแล้วนำมาจัดสรรใหม่
2. การจำแนกประเภทตามกระบวนการของนโยบาย • ไอรา ชาร์แคนสกี้ (Ira Sharrkansky) จำแนกออกเป็น 3 ประการ ขั้นนโยบายสาธารณะ (Public Policy) - เป็นขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมที่ตั้งใจกระทำ ขั้นผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) - แสดงให้เห็นระดับต่าง ๆ ของการบริหารอันเป็นผลผลิตมาจากการดำเนินการ ขั้นผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) - แสดงให้เห็นผลสะท้อนของบริการต่าง ๆ
การจำแนกประเภทตามกระบวนการของนโยบายการจำแนกประเภทตามกระบวนการของนโยบาย • เยเฮอเกิล ดรอว์จำแนกดังนี้ • ขั้นกำหนดนโยบายต้นแบบ (Metapolicy Making Stage) เป็นการกำหนดเจตนารมณ์ที่จะให้มีการกำหนดนโยบายสาธารณะ • ขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Making Stage) กำหนดขั้นตอนย่อย ๆ ที่จะดำเนินการ • ขั้นภายหลังการกำหนดนโยบาย (Post Policy Making Stage) เป็นการดำเนินการภายหลังจากที่กำหนดนโยบายสาธารณะแล้ว
41 การจำแนกประเภทตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย • ไอรา ชาร์แคนสกี้ (Ira Sharrkansky) เป็นการรวมนโยบายที่ส่งผลกระทบอย่างเดียวกันไว้เป็นประเภทเดียวกัน เช่น รวมเอานโยบายที่ส่งผลกระทบ ทำให้ประชาชนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพดี มีชีวิตยืนยาว รวมเป็นนโยบายสาธารณสุข เป็นต้น • นโยบายการศึกษา • นโยบายทางหลวง • นโยบายสวัสดิการสาธารณะ • นโยบายสาธารณสุข • นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ • นโยบายความปลอดภัยสาธารณะ
การจำแนกประเภทตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบายการจำแนกประเภทตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย • เดวิด อิสตัน ใช้วิธีจำแนกโดยดูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากหรือน้อย • นโยบายที่มีผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เช่น นโยบายเพิ่มภาษีที่ดิน • นโยบายที่มีผลกระทบกับสมาชิกทั้งสังคม เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การจัดระเบียบสังคม
4. จำแนกตามลักษณะกิจกรรมหรือภารกิจสำคัญของรัฐบาล • ธอมัส ดาย (Thomas R. Dye) จำแนกนโยบายของสหรัฐอเมริกา ไว้ 12 ประเภท • นโยบายการป้องกันประเทศ • นโยบายต่างประเทศ • นโยบายการศึกษา • นโยบายสวัสดิการ • นโยบายการรักษาความสงบภายใน • นโยบายทางหลวง นโยบายการภาษีอากร นโยบายเคหะสงเคราะห์ นโยบายการประกันสังคม นโยบายสาธารณสุข นโยบายพัฒนาชุมชน/ตัวเมือง นโยบายทางเศรษฐกิจ
ขอบข่ายและวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะขอบข่ายและวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ ครอบคลุมใน 4 ประเด็น ตามกระบวนการของนโยบาย คือ การกำหนดหรือก่อรูปของนโยบาย(Policy Formulation)เริ่มต้นพิจารณาถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แล้ววิเคราะห์หาทางเลือกและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด การนำนโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation)- ศึกษาถึงพฤติกรรมของคนและกลไกการบริหาร- สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลว
ขอบข่ายและวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะขอบข่ายและวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ ครอบคลุมใน 4 ประเด็น ตามกระบวนการของนโยบาย คือ การประเมินผลของนโยบาย(Policy Evaluation)- ศึกษาว่านโยบายนั้นบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่- ประเมินผลกระทบและประเมินกระบวนการ การวิเคราะห์ผลย้อนกลับของนโยบาย(Policy Feedback Analysis)- ศึกษาดูว่า การสนองตอบของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือไม่
พัฒนาการของการศึกษานโยบายสาธารณะพัฒนาการของการศึกษานโยบายสาธารณะ ยุคเริ่มต้น (1950 - 1969) เริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ 2แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ Keynessนักรัฐศาสตร์ & นักรัฐประศาสนศาสตร์ ผลักดันให้ศึกษาพฤติกรรมของรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย ยุคขยายตัว (1970 - ปัจจุบัน)มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่เน้นความเป็นธรรมในสังคมมีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะสงครามเวียดนามมีการตื่นตัวศึกษานโยบายสาธารณะมากขึ้น โดยแยกออกจากรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วิธีการศึกษานโยบายสาธารณะวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ กรอบแนวคิดว่าด้วยวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ วิธีการศึกษาในแง่ทฤษฎีหรือตัวแบบของนโยบาย (Policy Theory or Model)อาจยืมทฤษฎีหรือตัวแบบของศาสตร์อื่นมาใช้ เช่น ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีชนชั้นนำ ทฤษฎีสถาบัน วิธีการศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area)ศึกษามูลเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำเอานโยบายไปปฏิบัติมีมากมายหลายเรื่อง สามารถแยกรายละเอียดย่อย ๆ อีก
วิธีการศึกษานโยบายสาธารณะวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ กรอบแนวคิดว่าด้วยวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ วิธีการศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process) มุ่งศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการของนโยบาย เพื่อให้ทราบพฤติกรรมที่รัฐบาล ผู้เกี่ยวข้องว่าแสดงออกเช่นใด
การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของรัฐบาล เป็นการศึกษาวิเคราะห์นโยบายโดยมุ่งเน้นที่ขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบาย คือ การกำหนดนโยบาย ถือว่าการกำหนดนโยบายเป็นกิจกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในระบบการเมือง และเป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองเป็นการแยกฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหารออกจากกันมีนโยบายสาธารณะเป็นตัวเชื่อมโยง
การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์ ระบบการเมือง นโยบายสาธารณะ ระบบบริหาร