590 likes | 3.81k Views
สัปดาห์ที่ 7. กระบวนการและแบบจำลอง ของการสื่อสาร (ต่อ). 9. กระบวนการและแบบจำลองของการสื่อสาร (ต่อ). แบบจำลองของเวสเลย์และแมคลีน แบบจำลองของเบอร์โล แบบจำลองของชแรมม์ แบบจำลองกระบวนการสื่อสารแบบทางเดียว แบบจำลองกระบวนการสื่อสารแบบสองทาง. วัตถุประสงค์.
E N D
สัปดาห์ที่ 7 กระบวนการและแบบจำลอง ของการสื่อสาร (ต่อ)
9. กระบวนการและแบบจำลองของการสื่อสาร (ต่อ) • แบบจำลองของเวสเลย์และแมคลีน • แบบจำลองของเบอร์โล • แบบจำลองของชแรมม์ • แบบจำลองกระบวนการสื่อสารแบบทางเดียว • แบบจำลองกระบวนการสื่อสารแบบสองทาง
วัตถุประสงค์ • เมื่อศึกษาครั้งที่ 7 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ • อธิบายกระบวนการ การสื่อสารได้ • 2. อธิบายแบบจำลองของกระบวนการสื่อสารแบบต่าง ๆ ได้
แบบจำลองของเวสเลย์และแมคลีน ( The Westley and Mac Lean Model ) บรูซ เวสเลย์ และ มาลคอม แมคลีน ( Bruce Westley and Malcolm Mac Lean ) ได้สร้างแบบจำลองกระบวนการ การสื่อสารที่สามารถใช้อธิบายได้ทั้ง • การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเห็นหน้าค่าตากัน ( Face – to – Face communication ) • การสื่อสารมวลชน ( Mass communication )
ความแตกต่างระหว่างการสื่อสารทั้ง 2 แบบ มีดังนี้ 1. การสื่อสารระหว่างบุคคล แบบเห็นหน้าค่าตากัน คู่สื่อสาร (ผู้ส่งสาร และ ผู้รับสาร) สามารถรับรู้ถึงความ รู้สึกของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่า การสื่อสารมวลชน เพราะในการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเห็นหน้าค่าตากัน นั้น มีประสาทที่จะสัมผัสความรู้สึกได้มากกว่า กล่าวคือ
การสื่อสารระหว่างบุคคลการสื่อสารระหว่างบุคคล • สามารถได้ยินเสียง (hearing) • ได้เห็น (seeing) • จับต้องได้ (touching)
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล แบบเห็นหน้าค่าตากัน ทำให้คู่สื่อสาร ได้รับการสื่อสารกลับทันทีทันใด ( immediate “feedback” ) กล่าวคือ • สามารถทราบปฏิกิริยาและความรู้สึกของฝ่ายตรงข้ามได้รวดเร็ว ซึ่งต่างจากการสื่อสารมวลชน เพราะโอกาสที่คู่สื่อสารจะได้รับการสื่อสารกลับ (feedback) มีน้อยกว่า หรือ เป็นการสื่อสารกลับที่ล่าช้า (delayed “feedback”)
องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารตามแบบจำลองของเวสเลย์ และ แมคลีน ประกอบด้วย 1. สิ่งของและเหตุการณ์ ( objects and eventes ) 2. สาร ( message ) 3. ผู้ส่งสาร ( source ) 4. ผู้รับสาร ( receiver ) 5. การสื่อสารกลับ ( feedback )
แบบจำลองกระบวนการสื่อสารของเวสเลย์และ แมคลีน แยกออกเป็น 2 แบบ แบบที่หนึ่ง คือ แบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคล แบบเห็นหน้าค่าตากัน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
ผู้ส่งสาร (A) ได้พบเห็นสิ่งของหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง (X1) ในบรรดาสิ่งของและเหตุการณ์ทั้งหลายที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของตน (X1,X2,X3,….. X) เมื่อต้องการจะบอกเหตุการณ์นั้น (X1) ให้ผู้รับสาร (B) ทราบ (ซึ่งผู้รับสารอาจจะทราบหรือไม่ทราบเหตุการณ์นั้นมาก่อนก็ได้ (X1b) ผู้ส่งสาร (A) จึงสร้างและส่งสารนั้นไป (X’) ยังผู้รับสาร (B)เมื่อผู้รับสาร (B)ทราบ และมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร ก็จะสื่อสารกลับ (fBA) ไปยังผู้ส่งสาร (A)
แบบที่สองแบบจำลองกระบวนการสื่อสารใช้สำหรับอธิบายกระบวนการการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
การสื่อสารมวลชน การสื่อสารกลับ (feedback) เกิดขึ้นได้ 3 ทาง • ทางแรก คือ fBA จากมวลชนผู้รับสาร (B) ไปยังผู้ส่งสาร (A) • ทางที่สอง คือ fBC จากมวลชนผู้รับสาร (B) ไปยังสื่อมวลชน ผู้รับสาร (B) ไปยังสื่อมวลชน (C) • ทางที่สาม คือ fCA จากสื่อมวลชน (C) ไปยังผู้ส่งสาร (A)
องค์ประกอบในกระบวนการการสื่อสารมวลชนประกอบด้วยองค์ประกอบในกระบวนการการสื่อสารมวลชนประกอบด้วย 1. สิ่งของและเหตุการณ์ในสิ่งแวดล้อม ( X1 , X2 , X3 ,………X ) 2. ผู้ส่งสาร ( A ) 3. สาร ( X’ , X” ) X’ คือสารจากผู้ส่งสารไปยังสื่อมวลชน X” คือสารจากสื่อมวลชนไปยังมวลชนผู้รับสาร 4. สื่อ ( C ) หรือผู้เฝ้าประตู ( gatekeeper ) ได้แก่ องค์การสื่อมวลชน หรือ นักสื่อสารมวลชน ทำหน้าที่ในการคัดเลือกกลั่นกรองสารจากผู้ส่งสาร ไปยังมวลชนผู้รับสาร 5. มวลชนผู้รับสาร 6. การสื่อสารกลับ ( fBA, fBC, fCA )
แบบจำลองของเบอร์โล ( The Berlo Mode ) ค.ศ. 1960 เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) เขียนหนังสือชื่อ The Process of Commnication ได้อธิบายแบบจำลองกระบวนการ การสื่อสาร ดังนี้ กระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบอยู่ 6 ประการ คือ 1. ผู้ส่งสาร ( communication source ) 2. ผู้เข้ารหัส ( encoder ) 3. สาร ( message ) 4. สื่อ ( channel ) 5. ผู้ถอดรหัส ( decoder ) 6. ผู้รับสาร ( communication receiver )
แบบจำลองของเบอร์โล ( The Berlo Mode ) ในกรณีของการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คนนั้น • ผู้ทำหน้าที่ส่งสารและผู้ทำหน้าที่เข้ารหัสสามารถเป็นคน ๆ เดียวกันได้ รวมเรียกว่า ผู้ส่งสาร ( source) • ผู้ทำหน้าที่ในการถอดรหัส และผู้ทำหน้าที่ในการรับสารก็สามารถเป็นคน ๆ เดียวกันได้ รวมเรียกว่า ผู้รับสาร (receiver)
องค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลสรุปได้เหลือ4 องค์ประกอบ 1. ผู้ส่งสาร (source) 2. สาร (message) 3. สื่อ (channel) 4. ผู้รับสาร (receiver) เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ S M C R Model
แบบจำลองดังกล่าวมีลักษณะดังนี้แบบจำลองดังกล่าวมีลักษณะดังนี้
จากแบบจำลองของเบอร์โล การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการนี้ ประสิทธิภาพ ขององค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งสาร ปัจจัยของผู้ส่งสารประกอบด้วย • ทักษะในการสื่อสาร ( communication skills ) • ทัศนคติของผู้ส่ง ( attitudes ) • ระดับความรู้ ( knowledge ) • ระบบสังคม (social system) • วัฒนธรรม (culture)
สาร ปัจจัยของสารประกอบด้วย • - รหัส (code) • - เนื้อหา (content) • - การจัดเสนอ (treatment) ส่วนประกอบ (elements) และ โครงสร้าง (structure)
3. สื่อ สื่อในความหมายของเบอร์โล มีความหมาย 3 ประการ คือ 1. หมายความถึง การเข้ารหัส และการถอดรหัส (mode of encoding and decoding) 2. หมายความถึงสิ่งที่นำสาร (message – vehicle) เช่น คลื่นแสง คลื่นเสียง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ 3. หมายความถึงพาหนะของสิ่งที่นำสาร(vehicle –carrier) เช่น อากาศ
หมายเหตุ ในความหมายที่ 2 และ 3 นั้น เป็นเรื่องทางเทคนิค เป็นเรื่องของวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์ สื่อตามความหมายของเบอร์โล คือ ช่องทางที่จะนำสารไปสู่ประสาท ในการรู้สึก (sense mechanisms) หรือ การถอดรหัสของผู้รับสาร ได้แก่ การเห็น (seeing) การได้ยิน (hearing) การสัมผัส (touching) การได้กลิ่น (smelling) และ การลิ้มรส (tasting)
ผู้รับสาร ปัจจัยของผู้รับสารประกอบด้วย • - ทักษะในการสื่อสาร ( communication skills ) • - ทัศนคติของผู้ส่ง ( attitudes ) • - ระดับความรู้ ( knowledge ) • - ระบบสังคม (social system) • - วัฒนธรรม (culture) ข้อสังเกต องค์ประกอบที่ 1 และ 4 จะมีปัจจัยเหมือนกัน (ปัจจัยของผู้ส่งสาร และ ปัจจัยของผู้รับสาร)
แบบจำลองของชแรมม์ ( The Schramm Model ) แบบจำลองของวิลเบอร์ ชแรมม์ (wilbur Schramm) อธิบายกระบวนการ การสื่อสารไว้ในรูปของแบบจำลอง 4 แบบ ด้วยกันโดยเรียงลำดับต่อไปนี้
แบบจำลองแบบที่ 1 องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย ผู้ส่งสาร (source) ผู้เข้ารหัส (encoder) สัญญาณ (signal) ผู้ถอดรหัส (decoder) และ ผู้รับสาร (destination)
ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ส่งสาร (source) กับผู้เข้ารหัส (encoder) สามารถรวมอยู่ในตัวคน ๆ เดียวกันได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ถอดรหัส (decoder) กับผู้รับสาร (destination) ก็สามารถรวมอยู่ในตัวคนอีกคนหนึ่งได้เช่นกัน ส่วนสัญญาณ (signal) คือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร การสื่อสารระหว่างบุคคล
อธิบายเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คนนั้น ผู้ส่งสาร (source) สามารถเข้ารหัส (encode) เพื่อที่จะทำการส่งสารได้เท่าที่ประสบการณ์ (experience)ที่ตนเองพึงมีเท่านั้น ในทำนองเดียวกันผู้รับสาร (destination) ก็สามารถถอดรหัส (decode)เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสารที่ได้รับเท่าที่ประสบการณ์ (experience) ที่ตนเองมีอยู่เช่นกันวงรีสองวงที่ล้อมรอบผู้ส่งสาร แสดงถึงขอบเขตของประสบการณ์ (field of experience) ของแต่ละฝ่าย หากทั้งสองฝ่ายมี ขอบเขตของประสบการณ์ร่วมกัน (common field of experience) มากการสื่อสารก็จะสะดวกขึ้นในทางตรงกันข้าม หากทั้งสองฝ่ายไม่มีขอบเขตของประสบการณ์ร่วมกันเลย การสื่อสารก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
แบบจำลองที่ 3 ในกระบวนการการสื่อสารนั้น บุคคลแต่ละคนเป็นทั้ง ผู้เข้ารหัส (encoder) และผู้ถอดรหัส(decoder) แต่ละคนสามารถทำได้ทั้งส่งสาร และรับสาร นอกจากนั้นแต่ละคนยังทำหน้าที่เป็นผู้ตีความหมาย (interpreter) ด้วย กล่าวคือเมื่อเราถอดรหัส (decode) เราก็ตีความรหัส (interpret) แล้วเข้ารหัส(encode) ต่อไป
แบบจำลองที่ 4 ชแรมม์ได้เพิ่มองค์ประกอบในกระบวนการการสื่อสาร 2 องค์ประกอบ คือ การสื่อสารกลับ (feedback) และ สื่อ (channel) ชแรมม์ ได้ยกตัวอย่างถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน โดยกล่าวว่า ในการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คนนั้น มีการสื่อสารโต้ตอบกันกลับไปกลับมา กระบวนการตอบกลับ (return process) นี้เรียกว่า การสื่อสารกลับ (feedback)
ในการสื่อสารนั้นจะต้องอาศัยสื่อ (channel)ในการส่งสาร เราสามารถใช้สื่อในการสื่อสารได้พร้อม ๆ กันหลายสื่อในเวลาเดียว กัน สารแต่ละสารที่ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อแต่ละสื่อในเวลาเดียวกัน สามารถให้ความหมายแก่ผู้รับสารได้ทั้งนั้น เช่น ในขณะที่เราพูด (คลื่นเสียงและอากาศเป็นสื่อ) เราแสดงกิริยาอาการ (แสงเป็นสื่อ) ประกอบการพูด สารที่ส่งผ่านสื่อทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความหมายสำหรับผู้ฟังทั้งสิ้น
ชแรมม์ ได้สรุป แบบจำลองกระบวนการการสื่อสารนี้ว่า ใช้อธิบายได้ทั้งการสื่อสารมวลชน การสื่อสารในกลุ่ม และการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน จากแบบจำลองแบบที่ 4 ชแรมม์ได้เสนอ แบบจำลองกระบวนการ การสื่อสารแบบสองทาง ( Two –way Communication Process) โดยการสื่อสารกลับ (feedback) เป็นตัวแสดงลักษณะของการสื่อสารทางที่สอง
แบบจำลองกระบวนการสื่อสารแบบทางเดียว ( Model of One – way Communication Process) เป็นกระบวนการการสื่อสาร จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเท่านั้น ไม่มี การสื่อสารกลับ (feedback) ซึ่งสามารถเขียนเป็นรูปได้ ดังนี้
แบบจำลองกระบวนการสื่อสารแบบสองทาง ( Model of Two – way Communication Process ) อธิบายการสื่อสารที่มีการสื่อสารกลับ ( feedback ) คือ มีการ โต้ตอบกัน ระหว่างผู้ส่งสาร กับ ผู้รับสาร โดยปกติแล้วการ สื่อสารของมนุษย์นั้น มักจะมีลักษณะเป็นการโต้ตอบกัน
แบบจำลองกระบวนการ การสื่อสารแบบสองทาง
ประเภทของการสื่อสารกลับประเภทของการสื่อสารกลับ 1. การสื่อสารกลับทันทีทันใด ( Immediate Feedback) 2. การสื่อสารกลับที่ล่าช้า ( Delayed Feedback ) การสื่อสารกลับแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามความเร็วหรือช้าของการรับทราบการสื่อสารกลับนั้น
ชนิดของการสื่อสารกลับชนิดของการสื่อสารกลับ 1. การสื่อสารกลับเชิงบวก ( Positive feedback ) 2. การสื่อสารกลับเชิงลบ ( Negative feedback ) ปฏิกิริยาของผู้รับสารที่มีต่อสารของผู้ส่งสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะของผลที่เกิดจากการสื่อสาร
การสื่อสารกลับโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจการสื่อสารกลับโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ 1. การสื่อสารกลับโดยตั้งใจ ( Purposive feedback ) 2. การสื่อสารกลับโดยไม่ตั้งใจ ( Non- purposive feedback )
ลักษณะของการสื่อสารกลับลักษณะของการสื่อสารกลับ 1. การสื่อสารกลับเชิงวัจนะ ( Verbal feedback ) คือการสื่อสารกลับที่กระทำโดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน 2. การสื่อสารกลับเชิงอวัจนะ ( Nonverbal feedback ) คือการสื่อสารกลับที่กระทำโดยไม่ใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน แต่ใช้กิริยาอาการ (action) ปริภาษา (paralanguage) เช่น ความค่อยความดังของเสียง การกระแอม ฯลฯ