1 / 39

บทที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

บทที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์. 1. องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ 2. จิตและกระบวนการทำงานของจิต 3. พฤติกรรมของมนุษย์ 4. วิธีการศึกษาพฤติกรรม 5. แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ในการศึกษา พฤติกรรม. แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ในการศึกษาพฤติกรรม.

Download Presentation

บทที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ 1. องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ 2. จิตและกระบวนการทำงานของจิต 3. พฤติกรรมของมนุษย์ 4. วิธีการศึกษาพฤติกรรม 5. แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ในการศึกษา พฤติกรรม

  2. แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ในการศึกษาพฤติกรรม นักจิตวิทยา คือ... ผู้ที่ทำงานโดยนำความรู้ด้านจิตวิทยาที่มีลักษณะ เฉพาะเจาะจงมาใช้ในการดำเนินงานทางวิชาชีพ (เช่น นักจิตวิทยาคลินิกใช้ทักษะในการทำแบบทดสอบ เชิงจิตวิทยา นักจิตวิทยาพัฒนาการใช้ความรู้ด้าน พัฒนาการแต่ละช่วงวัยในการวางแผนการเลี้ยงดูเด็ก อย่างเป็นระบบ เป็นต้น)

  3. แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ในการศึกษาพฤติกรรม กลุ่มชีวภาพ กลุ่มชีวภาพ กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มมนุษยนิยม กลุ่มปัญญานิยม กลุ่มจิตวิเคราะห์

  4. สรุปแนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆสรุปแนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ • กลุ่มชีวภาพ กล่าวว่าพฤติกรรมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกาย • กลุ่มจิตวิเคราะห์ กล่าวถึง Id Ego Superego • กลุ่มพฤติกรรมนิยม ศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้อย่างชัดเจน • กลุ่มมนุษยนิยม กล่าวว่า มนุษย์มีศักยภาพ ศักดิ์ศรีและเสรีภาพ • กลุ่มปัญญานิยม: พฤติกรรมเกิดจากกระบวนการคิด

  5. กลุ่มชีวภาพ เป็นการศึกษาพฤติกรรมจากการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกาย

  6. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (ซิกมันด์ ฟรอยด์) เป็นการศึกษาพฤติกรรมจากพัฒนาการทางเพศของมนุษย์ ประกอบกับแรงผลักดันที่ทำให้เกิดพฤติกรรม ได้แก่ Id Ego และ Superego

  7. จิตสำนึก เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล แสดงตามแรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality) จิตกึ่งรู้สำนึก เป็นจิตที่เก็บสะสมข้อมูลประสบการณ์มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้น แต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้ พร้อมเข้ามาอยู่ในระดับจิตสำนึก เช่น เดินสวนกับคนรู้จัก เดินผ่านเลยมาแล้วนึกขึ้นได้รีบกลับไปทักทายใหม่ เป็นต้น และอาจถือได้ว่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความจำก็เป็นส่วนของจิตกึ่งรู้สำนึกด้วย เช่น ความขมขื่นในอดีต ถ้าไม่คิดถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้านั่ง ทบทวนเหตุการณ์ที่ไรก็ทำให้เศร้าได้ทุกครั้ง เป็นต้น จิตไร้สำนึก เป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่เจ้าตัวไม่รู้สึกตัวเลย อาจเนื่องมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดไว้ เช่น อิจฉาน้อง เกลียดแม่ อยากทำร้ายพ่อ ซึ่งเป็นความต้องการที่สังคมไม่ยอมรับ หากแสดงออกไป มักถูกลงโทษ ดังนั้น จึงต้องเก็บกดไว้หรือพยายามที่จะลืม ในที่สุดดูเหมือนลืมได้ แต่ที่จริงไม่ได้หาย ไปไหนยังมีอยู่ในสภาพจิตไร้สำนึก และ อิด (id) ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา เป็นพลังที่ผลักดันให้เราแสดงพฤติกรรม ตามหลักแห่งความพอใจ (principle of pleasure) แสดงออกในรูปการละเมอ การพลั้งปาก ศิลปะ วรรณกรรม ผลงานวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

  8. แรงผลักดันที่ทำให้เกิดพฤติกรรม ได้แก่ Id , Ego และ Superego • Idหรือ สัญชาติญาณคือ ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มุ่งแสวงหา ความพึงพอใจ (pleasure seeking principles) และเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกต้อง และความเหมาะสม ประกอบด้วยความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของจิตใจ และเป็นพลังผลักดันให้ ego ทำในสิ่งต่าง ๆ ตามที่ id ต้องการ • Egoหรือ อัตตา คือพลังแห่งการใช้หลักของเหตุและผลตามความเป็นจริง (reality principle) เป็นส่วนของความคิด และสติปัญญา ตนปัจจุบันจะอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ • Superegoหรือ อภิอัตตาคือส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของบุคคลในด้านของ คุณธรรม ความดี ความชั่ว ความถูกผิด มโนธรรม จริยธรรมที่สร้างโดย จิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ตนในคุณธรรมจะทำงานอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ

  9. ภรรยา Id เตะสามี Ego เตะประตูแทน Super ego อดกลั้น สถานการณ์ : ภรรยาโกรธสามี

  10. ลำดับขั้นพัฒนาการทางเพศที่มีผลต่อพัฒนาการทางบุคคลิกภาพลำดับขั้นพัฒนาการทางเพศที่มีผลต่อพัฒนาการทางบุคคลิกภาพ 1. ขั้นปาก (Oral Stage) 2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) 3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) - Oedipus Complex - Electra Complex 4. ขั้นแฝงตัว (Latency Stage) 5. ขั้นพึงพอใจ (Genital Stage)

  11. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (จอห์น บี วัตสัน) เน้นที่การศึกษาพฤติกรรมภายนอกของบุคคลที่สามารถวัดได้ สังเกตได้อย่างชัดเจน โดยใช้วิธีทดลองและสังเกตอย่างมีระบบ

  12. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

  13. การวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์: การเสริมแรง VS การลงโทษ

  14. ดู PPt ของนักศึกษา • การเสริมแรงกับการเรียนการสอน • ครูผู้สอนที่ดีจะต้องสามารถเลือกใช้วิธีการเสริมแรงให้กับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม โดยยึดหลักสำคัญดังต่อไปนี้ (สุรางค์ โค้งตระกูล , 2544: 193-194) • ครูต้องทราบว่าพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนเรียนรู้แล้วมีอะไรบ้างและให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้นๆ • ตอนแรกๆ ครูควรให้การเสริมแรงทุกครั้งที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนา แต่ตอนหลังใช้การเสริมแรงเป็นครั้งคราวได้ • ครูจะต้องระวังไม่ให้เกิดการเสริมแรง เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา • ถ้าจำเป็นสำหรับนักเรียนบางคน ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครูอาจใช้การเสริมแรงที่เป็นขนมหรือสิ่งของ หรือสิ่งที่จะเอาไปแลกของรางวัลได้ • สำหรับพฤติกรรมที่ซับซ้อน ครูควรใช้หลักการดัดพฤติกรรม (Shaping) คือให้แรงเสริมกับพฤติกรรมที่นักเรียนทำได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามลำดับขั้น • ค่อยๆลดสัญญาณบอกแนะหรือการชี้แนะลงเมื่อเริ่มเห็นว่าไม่จำเป็น • ค่อยๆลดแรงเสริมแบบให้ทุกครั้งลง เมื่อเห็นว่าผู้เรียนกระทำได้แล้วและผู้เรียนเริ่มแสดงว่ามีความพอใจ ซึ่งเป็นแรงเสริมด้วยตนเองจากการทำงานนั้นได้

  15. ความแตกต่างของแนวความคิดระหว่างพฤติกรรมนิยม และปัญญานิยม

  16. กลุ่มปัญญานิยม (กลุ่มเกสตัลต์) ศึกษาพฤติกรรมจากกระบวนทำงานในสมอง ซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม - การรับรู้ - การหยั่งเห็น “พฤติกรรมเกิดจากกระบวนการคิด”

  17. คนเราจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในรูปของส่วนรวมทั้งหมดไม่ได้รับรู้เพียงเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือสิ่งเร้าเฉพาะอ้างในลักษณะที่แยกจากกัน เช่น คน เก้าอี้ รถ ต้นไม้หรือดอกไม้ จะรับรู้ความหมายแบบทั้งหมดทั้งรูปร่าง สี่เหลี่ยม เส้นสี่เส้นมาบรรจบกัน

  18. Gestalts = Pattern หรือ Configuration • ก็หมายถึง การจัดระเบียบองค์ประกอบต่างๆ หรือส่วนย่อย ๆ เข้าด้วยกันให้เป็น โครงสร้างส่วนรวมทีมีความหมายหรือ • ส่วนรวมมีความหมายมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย

  19. เมื่อบุคคลปะทะกับสิ่งเร้า จะรับรู้สิ่งเร้าเป็นส่วนรวม หาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าเหล่านั้น จนเกิด การหยั่งเห็นinsight

  20. Insight (การหยั่งเห็นหรือการหยั่งรู้) การค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันทีทันใด อันเนื่องมาจากการพิจารณาปัญหาโดยภาพรวม

  21. กลุ่มมนุษย์นิยม (อับราแฮม เอช มาสโลว์) การศึกษาพฤติกรรมจะให้ความสนใจในความรู้สึกเป็นอิสระ และการตระหนัก ในตนเองของบุคคล

  22. ความต้องการตระหนักถึงความเป็นจริงแห่งตนความต้องการตระหนักถึงความเป็นจริงแห่งตน ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง ความต้องการความรัก ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางกาย ความต้องการ 5 ขั้น

  23. ความต้องการตามทฤษฎีมาสโลว์ การจัดการตอบสนองความต้องการ บุคลากร โดยองค์การ ความสำเร็จในชีวิต ความเจริญเติบโต (Growth) ความท้าทาย (Challenge) (Self-actualization) ความก้าวหน้า (Advamcemant) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) การยกย่อง (Esteem) การยกย่อง (Self-esteem) การยกย่อง (Recognition) ความภาคภูมิใจ (Prestige) ตำแหน่ง (Title) สถานภาพ (Status) สถานะ (Status) สังคม (Social) ความรัก (Love) ทีมงาน (Teamwork) ความรู้สึกที่ดี (Affection) การทำกิจกรรมร่วมกัน การยอมรับ (Sense of belonging) QCC 5ส TQM ความปลอดภัย (Saety) ความปลอดภัย (Safety) ความมั่นคง (Job security) ความมั่นคง (Security) ความปลอดภัยในการทำงาน ความถาวร (Stability) (Safety on the Job) ร่างกาย (Physiological) อาหาร (Food) น้ำ (Water) การจัดสวัสดิการ วัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ ที่อยู่อาศัย (Shelter) ค่าตอบแทนที่เพียงพอ (Adequate pay) แสดงทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

  24. ถ้าไม่หลับ.... มีคำถามไหมคะ ? นักศึกษาที่รัก

More Related