1 / 31

แนวทางการประเมิน องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง

แนวทางการประเมิน องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง. เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์, วท.ด.(วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข Pensri0701@gmail.com. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงและคลินิกไร้พุง

cameo
Download Presentation

แนวทางการประเมิน องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการประเมินองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงแนวทางการประเมินองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์, วท.ด.(วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข Pensri0701@gmail.com การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้ประเมินองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงและคลินิกไร้พุง วันที่ 7 มิถุนายน 2556 ณ ห้องประชุมประกายพฤกษ์ ศูนย์อนามัยที่ 3 จังหวัดชลบุรี

  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมี 2 ระดับ ระดับชุมชน หรือ ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Community approach) ระดับบุคคล หรือ รายบุคคล (Individual approach)

  3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับชุมชน (Community approach) • องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง • ชุมชนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง • หมู่บ้านจัดการสุขภาพ • ตำบลจัดการสุขภาวะ • อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง • เมืองสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว • อำเภอสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว • เครือข่ายสุขภาพอำเภอ (Health District System : DHS)

  4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล • คลินิกไร้พุง (Diet & Physical Activity clinic : DPAC) • DPAC Plush ใน Fit for Life • ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Health Coaching Center)

  5. องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง

  6. จากการเยี่ยมพัฒนา ติดตาม และประเมินรับรององค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงชุมชน/หมู่บ้านลดหวาน มัน เค็ม • การนิยามคำว่า องค์กร / ชุมชน ไม่ชัดเจน • ติดคำว่า ต้นแบบ จึงเลือกหมู่เดียว • การกำหนดพื้นที่และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ไม่ชัดเจน • ไม่ความครอบคลุมของการวัดรอบเอวและการแปลผล • ไม่มีการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา • การดำเนินการกับกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง ทำเหมือนๆกัน • การจัดการกับสิ่งแวดล้อม ไม่ชัดเจน • การกำหนดนโยบายหรือมาตรการทางสังคม ยังไม่มี

  7. การดำเนินงาน ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมา • ทำเพียงหมู่ หรือ ชุมชนเดียว • เน้นกลุ่มเสี่ยง หรือ กลุ่มป่วย (นำมาปรับพฤติกรรม) ไม่มีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง • ทำไม่ต่อเนื่อง คือ ทำเพียง 1 ปี หรือตามตัวชี้วัด • ยังไม่มีการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน หรือพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุที่ของปัญหา (ใช้ข้อมูลจากการคัดกรองไปดำเนินการน้อย) • ภาคีเข้ามามีส่วนร่วมน้อย หรือที่เข้ามายังแสดงบทบาทหน้าที่ยังไม่เต็มที่ • ยังไม่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม • ยังไม่มีการกำหนดเป็นข้อตกลง หรือ มาตรการทางสังคม หรือนโยบายสาธารณของชุมชนในการแก้ปัญหาร่วมกัน

  8. แนวทางการดำเนินงาน ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม • ทำทุกหมู่ที่รับผิดชอบ (ที่ รพ.สต.รับผิดชอบ) • วิเคราะห์สถานการณ์และบริบทของตำบลที่รับผิดชอบ - จากการคัดกรองประชาชน มีกลุ่มเสี่ยงอะไรมากที่สุด - Top Five Diseases ของโรคในแต่ละปี 3-5 ปี - พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มเสี่ยง หรือโรคที่พบมากในแต่ละปี มีลักษณะเป็นอย่างไร 3. การวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - กลุ่มปกติ ทำอย่างไร ช่องทางใดบ้าง (ให้ 3 อ. 2 ส.) - กลุ่มเสี่ยง ดำเนินการอย่างไร ติดตามอย่างไร (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)

  9. การดำเนินงาน ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ต่อ) 4. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน (Strengthen Community Action) - ภาคีมีใครบ้างที่จะมาช่วยในการแก้ปัญหาของชุมชน - ภาคีเหล่านั้นได้แสดงบทบาทและหน้าที่อะไร 5. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Building Healthy Public Policy) - ข้อตกลง หรือ มาตรการทางสังคม หรือนโยบาย ที่ชุมชนร่วมกันคิดแล้วจะปฏิบัติเพื่อลดปัญหาของชุมชน 6. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี (Creative Supportive Environment) - ทางกายภาพ เช่น พื้นที่ออกกำลังกาย กลุ่ม/ชุมชนต่างๆ อุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ร้านค้า ร้านอาหาร รถเร่ เป็นต้น - ทางสังคม เช่น การสร้างค่านิยมในการบริโภคอาหารใหม่ เป็นต้น

  10. OTTAWA CHARTER

  11. ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตาม แนวทางของกฎบัตรออตตาวา 1 การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Building Healthy Public Policy) 2 สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี (Creative Supportive Environment) 3 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน (Strengthen Community Action) 4 พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Developed Personal Skill) 5 การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข (Reorient Health Service)

  12. เกณฑ์การประเมิน “องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง”

  13. องค์กร/ชุมชนและประชากรกลุ่มเป้าหมายองค์กร/ชุมชนและประชากรกลุ่มเป้าหมาย องค์กร/ชุมชน หมายถึง หน่วยงานหรือท้องถิ่น (ตำบลหรือชุมชน) ที่มีบุคลากรทำงานหรือประชาชนอาศัยอยู่ และใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่หรือชุมชนเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท องค์กร หมายถึง ถึงหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียน สถานประกอบการ บริษัท สมาคม เป็นต้น ชุมชน หมายถึง ท้องถิ่น จะเป็น อบต. หรือเทศบาลที่มีหมู่บ้านต่างๆที่องค์กรปกครองท้องถิ่นรับผิดชอย ประชากรกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง บุคลากรในองค์กรและประชาชนในพื้นที่ที่ องค์กรปกครองท้องถิ่นรับผิดชอบ

  14. ขอบเขต / พื้นที่ดำเนินการ การกำหนดขอบเขตพื้นที่ในการดำเนินการซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีทั้งทางกายภาพและทางสังคม

  15. เกณฑ์ข้อที่ 1มีคณะกรรมการรับผิดชอบการจัดการ องค์กรสู่องค์กรต้นแบบไร้พุง

  16. เกณฑ์ข้อที่ 2มีนโยบายด้านการส่งเสริมการจัดการควบคุม น้ำหนัก

  17. เกณฑ์ข้อที่ 3มีแผนงานสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดโรคอ้วนลงพุง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

  18. เกณฑ์ข้อที่ 4มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องภัยเงียบของโรค อ้วนลงพุงภายในองค์กร/ชุมชน

  19. เกณฑ์ข้อที่ 5 ร้อยละ 80 ของบุคลากรภาครัฐหรือเอกชน ประจำอยู่ในที่ตั้งขององค์กร และประชาชนได้รับการ ประเมินรอบเอวด้วยตนเอง

  20. เกณฑ์ข้อที่ 6ร้อยละ 60 ของบุคลากรและประชาชนที่ได้ดำเนินการ วัดรอบเอวมีรอบเอวปกติ หากเป็นผู้หญิงรอบเอวน้อยกว่า 80 ซม. หากเป็นผู้ชายรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม.

  21. เกณฑ์ข้อที่ 7 มีกระบวนการสร้างทักษะลดพุงให้กับประชาชน เป้าหมายโดยใช้หลักการ 3 อ. (การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม)

  22. เกณฑ์ข้อที่ 8 มีแผนการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ บริโภคอาหารและการใช้แรงกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

  23. เกณฑ์ข้อที่ 9 ผลลัพธ์ภายหลัง 6 เดือน ที่มีกระบวนการ ต่างๆลงในองค์กร/ชุมชน

  24. เกณฑ์ข้อที่ 10 มีนโยบายหรือมาตรการสังคมที่เอื้อต่อการ สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

  25. เกณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง • ผ่านเกณฑ์เป็นองค์กร/โรงเรียน/ชุมชนต้นแบบไร้พุง • ศักยภาพขององค์กรสามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ ประกอบด้วย • แกนนำมีความรู้ความสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ • มีกรอบแนวทางการดำเนินงานจากองค์กร/โรงเรียน/ชุมชนเป็นต้นแบบไร้พุง • มีระบบเฝ้าระวังภาวะอ้วนลงพุง • มีมาตรการทางสังคมหรือนโยบายสาธารณะด้านส่งเสริมสุขภาพ • มีโครงการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนลงพุง

  26. การประเมินและผู้ประเมินรับรององค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงการประเมินและผู้ประเมินรับรององค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง • องค์กร/ชุมชน ประเมินตนเอง ถ้าพบว่ายังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ก็วางแผนและพัฒนา • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 2 คน ร่วมกันประเมินองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ

  27. สรุป การดำเนินงานที่บอกว่าเป็นชุมชนเข้มแข็ง/ยั่งยืน นั้น จะประเมินจาก • ประชาชนกลุ่มปกติ/ขาว กว้างขึ้น (รอบเอว BMI น้ำตาล ในเลือด และความดันโลหิตปกติ) • กลุ่มเสี่ยง กลายเป็นกลุ่มปกติมากขึ้น, กลุ่มเสี่ยงกลายโรคน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 5) • กลุ่มสงสัยเป็นโรค แล้วส่งยืนยัน • ส่งยืนยันแล้วไปพบแพทย์ กี่คน 1. เป็นโรคกี่คน 2. กลุ่มเสี่ยงกี่คน 3. กลุ่มปกติกี่คน • ส่งยืนยันแล้วไม่ไปพบแพทย์ กี่คน • การคัดกรองแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่กี่คน กี่เปอร์เซ็นต์

  28. สวัสดี

More Related