140 likes | 347 Views
จัดทำโดย ด.ช. ธีระวัฒน์ อุ่นแก้ว เลขที่ 11 ด.ช.นรินทร์ ทร กองบุญ เลขที่ 12 ด.ช.อภิสร พรมภิ บาล เลขที่ 29 ด.ช . นันทวัฒน์ ชมภู เลขที่ 14. เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio). เสียง ( Sound)
E N D
จัดทำโดย ด.ช.ธีระวัฒน์ อุ่นแก้ว เลขที่ 11 ด.ช.นรินทร์ทร กองบุญ เลขที่ 12 ด.ช.อภิสร พรมภิบาล เลขที่ 29 ด.ช.นันทวัฒน์ชมภู เลขที่ 14
เรื่อง เสียง (Sound) หรือ ออดิโอ (Audio)
เสียง (Sound) • เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงระทึกใจเพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือเสียงนกร้องเพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ โดยเนื้อหาบทนี้จะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับออดิโอ เช่น อุปกรณ์สำหรับออดิโอ รูปแบบไฟล์ออดิโอ และซอฟต์แวร์สำหรับออดิโอ เป็นต้น
ทำความรู้จักกับเสียง (Sound) • เสียง (Sound)อยู่ในรูปแบบของพลังงาน (Energy) เหมือนกับพลังงานความร้อน (Heat) และพลังงานแสง (Light) ที่สามารถถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางที่เกิดจากการสั่น (Vibrating) ของวัตถุ และแปลงพลังงานที่อยู่ในรูปแบบคลื่นที่ประกอบด้วยแอมพลิจูด(Amplitude) และความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง ตัวอย่างเช่น เมื่อสั่นกระดิ่งจะเกิดเป็นพลังงานเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศเพื่อถ่ายทอดพลังงานดังกล่าว และสะท้อนมายังหูของมนุษย์ เป็นต้น โดยปกติมนุษย์สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 20 ถึง 20,000 เฮิรซต์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตเสียงได้เข้ามีบทบาทในการใช้ชีวิต
องค์ประกอบของระบบเสียงองค์ประกอบของระบบเสียง • การนำเสียงจากธรรมชาติมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ต้องผ่านกระบวนการบันทึก (Record) จัด (Manipulate) และเล่นเสียง (Playback) แต่ก่อนที่จะผ่านกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องรับและแปลงเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องมือสำหรับประมวลผลและแปลงเสียงต้นฉบับให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ได้แก่ ไมโครโฟน (Microphone) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) ลำโพง (Speaker) และอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง (Audio Mixer)
ไมโครโฟน (Microphone) • ไมโครโฟน (Microphone)เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound wave) จากแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง หรือเสียงดนตรี เป็นต้น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยความถี่เสียงจะเคลื่อนที่ไปตามสายไม่โครโฟนสู่เครื่องขยายเสียง และสามารถบันทึกเสียงได้ด้วยการแปลงพลังลังงานเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
เครื่องขยายเสียง (Amplifier) • เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เป็นอุปกรณ์สำหรับการขยายสัญญาณอินพุตให้มีความดังหรือแอมพลิจูตเพิ่มขึ้นโดยเครื่องขยายเสียงจะประมวลผลสัญญาณโดยใช้ชุดของทรานซิสเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่บนแผงวงจรและใช้พลังงานจากพาวเวอร์ซับพลาย โดยสัญญาณอินพุตจะถูกขยายให้มีแอมพลิจูตเพิ่มขึ้นแต่มีรูปแบบคลื่อนเหมือนเดิม
ลำโพง Speaker • ลำโพง Speakerเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานทางไฟฟ้ากลับเป็นพลังงานเสียง ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานตรงข้ามกับไมโครโฟนหรือเครื่องขยายเสียง โดยจะทำหน้าที่ได้รับมาจากเครื่องขยายเสียง สามารถแบ่งลำโพงออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ ลำโพงแบบไดนามิก(Dynamic Speaker) และลำโพงชนิดเสียงทุ้ม (Woofer) กับลำโพลงชนิดเสียงแหลม (Tweeter)
ซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอ • ในปัจจุบันซอร์ฟแวร์ที่ใช้เล่นไฟล์เสียงมีอยู่มากมาย ซึ่งบางซอร์ฟแวร์ก็สามารถแสดงได้ทั้งภาพและเสียง โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงซอร์ฟแวร์ต่างๆที่สำคัญ ดังนี้ • Windows Media Player • เป็นซอร์ฟแวร์ของระบบปฎิบัติการ Windows ที่ใช้สำหรับเล่นไฟล์เสียงและไฟล์วีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับแพล็ตฟอร์มอื่นๆได้ เช่น Pocket PC , Mac OS , และ Solaris เป็นต้น ซึ่งสามารถเล่นไฟล์ได้หลากหลายชนิด เช่น WMV , WMA , ASF ,และ MP3 เป็นต้น
ประเภทของเสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดียประเภทของเสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดีย • เสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดียมีหลายประเภท ได้แก่ เสียงพูด (Speech) เสียงเพลง (Music) เสียงเอฟเฟ็กต์ (Sound Effect) โดยมีรายละเอียดดังนี้ • เสียงพูด(Speech) • เสียงพูด(Speech) เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ และเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้สื่อความหมายแทนตัวอักษรจำนวนมากได้ เสียงพูดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ เสียงพูดแบบ ดิจิตอล (Digitized) และเสียงพูดแบบสังเคราะห์ (Synthesized) • เสียงพูดแบบ ดิจิตอล(Digitized )เป็นเสียงพูดที่บันทึกมาจากมนุษย์ จัดเป็นเสียงที่มีคุณภาพสูง และต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมาก • เสียงพูดแบบสังเคราะห์ (Synthesized) เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถแทนเสียงพูดของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์
ขั้นตอนการนำเสียงมาใช้งาน • ไม่ว่าจะใช้มัลติมีเดียบนระบบ Macintosh หรือ Windowsต้องมั่นใจว่าเมื่อนำเสียงไปใช้กับงานมัลติมีเดียแล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น โดยจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำมาใช้งานตามขั้นตอนต่อไปนี้
เสียงพูด • เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบมิดี้ หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ • พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งานจึงตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับงานที่ออกแบบไว้ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอ หรือจะเหมาะสม • นำไฟล์เสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมิเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับงานมัลติมิเดียที่ทำการผลิต • ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับภาพในงานมัลติมเดียที่ผลิตขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันต้องทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 ซ้ำแล้วให้ทดสอบใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
สรุป • เสียง(Audio) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับงานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดบรรยากาศและอารมณ์ต่างๆไปยังผู้ชมได้ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับงานมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจแก่ผุ้ชมงานนำเสนอได้