1 / 11

การวิจารณ์วรรณกรรม

การวิจารณ์วรรณกรรม. วรรณกรรมวิจารณ์. ลักษณะนามที่หมายถึงผลงานที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึงสิ่งที่รับรู้และสัมผัสได้จากวรรณกรรมหนึ่ง ๆ. การวิจารณ์วรรณกรรม.

burton
Download Presentation

การวิจารณ์วรรณกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจารณ์วรรณกรรม

  2. วรรณกรรมวิจารณ์ ลักษณะนามที่หมายถึงผลงานที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึงสิ่งที่รับรู้และสัมผัสได้จากวรรณกรรมหนึ่ง ๆ

  3. การวิจารณ์วรรณกรรม กริยาที่หมายถึงการแสดงความคิดเห็นต่อวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ ที่รับรู้และสัมผัสได้จากกระบวนการอ่านวรรณกรรมอย่างพินิจพิเคราะห์ และแสดงออกโดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีที่เห็นควร

  4. ประเภทของงานวิจารณ์ • แบ่งตามการวิจารณ์ • แบ่งตามเรื่องวิจารณ์

  5. แบ่งตามการวิจารณ์ ๑ .จิตวิจารณ์ เป็นการวิจารณ์ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้วิจารณ์ ๒.อรรถวิจารณ์ เป็นการตีความวิจารณ์ตามเนื้อหาสาระและสรุปผลสรุปงานแล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย ๓.วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการวิจารณ์เชิงตัดสินอาจใช้แบบอย่างที่ผ่านมาเป็นเครื่องวัดหรืออาจใช้ความรู้สึกชอบไม่ชอบ

  6. แบ่งตามเรื่องวิจารณ์  2.1 การวิจารณ์ทางวิชาการ เป็นการวิจารณ์ผลงานสาขาวิชาต่างๆโดยนำหลักการในศาสตร์นั้นมาเป็นเกณฑ์  2.2 การวิจารณ์เชิงข่าว เป็นการวิจารณ์ข่าว อาทิ การแข่งขันกีฬา  2.3 การวิจารณ์วรรณกรรม ระดับง่าย เป็นการให้ผู้อ่านได้รู้จักหนังสือหรือข้อเขียน ระดับลึก เป็นการพินิจพิเคราะห์คุณค่าในแง่ต่างๆ 2.4การวิจารณ์ทั่วไป วิจารณ์การแสดง ละคร ดนตรี ภาพยนตร์ วิจารณ์รายการต่างๆทางสื่อมวลชน วิจารณ์งานศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย

  7. ตัวอย่าง...

  8. เรื่องย่อ เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม เเนื้อเรื่องตอนนี้เริ่มจากนางวันทองมาอยู่กับขุนช้าง ส่วนขุนแผนถูกจำคุกอยู่ที่เมืองหลวง ขณะนั้นนางวันทองมีครรภ์   เมื่อครบสิบเดือนจึงได้ให้กำเนิดบุตรชาย นางให้ชื่อลูกว่า พลายงาม ยิ่งโตพลายงามก็ยิ่งงาม หน้าตาละม้ายคล้ายพ่อ คือขุนแผน   จนอายุได้เก้าขวบ ขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตน จึงลวงไปทำร้าย และเอาท่อนไม้ทับจะให้ตาย ขุนช้างทิ้งพลายงามไว้ในป่าแต่พรายของขุนแผนช่วยไว้ได้ พรายของขุนแผนมากระซิบบอกนางวันทองให้ทราบเรื่องที่ขุนช้างจะฆ่าพลายงาม  นางจึงรีบออกไปตามหาลูก พลายงามร้องไห้เล่าให้แม่ฟังเรื่องที่ถูกขุนช้างทำร้าย นางจึงบอกความจริงแก่ลูกว่า บิดาที่แท้จริงคือขุนแผน ขณะนั้นถูกจำคุกอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ย่าของพลายงามชื่อนางทองประศรี อยู่ที่วัดเชิงหวายเมืองกาญจนบุรี เมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้ พลายงามคงอยู่บ้านกับมารดาต่อไปไม่ได้   วันทองตัดสินใจนำลูกไปฝากไว้ที่วัดก่อน นางวันทองพาพลายงามไปฝากไว้กับสมภารชื่อขรัวนาค คืนนั้นเป็นครั้งแรกที่พลายงามอยู่ห่างบ้าน ทั้งใจยังหวั่นหวาดกับเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น พลายงามนอนไม่ใคร่หลับตลอดคืน

  9. วันรุ่งขึ้น นางวันทองจัดของไปรับลูกที่วัด แล้วพาไปส่งที่ท่าเกวียน ให้พลายงามเดินทางไปหาย่าทองประศรี ที่เมืองกาญจนบุรี เพราะลำพังนางวันทองคงไม่สามารถคุ้มครองลูกจากขุนช้างได้   สองแม่ลูกอำลากันอย่างเศร้าสร้อย พลายงามเดินทางตามลำพัง แวะพักค้างคืนที่วัดต่างๆ ระหว่างทาง จนมาถึงเมืองกาญจนบุรี ได้ขึ้นไป ปีนต้นมะยมเล่น โดยมิได้รู้ว่ามาถึงบ้านย่าแล้ว   นางทองประศรีออกมาไล่ทุบตี จนเมื่อไต่ถามกันจึงรู้ว่าเป็นหลาน นางทำพิธีสมโภชรับขวัญ แล้วพาไปหาขุนแผนที่กรุงศรีอยุธยา พลายงามเล่าเรื่องขุนช้างให้พ่อฟัง   ขุนแผนโกรธมาก จะไปฆ่าขุนช้าง   แต่นางทองประศรีห้ามไว้ และเตือนสติต่างๆ นานา   ขุนแผนจึงค่อยสงบลง และฝากฝังลูกไว้กับย่า ให้ตั้งใจเรียนเขียนอ่าน นางทองประศรีจึงพาพลายงามกลับ   พลายงามอาศัยอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรี ได้ร่ำเรียนหนังสือ และคาถาอาคมจนแตกฉานไม่ด้อยกว่าขุนแผน                    จนเมื่อพลายงามอายุได้สิบสามปี   นางทองประศรีจึงได้จัดพิธีโกนจุกตามประเพณีวันรุ่งขึ้น พลายงามก็เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา   เมื่อขุนแผนได้พบพลายงามก็ใจ ซักไซ้ไต่ถามดูก็ทราบว่ามารดาตนสั่งสอนพลายงามมาอย่างดี จึงนำไปฝากฝังกับหมื่นศรีเสาวรักษ์ราชให้ช่วยพาไปถวายตัวหมื่นศรีพิจารณา พลายงามเห็นเป็นเด็กฉลาด จึงรับไว้ในบ้านเหมือนเป็นนักเรียนประจำ แนะนำสั่งสอนให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไว้อีก ในระหว่างที่พักอยู่ที่บ้าน นอกจากจะสอนวิชาความรู้แล้ว หมื่นศรียังให้พลายงามตามหลังเข้าวัง เพื่อศึกษาแนวทางและวิธี ปฏิบัติตนด้วย เมื่อหมื่นศรีฯ เห็นว่า พลายงามมีวิชาความรู้ครบถ้วนจบหลักสูตร กิริยามารยาทเป็นที่พอใจ สมควร เข้ารับราชการได้ ก็พาพลายงามถวายตัวต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยผลกรรมดลพระทัยสมเด็จพระพันวษา พลายงามจึงยังไม่ได้เข้ารับราชการในครั้งนี้

  10. การวิจารณ์ตัวละคร เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม 1. ขุนแผน                 เป็นทหารเอกของสมเด็จพระพันวษา มีความรู้ ความสามารถสมเป็นชาย มีนิสัยกล้าหาญ อดทน ซื่อสัตย์ กตัญญู แต่เป็นคนเจ้าชู้ และมีคารมคมคาย ทำให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม 2. ขุนช้าง                 เป็นชายที่มีรูปร่างไม่งาม คือ อ้วน หัวล้าน แต่ร่ำรวย ใจคอกว้างขวาง และมีความรักที่แท้จริงมั่นคงต่อนางวันทอง ขุนช้างมีนิสัยที่ไม่ดี เป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยม ชอบใช้อุบายหลอกลวงผู้อื่นโดยหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาจนทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายเสมอ

  11. 3. นางวันทอง                 นางวันทอง  เดิมชื่อพิมพิลาไลย เป็นหญิงงามที่มีชายหมายปองมาก จนเป็นเหตูให้เกิดการชิงรักกันขึ้นระหว่างขุนช้างและขุนแผน มีนิสัยใจร้อน อารมณ์รุนแรง ไม่ยอมใคร และฝีปากกล้า ค่อนข้างจะเป็นคนใจโลเล เพราะนางมีสามีถึงสองคนโดยที่เลือกไม่ได้ว่าจะอยู่ฝ่ายใด 4. พลายงาม                 เป็นผู้ที่ดำเนินตามรอยพ่อ คือ รู้จักบวชเรียนหาความรู้และรับใช้ชาติ มีนิสัยวู่วาม แต่เป็นคนที่มีความกตัญญูรู้คุณคน และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ

More Related