1 / 27

ภาพรวม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น

ภาพรวม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น. น.ส. สุนันทา กังวาลกุลกิจ ผู้อำนวยการสำนักเอเชียและแปซิฟิก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554 ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ. ภาพรวมของความตกลง TAFTA TNZCEP และ JTEPA.

burton-wood
Download Presentation

ภาพรวม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาพรวม FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น น.ส. สุนันทา กังวาลกุลกิจ ผู้อำนวยการสำนักเอเชียและแปซิฟิก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554 ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ

  2. ภาพรวมของความตกลงTAFTA TNZCEP และ JTEPA ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง (Comprehensive)* * หมายเหตุ: ขอบเขตความครอบคลุมของแต่ละความตกลงแตกต่างกัน

  3. ความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลียThailand – Australia Free Trade Agreement: TAFTA นับตั้งแต่ความตกลง TAFTA มีผลบังคับใช้ในปี 2548 ไทยและออสเตรเลียทยอยลดภาษีนำเข้าให้แก่กัน ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศยังมีสินค้าที่ยังไม่ลดภาษีเป็น 0 ดังนี้

  4. ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันไทย-นิวซีแลนด์ Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership : TNZCEP ปัจจุบัน ยังมีสินค้าที่ไทยและนิวซีแลนด์ยังไม่ลดภาษีเป็น 0 ดังนี้

  5. ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย - ญี่ปุ่นJapan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA นับตั้งแต่ความตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้ในปี 2550 ไทยและญี่ปุ่นทยอยลดภาษีนำเข้าให้แก่กัน ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศยังมีสินค้าที่ยังไม่ลดภาษีเป็น 0 ดังนี้

  6. การเปิดตลาดภาคบริการภายใต้ TAFTA ไทย ออสเตรเลีย เปิดตลาดให้ผู้ให้บริการไทยเข้าไปจัดตั้งธุรกิจในออสเตรเลียทุกประเภทได้ 100% ยกเว้นหนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การบินระหว่างประเทศและท่าอากาศยาน แต่การลงทุนขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ต้องขออนุญาต Foreign Investment Review Board (FIRB) ยกเลิกเงื่อนไขที่ต้องทดสอบตลาดแรงงานในประเทศก่อนจ้างคนจากต่างประเทศให้แก่ไทยถาวร และ อนุญาตให้คนไทยไปทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ และพ่อครัว/แม่ครัวได้ • เปิดตลาดในบางธุรกิจให้คนออสเตรเลียถือหุ้นได้ไม่เกิน 60% โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทยและมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ไม่เกิน 3 ต่อ 1 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และใช้เงินลงทุนสูง เช่น หอประชุมศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ • อนุญาตให้คนออสเตรเลียเข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญได้ ยกเว้น 39 อาชีพที่ห้ามคนต่างชาติทำ

  7. การเปิดตลาดภาคบริการภายใต้ TNZCEP ยังไม่มีการเจรจาเปิดตลาด แต่มีหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ TNZCEP เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองและทำงานในไทยและนิวซีแลนด์มากขึ้น ไทย นิวซีแลนด์ ให้พ่อครัว/แม่ครัวที่ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีประสบการณ์ทำงานตามที่กำหนดและได้รับการว่าจ้างจากธุรกิจในนิวซีแลนด์เข้าไปทำงานได้ 3 ปี ต่ออายุได้อีก 1 ปี • ให้นักธุรกิจนิวซีแลนด์ที่เข้ามาติดต่อธุรกิจสามารถขอ Multiple Visa ได้ • นักธุรกิจนิวซีแลนด์ที่ถือบัตร APEC Business Travel Card มาประชุมในไทยได้ 90 วัน • ให้นักลงทุนนิวซีแลนด์สามารถใช้ศูนย์ One Stop Service for Visa and Work Permit ได้

  8. การเปิดตลาดภาคบริการภายใต้ JTEPA ไทย ญี่ปุ่น ให้บริษัทไทยเข้าไปจัดตั้งกิจการ/ให้บริการ และ/หรือให้คนไทยทำงาน/ให้บริการในญี่ปุ่นได้ เพิ่มเติมจากที่ผูกพันไว้ที่ WTO ประมาณ 65 สาขาย่อย และปรับปรุงข้อผูกพันที่ WTO ประมาณ 70 สาขาย่อย โฆษณา – จัดประชุม ร้านอาหาร – จัดเลี้ยง ทัวน์และไกด์ – สปา โรงแรม – ออกแบบพิเศษ จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ • ให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาจัดตั้งกิจการ/ให้บริการ เพิ่มเติมที่ผูกพันไว้ที่ WTO ทั้งหมด 14 สาขาย่อย (โดยมีเงื่อนไข) • บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการทั่วไป (100%) • บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านการตลาด (49%) • บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (49%) • บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านผลิต (49%)

  9. การเปิดตลาดภาคลงทุนภายใต้ TAFTA ไทย ออสเตรเลีย เปิดการลงทุน 2 สาขา ได้แก่ เหมืองแร่: ทุกประเภทกิจกรรม แต่มีข้อสงวนด้านกฎระเบียบในระดับท้องถิ่น การผลิต: ทุกประเภทกิจกรรม แต่มีข้อสงวนด้านกฎระเบียบในระดับท้องถิ่น • เปิดการลงทุน 2 สาขา ได้แก่ • เหมืองแร่: ให้คนออสเตรเลียร่วมทุนกับคนไทยโดยถือหุ้นได้ไม่เกิน 60% • การผลิตที่ไม่อยู่ในบัญชี 1 และ 2ของ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ: ให้คนออสเตรเลียร่วมทุนกับคนไทยโดยถือหุ้นได้ไม่เกิน 50%

  10. การเปิดตลาดภาคลงทุนภายใต้ TNZCEP ไทย นิวซีแลนด์ อนุญาตให้คนไทยไปลงทุนในธุรกิจทุกเกือบประเภท แต่หากเป็นการลงทุนเกิน 50 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ จะต้องขออนุญาตก่อน • อนุญาตให้นิวซีแลนด์เข้ามาลงทุนธุรกิจผลิตสินค้าบางประเภทที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ กระดาษ สิ่งทอ ชิ้นส่วนยานยนต์

  11. การเปิดตลาดภาคลงทุนภายใต้ JTEPA ข้อกำหนดอื่น ๆ: การเปิดเสรีครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโดยตรง, การคุ้มครองการลงทุนไม่ครอบคลุมการลงทุนในภาคบริการการเงิน, อนุญาตการใช้มาตรการปกป้องชั่วคราวเพื่อปกป้องดุลชำระเงินและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและของอัตราแลกเปลี่ยน ไทย ญี่ปุ่น ให้บริษัทไทย/คนไทยเข้าไปลงทุนในทุกสาขา ยกเว้นอุตสาหกรรมผลิตยา อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมัน อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการกระจายเสียง การทำเหมืองแร่ การประมง การเกษตร ป่าไม้ และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • เฉพาะภาคการผลิตยานยนต์ ให้บริษัท/คนญี่ปุ่นที่ถือหุ้นน้อยกว่า 50% (หุ้นที่เหลือต้องถือโดยผู้ลงทุนไทย) ไม่ต้องขออนุญาตการประกอบธุรกิจ

  12. การค้าของไทยก่อนและหลังมีความตกลงการค้าเสรีการค้าของไทยก่อนและหลังมีความตกลงการค้าเสรี สำหรับ TAFTA และ TNZCEP (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับ JTEPA (พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) TAFTA TNZCEP และ JTEPA ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการค้าโดยนับแต่ความตกลงทั้งสามฉบับมีผลบังคับใช้ การค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และไทย-ญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ มีการขยายตัวมากกว่า 3 เท่าตัว และ 2 เท่าตัว ตามลำดับ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าเป็นส่วนใหญ่ สำหรับ TAFTA และ TNZCEP การค้าก่อนมีความตกลงคือ ปี 2542-2547 และการค้าหลังมีความตกลงคือ ปี 2548-2553 สำหรับ JTEPA การค้าก่อนมีความตกลงคือ ปี 2546-2549 และการค้าหลังมีความตกลงคือ ปี 2550-2553

  13. การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง TAFTA ของไทย • ด้านการส่งออก:ผู้ส่งออกไทยใช้ประโยชน์จากความตกลง TAFTA มาก (สัดส่วนการใช้สิทธิ • ประโยชน์สูงกว่าร้อยละ 80 ทุกปี (ยกเว้นปี 2552 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก) • ด้านการนำเข้า:การใช้สิทธิประโยขน์ค่อนข้างน้อย เฉลี่ยประมาณร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจาก • สินค้าที่นำเข้ามาจากออสเตรเลียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ซึ่งภาษีนำเข้าปกติได้รับการยกเว้นหรือมี • อัตราต่ำอยู่แล้ว ร้อยละ ที่มา : สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ หมายเหตุ: สถิติการนำเข้าภายใต้ TAFTA ประจำปี 2548 ไม่มีการเก็บรวมรวมไว้

  14. การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง TNZCEP ของไทย • ด้านการส่งออก: ใช้ระบบ self-certification(การรับรองเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออก) จึงไม่มีการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ดังนั้น หน่วยงานของไทย (กรมการค้าต่างประเทศ) ไม่สามารถเก็บสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ได้ แต่หน่วยงานศุลกากรของนิวซีแลนด์จะมีข้อมูลดังกล่าว ซึ่งล่าสุดไทยและนิวซีแลนด์ตกลงที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงการใช้สิทธิประโยชน์ด้านการส่งออกระหว่างกัน • ด้านการนำเข้า:การใช้สิทธิประโยชน์ของไทยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 ร้อยละ

  15. สถิติการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ JTEPA ของไทย ในปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.)ไทยมีการขอใช้สิทธิ JTEPA ส่งออกมูลค่า 2,964.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.01 จากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 2,116.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 68.35 ของมูลค่าการส่งออกเฉพาะรายการที่ได้รับสิทธิฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 64.64 ของปีก่อนหน้า ที่มา : สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ

  16. การลงทุนกับความตกลงTAFTA/TNZCEP/JTEPAการลงทุนกับความตกลงTAFTA/TNZCEP/JTEPA ด้านการลงทุน:การลงทุนจากออสเตรเลียในไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นการลงทุนจากนิวซีแลนด์ค่อนข้างผันผวน ส่วนการลงทุนจากญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง การลงทุนของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (พันล้านบาท) การลงทุนของญี่ปุ่น (พันล้านบาท) ที่มา: BOI (สถิติการลงทุนจากต่างประเทศ รายเดือนสะสม) หมายเหตุ: TAFTA, TNZCEP และ JTEPA มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ม.ค. 2548,1 ก.ค.2548 และ 1 พ.ย. 2550ตามลำดับ

  17. TAFTA / TNZCEP: สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น • เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลง TAFTA และ TNZCEP • คณะทำงาน SPS: สำหรับสินค้าเกษตรทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีความเข้มงวดเรื่องการตรวจด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)ภายใต้กรอบ TAFTA และ TNZCEP ได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน SPS ขึ้น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ไทยผลักดันให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว • กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin: ROO) สำหรับสินค้าบางรายการภายใต้ TAFTA ไม่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตของไทยในปัจจุบัน เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อย่างไรก็ดี ภายใต้ความตกลง TAFTA มีคณะทำงานคณะกรรมการกฏว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งเป็นกลไกที่ไทยจะสามารถเจราปรับแก้ไข ROO ให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

  18. JTEPA : สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ด้านการลดภาษี สินค้า 4 กลุ่มที่ต้องการเจรจาลดภาษีเพิ่มเติม • กลุ่มลดภาษีแล้วแต่ต้องการให้ลดเพิ่มเติม น้ำตาลดิบ เนื้อสุกรแปรรูป เอสเตอร์รีไฟด์สตารช์ 2. กลุ่มสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP ในปัจจุบัน ให้ญี่ปุ่นโอนสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จำนวน 102 รายการที่ให้แก่ไทยในปัจจุบันไปลดภาษีนำเข้าภายใต้ JTEPA

  19. JTEPA: สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) ด้านการลดภาษี สินค้า 4 กลุ่มที่ต้องการเจรจาลดภาษีเพิ่มเติม (ต่อ) 3. กลุ่มที่ให้มีการเจรจาใหม่ภายใน 5 ปี ปลาแปรรูป/ปลากระป๋อง (ซาร์ดีน แมคเคอเรล ฯลฯ) ปูกระป๋อง น้ำผัก-ผลไม้แปรรูป (สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด มะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ) สุกรแปรรูป (บางรายการ) 4. กลุ่มที่ไม่นำมาลดภาษี (Exclusion List) ให้นำมาลดภาษี ได้แก่หมึกแปรรูป พาสต้า มักกะโรนี สปาเก็ตตี้ ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้อเสนอ: ทยอยลดภาษีให้เหลือ 0% ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

  20. ข้อห่วงกังวลจากการเปิดเสรีภายใต้ TAFTA และ TNZCEP อุตสาหกรรมโคเนื้อ/โคนม • ตั้งแต่ความตกลง TAFTA และ TNZCEP มีผลบังคับใช้ ไทยมีความร่วมมือกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้านปศุสัตว์หลายโครงการ เช่น • - การศึกษาดูงานด้านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโคนมและการปรับตัวของเกษตรกร • โคนม ณ รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย • - การฝึกอบรมหลักสูตร Business Management for Dairy Farmers ณ จ.เชียงใหม่ • - โครงการ Quality Milk ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และเอกชนนิวซีแลนด์ • ไทยเสนอความร่วมมือเพิ่มเติม เช่น โครงการ Product Development and Marketing of Qualified Fattened Cattle Products of Thailand Cooperatives และ Capacity Building on Best Management Practices on Environment Issues in Dairy Farms

  21. มาตรการรองรับและเยียวยามาตรการรองรับและเยียวยา • นอกจากนั้น รัฐบาลมิได้นิ่งนอนใจ ยังมีการเตรียมการป้องกันเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ • จาก FTA โดยมีการตั้ง 2 กองทุน 1) กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ [กองทุนปรับโครงสร้าง] (หน่วยงาน: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 2) โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า [กองทุน FTA] (หน่วยงาน: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) ตัวอย่างโครงการความช่วยเหลือที่ได้รับอนุมัติภายใต้ 2 กองทุน เช่น - โครงการปรับโครงสร้างสินค้าเนื้อโคขุนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ - โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มคลัสเตอร์ส้มเชียงใหม่ เพื่อการปรับตัวจากผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า - โครงการจัดทำระบบประกันสุขภาพ GMP โรงงานผลิตปลาป่นเพื่อความปลอดภัย ของอาหารสัตว์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

  22. การเจรจาต่อตามพันธกรณีภายใต้ TAFTA และ TNZCEP ไทยมีพันธกรณีภายใต้ TAFTA และ TNZCEP ที่จะต้องเจรจาเพิ่มเติมในประเด็น ดังนี้

  23. การเจรจาต่อตามพันธกรณีภายใต้ JTEPA - ส่วนการค้าสินค้า -

  24. การเจรจาต่อตามพันธกรณีภายใต้ JTEPA - ส่วนการค้าบริการ และการลงทุน-

  25. TAFTA / TNZCEP: การดำเนินการเตรียมการสำหรับการเจรจาเพิ่มเติม • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการตาม ม.190 ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้ • - ให้ข้อมูลประชาชนผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ เว๊บไซต์ และรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านการจัดสัมมนาเวทีสาธารณะ • - รัฐสภาให้ความเห็นชอบกรอบเจรจา TAFTA และ TNZCEPเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2553 • มีจัดตั้งคณะเจรจา TAFTA และ TNZCEP ฝ่ายไทยโดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็น • หัวหน้าคณะ และมีผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ เป็นองค์ประกอบ เช่น กรมเจรจาการค้า • ระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงาน • เศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมศุลกากร เป็นต้น • ในการประชุม TAFTA JC และ TNZCEP JC ที่ผ่านมาล่าสุด มีการหารือในเบื้องต้นกับทั้งสองประเทศเกี่ยวกับกำหนดการและรูปแบบเจรจาต่อตามพันธกรณี

  26. JTEPA : การดำเนินการเตรียมการสำหรับการเจรจาเพิ่มเติม

  27. ความเห็น คำถาม ข้อเสนอแนะ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 44/100 ถ. นนทบุรี 1 อ. เมือง จ. นนทบุรี Call Center 0-2507-7555 http://www.dtn.go.th http://www.thaifta.com ตู้ ป.ณ. 150 ปณ. นนทบุรี 11000

More Related