E N D
พริกต่าง ๆ พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceaeมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chileหรือ chilliมาจากคำภาษาสเปน ว่า chileโดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน 1.พริกขี้หนู 2.พริกชี้ฟ้า 3.พริกหวาน 4.พริกไทย 5.พริกกระเหรี่ยง
พริกขี้หนู ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens Linn. ชื่อสามัญ ChilliPadi, Bird's Eye Chilli, Bird Chilli, Thai pepper วงศ์ Solanaceae ชื่ออื่นๆ พริกขี้หนู - พริกนก พริกแต้ พริกแด้ (เหนือ) พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) พริกชี้ฟ้า - พริกเดือยไก่ (เหนือ) พริกมัน (กรุงเทพ) พริกยักษ์ - พริกหวาน พริกฝรั่ง
พริกขี้หนู ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผล : ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆแกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ดเดะเอิด
สรรพคุณ สรรพคุณ : ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา อื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนเป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ
พริกชี้ฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuumLinn.VaracuminatumFingerh. ชื่อสามัญ Cayenne pepper, chili spur pepper, long fed pepper, spur pepper วงศ์ SOLANACEAE ชื่ออื่นๆ พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกหนุ่ม (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกแด้ (เหนือ) พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน)
ลักษณะของพริกชี้ฟ้า พริกชี้ฟ้าเป็นพืชที่กินผล ใช้ประกอบอารหารได้หลายชนิด และนำไปแปรรูปเป็นอาหารอื่นๆได้อีก พริกชี้ฟ้าเป็นพืชที่มีอายุยืน มีรสเผ็ด และมีทรงพุ่มใหญ่ เมื่อเป็นผลอ่อนจะมีสีเขียวแลัวจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อแก่ พริกชี้ฟ้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอเมริกาใต้ เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกสลับ รูปใบหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร ดอกสีขาว ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกห้อยลง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลรูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียวแหลม มักโค้งงอ ยาว 6-9 เซนติเมตร ผิวเป็นมันสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเมล็ดแบนสีนวลจำนวนมาก ลำต้น พริกเป็นพืชที่มีการเจริญของกิ่งเป็นแบบ Dichotomous คือ กิ่งจะเจริญจากลำต้นเพียง 1 กิ่ง แล้วแตกเป็น 2 กิ่ง และเพิ่มเป็น 4 เป็น 8 ไปเรื่อยๆ จึงมักจะพบว่า ต้นพริกที่สมบูรณ์จะมีกิ่งแตกขึ้นมาจากต้นที่ระดับดินหลายกิ่ง จนดูคล้ายกับว่ามีหลายต้นอยู่รวมที่เดียวกัน ใบ เป็นแบบใบเดี่ยว ใบแบนเรียบ มีขนบ้างเล็กน้อย ใบมีรูปร่างตั้งแต่รูปไข่ไปจนกระทั่งเรียวยาวขนาดใบมีต่างๆกัน ใบพริกหวานมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ใบพริกขี้หนูทั่วไปมีขนาดเล็ก แต่ในระบบเป็นต้นกล้าและส่วนใบล่างๆของต้นโตเต็มวัย มีขนาดใบค่อนข้างใหญ่ ราก เป็นพืชที่มีรากหากินได้ลึกมาก ต้นพริกที่โตเต็มที่รากฝอยจะแผ่ออกไปหากินด้านข้างในรัศมีเกินกว่า 1 เมตร และหยั่งลึกลงในดินเกินกว่า 1.20 เมตร ตรงบริเวณรอบๆ ต้นจะพบว่ามีรากฝอยสานกันอยู่อย่างหนาแน่นมาก ดอก โดยปกติมักจะพบว่าดอกเกิดเดี่ยวที่ข้อตรงมุมที่เกิดใบหรือกิ่ง แต่ก็พบว่ามีหลายดอกที่เกิดขึ้นตรงจุดเดียวกัน ดอกประกอบด้วยกลีบรอง ดอกมีลักษณะเป็นพู 5 พู มีกลีบดอกซึ่งจะมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ (แต่อาจจะมี 4, 5, 6 หรือ 7 กลีบ) บางพันธุ์กลีบดอกจะเป็นสีม่วง โดยปกติจะมีเกสรตัวผู้อยู่ 5 อัน ซึ่งเท่าจำนวนกลีบดอกนั่นเอง เกสรนี้จะแตกออกมาจากตรงโคนของกลีบดอก อับเกสรตัวผู้มักมีสีน้ำเงินและจะแยกตัวเป็นกระเปาะเล็กๆ ยาวๆ
พริกหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. var. longum ชื่อสามัญ Banana pepper วงศ์ Solanaceae ชื่ออื่นๆ พริกยักษ์ ลักษณะ : เป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ในระยะแรกพืชจะเจริญเป็นลําต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรก ตรงยอด ของลําต้นเดี่ยว จากนั้นจะแตกกิ่งแขนง ในแนวตั้งออกเป็นสองกิ่ง และเมื่อดอกเจริญที่ปลายกิ่ง ซึ่งกิ่งแขนง จะเจริญเป็นสองกิ่ง ทํ าให้จํานวนกิ่งเพิ่มขึ้น ตลอดฤดูการเจริญเติบโต ใบ จะเป็นใบเดี่ยว เจริญสลับกัน ใบของพริกหวาน จะมีขนาดใหญ่ เมื่อใบเจริญ 9-11 ใบ ดอกแรกจะเจริญ ราก จะเจริญในแนวดิ่งลึก 90 -120 เซ็นติเมตร รากแขนงจะแผ่กว้างออกด้านข้างประมาณ 90 เซ็นติเมตร และรากส่วนใหญ่ จะอยู่อย่างหนาแน่น ในระดับความลึก 50- 60 เซ็นติเมตร ดอก จะเป็นดอกสมบูรณ์ เป็น ดอกเดี่ยว ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนใหญ่จะมีสีขาว แต่บางพันธุ์จะมีสีม่วง เกสรตัวผู้แยกกันมีจํ านวน 5 อัน อับละอองเกส รจะมีสีม่วง ยอดเกสรตัวเมียบางพันธุ์ ผล พริกหวาน Bell types ผลมีลักษณะกลมยาว ขนาดใหญ่ ผลประกอบด้วย capsaicin ในปริมาณที่ตํ่ามาก บางครั้งเรียกพริกหวาน (sweet pepper) พริกหวานสีเขียว จะมีปริมาณความต้องการ ของตลาดสูง แต่เมื่อปล่อยให้แก่บนต้น จะเปลี่ยนเป็นสีแดง สายพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ ขึ้นมาใหม่ อาจจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เหลือง ส้มหรือม่วง การปลูกพริกสีเหล่านี้ นิยมปลูกในเรือนโรง เนื่องจากการอายุ การเก็บเกี่ยวนาน กว่าพริกสีเขียว ในบางครั้ง อาจมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุให้ผลถูกทําลาย โดยโรค แมลง แสดงอาการตายนึ่ง หรือผลแตกได้ง่าย พริกสีเขียวประกอบด้วย chlorophyll พริกสี แดง/เหลืองเกิดจากเม็ดสี
พริกไทย ดอกพริกไทย มีสรรพคุณใช้แก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง เมล็ดพริกไทย มีสรรพคุณใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ย่อยพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ลมอัมพฤกษ์และระดูขาว ในเมล็ดพริกไทยมีสารไปเปอรีน และสารฟินอลิกส์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และแก้โรคลมชักหรือลมบ้าหมูได้ ใบพริกไทย มีสรรพคุณใช้แก้ลมจุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง เถาพริกไทย ใช้แก้เสมหะในทรวงอก และอาการท้องร่วงขั้นรุนแรง และท้องเดินหลายๆ ครั้ง รากพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง วิงเวียน และช่วยย่อยอาหาร น้ำมันในพริกไทยช่วยลดน้ำหนัก และสามารถใช้นวดส่วนที่ต้องการลดได้
พริกกระเหรี่ยง ชื่อพริกกะเหรี่ยงเป็นที่คุ้นเคยกันดีและขึ้นชื่อในเรื่องของความเผ็ด ความจริงพริกกะเหรี่ยงเป็นพริกขี้หนูพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่ปลูกกันมากแถบชายแดนไทย-พม่า เช่น แถบ จ.เพชรบุรี กาญจบุรี และตาก ความที่เป็นพริกพื้นเมือง จึงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ว่าข้อเสียของพืชพื้นเมืองทั่วไปก็คือผลผลิตต่ำ จุดเด่นของพริกกะเหรี่ยงคือมีความเผ็ดมาก เนื่องจากมีปริมาณสารแคปไซซินสูง และมีความหอมซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจำพันธุ์ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคและโรงงานอุตสาหกรรม ความที่พริกกะเหรี่ยงมีสารแคปไซซินสูง จึงเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสหกรรมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะต้องมีการสกัดสารดังกล่าวออกมาใช้ประโยชน์ ก็จะทำให้ผลผลิตของแคปไซซินต่อหน่วยน้ำหนักพริกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันแคปไซซินใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหารเสริมและเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ การที่จะผลักดันให้มีการปลูกพริกกะเหรี่ยงเพื่อให้เพียงพอสำหรับการใช้ทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่ออุตสาหกรรม ก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลิผลิตสูงขึ้น โดยยังคงความเด่นของพริกกะเหรี่ยงที่มีอยู่เดิมเอาไว้ให้ได้ ดังนั้น สกว.จึงได้ให้ทุนวิจัยกับ ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ที่อยู่ภาคใต้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปรับปรุงพันธุ์พริกพื้นเมืองดังกล่าว โดยเริ่มรวบรวมสายพันธุ์พริกพื้นเมืองใน จ.ตาก ตั้งแต่ปี 2548 จนกระทั่งได้พริกจำนวน 192 สายพันธุ์ แล้วคัดพันธุ์ต่อมาจนกระทั่งได้พริกพันธุ์ดีจำนวน 14 สายพันธุ์ที่มีศักยภาพ นั่นคือมีปริมาณผลผลิตต่อไร่ และปริมาณแคปไซซินที่เพิ่มขึ้น ขณะนี้พันธุ์ที่คัดมาได้ทั้ง 14 สายพันธุ์กล่าว เป็นที่ยอมรับของบริษัทเอกชนและได้ขอรับไปผลิตเชิงการค้าเรียบร้อยแล้ว