1 / 18

ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้น เพื่อถวายพระเกียรติ และ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ

ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้น เพื่อถวายพระเกียรติ และ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ. ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติ. ปลาบู่มหิดล.

Download Presentation

ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้น เพื่อถวายพระเกียรติ และ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติและตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติและตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ

  2. ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติ

  3. ปลาบู่มหิดล ปลาบู่มหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidoliamystacina) เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรีเมื่อพ.ศ. 2475โดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธและได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนสำหรับส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศและทรงได้รับถวายสมัญญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย"

  4. ปูราชินี “ปูราชินี” จัดว่าเป็นปูน้ำจืดประเภทปูป่าที่มีสีสันสวยงามที่สุด โดยจะมีสีสันมากถึง 3 สี คือ ขาเป็นสีแดง ตรงโคนขา ก้ามหนีบ ปูราชินี ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ พ.ศ.2535 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าThaiphusa sirikit (Naiyanetr, 1992) และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Regal Grab แถวอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

  5. ปูเจ้าพ่อหลวง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ค้นพบปูชนิดใหม่ของโลก เป็นปูน้ำจืดตัวใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ บริเวณภูหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นนามปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก โดยเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ของปูที่พบใหม่ว่า Potamon bhumibolชื่อไทยว่าปูเจ้าพ่อหลวงชื่อสามัญว่า Giant Mountain Crabและได้รับพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 5มกราคม 2543ลักษณะเด่นของปูเจ้าพ่อหลวงมี 3สี คือ สีน้ำตาลเข้ม สีม่วง และสีส้ม โดยกระดองจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขาเดิน 4คู่ และขาก้ามทั้งสองข้างเป็นสีน้ำตาลเข้ม ยกเว้นด้านในของก้ามหนีบอันล่างเป็นสีม่วง และปลายก้ามหนีบทั้งสองข้างเป็นสีส้ม

  6. ปูแม่ฟ้าหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dromothelpusa sangwan Naiyanetr , 1997เป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก มีขอบตา ขอบปาก และก้ามเป็นสีแดง นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า ปูแม่ฟ้าหลวง เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าที่ทรงโปรดสีแดง พบครั้งแรกบริเวณบ้านก้อแสนใจ กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

  7. ปูทูลกระหม่อม ชื่อวิทยาศาสตร์RANGUNA TENASER MENSISชื่อพื้นเมืองปูจุฬาภรณ์ ปูแป้ง หรือปูสามสี หรือปูป่า เป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกอยู่ในกลุ่มปูป่ามีสีสันสวยงาม กระดองสีม่วงเปลือกมังคุด ขอบเบ้าตา ขอบกระดอง ขาเดินทั้ง 4คู่ และก้ามหนีบทั้ง2 ข้าง มีสีเหลืองส้ม ปลายขาข้อสุดท้ายและปลายก้ามหนีบมีสีขาวงาช้าง พบทั่วไปในป่าดูนลำพันรอบๆ หนองดูน พบว่าเป็นปูน้ำจืด ปี พ.ศ. 2536เป็นปีที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 36พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้กราบทูล ขอพระราชทานพระอนุญาต และได้รับพระราชอนุญาตเมื่อวันที่ 9มิถุนายน 2535

  8. ปูพระพี่นาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ค้นพบปูชนิดใหม่ของโลก เป็นปูน้ำจืดที่มีสีสันสวยงาม ณ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี และได้ทำหนังสือกรามทูลขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญ พระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของปูชนิดใหม่นี้ว่า Potamon galyaniae และชื่อไทยว่า" ปูพระพี่นาง "มีชื่อสามัญว่า Crimson Crab และได้รับพระราชานุญาต เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ลักษณะเด่นของปูพระพี่นาง มี 3 สี คือ สีแดงเลือดนก แดงส้ม และสีขาว โดยกระดองมีสีแดงเลือดนก ขอบของกระดอง ขอบเบ้าตา และริมฝีปากเป็นสีแดงส้ม ขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดงเลือดนก ยกเว้นตรงปลายประมาณ 1 ใน 3 ของก้ามหนีบทั้ง 2 ข้าง เป็นสีขาว กระดองขนาดกว้างประมาณ 4.6 ซ.ม.

  9. ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ

  10. ค้างคาวคุณกิตติ ชื่อสามัญ : ค้างคาวคุณกิตติชื่อวิทยาศาสตร์ : Craseonycteris thonglongyai Hill, 1974วงศ์ : CRASEONYCTERIDAEลักษณะทั่วไป :เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักเพียง 2กรัม ลักษณะที่สำคัญคือ ส่วนปากและจมูกยื่นออกมาหนา ลักษณะคล้ายจมูกหมู ค้างคาวชนิดนี้จะตกลูกเพียงครั้งละตัวในช่วงเดือนเมษายนจนถึงพฤษภาคม ค้างคาวหน้าหมูจัดเป็นสัตว์ป่าของโลกที่อยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญพันธ์ที่สุด- ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบคือ นายกิตติ ทองลงยา นักสัตว์วิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

  11. นกเอี้ยงพราหมณ์ พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2520 บริเวณอำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์โดยนายนิเวชนาดีและคณะมีลักษณะเป็นนกขนาดเล็กลำตัวยาว 21 ซม. อยู่ในวงศ์นกเอี้ยงSturnidaeลำตัวด้านบนสีเทา ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมแดงหน้าผากกระหม่อมท้ายทอยและพุ่มขนบนหัวหรือหงอนมีสีดำเป็นมันปีกสีดำหางสีน้ำตาลปลายหางสีขาว อาศัยอยู่ตามป่าละเมาะป่าเต็งรังพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณใกล้บ้านเรือนคนมักพบเป็นฝูงเล็กๆ 4 - 7ตัวหากินบนต้นไม้และบนพื้นดินอาหารได้แก่ผลไม้น้ำหวานดอกไม้แมลงหนอนแมลงยังไม่ทราบสถานภาพ อาจเป็นนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์หายากและมีปริมาณน้อย

  12. นกกะรางคิ้วขาว พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2520 บริเวณสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขางอำเภอฝางจ.เชียงใหม่โดยนางพรทิพย์อังคปรีชาเศรษฐ์และคณะนกกะรางคิ้วขาวเป็นนกในวงศ์ Timaliidae ลำตัวยาว 27 ซม. ขนสีน้ำตาลบริเวณหัวแก้มคออกส่วนบนและหางจะเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณอื่นลักษณะเด่นที่มองเห็นได้ชัดคือมีแถบสีขาว 2 แถบพาดจากโคนปากผ่านขอบตาบนเลยไปจนจรดต้นคอและจากโคนปากไปยังแก้มพบอาศัยอยู่บนภูเขาสูงในระดับความสูงเกินกว่า 1,000 ม. จากระดับน้ำทะเลหากินรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆตามไม้พุ่มหรือบนพื้นดินกินเมล็ดพืชผลไม้ลูกไม้แมลงและสัตว์เล็กๆเป็นอาหารเป็นนกประจำถิ่นพบเฉพาะทางภาคเหนือบางแห่ง

  13. นกนางนวลแกลบหงอนเล็ก พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2519 บริเวณเกาะยาวใหญ่จังหวัดพังงาโดยนายนิเวชนาดีและคณะมีลักษณะเป็นนกนางนวลขนาดกลางลำตัวยาว 40 ซม. จัดอยู่ในวงศ์Laridaeปากค่อนข้างใหญ่มีสีเหลืองแกมส้มหัวมีขนสีดำยื่นคล้ายหงอนหน้าผากมีสีดำลำตัวด้านบนสีเทาคอโดยรอบและลำตัวด้านล่างสีขาวขนปลายปีกสีเทาเข้มขาและนิ้วสีดำถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้คือตามเกาะในทะเลชายฝั่งทะเลและปากน้ำพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นฝูงเล็กๆอาจหากินอยู่รวมกับนกนางนวลแกลบใหญ่อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ปลาและกุ้งเป็นนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อย

  14. กิ้งกือมังกรสีชมพู กิ้งกือมังกรสีชมพู (อังกฤษ: shocking pink millipede;ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmoxytes purpurosea)  เป็นกิ้งกือมังกรที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกค้นพบโดยนักสำรวจสมัครเล่น กลุ่ม siamensis.org ซึ่งต่อมาได้แจ้งให้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะทราบเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่างกิ้งกือมังกรสีชมพูจัดในวงศ์กิ้งกือมังกร มีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิงพิงก์ (shocking pink) มีปุ่มหนามคล้ายมังกร เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม. มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติ กิ้งกือมังกรสีชมพู พบเป็นแห่งแรกในโลกที่ประเทศไทย ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

  15. อีกัวนาสีชมพู กาเบรียล เจนติเล โชว์ "อีกัวนาสีชมพู" ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เขาเพิ่งแยกแยะได้ว่ามันเป็นอีกัวนาสปีชีส์ใหม่ พบเฉพาะบนแถวภูเขาไฟวูลฟ์ หมู่เกาะกาลาปากอส

  16. ดิงโก (Dingo)

  17. ดิงโก (Dingo) ดิงโก (Dingo) สุนัขป่าชนิดหนึ่ง พบได้เฉพาะที่ออสเตรเลียเท่านั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis lupus dingo ดิงโกเป็นสุนัขป่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายสุนัขบ้านมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของดิงโก สืบเชื้อสายมาจากสุนัขบ้านจากเอเชียอาคเนย์ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) โดยเข้ามาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อราว 3,000-4,000 ปีก่อน ดิงโกจัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์สุนัข (Canidae) ที่พบในออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 2010 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้เปิดเผยผลการวิจัยว่า จากการศึกษาดีเอ็นเอพบว่า ดิงโกและสุนัขป่านิวกินี (C. l. hallstromi) ซึ่งเป็นสุนัขป่าพื้นเมืองของเกาะนิวกินี นั้นเป็นสายพันธุ์สุนัขป่าที่ใกล้เคียงกับสุนัขบ้านมากที่สุดและถือเป็นสายพันธุ์สุนัขแท้ ๆ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันนี้สุนัขทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ใกล้สูญพันธุ์แล้ว โดยเฉพาะดิงโกที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะการผสมข้ามสายพันธุ์

  18. ชื่อสมาชิก 1.นางสาวรพีพรรณ โตจริง เลขที่ 36 2.นางสาวเสาวลักษณ์ สังข์วงค์ เลขที่ 39 3.นางสาวอมรวรรณ พูลผล เลขที่ 40 4.นางสาวประภาพร โตจริง เลขที่ 46 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

More Related