1 / 21

คลื่น ยักษ์สึ นามิ

คลื่น ยักษ์สึ นามิ.

Download Presentation

คลื่น ยักษ์สึ นามิ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คลื่นยักษ์สึนามิ

  2. ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งทางด้านอ่าวไทยและอันดามัน ชายฝั่งทะเลทางอันดามันมีความสวยงามตามธรรมชาติ ประกอบด้วยหมู่เกาะ หาดทราย และทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย ความสวยงามเหล่านี้บางครั้งก็มีสิ่งโหดร้าย เศร้าสลดแอบแฝงอยู่ด้วย ซึ่งได้พิสูจน์ให้คนไทยทั้งประเทศเห็นกัน ดังเช่นเหตุการณ์ที่คลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 07.58 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) จากข้อมูลของกรมธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (USGS, 2005) รายงานว่าได้เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย หรือที่ละติจูด 3.316 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.854 องศาตะวันออก (ภาพที่ 1) มีขนาดของแผ่นดินไหว 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งจัดเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรง ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ในหลายจังหวัดของประเทศไทย

  3. คลื่นสึนามิเมื่อกระทบฝั่งจะมีความรุนแรงมากทำให้น้ำทะเลโถมเข้าสู่ชายฝั่งอย่างรุนแรงและไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน คลื่นสึนามิได้พัดพาสิ่งของและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายหาดและที่อยู่ห่างออกไปพังทลายเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตจากการที่น้ำทะเลได้ไหลทะลักเข้าสู่ชายฝั่ง ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ รวมทั้งหมดกว่า 94,200 ราย และยังมีผู้สูญหายอีกหลายพันคน (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 7 มกราคม 2548) พร้อมทั้งส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามติดอันดับโลกของประเทศไทยเสียหายเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากสร้างความสูญเสียให้กับประเทศไทยแล้ว ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย และพม่า ก็เผชิญกับ เหตุการณ์คลื่นยักษ์นี้เช่นกัน และได้รับความเสียหายที่ไม่อาจประเมินค่าได้

  4. คลื่นสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร ? • คลื่นสึนามิเป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกคลื่นไหวสะเทือนในทะเล (seismic sea wave) ที่ส่วนมากเกิดจากแผ่นดินไหว โดยบางครั้งอาจเกิดจากแผ่นดิน ถล่มใต้น้ำทะเล หรืออาจเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้น้ำทะเล และแผ่นดินไหวอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดได้เช่นกัน แต่ส่วนมากแผ่นดินไหวเกิดจาก การเคลื่อนของพื้นที่หรือพืดหินตามแนวรอยเลื่อนที่สัมพันธ์กับรอยต่อของแผ่นธรณีภาคซึ่งมีหลายรูปแบบ ส่วนมากแผ่นดินไหวจะเกิดในบริเวณที่แผ่นธรณีภาคมุดเข้าหากัน นักธรณีวิทยาได้แบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป (continental plate) และแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร (oceanic plate) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทรวมกันมีจำนวนประมาณ 13 แผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่ทั้งชนกัน มุดเข้าหากัน และเลื่อนผ่านกันตลอดเวลา ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป ที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย ซึ่งมีแนวรอยต่อกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร ที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย

  5. แนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคยูเรเซียและแผ่นธรณีภาคอินเดียในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตมุดตัวของแผ่นธรณีภาค (subduction zone) ซึ่งแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย จะมุดเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย (ภาพที่ 3) โดยมีแนวอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขึ้นไปทางทิศเหนือจนเข้าไปถึงแผ่นดินของประเทศพม่าและอินเดีย อัตราการมุดตัวเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซียจะมีอัตราปีละประมาณ 6 เซนติเมตร (USGS, 2004) และตรงเขตมุดตัวจะเกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร (trench) ซึ่งแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่นี่ ส่งผลให้เกิดแรงเครียดและมีการสะสมพลังงานในแผ่นที่มุดตัว จนในที่สุดก็จะเกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้น จากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมอยู่ภายในโลกจึงทำให้เกิดรอยเลื่อนมากมาย และเกิดรอยแยกและการทรุดตัวของพื้นท้องทะเลอันดามัน

  6. ภาพที่ 3 แบบจำลองการมุดตัวของแผ่นธรณีภาคตามแนวรอยเลื่อนที่เกี่ยวข้องกับแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค • รอยเลื่อนที่เกิดอยู่ในพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นรอยเลื่อนปกติ (normal fault) ซึ่งเป็นการเลื่อนขึ้นลงของพื้นที่ในแนวดิ่ง ดังภาพจำลองที่ 4 การเลื่อนนี้จะทำให้พื้นที่ทรุดลง

  7. ภาพที่ 4 แบบจำลองการเกิดรอยเลื่อนปกติ (normal fault)

  8. การเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิ • คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหว เมื่ออยู่ในมหาสมุทรหรือทะเลลึกจะมีความเร็วสูง มีช่วงคลื่น (wave length) ยาวมาก แต่ความสูงของ คลื่นจะน้อย อาจสังเกตเห็นเป็นเหมือนลอนคลื่นโป่งพองขึ้นมา แต่เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น คลื่นจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นน้ำทะเลในบริเวณชายฝั่งจะถอยร่นกลับไปสู่ทะเลลึกก่อนที่คลื่นสึนามิจะเคลื่อนถาโถมเข้ากระแทกชายฝั่ง ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเล ตามแนวชายฝั่งแห้งเหือดไปกว่าช่วงน้ำลงปกติ ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าคลื่นสึนามิกำลังจะเคลื่อนที่ตามมา การที่น้ำทะเลถอยล่นออกไปก่อนที่คลื่นสึนามิจะเคลื่อนเข้าหาฝั่ง เนื่องจากเกิดรอยเลื่อนในแนวดิ่งบนพื้นท้องทะเล

  9. หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ทำให้น้ำทะเลเคลื่อนลงสู่ที่ต่ำกว่าหรือเคลื่อนลงสู่รอยเลื่อนเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อน้ำทะเลปริมาณมากไหลลงไปรวมกันจะมีการอัดตัวกันอย่าง รุนแรง จึงทำให้ระดับน้ำทะเลในบริเวณนี้ยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเลปกติเล็กน้อย ระดับน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวจะเกิดการแกว่งตัว ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้เกิดคลื่นที่มีแอมพลิจูดต่ำหรือมีความสูงของคลื่นต่ำ แต่คลื่นมีความยาวคลื่นมาก อาจจะเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร การกระจายตัวของคลื่นดังกล่าวนี้จะแผ่กระจายออกไปทั่วทุกทิศทุกทางของผิวน้ำทะเล เมื่อคลื่นเดินทางเข้ามาใกล้บริเวณชายฝั่งแอมพลิจูดของคลื่นหรือความสูงของคลื่นจะสูงขึ้น เกิดเป็นคลื่นที่มีพลังงานในการทำลายอย่างมหาศาล ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิที่มีความสูงของคลื่นมากดังกล่าวข้างต้น ดังภาพที่ 5 • ก. ก่อนที่แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้น ระดับน้ำทะเลและพื้นท้องทะเลจะอยู่ในสภาพปกติ

  10. ข. หลังเกิดแผ่นดินไหว พื้นท้องทะเลเกิดรอยเลื่อนขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงชั่วขณะ ค. น้ำทะเลที่ไหลทะลักเข้ามาในแอ่งเกินกว่าจะรับไว้ได้ ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย ง. การกระเพื่อมขึ้นลงของระดับน้ำทะเลก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้เกิดคลื่นที่มีแอมพลิจูดต่ำหรือคลื่นมีระดับความสูงต่ำ แต่มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก และคลื่นได้แผ่กระจายออกไปทั่วทุกทิศทุกทางเข้าหาชายฝั่งทะเล ภาพที่ 5 กระบวนการเกิดคลื่นสึนามิ

  11. 1.ความเสียหายต่อโครงสร้างรอบชายฝั่ง สภาพความเสียหายของโครงสร้างที่ได้ตรวจพบเป็นผลกระทบร่วมกันเนื่อง จากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ และ ผลของแรงแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ อื่นๆ เช่นภาวะดินเหลว การวิบัติของดิน และ ดินทรุดตัว เป็นต้น ซึ่งเกิดจาก การท่วมพื้นที่ของคลื่นสึนามิในเวลาต่อมาโดยภาวะดินเหลวแบบรุน 2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวม จากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ได้สร้างความเสียหายไว้อย่างมหาศาล โดยธนาคารโลกได้ประมาณการความเสียหาย ไว้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 อยู่ระหว่าง 122,000 ถึง 235,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว และ คลื่นสึนามิอาจมีมูลค่าสูงถึง 309,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลกระทบ

  12. 3.ผลกระทบต่อระบบคมนาคม3.ผลกระทบต่อระบบคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน และระบบโทรคมนาคมได้ถูกแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิสร้าง ความเสียหายอย่างหนักต่อถนน รางรถไฟ และ ท่าเรือ 4.ผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดจากแผ่นดินไหวและสึนามิเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ สูงในการปลูกข้าวของญี่ปุ่นโดยเป็นแหล่งผลิตข้าวเกือบร้อยละ 20 ของปริมาณ ข้าวทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศทั้งนี้เนื่องจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในดิน ที่ใช้ปลูก 5. ผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกอาหาร ภาคการส่งออกอาหารของญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งจากเส้นทางคมนาคม ถูกตัดขาด การขาดแคลนน้ำมันในระบบขนส่ง

  13. 6. ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ จากวิกฤตินิวเคลียร์ในญี่ปุ่นทำให้นานาประเทศเริ่มพิจารณาทบทวน หรือถอนตัว จากพลังงานนิวเคลียร์ตั้งแต่เอเชียไปจนถึงยุโรป ทำให้บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้อง กับพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบด้านยอดขาย และรายได้ 7. ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งภายใน และ ภายนอกประเทศลดลง ส่งผลให้จำนวนการ จองห้องพักเพื่อการท่องเที่ยวลดลงกว่าร้อยละ50 อันเนื่องจากความวิตกจาก วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ และ ส่งผลต่อการลดจำนวนพนักงานของ สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายแห่ง 8. ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสีต่อดิน อากาศ และ น้ำทะเล จากการระเบิด ของอาคารครอบเตา และ การหลอมละลายบางส่วนของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ทำให้กัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายสู่อากาศ ดิน และ น้ำ

  14. 9. ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร มีการตรวจพบการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสีในอาหารเกินมาตรฐาน ความปลอดภัยซึ่งกัมมันตรังสีเหล่านี้จะไปสะสมในพื้นดินที่เป็นแหล่งเพาะปลูก ปศุสัตว์ จึงทำให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ 10. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และระบบสาธารณูปโภค มีอาคารที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายกว่า 125,000 หลัง บ้านเรือนราว 4.4 ล้านหลังคาเรือน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ และ ประชาชนกว่า 1.5 ล้านคน ไม่มีน้ำใช้ นอกจากนี้ รัฐบาลประกาศห้ามทำการประมง ในระยะรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หลังตรวจพบสารกัมมันตรัง สีไอโอดีน และ ซีเซี่ยม ปนเปื้อนในน้ำทะเลใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านทันที

  15. 1.เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่งให้รีบออก จากบริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจาก ทางราชการ เนื่องจากคลื่นสึนามีเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูง 2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอัน ดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ โดยด่วน 3. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดของระดับน้ำลงมาก หลังการ เกิดแผ่นดินไหวให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพ คนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆและอยู่ในที่ดอนหรือน้ำท่วมไม่ถึง 4. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่า จะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก มาตราการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ

  16. 5. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมี การแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอสักระยะหนึ่งจึงสามารถลงไปชาดหาดได้ 6. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 7. หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง ในบริเวณย่านที่ ความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ 8. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง 9. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น 10. จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง 11. ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัย จากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว

  17. 12. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระ หว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น 13. อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่า จะหลบหนีทัน 14. คลื่นสึนามิ ในบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาท ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

  18. สมาชิก 1.น.ส.ชนิตา ศรีแก้ว ม.4/8 เลขที่42 2.น.ส.นันณภัชสรณ์ คำขาว ม.4/8 เลขที่36 3.นาย วัศพล เจียมวีระบรรยง ม.4/8 เลขที่3 4.น.ส.ชนกชนม์ จันสิน ม.4/8 เลขที่ 41

More Related