320 likes | 577 Views
หน่วยที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. การพัฒนาเศรษฐกิจ.
E N D
หน่วยที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะทำให้ประชากรของประเทศมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรอบที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ทราบว่าตลอดระยะทางข้างหน้าของแผนแต่ละฉบับมีทิศทางการพัฒนาอย่างไร และจะพัฒนาในเรื่องที่สำคัญๆ เรื่องใดบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำแนวทางนั้น มาวางแผนชีวิตของตนเอง ชุมชน และองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม เพื่อทำให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลให้ประชากรของประเทศมี “มาตรฐานการครองชีพ” สูงขึ้น
ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทุกประเทศนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ในการพัฒนาและยกระดับประเทศของตนเองให้พ้นจากคำว่า “ประเทศด้อยพัฒนา หรือ กำลังพัฒนา” และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพลเมืองของประเทศ
หน่วยงานวางแผนชาติ • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สภาพัฒน์ หรือ สภาพัฒนาฯ
หน้าที่ของสภาพัฒน์ (สศช.)
แผนฯ 1 (พ.ศ.2504-2509) ยุคทองของการวางแผน • วางแผนแบบส่วนกลางจาก “บนลงล่าง” เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. มุ่งยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน (รายได้) 3. ปรับปรุงการบริหารในทุกๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการใช้แผนฯ 1 • เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับภาคเกษตร ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 8 ต่อปี (เป้าหมายร้อยละ 5 ต่อปี) • อัตราการเพิ่มของประชากรสูง ประมาณร้อยละ 3 ต่อปี
แผนฯ 2 (พ.ศ.2510 - 2514) ยุคทองของการพัฒนา • แนวคิดการวางแผนพัฒนารายสาขา และขยายขอบเขตควบคุมการพัฒนารัฐวิสาหกิจและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น • ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อจากแผนฯ 1 • พัฒนาชนบทเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง และกระจายการพัฒนา • ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
ผลการใช้แผนฯ 2 • ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ มีช่องว่างทางรายได้สูง • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี • ประชาชนได้รับประโยชน์จากการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่ส่วนมายังคงอยู่ในวงจำกัด • การเพิ่มจำนวนประชากรอยู่ในอัตราสูง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม
แผนฯ 3 (พ.ศ.2515-2519) การพัฒนาสังคมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ • กำเนิดของการวางแผนพัฒนาสังคมและวัตถุประสงค์การพัฒนาที่หลากหลาย • กระจายการพัฒนาสู่ภูมิภาค เร่งรัดพัฒนาภาคและชนบท • เน้นการเพิ่มผลผลิตการเกษตร เพิ่มรายได้ประชาชนในชนบท ลดความแตกต่างด้านรายได้ • สร้างความเท่าเทียมกันทางการบริการของรัฐ โดยเน้นการศึกษาและการสาธารณสุข
ผลการใช้แผนฯ 3 • ปัญหาการกระจายรายได้ และความไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรง • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 6.5 ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เกิดวิกฤตทางด้านน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อสูงร้อยละ 15.5 • การเมืองเกิดความผันผวน เศรษฐกิจโลกตกต่ำ • ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ • การว่างงานสูง
แผนฯ 4 (พ.ศ.2520-2524) เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม • พัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 3 โดยยึดถือความมั่งคง ปลอดภัยของชาติเป็นพื้นฐานของการพัฒนา • เร่งฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง เช่น การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า ปรับปรุงนโยบายการควบคุมราคาสินค้าและเร่งรัดการส่งออก • เน้นเสริมสร้างสวัสดิภาพทางสังคมแก่คนในชาติ
ผลการใช้แผนฯ 4 • ยุคการเมืองรุนแรง พรรคคอมมิวนิสต์ขยายตัว • การพัฒนาด้านประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรต่ำ • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.4 เงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 11.7 และขาดดุลการค้า • ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม • การให้บริการทางสังคมไม่เพียงพอและทั่วถึง • ยกระดับเป็นประเทศกำลังพัฒนา
แผนฯ 5 (พ.ศ.2525-2529)การแก้ไขปัญหาและปรับสู่การพัฒนายุคใหม่ • วางแผนโดยยึดหลักภูมิภาคและพื้นที่ กำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เป้าหมายเพื่อความมั่นคงและรองรับการอุตสาหกรรม • เน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ • พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนความสมดุล • พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติ • เพิ่มบทบาทและระดมความร่วมมือภาคเอกชน
ผลการใช้แผนฯ 5 • แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยากจนในชนบท • มีการพัฒนาเชิงรุก เช่น การพัฒนาพื้นที่ ริเริ่ม กรอ. • แผนพัฒนาเพื่อความมั่งคง เช่น หมู่บ้านอาสาป้องกันตนเอง • เศรษฐกิจขยายตัวต่ำเพียงร้อยละ 5.4 • รัฐบาลสามารถขยายการบริการทางสังคมได้ เช่น โรงพยาบาลประจำอำเภอ
แผนฯ 6 (พ.ศ.2530-2534) การจัดทำแผนสู่ระดับกระทรวง • กำหนดขอบเขตและวิธีการใช้แผนฯ ที่ชัดเจน มีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และแผนปฏิบัติระดับกระทรวง • เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาประเทศทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์พัฒนาวิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ • ปรับปรุงระบบการผลิตและการตลาด • ยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานเพื่อลดต้นทุน
ผลการใช้แผนฯ 6 • หนี้ต่างประเทศลดลง ทุนสำรองเพิ่มขึ้น • เศรษฐกิจฟื้นตัว และขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อปี (สูงสุดในรอบ 25 ปี) • การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม / บริการเพิ่มขึ้น • ปัญหาความเหลื่อมล้ำรายได้ระหว่างกลุ่มครัวเรือน และชนบทกับเมืองมีมากขึ้น
แผนฯ 7 (พ.ศ. 2535-2539) การพัฒนาที่ยั่งยืน 1. เริ่มแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน 2. มุ่งสู่เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ รักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กระจายการพัฒนาสู่ภูมิภาคและชนบท และพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ 3. พัฒนาเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจด่านหน้าในภูมิภาค และยกระดับสู่นานาชาติ
ผลการใช้แผนฯ 7 1. รายได้ต่อหัวเพิ่มถึง 28 เท่า จากแผนฯ 1 เป็น 77,000 บาท 2. เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี เงินเฟ้อเฉลี่ย 4.8 % 3. ทุนสำรองสูงถึง USD 38,700 ล้าน
แผนฯ 8 (พ.ศ.2540-2544) “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา 1. เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ 2. ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำแผนใหม่ เป็นแบบ “จากล่างขึ้นบน” บูรณาการแบบองค์รวม ไม่พัฒนาแยกส่วน 3. ภาคประชาชนมีส่วนร่วมการพัฒนา 4. แปลงแผนสู่ปฏิบัติ โดยยึดหลักการพื้นที่ ภาระและการมีส่วนร่วม
สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 8 1. วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 2. ปัญหาสถาบันการเงิน 3. หนี้ต่างประเทศและหนี้สาธารณะเพิ่ม 4. มีเครือข่ายการพัฒนาร่วมกับภาครัฐ
แผนฯ 9 (พ.ศ.2545 – 2549)อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8 2. มุ่งการพัฒนาที่สมดุล คน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4. บริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ
สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 9 สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 9 1. นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 2. คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพ ยาเสพย์ติด และการกระจายรายได้ เหตุการณ์สำคัญ เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
แผนฯ 10 (พ.ศ.2550 – 2554)การปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างสมดุล • และมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 1. ยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8และแผนฯ 9 2. ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนา - พัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ - สร้างความเข้มแข็งของสังคมและชุมชน - ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน - พัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้าง ความมั่นคงบนฐานทรัพยากร - เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร จัดการประเทศ
สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 10 • การเตรียมพื้นที่ใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม • การเมือง เศรษฐกิจผันผวน สังคมแตกความสามัคคี • สภาพเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก • นำทุนทางเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติ • มาพิจารณา