1 / 24

โครงการประเมินความเสี่ยง และค่าความปลอดภัยของสารหนู ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

โครงการประเมินความเสี่ยง และค่าความปลอดภัยของสารหนู ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. ที่มาและความสำคัญ. ตำบลองค์พระ ตำบลวังคัน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

brooke
Download Presentation

โครงการประเมินความเสี่ยง และค่าความปลอดภัยของสารหนู ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการประเมินความเสี่ยง และค่าความปลอดภัยของสารหนู ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

  2. ที่มาและความสำคัญ • ตำบลองค์พระ ตำบลวังคัน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี • พบการปนเปื้อนสารหนูในดิน น้ำผิวดินและน้ำประปาเกินมาตรฐานที่กำหนด • ประชาชนส่วนใหญ่มีปริมาณสารหนูในปัสสาวะระดับมากกว่าปกติ • มีการทำเหมืองแร่ดีบุกเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ในบริเวณนั้น

  3. ตัวกลางการปนเปื้อนสารหนูเข้าสู่ร่างกายประชาชนตัวกลางการปนเปื้อนสารหนูเข้าสู่ร่างกายประชาชน

  4. ปริมาณสารหนูปนเปื้อนในดินและน้ำในพื้นที่ตำบลองค์พระและตำบลวังคันที่มา: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม, 2552 * ค่ามาตรฐานปริมาณสารหนูในน้ำคือไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลิตร (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2537) * ค่ามาตรฐานปริมาณสารหนูในดินคือ ไม่เกิน 3.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 พ.ศ. 2547)

  5. ปริมาณสารหนูปนเปื้อนในปัสสาวะในตำบลองค์พระและตำบลวังคัน โดยแบ่งตามระดับความเป็นอันตราย ที่มา: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ,2552

  6. วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของประชาชนเนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนของสารหนูในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อคำนวณค่าความปลอดภัยของสารหนูในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี โดยพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ผนวกเอาหลักการประเมินความเสี่ยงไว้ด้วย 3. นำเสนอค่าความปลอดภัยของสารหนูที่คำนวณได้ต่อคณะกรรมการหรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาในการจัดการ หรือจัดทำนโยบายหรือแผนการบำบัดฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนเพื่อแก้ไขปัญหา

  7. การเก็บตัวอย่าง เก็บตัวอย่างดิน เก็บตัวอย่างน้ำดื่ม เก็บตัวอย่างอาหาร การกรอกแบบสอบถาม

  8. การวิเคราะห์ตัวอย่าง • วิเคราะห์ด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectroscopy( Hydride generator ) ประเมินความเสี่ยงโดยโปรแกรม @Risk

  9. ผลการดำเนินงาน จากการเก็บตัวอย่างดิน น้ำดื่ม อาหาร และการทำแบบสอบถาม ในวันที่ 4-10 สิงหาคม 2552 แล้วนำตัวอย่างดังกล่าวมาวิเคราะห์ ให้ผลการศึกษาดังนี้

  10. ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารหนูในน้ำดื่มตำบลองค์พระ 30 ตัวอย่าง และตำบลวังคัน 40 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารหนูในดินตำบลองค์พระ 61 ตัวอย่าง และตำบลวังคัน 100 ตัวอย่าง

  11. ปริมาณสารหนูในอาหาร ตัวอย่างอาหารตำบลองค์พระ จำนวน 90 ตัวอย่าง ตัวอย่างอาหารตำบลวังคัน 120 ตัวอย่าง

  12. มาตรฐานของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 273 พ.ศ. 2546 - ปริมาณสารหนูอนินทรีย์ ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม - ปริมาณสารหนูทั้งหมดไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

  13. แบบสอบถาม ทำแบบสอบถามตำบลองค์พระ 110 คน และตำบลวังคัน 147 คน • เพศของประชากรที่ทำแบบสอบถาม

  14. อายุของประชากรที่ทำแบบสอบถาม อายุของประชากรที่ทำแบบสอบถาม

  15. อาชีพของประชากรที่ทำแบบสอบถามอาชีพของประชากรที่ทำแบบสอบถาม

  16. ระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ของประชากรที่ทำแบบสอบถามระยะเวลาที่อยู่ในพื้นที่ของประชากรที่ทำแบบสอบถาม

  17. กิจกรรมที่สัมผัสดินของประชากรที่ทำแบบสอบถามกิจกรรมที่สัมผัสดินของประชากรที่ทำแบบสอบถาม

  18. ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณแบบจุดจากการปนเปื้อนสารหนูในพื้นที่ตำบลวังคันและองค์พระผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณแบบจุดจากการปนเปื้อนสารหนูในพื้นที่ตำบลวังคันและองค์พระ ค่ามาตรฐานสำหรับสารไม่ก่อมะเร็ง คือ HQ ≤ 1 สถานการณ์ปกติ HQ > 1 สถานการณ์ไม่ปกติ

  19. ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณแบบช่วงจากการปนเปื้อนสารหนูในพื้นที่ตำบลวังคันและองค์พระผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณแบบช่วงจากการปนเปื้อนสารหนูในพื้นที่ตำบลวังคันและองค์พระ ค่าระดับความรุนแรง รุนแรง 1 < HQ < 10 รุนแรงมาก HQ > 10

  20. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงสรุปผลการประเมินความเสี่ยง • เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงของการได้รับสารหนูที่ปนเปื้อนในอาหาร พบว่า ประชากรในพื้นที่ตำบลวังคันมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารหนูปนเปื้อนในอาหารมากกว่าประชากรในพื้นที่ตำบลองค์พระ

  21. สำหรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริโภคดินโดยไม่ได้ตั้งใจ พบว่าประชากรในพื้นที่ตำบลองค์พระมีความเสี่ยงมากกว่าประชากรในพื้นที่ตำบลวังคัน สรุปได้ว่าความเสี่ยงต่อการได้รับสารหนูปนเปื้อนและความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งของประชาชนในทั้ง 2 ตำบลอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติและมีระดับความรุนแรง

  22. ข้อเสนอแนะ • ศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสารหนูในด้านการบริโภคอาหาร และพฤติกรรม ความถี่ในการสัมผัสดิน น้ำผิวดิน และน้ำประปาที่ปนเปื้อนสารหนูอย่างละเอียด เพื่อใช้ในการให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันอันตรายและการได้รับสารหนู • ควรมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ ตัวอย่างดิน น้ำผิวดินและน้ำประปา เพื่อให้มีการกระจายตัวของข้อมูลและมีจำนวนที่มากพอที่จะเป็นตัวแทนของข้อมูลการปนเปื้อนของสารหนูในสิ่งแวดล้อม

  23. ควรมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เช่น โรคประจำตัว น้ำหนัก และส่วนสูง เพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย และเป็นการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การปนเปื้อนของสารหนู • ความเสี่ยงของประชากรที่จะได้รับสารหนูปนเปื้อนในพื้นที่ตำบลองค์พระและตำบลวังคันเกิดจากการบริโภคอาหารและการบริโภคดินโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเกิดจากการบริโภคดินโดยไม่ได้ตั้งใจเป็นประเด็นหลัก ดังนั้นจึงควรมีการบำบัดการปนเปื้อนสารหนูในดินต่อไป

  24. คำแนะนำในการปฏิบัติตัว การป้องกันสารหนูเข้าสู่ร่างกายแก่ประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ 1. ทำความสะอาดโอ่งน้ำฝน มีผ้าขาวบางกรองฝุ่น และปิดฝาโอ่งน้ำฝนให้สนิท 2. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากทำงานเสร็จ 3. ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน หรือ นำมาประกอบอาหาร 4. เก็บจานชามในภาชนะที่ปิดสนิท 5. มีผ้าปิดจมูก เวลาทำงานในที่มีฝุ่นละอองดิน 6. ปลูกพืชคลุมดิน เช่น หญ้า ตามบริเวณบ้าน เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองดิน

More Related