800 likes | 968 Views
รายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน. บทที่ 9. ปัญหาแรงงานและนโยบายรัฐเกี่ยวกับแรงงานในประเทศ. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บทที่ 9 ปัญหาแรงงานและนโยบายรัฐเกี่ยวกับแรงงานในประเทศ 9.1 แรงงานเด็ก 9 .2 แรงงานสตรี
E N D
รายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานรายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน บทที่ 9 ปัญหาแรงงานและนโยบายรัฐเกี่ยวกับแรงงานในประเทศ โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทที่ 9 • ปัญหาแรงงานและนโยบายรัฐเกี่ยวกับแรงงานในประเทศ • 9.1 แรงงานเด็ก • 9.2 แรงงานสตรี • 9.3 แรงงานต่างด้าว • 9.4 บทบาทของรัฐในตลาดแรงงาน • 9.5 บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ • 9.6 แผนและนโยบายรัฐในตลาดแรงงาน
ความหมายของแรงงานเด็กความหมายของแรงงานเด็ก -หมายถึง เด็กที่ทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นค่าจ้างซึ่งเป็นการทำงานบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบนายจ้าง-ลูกจ้าง -สำหรับประเทศไทย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งไม่ครอบคลุมลูกจ้างภาคเกษตรกรรม และลูกจ้างที่รับงานไปทำที่บ้าน ได้กำหนดอายุขั้นต่ำของลูกจ่งคือ 15 ปี ดังนั้นแรงงานเด็กตามกฎหมายคือลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
สาเหตุที่ทำให้มีการใช้แรงงานเด็กสาเหตุที่ทำให้มีการใช้แรงงานเด็ก 1) ความยากจน 2) ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ 3) การควบคุมดูแลของส่วนราชการไม่เข้มงวดและทั่วถึง 4) ภาวะหนี้สินของครอบครัว 5) พฤติกรรมบริโภคนิยม และการแสวงหาประสบการณ์ 6) ค่าจ้างแรงงานถูก 7) แรงงานเด็กปกครองง่าย ไม่รู้และเรียกร้องสิทธิ
สาเหตุที่ทำให้มีการใช้แรงงานเด็ก (ต่อ) 8) ลักษณะงานบางอย่างเหมาะสำหรับเด็ก เช่น งานง่าย ๆ แต่ ทำซ้ำซาก 9) เด็กติดตามพ่อแม่ และไม่มีอะไรจะทำ 10) งานบางอย่างไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องอาศัยฝีมือแรงงาน ความต้องการลดต้นทุนในการผลิต โดยเฉพาะด้านค่าจ้างแรงงาน บทบาทของนายหน้า
ปัญหาการใช้แรงงานเด็กปัญหาการใช้แรงงานเด็ก 1) ปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม 2) ปัญหาทุพภโภชนาการ และปัญหาสุขภาพอนามัย 3) ปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงาน 4) ปัญหาการขาดโอกาสในการศึกษาและการพัฒนาอาชีพ/ฝีมือแรงงาน 5) ปัญหาการปรับตัว เนื่องจากมาจากครอบครัวในชนบทและยากจน
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการใช้แรงงานเด็ก 1) ผลเสียต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เด็ก ด้านการศึกษา การพัฒนาตนเอง และระดับสติปัญญา ทางด้านสุขภาพ ทางด้านสภาวะจิตใจและอารมณ์ของเด็ก 2) ผลกระทบต่อการจ้างแรงงานผู้ใหญ่ เข้ามาแย่งงานของผู้ใหญ่ ทำให้แรงงานผู้ใหญ่เกิดการว่างงาน 3) ผลกระทบทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการในการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
บทบาทรัฐในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก 1) การรณรงค์ป้องกันมิให้เด็กเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร 2) การสร้างโอกาสและทางเลือกในการศึกษาและการประกอบอาชีพให้แก่เด็ก 3) การคุ้มครองดูแลให้แรงงานเด็กได้รับค่าจ้างแรงงาน สวัสดิการตามกฎหมาย และมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย 4) การกำหนดข้อปฏิบัติที่ชัดเจนในการจ้างแรงงานเด็ก เช่น ให้นายจ้างที่จ้างลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่รับเด็กเข้าทำงาน
บทบาทรัฐในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก (ต่อ) 5) การบริการเกี่ยวกับแรงงานเด็ก เช่น เร่งรัดการตรวจการใช้แรงงานเด็ก การรับแจ้งการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมทางโทรศัพท์
สาเหตุที่แรงงานสตรีกลายเป็นปัญหาแรงงานสาเหตุที่แรงงานสตรีกลายเป็นปัญหาแรงงาน (1) สตรีเข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการตกเป็นเหยื่อทางเพศแก่นายจ้าง หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน (2) เนื่องจากสตรีมีสรีระบอบบางกว่าเพศชายมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานได้ (3) การเลือกปฏิบัติทางเพศของนายจ้าง เป็นการกีดกันเพศหญิงหรือเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงไม่เท่าเทียมกับเพศชาย อาทิ ไม่รับสตรีเข้าทำงานทั้ง ๆ ที่เป็นงานซึ่งสตรีสามารถทำได้เช่นเดียวกับเพศชาย (4) การคุ้มครองความเป็นมารดา ที่ต้องตั้งครรภ์ คลอดบุตรและเลี้ยงดู ต้องมิให้ใช้งานหนักเกินไปและมีอันตราย ให้สิทธิลาคลอด
สาเหตุที่แรงงานสตรีกลายเป็นปัญหาแรงงาน (ต่อ) (5) การมีภาระงานมากเกินไปของสตรี ที่ต้องทำงานและเป็นแม่บ้าน (6)โอกาสในการก้าวหน้าทางหน้าที่การงานของฝ่ายชายมีมากกว่าฝ่ายหญิง
สาเหตุการเข้ามาทำงานของแรงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การขาดแคลนแรงงานฝีมือบางประเภท การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การมีบริษัทต่างชาติมาลงทุนจำนวนมากในประเทศไทย • วิธีการลักลอบเข้าเมือง -กรณีมาจากพม่าจะเข้ามาตามแนวชายแดนจากเชียงรายถึงระนองมีลักษณะทั้งเป็นครั้งคราวและแบบถาวร และมาทำอาชีพต่าง ๆ เช่น ประมง เกษตร ก่อสร้าง ค้าขาย และหญิงบริการ เป็นต้น - กรณีมาจากกัมพูชาจะมาทำงานในภาคเกษตรและก่อสร้าง ลักลอบเข้ามาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ทางจังหวัดสระแก้ว ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ และตราด
วิธีการลักลอบเข้าเมือง(ต่อ)วิธีการลักลอบเข้าเมือง(ต่อ) - กรณีมาจากจีน ลักลอบเข้ามาในลักษณะเป็นนักท่องเที่ยว และประกอบอาชีพ ใช้ช่องทางผ่านพม่า ลาว เข้ามาทางอำเภอแม่สายและเชียงแสน จังหวัดเชียงราย - กรณีมาจากลาว มีทั้งที่ผ่านขบวนการลักลอบนำมาและการเข้าเมืองด้วยตนเอง โดยมาทำการค้าขาย เป็นแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร กรรมกร ลูกจ้างตามร้านอาหาร คนงานในโรงงาน เป็นต้น - กรณีมาจากเวียดนาม จะผ่านมาทางกัมพูชา และอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น
สาเหตุของการลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานสาเหตุของการลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงาน ต่างด้าว 1. การขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย 2. รายได้และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่าของประเทศไทย 3. สาเหตุทางการเมือง
ผลกระทบของการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ระยะสั้น ส่งผลดีช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการบางประเภท ระยะยาวเกิดการแย่งงานของแรงงานไทย ขาดโอกาสในการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานทั้งเกี่ยวกับค่าจ้าง สวัสดิการ และการคุ้มครองแรงงาน การกระจายรายได้ในประเทศไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดการขาดดุลบริการ จากการส่งเงินรายได้กลับประเทศตนของแรงงานต่างด้าว รัฐบาลต้องรับภาระจัดหาหรือสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ผลกระทบของการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 2) ผลกระทบทางด้านสังคม วัฒนธรรม และการเมือง-ปัญหาอาชญากรรม -ปัญหาสุขภาพอนามัย (ได้แก่ ปัญหาโรคติดต่อ ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการวางแผนครอบครัวและอนามัยแม่และเด็ก ภาระค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์และรักษาพยาบาลคนต่างด้าว) -วัฒนธรรมถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมของแรงงานต่างด้าว -ปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน การเหยียดหยาม กีดกัน เลือกปฏิบัติทางชนชาติ เกิดขบวนการหรือเครือข่ายอาชญากรรมระหว่างประเทศ
บทบาทของรัฐในตลาดแรงงานบทบาทของรัฐในตลาดแรงงาน
บทบาทรัฐโดยทั่วไป 1. การกำหนดเงื่อนไขในตลาดแรงงานในรูปของกฎหมาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมชั่วโมงทำงาน กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานสตรี 2. รัฐในฐานะผู้กำหนดค่าจ้างสำหรับแรงงานในภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมีบทบาทร่วมในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับภาคเอกชน 3. รัฐในฐานะผู้รักษาระดับอุปสงค์แรงงานให้อยู่ในระดับสูง เพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างเต็มที่ ลดปัญหาการว่างงาน
บทบาทรัฐโดยทั่วไป (ต่อ) 4. กำหนดนโยบายและดำเนินงานด้านตลาดแรงงานในระดับจุลภาค เช่น จัดให้มีระบบสำนักงานจัดหางานของรัฐ การให้ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน 5. รัฐในฐานะที่เป็นผู้จัดการและให้การศึกษาแก่เยาวชน เพื่อเป็นการเตรียมเข้าสู่อาชีพต่างๆ 6. รัฐในฐานะเป็นผู้ให้รายได้หรือผลตอบแทนเสริมในรูปแบบต่างๆกันร่วมกับภาคเอกชน เช่น การจัดให้มีกองทุนสวัสดิการสังคม กองทุนเงินทดแทน เป็นต้น
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจบทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจบทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ • มาตรการป้องกันและแก้ปัญหาการเลิกจ้างและการจ้างงาน • 1. ยกระดับปัญหาการเลิกจ้างและการว่างงานให้เป็นวาระแห่งชาติปี 2552 • 2. กำหนดให้ทุกส่วนราชการและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา • 3. จะจัดหาตำแหน่งงาน ไม่ว่าจะเป็นงานประจำ งานชั่วคราว งานภาคการเกษตร งานอาชีพอิสระ ฯลฯ ให้ได้ 1 ล้านคน • 4. การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม • 5. มุ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ 3 กลุ่ม
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม • เพื่อประคับประคองภาวการณ์จ้างงานโดยมีเป้าหมายให้ลูกจ้างมีงานทำและการออกจากงานในปี 2552 ต้องน้อยกว่า 1.5ล้านคน • คาดการว่าวิกฤตเศรษฐกิจน่าจะอยู่ในระดับต่ำสุดและจะดีขึ้นในช่วงปลายปี 2552 ทำให้นายจ้าง สถานประกอบการต่างๆ จำเป็นต้อง “รักษา” ลูกจ้าง คนงาน ที่ชะลอการเลิกจ้างในช่วง ที่ผ่านมาไว้ต่อไปจนถึงปลายปี
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • 3 ลด • 1) ลดการเลิกจ้าง • 2) ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน • 3) ลดค่าครองชีพ ลูกจ้างงานและผู้ว่างงาน • 3 เพิ่ม • 1) เพิ่มการจ้างงานและตำแหน่งงาน • 2) เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) • 3) เพิ่มฝีมือแรงงาน ( กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • ลดการเลิกจ้าง • ดำเนินการให้สถานประกอบการกิจการไม่เลิกจ้างลูกจ้าง และต้องชะลอการเลิกจ้างให้ได้นานที่สุด รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 จำนวน 35,601 คน เป็นเงิน 1,985,252.200.35 บาท
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน • จากดำเนินการผ่านโครงการต่าง ๆที่สำคัญ อาทิ โครงการกู้วิกฤตแรงงานไทยคืนถิ่น วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยกระทรวงแรงงานได้ลงนามความร่วมมือกับ ธกส. เพื่อให้สินเชื่อประกอบอาชีพอิสระ อัตราดอกเบี้ยต่ำ มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 2 ราย วงเงิน 70,000 บาท โครงการจ้างงานเร่งด่วนและเพิ่มทักษะฝีมือในการประกอบอาชีพแก่ผู้ประสบภัย วงเงิน 300 ล้านบาท โดยการจ้างงานผู้ประสบภัย และผู้เดือดร้อนที่ไม่มีงานทำจากภาวะเศรษฐกิจเพื่อทำงานเกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ต่าง ๆในพื้นที่ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายมาทำงานในเมืองรวมทั้งฝึกพัฒนาทักษะฝีมือ รวม 49,367 คนเป้าหมาย 75,000 คน
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • ลดค่าครองชีพของลูกจ้างและผู้ว่างงาน • โดยจัดสวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ดำเนินการในสถานประกอบการกิจการ 10,521 แห่ง ลูกจ้าง 1,066,739 คน จากเป้าหมาย 12,000 แห่งรวมถึงจัดตั้งมุมให้นมแม่ในสถานประกอบกิจการจำนวน 82 แห่ง ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของผู้ใช้แรงงานอีกทางหนึ่งด้วย และขยายระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีถูกเลิกจ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2551 – 31 ธันวาคม 2552 ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเฉพาะผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • เพิ่มการจ้างงานและตำแหน่งงาน • มีการดำเนินการผ่านโครงการต่าง ๆที่สำคัญ คือโครงการมีงานทำนำชุมชนเข้มแข็งดำเนินการจัดหน่วยงานเคลื่อนที่ออกให้บริการในชุมชนและตำบลเป้าหมาย โดยรถ mobile unit จำนวน 583 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมโครงการ 233,251 คน มีผู้ใช้บริการจัดหางาน 21,037 คน ได้รับการบรรจุงาน จำนวน 4,532 คน ผู้ได้รับบริการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระจำนวน 212,214 คน โครงการวันนัดพบแรงงาน จัดงานวันนัดพบแรงงานใหญ่ 13 ครั้ง นัดพบแรงงานย่อย จำนวน 390 ครั้งมีผู้สมัครงานจำนวน 198,447 คน ได้รับการบรรจุงาน จำนวน 56,362 คน โครงการสร้างโอกาสการมีงานทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่และประชาชน ที่มีผู้สมัครงานมาใช้บริการ จำนวน 14,136 คนบรรจุงานจำนวน 4,303 คน
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • เพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ • มีการดำเนินงานผ่านโครงการสำคัญ คือ โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้คนว่างงาน โดยจัดฝึกอบรมด้านการประกอบการและการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพตามความต้องการของคนว่างงาน และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพอื่นนอกเหนือจากอาชีพที่ปฏิบัติอยู่เพื่อให้แรงงานมีโอกาสในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น หรือมีรายได้เพิ่มขึ้น มีแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือและศักยภาพ จำนวน 62,209 คน โครงการพัฒนา/ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ โดยฝึกอาชีพ เพื่อส่งเสริมให้แรงงานมีศักยภาพสามารถประกอบอาชีพอิสระเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ สามารถฝึกอบรมบุคคลากรทั่วไปที่สนใจการประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7,093 คน
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • การดำเนินมาตรการจะอยู่ภายใต้กรอบ 3 ลด 3 เพิ่ม (ต่อ) • เพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน • มีการดำเนินงานผ่านโครงการสำคัญ คือ การฝึกอาชีพแก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ จำนวน 4,593 คน มีผู้จบการฝึกอาชีพ จำนวน 2,916 คน
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • มุ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ 3 กลุ่มคือ • 1) ผู้ถูกเลิกจ้าง • 2) แรงงานภาคเกษตรในชนบท • 3) ผู้จบการศึกษาใหม่
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • มาตรการและแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับวิกฤติเศรษฐกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน2 มาตรการ คือ • 1) มาตรการก่อน • 2) มาตรการหลังการเลิกจ้าง
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • มาตรการก่อนการเลิกจ้าง • 1) การจัดเก็บข้อมูลความต้องการฝึกอาชีพเพื่อการปรับตัว ร่วมกับ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน • 2)ปรับแผนปฏิบัติงานปกติเพื่อรองรับสถานการณ์เลิกจ้างรวมถึงจัดทำโครงการเพื่อของบประมาณเพิ่ม • 3)ประสานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และหอการค้า ในจังหวัดเพื่อสอบถามความต้องการในการฝึกเพื่อปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งจัดฝึกอาชีพเพื่อเสริมรายได้ในกรณีลดชั่วโมงทำงานของสถานประกอบกิจการ
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • มาตรการก่อนการเลิกจ้าง (ต่อ) • 4) จัดหลักสูตรเฉพาะของกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ พัฒนาความรู้แบบMulti Skillให้กับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ ไฟฟ้า และเครื่องประดับ อุตสาหกรรมขนส่ง (โลจิสติกส์) โดยเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้การปฏิบัติงาน ลดต้นทุนการผลิต • 5) ส่งเสริมให้นายจ้างพัฒนาลูกจ้างโดยใช้พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • มาตรการหลังเลิกจ้าง • 1) ฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนฝีมือแรงงาน ให้แก่ลูกจ้างให้มีความรู้ทักษะฝีมือ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและตำแหน่งงานว่างที่มีอยู่ • 2) ฝึกประกอบอาชีพอิสระ หรือ อาชีพในภาพบริการ/ท่องเที่ยวให้แก่ผู้ที่ถูกเลิกจ้างว่างงานและไม่ต้องการทำงานในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอาชีพใหม่ๆ
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการช่วยเหลือแรงงานจากวิกฤติเศรษฐกิจอีก 4 โครงการดังนี้ • 1) โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อบรรเทาปัญหาก่อนการเลิกจ้างว่างงาน โดยมีเป้าหมายทั้งสิ้น 6,000 คน • 2) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านท่องเที่ยวและบริการต้านภัยเศรษฐกิจ เป้าหมาย 5,000 คน • 3)โครงการพัฒนาทักษะด้านภาษาเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ เป้าหมาย 5,000 คน • 4) โครงการฝึกอาชีพแรงงานเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจ เป้าหมาย 6,000 คน รวมทั้งสิ้น 22,000 คน โดยทุกโครงการจะมีเบี้ยเลี้ยงให้ระหว่างฝึกวันละ 150 บาท เพื่อบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • สำนักงานประกันสังคมสนับสนุนมาตราการ"3 ลด 3 เพิ่ม" ลดเงินสมทบร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3 • มาตรการ“ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม” ขึ้น โดยลดเฉพาะในส่วนของนายจ้างและ ผู้ประกันตนเท่านั้น สำหรับรัฐบาลยังคงจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเดิม • การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้างเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 จากนั้นให้กลับมาใช้อัตราเงินสมทบเดิม (ร้อยละ 5%)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 • ยังมีการชดเชยเงินสมทบส่วนของนายจ้างเพื่อปรับให้ลูกจ้างมีสิทธิรับบำเหน็จชราภาพเต็มจำนวน
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • สำนักงานประกันสังคมสนับสนุนมาตราการ"3 ลด 3 เพิ่ม" ลดเงินสมทบร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3 (ต่อ) • ผู้ประกันตนยังคงได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี เช่นเดิมได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณี สงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน และยังมีค่าจ้างกลับไปใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนด้านค่าครองชีพ • ในส่วนของนายจ้างเสริมสภาพคล่องและบรรเทาภาระในการรักษาลูกจ้าง คนงานไว้ในระบบจ้างงาน เพื่อรักษากระบวนการผลิต Order (คำสั่งซื้อ) ที่ประเมินว่าจะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี 2552 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านการตลาดส่งผลต่อประเทศโดยรวม
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • สำนักงานประกันสังคมสนับสนุนมาตราการ"3 ลด 3 เพิ่ม" ลดเงินสมทบร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3 (ต่อ) • การลดอัตราเงินสมทบจะมีผลเป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าของลูกจ้างประมาณ 15,600ล้านบาท เป็นการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งประเมินว่าจะมีผลดีต่อการจ้างงานประมาณ 60,000 – 80,500 คน ทำให้ลูกจ้างคนงานบางส่วนคงอยู่ในระบบ จ้างงานไม่ถูกเลิกจ้างเป็นผลดีต่อครอบครัว และเป็นผลดีด้านสังคมภายในประเทศทางอ้อมด้วย • ส่งผลทางจิตวิทยาให้นักลงทุนต่างประเทศเห็นความมุ่งมั่น ของรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นการเพิ่มบรรยากาศการลงทุน
บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ)บทบาทรัฐด้านแรงงานในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ(ต่อ) • สำนักงานประกันสังคมสนับสนุนมาตราการ"3 ลด 3 เพิ่ม" ลดเงินสมทบร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3 (ต่อ) • ในส่วนของกองทุนประกันสังคม การ “ลดอัตรา เงินสมทบ” เป็นเวลา 6 เดือน จะมีผลดีต่อการจ้างงาน และมีผลทางบวกในการตัดสินใจของนายจ้างที่ชะลอ ไม่เลิกจ้างลูกจ้าง ส่งผลดีต่อกองทุนประกันสังคมกรณีว่างงานและทำให้กองทุนยังได้รับเงินสมทบจาก 3 ฝ่าย (ปัจจุบันกองทุนได้รับเงินสมทบรวม 12.75% ลดแล้วจะได้รับ 8.75% แต่ถ้าลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ออกจากงานจะได้รับ 0%) ดังนั้น เมื่อมาพิจารณาในภาพรวมกองทุน ไม่เสียความมั่นคงและน่าจะได้ผลเป็นทางบวกจากมาตรการ “ลดอัตราเงินสมทบ” ด้วย
แผนและนโยบายรัฐ ในตลาดแรงงาน
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 2 (2510-2514) • ให้มีการสร้างงานเพื่อรองรับกำลังแรงงานใหม่ที่จะเพิ่มจำนวน 2.2 ล้านคน • นโยบายรัฐทางด้านการจัดการศึกษาจึงได้เน้นการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าว โดยเน้นการเพิ่มการผลิตบัณฑิตอุดมศึกษา และการผลิตครูในสาขาต่างๆซึ่งคาดว่ายังมีการผลิตต่ำกว่าความต้องการ
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 3 (2515-2519) • การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เน้นการขยายตัวของระบบการศึกษาในเกือบทุกระดับ ขยายการศึกษาภาคบังคับให้ถึงระดับประถมปลาย การขยายการศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกหัดครู รวมทั้งการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ อาชีวศึกษา และเทคโนโลยี • มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกคือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการทางสังคมที่มีต่อการศึกษาระดับสูง
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 (2520-2524) • เน้นมาตรการแก้ไขการว่างงานและสร้างงานเป็นหลัก • เน้นนโยบายประชากร การวางแผนครอบครัวและประชากรศึกษา เพื่อลดจำนวนประชากรและกำลังแรงงาน
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 (2525-2529) • นโยบายแรงงาน 4 ด้าน คือ • 1. นโยบายการมีงานทำ • ส่งเสริมการลงทุนในการประกอบการที่ใช้แรงงานในสัดส่วนที่สูง • ส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านการผลิต และการนำเข้าสินค้าทุนหรือเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้มีการจ้างงานมากขึ้น • 2. นโยบายรายได้ ค่าจ้างและสวัสดิการแรงงาน เขตชนบท นโยบายยกระดับรายได้ของเกษตรกรเน้นการพยุงและการกำหนดราคาผลผลิตการเกษตร นโยบายสร้างงานในชนบท กลุ่มเป้าหมายในเมืองนั้น
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 (2525-2529) • นโยบายแรงงาน 4 ด้าน (ต่อ) • ได้กำหนดให้มีการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างสำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้สอดคล้องกับดัชนีค่าครองชีพ • ปรับเงินเดือนและสวัสดิการของคนงานชั้นผู้น้อยของรัฐให้สามารถอยู่ได้ตามอัตภาพ • 3. นโยบายการสร้างสันติในวงแรงงาน • เน้นการส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ให้เกิดความมั่นคงในการทำงานโดยได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 (2525-2529) • นโยบายแรงงาน 4 ด้าน (ต่อ) • 4.นโยบายแรงงานไทยในต่างประเทศ • ส่งเสริมแรงงานไทยให้ออกไปทำงานในต่างประเทศให้มากต่อไป
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 6 (2530-2534) • 1. ส่งเสริมการประกอบอาชีพส่วนตัว ปรับปรุงประสิทธิภาพตลาดแรงงานภายในประเทศและพัฒนาตลาดแรงงานต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น • 2. พัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง • 3. พัฒนาระบบการจ้างงานให้มีความปลอดภัยในการทำงาน ปรับปรุงสภาพการทำงาน ตลอดจนสุขภาพอนามัยของแรงงาน พร้อมทั้งนโยบายเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ และค่าครองชีพ