1 / 33

การเขียนบทความทางวิชาการ : วิธีการเขียนงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

การเขียนบทความทางวิชาการ : วิธีการเขียนงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ. รศ.ดร.โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงสร้างของต้นฉบับบทความที่มาตรฐานและใช้ทั่วไป. ชื่อ เรื่อง (Title) ชื่อ ผู้เขียน (Authors) บทนำ ( ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ) (Introduction)(2ps)

bree-brewer
Download Presentation

การเขียนบทความทางวิชาการ : วิธีการเขียนงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนบทความทางวิชาการ:วิธีการเขียนงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความทางวิชาการ:วิธีการเขียนงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รศ.ดร.โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

  2. โครงสร้างของต้นฉบับบทความที่มาตรฐานและใช้ทั่วไปโครงสร้างของต้นฉบับบทความที่มาตรฐานและใช้ทั่วไป • ชื่อ เรื่อง (Title) • ชื่อ ผู้เขียน (Authors) • บทนำ (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา) (Introduction)(2ps) • แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Theoretical background)(2ps) • พื้นที่ศึกษา ข้อมูลและระเบียบวิธีการวิจัย (Study site, data and research methodology: Data and Method)(2ps) • ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล (Results and discussion)(10-13ps) • สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion)(1.5ps) • จำนวนหน้าระหว่าง 15 – 25 หน้า

  3. โครงสร้างของแต่ละหน้าโครงสร้างของแต่ละหน้า • ต้องมีย่อหน้า ประมาณ สอง หรือ สามย่อหน้าต่อหนึ่งหน้า • ควรอ้างอิงประมาณ ย่อหน้าละ สอง หรือ สาม แห่ง • เขียนด้วยสำนวนภาษาสารคดี • สรุปและข้อเสนอแนะ ควรเขียนแบบร้อยแก้ว มีนิยมแยกเป็นข้อๆ (แต่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของวารสาร)

  4. วิธีการที่ควรตระหนักอยู่เสมอเกี่ยวกับแต่ละหน้าที่เขียนวิธีการที่ควรตระหนักอยู่เสมอเกี่ยวกับแต่ละหน้าที่เขียน • หนึ่งหน้าควรมีประมาณ 2 หรือ 3 ย่อหน้าเท่านั้น • ในแต่ละย่อหน้าควรมีอ้างอิง ปรากฎประมาณ 2 – 4 แห่ง เพราะชี้ให้เห็นว่าเรามีความรู้ที่อ้างอิงได้ในประเด็นที่เราเขียน เป็นผลดีต่อเราที่แสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้ มิใช่เขียนตามจินตนาการเอง • การอ้างอิงไม่ควรซ้ำในหน้าเดียวกัน • หากเป็นทฤษฎีที่อมตะ หรือ แนวคิดอมตะ ปีโบราณได้ • หากเป็นงานวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางสังคมศาสตร์จะนิยมอ้างภายในหนึ่งทศวรรษ หรือ 10 ปี • ให้ใช้สำนวนภาษาสารคดี

  5. หลักการสำคัญ • เราสื่อความหมายกับคน 3 คน คน 3 คนนี้เป็นผู้กำหนดชะตาในการเผยแพร่ • คนแรกสำคัญที่สุด อ่านบทความของเราก่อนส่งให้กัลยาณมิตรในศาสตร์เดียวกับเราตรวจสอบเนื้อหา ความครอบคลุม ความถูกต้อง ฯลฯ หรือ โยนลงตะกร้า คือ บรรณาธิการของวารสาร • คนที่สองคือ กัลยาณมิตรที่เป็นผู้อ่านนิรนามซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆและทำการวิจัยในเรื่องที่เราจะส่งไป ส่วนมากจะ 4 คน • คนที่สามคือ ผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการ นักวิจัย ในศาสตร์และ/หรือทำวิจัยในประเด็นที่เราชำนาญ เชี่ยวชาญ ผู้ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งของเรา และเราเชื่อว่าเขาต้องอ่าน พร้อมกับนำงานของเราไปอ้างอิง หรือ ทำวิจัยต่อยอด

  6. หลักการสำคัญ • เลือกความชำนาญให้กับตนเอง โดยการพิจารณาวารสาร วารสารจะเป็นสิ่งที่ชี้ให้เราทราบว่าผู้อ่านเป็นใคร บรรณาธิการคือใคร “เราจะสื่อให้คนที่คัดสรรอ่าน เราต้องสื่ออย่างไร” เราคือนักขาย นักสื่อความหมายทางวิชาการ • เลือกวารสาร โดยการกำหนด อันดับของ Impact Factor • Impact Factor อาจแบ่งเป็น อันดับ เช่น ก. ข. ค. ฯลฯ

  7. หลักการสำคัญ • Impact Factor คือ การยอมรับอ้างอิงของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น หากเป็นด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ จะมีผลไปสู่การประดิษฐ์และพัฒนานวตกรรม/เทคโนโลยี • ทำการศึกษาในประเด็นที่เราชำนาญที่สุด เชี่ยวชาญที่สุด รู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทฤษฎี ตลอดจนทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการวิเคราะห์

  8. หลักสำคัญในการเลือกเรื่องและประเด็นที่จะเขียนหลักสำคัญในการเลือกเรื่องและประเด็นที่จะเขียน • เมื่อเราชำนาญในเรื่องนั้น ติดตามวารสารเฉพาะทางมาตลอด เราจะทราบว่าประเด็นใดและเรื่องใด กำลังเป็นที่สนใจ (Hot Issue) จึงควรเลือกทำวิจัยและเขียนบทความเพื่อส่งตีพิมพ์ บทความของเรื่องที่ทันสมัยจะมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูง • “หากอ่านวารสารนั้นประจำ เราจะทราบวิธีการสื่อความหมาย รูปแบบการเขียน ขั้นตอนการเรียงลำดับหัวข้อและประเด็นที่จะนำเสนอ คำหลัก ภาษาเฉพาะทาง ฯลฯ ลีลาการเขียนจะซึมซับจากการอ่าน”

  9. หลักสำคัญในการเลือกเรื่องและประเด็นที่จะเขียนหลักสำคัญในการเลือกเรื่องและประเด็นที่จะเขียน • ทุกวารสารจะกำหนดกรอบประเด็นเรื่อง (Theme) เอาไว้ เราควรใช้หลักการนี้เป็นพื้นฐานในการกำหนดประเด็นวิจัย และคำถามวิจัย “ก่อนเขียนต้องกำหนดวารสารไว้ล่วงหน้า” • ควรกำหนดวารสารที่จะส่งบทความไปตีพิมพ์ไว้ล่วงหน้าก่อนทำวิจัย ยกตัวอย่างเช่น เราจะทำเรื่อง “ผลสะท้อนของการย้ายถิ่นออกจากชนบทสู่เมืองกับการใช้ที่ดิน ณ. ถิ่นต้นทาง” เราต้องเตรียมไว้แล้วว่าจะส่งประเด็นอะไร มีคำถามวิจัยอย่างไร ไปตีพิมพ์ที่ไหน และภายในช่วงเวลาใด

  10. การเริ่มต้นในการวางประเด็นสำคัญของเนื้อหาการเริ่มต้นในการวางประเด็นสำคัญของเนื้อหา • พิจารณาถึงจุดเด่นของงานที่เราต้องการตีพิมพ์ เช่น ผลของการค้นพบที่ไม่เคยพบมาก่อน หรือ เราตรวจสอบ พิสูจน์ ทดลอง ค้นหาความจริงที่เป็นองค์ความรู้ (State of The Arts) ประเด็นที่เป็นที่โต้แย้งในขณะนั้น • หรือ เราใช้วิธีวิทยาการวิจัยที่ใหม่กว่า (ที่ถูกต้องกระบวนการวิจัยตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์-Sciencetifics Method) ทั้งในด้านที่ไม่ยุ่งยากแต่ให้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือสูง บรรณาธิการวารสารอ่านแล้วเข้าใจ ผู้อ่านนิรนามอ่านต้องเข้าใจ • ใช้ดัชนีวัด (Index) ในประเด็นที่คนอื่นๆเคยตีพิมพ์ได้ถูกต้องมากกว่า เป็นตัวชี้วัดสากล วิธีการสร้างดัชนีมีความน่าเชื่อถือ มีข้อมูลครบ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ

  11. การเริ่มต้นวางประเด็นสำคัญของเนื้อหา • ได้ผลการวิจัยที่ต่างจากเดิมอย่างเชื่อถือได้ (แม้ว่าจะใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบเดียวกัน) แต่ผลการตรวจสอบ พิสูจน์ ค้นคว้า และวิเคราะห์มีจุดโดดเด่นมาก คือ ทันสมัยมากกว่า สอดคล้องกับสถานการณ์ในยุคนั้น • ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยกว่า หากเป็นการวิจัยในเชิงปริมาณที่ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจต้องมีการเป็นตัวแทนที่เชื่อถือได้มากกว่า • วิธีการประมาณค่าถูกต้องตามหลักวิชาการ การตีความและอภิปรายผลถูกต้องตามหลักการในศาสตร์นั้นๆ

  12. การเริ่มต้นวางประเด็นสำคัญของเนื้อหาการเริ่มต้นวางประเด็นสำคัญของเนื้อหา • หากเป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ หน่วยสังคมที่ศึกษา (ชุมชนหรือคน) ต้องมีลักษณะโดดเด่นที่สุดที่สามารถนำไปสู่การตอบคำถามวิจัย ผู้รู้ที่เป็นผู้ให้ข้อมูล(ชุมชนหรือคน) ต้องเป็นผู้ที่รู้จริงในสิ่งที่งานวิจัยในเชิงคุณภาพนั้นอยากจะรู้ • ข้อค้นพบขัดแย้งกับทฤษฎีในศาสตร์นั้น หรือ ผลการวิจัยของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในสาขาฯ แต่ของเราดีกว่า ทั้งวิธีวิทยาและข้อมูล (ต้องกล้าเขียนประเด็นนี้ลงในบทความ)

  13. ขั้นตอนการกำหนดจุดเด่นของงานขั้นตอนการกำหนดจุดเด่นของงาน • แตกออกเป็นหัวข้อย่อยที่โดดเด่นจริงๆ ไม่ควรเกิน 3 ข้อ เช่น ข้อค้นพบ วิธีวิทยาการวิจัย ฯลฯ แล้วเลือกออกมาเพียง 2 ข้อ ที่เราคิดว่าเด่นที่สุดและพร้อมที่จะขายผ่านกระบวนการสื่อสารให้เพื่อนในวงวิชาการที่อยู่ในศาสตร์เดียวกันกับเราได้ทราบ จุดโดดเด่นนี้มักนิยมเอามาตั้งเป็นหัวข้อบทความ “ชื่อเรื่อง” เช่น “อิทธิพลโครงข่ายสังคมของวัยรุ่นต่อการลดโอกาสมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” • หากเป็นเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อค้นพบใหม่ การออกแบบวิจัย วิธีการพิสูจน์และการประมาณค่า & สถิติที่ใช้ ฯลฯ

  14. ขั้นตอนการกำหนดจุดเด่นของงานขั้นตอนการกำหนดจุดเด่นของงาน • หากเป็นเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อค้นพบใหม่ที่ให้รายละเอียดสามารถขยายองค์ความรู้ในเรื่องที่ศึกษาได้ชัดเจนและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น บริบทสังคม วัฒนธรรมเด่นเฉพาะ วัฒนธรรมกลุ่มย่อย ขนบธรรมเนียม & ประเพณี ที่มีอัตลักษณ์ผู้อื่นยังค้นหาไม่พบ • วางแนวทางว่าจะนำเสนอจุดเด่นนั้นๆอย่างไร เช่น หากเป็นเชิงปริมาณต้องคิดก่อนในเรื่องการทำตาราง จะใช้กี่ตาราง ต้องสอดคล้องกับวารสาร การเสนอด้วยกราฟ จะใช้กราฟแบบใดบ้าง กี่กราฟ ต้องมีแผนผัง (Diagram) หรือไม่ • หากเป็นเชิงคุณภาพต้อง กำหนดประเด็นที่จะเสนอ เช่น คำตอบที่เป็นคำอธิบายอย่างละเอียด ประโยค วลี (Quotations) กี่ครั้งรูปภาพ แผนที่ แผนผัง ฯลฯ กี่รูป กี่แผนผัง

  15. ขั้นตอนการกำหนดจุดเด่นของงานขั้นตอนการกำหนดจุดเด่นของงาน • กำหนดประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่า ในแต่ละตาราง กราฟ รูปภาพ แผนผัง ฯลฯ จะอธิบายอะไรเพื่อให้บรรณาธิการ ผู้อ่านนิรนาม และผู้อ่านในศาสตร์ของเราได้เข้าใจ • ข้อค้นพบที่แสดงในตาราง กราฟ หรือ รูปภาพ สอดคล้องกับทฤษฎี วรรณกรรม ที่ผ่านมาอย่างไร หากขัดแย้ง ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ขัดแย้งนั้นๆอย่างชัดเจน • กำหนดบทความอ้างอิงเอาไว้ใต้ร่างของ ตาราง กราฟ หรือ รูปภาพ แผนผัง ฯลฯ ที่เราจะนำเสนอ ทั้งในด้านที่คล้ายกัน และด้านที่โต้แย้ง

  16. การกำหนดจุดเด่นข้อค้นพบการกำหนดจุดเด่นข้อค้นพบ • ในประเด็นของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาต้องหาพื้นที่เพื่อระบุว่างานของเราเป็นหนึ่งงานที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ อ้างอิง งานคนอื่นๆที่เคยตีพิมพ์ในช่วงระยะหนึ่ง หรือ สองปี ที่ผ่านมา • เน้นความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยเรื่องนี้ให้ชัดเจน ประเด็นนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของงาน แต่เป็นความจำเป็นที่ต้องค้นคว้าเพราะยังมีข้อค้นพบที่โต้แย้งในหลายบริบทที่ต่างกัน หรือ มีการค้นคว้าในประเด็นนี้น้อย หรือต้องการพัฒนาสิ่งใหม่ๆขึ้นมาฯลฯ • ตรวจสอบว่าประเด็นที่เราค้นคว้ามีคนทำวิจัยในช่วง ห้า หรือ สิบปีมานี้ไม่มากนักแต่สังคมมีพลวัตร จึงควรมีการตรวจสอบและวิเคราะห์เพื่อติดตาม พร้อมกับอธิบายถึงประโยชน์ของข้อค้นพบทั้งในด้านการวิจัยบริสุทธิ์(R&D หรือ R for D) การวิจัยประยุกต์ การทดลอง ที่มั่นใจว่าผลการวิจัยจะมีผลต่อการออกมาตรการทางสังคม กฎหมาย ฯลฯ

  17. การเริ่มต้นในการเขียนบทความการเริ่มต้นในการเขียนบทความ • หากเขียนจากการย่อรายงานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว ให้เริ่มต้นดังนี้ (หากตั้งใจจะเขียนก่อนวิเคราะห์ข้อมูลให้เริ่มต้นจากบทนำหรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาก่อน) • เขียนบทสรุปและการอภิปรายผล เป็นอันดับแรก หากเป็นเชิงปริมาณควรเน้นที่ ขนาดของความสัมพันธ์ (Effect size) ที่สอดคล้อง คล้ายกับ เหมือนกับ หรือ โต้แย้งจากของผู้อื่น ต้องมีอ้างอิงเสมอ ยิ่งใหม่ หรือ มีคนทำน้อยยิ่งดี ต้องนำทฤษฎีวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาร้อย & มาผูก ในเนื้อหาส่วนนี้ด้วย • ในการอ้างอิง ควรเรียงปีที่ตีพิมพ์จากน้อยไปหามาก เช่น (Entwisle 2005; Knodel 1978; Rindfuss 1960; Sawangdee 1997) เพราะต้องชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของประเด็นนั้นๆอย่างต่อเนื่อง

  18. การเริ่มต้นในการเขียนบทความการเริ่มต้นในการเขียนบทความ • หากเป็นเชิงคุณภาพ ควรเน้นในข้อค้นพบที่เด่นที่สุด เช่น บริบทของสังคม วัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมกลุ่มย่อย ผลของโครงสร้างสังคมต่อพฤติกรรมที่เราศึกษา ตรวจสอบ วิเคราะห์ ฯลฯ ต้องมีอ้างอิงเสมอ ยิ่งใหม่ หรือ มีคนทำน้อยยิ่งดี ต้องนำทฤษฎีวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาร้อย & มาผูก ในเนื้อหาส่วนนี้ด้วย • ในการอ้างอิง ควรเรียงปีที่ตีพิมพ์จากน้อยไปหามาก เช่น (Entwisle 2005; Knodel 1978; Rindfuss 1960; Sawangdee 1997) เพราะต้องชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของประเด็นนั้นๆอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรอ้างแบบ “อ้างใน..........”

  19. การเริ่มต้นในการเขียนบทความการเริ่มต้นในการเขียนบทความ • เขียนบทคัดย่อเป็นลำดับที่สอง ใช้หลักการเช่นเดียวกันกับที่กำหนดไว้ในวารสารที่เราเลือก เขียนให้ครบทุกประเด็นเด่นที่เราต้องการนำเสนอ • บทคัดย่อจะเขียนเพื่อเน้นเฉพาะผลการวิจัยที่ค้นพบเท่านั้น จะไม่เน้นวิธีวิจัย • ส่วนมากจะเริ่มต้นแบบนี้: การวิจัยนี้ตรวจสอบ..ค้นหา..พิสูจน์..อะไร...ด้วยข้อมูลแบบไหน..เมื่อไหร่..ผลการวิจัยพบว่า ....ประเด็นตรงนี้หากเป็นเชิงปริมาณควรเน้นผลที่เด่นที่สุดที่ได้จากการประมาณค่า ต้องเป็นประเด็นที่สื่อถึงหัวข้อบทความเพราะถือว่าเป็นจุดขาย จุดโดดเด่นที่สุด ไม่ควรนำเสนอสถิติเชิงพรรณา หากเป็นเชิงคุณภาพ ต้องเน้นผลการวิจัยที่เด่นเช่นกันและต้องเป็นประเด็นที่สื่อถึงชื่อบทความเช่นกัน • ในบทคัดย่อต้องมีคำหลักๆในเรื่องที่ค้นคว้าปรากฏด้วย

  20. การเริ่มต้นในการเขียนบทความการเริ่มต้นในการเขียนบทความ • เขียนบทนำ หรือ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา รวมทั้งวัตถุประสงค์และตามด้วยแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นลำดับที่สาม ส่วนนี้ต้องเกริ่นถึงทฤษฎีหลักที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อด้วย ร้อยเข้ากับคำถามวิจัย (โจทย์วิจัย) ต้องระบุความจำเป็นที่ต้องทำให้ชัดเจน อาจจะเน้นประเด็นด้านความคลุมเครือของข้อค้นพบที่ผ่านมา เพราะข้อมูล การสร้างตัวชี้วัดไม่ถูกที่สุด ข้อโต้แย้ง ฯลฯ ตรงนี้อาจนำตารางข้อมูล หรือ กราฟมาช่วย เพื่อให้เห็นความรุนแรงของปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงตามเวลา แล้วโยนต่อไปถึงวัตถุประสงค์การวิจัย • วัตถุประสงค์การวิจัย ต้องชัดเจนว่า ตรวจสอบ พิสูจน์ ค้นหา วิเคราะห์ อะไร

  21. การเริ่มต้นในการเขียนบทความการเริ่มต้นในการเขียนบทความ • เขียนวิธีวิทยาการวิจัย เป็นอันดับที่สี่ หากเป็นการวิจัยในเชิงปริมาณต้องเน้นแหล่งข้อมูล ลักษณะข้อมูล ขนาดตัวอย่างและการเป็นตัวแทน วิธีการสร้างตัวชี้วัด พร้อมกับการอธิบายถึงระดับการวัดของตัวแปร ฯลฯ จะเขียนถึงประเด็นใดบ้างต้องดูจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนั้นมาก่อน ดูจากฉบับล่าสุด • การจัดทำบรรณานุกรม เป็นอันดับที่ห้า ต้องสอดคล้องกับที่กำหนดในวารสาร และต้องมีครบตามที่อ้างไว้ในเนื้อความและกล่าวถึง • การเขียนกิตติกรรมประกาศ เขียนหลังสุด • การจัดตาราง กราฟ รูปภาพ ให้กลมกลืนกับการนำเสนอในแต่ละประเด็น

  22. การกำหนดชื่อตาราง กราฟ รูปภาพ • พิจารณาตามบทความที่ผู้อื่นเคยตีพิมพ์ในวารสารนี้ล่าสุด หรือหากมีการกำหนดตัวอย่างไว้ให้นำเสนอตามนั้น • วิธีการสร้างดัชนี ต้องแสดงสูตรให้ชัดเจน จำแนกย่อยออกเป็นรายตัว ให้สอดคล้องกับตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการวิเคราะห์

  23. ขั้นตอนการวางผังการเขียนบทวิเคราะห์และอภิปรายผลขั้นตอนการวางผังการเขียนบทวิเคราะห์และอภิปรายผล • กำหนดเป็นประเด็นรายหัวข้อ ตามคำถามวิจัย ที่ชี้ให้เห็นประเด่นของหัวข้อนั้นแบบตรงๆโดย ไม่ต้องไส่เลขหัวข้อ เพราะไม่นิยม แต่จะเน้น เป็น ตัวดำโตเช่น: ผลของโครงสร้างครอบครัวต่อการย้ายถิ่น พรรณาประเด็นนี้ให้กระชับหลังจากนั้นกำหนดเป็นหัวข้อรองลงไปในหมวดนี้ เช่น โครงสร้างครอบครัวขยาย ................................................................... ............................................................................. โครงสร้างครอบครัวเดี่ยว .................................................................... ............................................................................. เครือข่ายสังคมกับการเลือกถิ่นปลายทาง ........................................................ ...................................................................... .................................................................................. • กำหนดตารางผลทางสถิติ กราฟ รูปภาพ แล้วอภิปรายผล เช่น อาจใช้หลักการทางเศรษฐมิติ ที่พิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ในด้าน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Cause and consequence model: causal relationship) การเพิ่มขึ้น ลดลง หรือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น

  24. การร่างประเด็นสำคัญในการอภิปรายผลการร่างประเด็นสำคัญในการอภิปรายผล • ควรเสนอผลในลักษณะการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการค้นพบที่เคยตีพิมพ์มาก่อน • สอดคล้อง ขัดแย้ง ฯลฯ • ขัดแย้งกับ (อ้างอิง ชื่อ ปีที่พิมพ์) เพราะ ข้อมูล วิธีคำนวณ เหตุการณ์มีพลวัตร โดยควรแตกประเด็นโต้แย้งและเปรียบเทียบเป็นรายข้อ อาทิ 1……… 2………. 3…………. 4……...

  25. วิธีการวิเคราะห์และตีความพร้อมอภิปรายผลวิธีการวิเคราะห์และตีความพร้อมอภิปรายผล • หากเป็นเชิงปริมาณต้องอ่านตาราง หรือดูกราฟที่สร้างขึ้นมาด้วยการใส่ใจมากๆในการคิด แล้ววิเคราะห์ แยกแยะ ตามความรู้ที่เคยอ่านพบในทฤษฎีและวรรณกรรมที่ผ่านมาก่อน ค้นหาคุณค่าให้เจอ เขียนความเห็นของเราลงไปก่อนว่าเราพบอะไรบ้างเมื่ออ่านจากตารางนี้หรือจากกราฟ จาก รูปนี้ จะนิยมเขียนไว้ใต้ตาราง หรือ ใต้กราฟ ใต้รูปไว้ก่อน หากเป็นเชิงคุณภาพต้องตีความปรากฏการณ์และหลักฐานที่นำทฤษฎีมาเทียบออกมาให้ได้ • หลังจากนั้นพิจารณาด้วยการคิด วิเคราะห์ในใจอีกครั้งว่า ปรากฏการณ์ที่เห็นจากตารางนี้ จากกราฟนี้ หรือจากรูปนี้ เหมือน หรือคล้าย หรือ สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ผ่านๆมาในบทวรรณกรรมที่เราเขียนไว้ของใครบ้าง แล้วเขียนบรรยายไว้อีกโดยนำอ้างอิงมาใส่ไว้ด้วยทุกบทความที่สอดคล้อง • แล้วพิจารณาอีกว่าแตกต่าง ขัดแย้ง ไม่สอดคล้องกับใครบ้าง เพราะอะไร หาความต่างให้พบแล้วเขียนบรรยายพร้อมอ้างอิงคนที่ต่าง • จากนั้นค่อยเขียนเรียบเรียงด้วยภาษาสารคดีให้สื่ออย่างเข้าใจ

  26. วิธีการเขียนเพื่อบรรยายตารางวิธีการเขียนเพื่อบรรยายตาราง • ให้เขียนแบบจัดตารางไว้ตรงกลางหน้า (Sandwich) • เขียนบรรยายมาก่อนแล้วระบุตารางต่อไปนี้ • แล้วอธิบายต่อว่า จากตารางข้างต้น พบปรากฏการณ์อะไรอีกบ้าง • ในหนึ่งหน้า ไม่ควรมีตารางมากเกินสองตาราง • ในหนึ่งหน้าไม่ควรมีกราฟ หรือรูป เกิน สอง กราฟ หรือ รูป

  27. การเสนอผลโดยมีกราฟประกอบการเสนอผลโดยมีกราฟประกอบ • ปัจจุบันนิยมมาก • การใช้กราฟแท่ง เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ให้เห็นระดับสูง & ต่ำ ตีความตามความต่างระหว่างแท่งที่เปรียบเทียบ • กราฟวงกลมต้องการเน้น Segment การ Share • การใช้กราฟเส้นเพื่อชี้ให้เห็นแนวโน้มของการเคลื่อนไหว (Trend) ที่เน้นแบบแผน (Pattern) ทิศทาง ของการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ของตัวแปรตาม เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนไป หรือ เวลาเพิ่มขึ้น • การใช้กราฟเส้นควรเน้นที่การเปรียบเทียบสองเส้น พิจารณาที่ความห่าง ความชัน ความแคบ ความเหมือน ความเร็ว • ไม่ควรแสดงเกินสามเส้น หากมากจะมั่วทำให้เข้าใจยาก บรรณาธิการบางฉบับจะไม่อ่านเลยเมื่อพลิกดูและเห็นกราฟมั่ว โยนทิ้งทันที

  28. การนำเสนอโดยใช้กราฟประกอบการนำเสนอโดยใช้กราฟประกอบ • กราฟเส้นทุกเส้นต้องมี สัญลักษณ์ย่อ แสดงไว้ ต้องสอดคล้องกับรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ • กราฟวงกลม นิยมใช้น้อยมาก • ปัจจุบันการวิจัยในเชิงปริมาณที่เน้นการประมาณค่า นิยมเสนอผลการจำลองเหตุการณ์ (Simulation) โดยใช้กราฟแท่ง และ กราฟเส้น

  29. หลักการเขียนวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงข้ามประเด็นหลักการเขียนวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงข้ามประเด็น • ควรเชื่อมโยงจากประเด็นหนึ่ง ไปอีกประเด็นหนึ่งให้สอดคล้องกัน ไม่ควรข้าม หรือ วนไปวนมา อธิบายให้จบในประเด็นนั้นๆ เพราะจะเป็นการเพิ่มความสำคัญว่าทุกประเด็นที่อภิปรายมีความสำคัญสอดคล้องซึ่งกันและกัน ต้องมีอ้างอิงเสมอ

  30. การตั้งชื่อบทความ • เน้นผลการวิจัยที่เด่นที่สุด ในตัวบทวิเคราะห์ เพราะเป็นจุดดึงดูดความสนใจ ของบรรณาธิการ ผู้อ่านนิรนาม และผู้อ่านบทความ • เช่น ความต่างของความมั่งคั่งกับโอกาสด้อยพัฒนาทางปัญญา • หรือ ผลทางลบของการไม่ฝากครรภ์ต่อโอกาสการตายของทารก • หรือ เน้นที่วิธีวิทยาการวิจัย เช่น สมการโครงสร้างของพลวัตรครอบครัวต่อวิกฤติทางการศึกษาของเด็กพิการ

  31. การเข้าใจรูปแบบของวารสารการเข้าใจรูปแบบของวารสาร • วิธีการเขียนอ้างอิง et al ตัวย่อ การวางตาราง การวางกราฟ รูปภาพ • วิธีการเขียนบรรณานุกรม • รูปแบบการส่งต้นฉบับ มีแสดงไว้ในเล่มวารสาร แต่ละวารสาร มีรูปแบบต่างกัน • การใช้สัญลักษณ์ เช่น : ; ‘ } ) *** ] ฯลฯ ต้องสอดคล้องกับที่วารสารวางหลักเกณฑ์ไว้ • ขนาดอักษร ขนาดกระดาษ ฯลฯ ต้องตามวารสารกำหนด

  32. การตอบโต้ข้อคิดเห็นของผู้อ่านนิรนามการตอบโต้ข้อคิดเห็นของผู้อ่านนิรนาม • ตอบโต้เป็นรายข้อตามที่แต่ละคนให้ความเห็น ส่วนใหญ่จะ4 คน ต้องแยกตอบทีละคน คนละแผ่น หากแก้ตามที่แนะนำ ต้องเขียนว่าแก้เป็นอย่างไร ปรากฏอยู่ในหน้าใดในต้นฉบับที่ส่งมาใหม่ • ไม่จำเป็นต้องแก้ตามเสมอไป แต่เราต้องมีเหตุผล หรือ มีอ้างอิงที่สามารถยืนยันได้ อาจยอม หรือ ไม่ยอมก็ได้ขึ้นอยู่กับความรู้แจ้งของเรา สิ่งสำคัญคือเหตุผล • การตอบโต้ให้ระบุตามประเด็น หรือ หัวข้อ แล้วแก้ลงในบทความ ระบุบรรทัดที่แก้ใข ระบุหน้าที่ปรากฏใหม่ในต้นฉบับที่แก้ไขแล้วและส่งไปใหม่ • ให้ตระหนักว่าอธิบายให้ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่เขาสั่งให้เราแก้ไขฟัง โดยผ่านบรรณาธิการวารสารที่เป็นคนกลาง โดยมารยาทบรรณาธิการจะชื่อผู้อ่านนิรนาม

  33. ลักษณะตารางที่นิยมใช้เพื่อตอบผู้อ่านนิรนามลักษณะตารางที่นิยมใช้เพื่อตอบผู้อ่านนิรนาม ผู้อ่านนิรนามคนที่ ........

More Related