1 / 22

ยุคสมัยของวรรณคดี

ยุคสมัยของวรรณคดี. สมัยกรุงธนบุรี. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. สมัยกรุงธนบุรี. สมัยกรุงธนบุรี.

brasen
Download Presentation

ยุคสมัยของวรรณคดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุคสมัยของวรรณคดี

  2. สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  3. สมัยกรุงธนบุรี

  4. สมัยกรุงธนบุรี • เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้ว วรรณคดีเริ่มโรยแสง เพราะความไม่สงบสุขภายในบ้านเมืองจนดับสิ้นไปตอนเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าครั้งที่ ๒ ในระหว่างนั้น ไม่เพียงแต่วรรณคดีที่มีอยู่เดิมจะถูกทำลายไป ยังไม่มีการสร้างสรรค์วรรณคดีขึ้นใหม่อีกด้วย เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้ บ้านเมืองอีกครั้งหนึ่งก็ต้องเป็นพะวักพะวนอยู่กับการปราบข้าศึกภายนอก และยุคเข็ญภายใน จึงไม่มีเวลาและกำลังสติปัญญาพอที่จะฟื้นฟูวรรณคดีให้คืนคงดังเก่า

  5. สมัยกรุงธนบุรี • แต่ด้วยความสนพระทัยเป็นพิเศษที่มีต่อวรรณคดีของชาติ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ยังทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติด้วยพระองค์เอง และทรงสนับสนุนกวีอื่นให้ได้สร้างงานวรรณคดีขึ้นไว้

  6. ๑.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(๑) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ๒. หลวงสรวิชิต (หน)(๑) ลิลิตเพชรมงกุฎ (๒) อิเหนาคำฉันท์ ๓. นายสวน มหาดเล็ก(๑) โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยกรุงธนบุรี • กวีและวรรณคดีสำคัญในสมัยธนบุรี มีดังนี้

  7. ๔. พระภิกษุ อิน (๑) กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ๕. พระยามหานุภาพ(๑) นิราศกวางตุ้ง สมัยกรุงธนบุรี • กวีและวรรณคดีสำคัญในสมัยธนบุรี มีดังนี้ (ต่อ)

  8. สมัยกรุงธนบุรี • ลักษณะวรรณคดีสมัยธนบุรี เนื่องจากวรรณคดีสมัยธนบุรีได้รับอิทธิพลโดยตรงจากวรรณคดีสมัยอยุธยา วรรณคดีสมัยธนบุรีจึงคล้ายคลึงกับวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายในลักษณะสำคัญต่อไปนี้

  9. สมัยกรุงธนบุรี ๑. แต่งด้วยร้อยกรองทั้งหมดเช่นเดียวกัน โดยใช้คำประพันธ์ทุกประเภท คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ๒. มีธรรมเนียมในการแต่งเช่นเดียวกัน เช่น ขึ้นต้นด้วยบทไหว้หรือบทประณาม มีการบรรยายและพรรณนาอย่างเข้าแบบทั้งบทชมต่างๆและบทพรรณนาอารมณ์ความรู้สึก มุ่งความไพเราะในการประพันธ์มากกว่าเนื้อหาสาระและแนวความคิด ๓.เนื้อเรื่องมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ศาสนาและคำสอน เรื่องเล่าสำหรับอ่านและบทแสดงนิราศและบทสดุดี

  10. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  11. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ • เมื่อบ้านเมืองรุ่งเรืองและสงบสุขอีกครั้ง กิจการด้านศิลปวัฒนธรรมก็ย่อมเจริญรุ่งเรืองตามด้วย วรรณกรรมและวรรณคดีจำนวนมากได้รับการฟื้นฟู ซึ่งที่จริงก็ได้มีการฟื้นฟูมาบ้างแล้วในสมัยกรุงธนบุรี ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็ได้รับการฟื้นฟูต่อไปอีก เพราะทรงเห็นว่าพระนครที่สร้างขึ้นใหม่จะขาดสิ่งสำคัญคือวรรณกรรมและวรรณคดีไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสช่วยกันสร้างสรรค์งานวรรณกรรมอย่างรีบด่วน ใครถนัดด้านใดก็ให้ขวนขวายทำทางนั้น

  12. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ • ที่มาของรูปแบบ เนื้อหา แนวคิด อุดมคติ และจุดมุ่งหมายของวรรณกรรมและวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีส่วนสืบเนื่องและมีที่มาสำคัญจากวรรณกรรมและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลงานจำนวนมากปรากฏแบบแผนและวิธีการทุกประเภทเด่นชัดตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

  13. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑๑.พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหมาราช ๒.กฎหมายตราสามดวงกวีในสมัยรัชกาลที่ ๑ รวบรวมตามพระราชโองการใช้คำประพันธ์ ร้อยแก้ว เพื่อเป็นกฎหมายสำหรับบ้านเมือง

  14. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๓.บทละครรำเรื่อง รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และอิเหนาในรัชกาลที่ ๑ รบพม่าที่เมืองนครศรีธรรมราชพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหมาราชใช้คำประเภทร้อยกรองประเภทกลอนบทละคร- รามเกียรติ์ เพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์และเพื่อเฉลิมพระนคร- อุณรุทเพื่อฟื้นฟูวรรณคดีและนาฏศิลป์- ดาหลังเพื่อแต่งวรรณคดีที่สูญหายไป- อิเหนาเพื่อซ่อมแซ่มเรื่องเดิม

  15. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๔.กลอนนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงยาว เพื่อบันทึกเรื่องราวการเดินทาง ๕.เพลงยาวนิราศรบพม่าที่นครศรีธรรมราชประพันธ์โดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทเพลงยาว เพื่อบันทึกการเดินทาง ๖.ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดร กัณฑ์กุมาร กัณมัทรี และกัณฑ์มหาพนประพันธ์โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่ายยาว เพื่อซ่อมแซมวรรณคดีเก่า

  16. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๗.กากีคำกลอนประพันธ์โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทเพลงยาว เพื่อขับร้องในการบรรเลงมโหรี ๘โคลงพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตเพชรมงกุฎ ประพันธ์โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)โคลงพยุหยาตราเพชรพวง ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทสี่สุภาพโคลงพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพระศรีวิชัยชาดกใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทลิลิตโคลงพยุหยาตราเพชรพวง เพื่อบันทึกภาพกระบวนพยุหยาตราไปนมัสการพระพุทธบาทที่ จังหวัดสระบุรีลิลิตพระศรีวิชัยชาดก เพื่อ เล่านิทานชาดก ๙.สมบัติอมรินทร์คำกลอนประพันธ์โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงยาว เพื่อเล่านิทานเรื่องพระอินทร์

  17. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐.ร่ายและกลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขาทองวัดราชคฤห์ประพันธ์โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนและร่าย เพื่อบันทึกเรื่อง ๑๑.นิพพานวังหน้าประพันธ์โดย พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตรใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทต่างๆ เช่น ร่าย โคลง กาพย์ และกลอนเพลงยาวเพื่อพรรณนาถึงกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบิดา ๑๒.นิราศตลาดเกรียบประพันธ์โดย พระเทพโมลี (กลิ่น)ใช้คำประพันธ์ ร้องกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ เพื่อบันทึกการเดินทาง

  18. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๓.เรื่องแปล ได้แก่ สามก๊ก ไซฮั่น และราชาธิราชสามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง (หน)ไซฮั่น กรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ราชาธิราช เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และขุนนางอีก ๓ คนใช้คำประพันธ์ ร้อยแก้ว เพื่อเล่านิทาน ๑๔.ไตรภูมิโลกวินิจฉัยประพันธ์โดย พระยาธรรมปรีชา (แก้ว)ใช้คำประพันธ์ ร้อยแก้ว เพื่อแทนไตรภูมิพระร่วง ให้ความรู้เกี่ยวกับโลกที่ ๓

  19. สรุปการแบ่งสมัยของวรรณคดีไทย นิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิดวรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก ดังนี้ ๑. สมัยกรุงสุโขทัย ตั้งแต่การสร้างกรุงสุโขทัยจนถึงเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐ มีหลักฐานทางวรรณคดีปรากฏอยู่เพียง   ๒ รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)

  20. สรุปการแบ่งสมัยของวรรณคดีไทย นิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิดวรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก ดังนี้ ๒. สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ๒.๑ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยพระรามาธิบดีที่๒ (พระเชษฐา) พ.ศ.๑๘๙๓-๒๐๗๒ เป็นระยะเวลา ๑๗๕ ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป ๕๐ ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกติสุข มีสงครามกับพม่า ๒.๒ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๒๓๑ เป็นเวลา ๗๘ ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไปอีก ๔๔ ปี ๒.๓ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรี-อยุธยา พ. ศ. ๒๒๗๕-๒๓๑๐ เป็นเวลา ๓๕ ปี 

  21. สรุปการแบ่งสมัยของวรรณคดีไทย นิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิดวรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก ดังนี้ ๓. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕ เป็นเวลา ๑๕ ปี ๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น ๒ ระยะ คือ ๔.๑ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ. ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๔ เป็นเวลา ๖๙ ปี                 ๔.๒ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน หรือสมัยรับอิทธิพลตะวันตก ตั้งแต่  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ. ศ. ๒๓๙๔ ถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่วรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก   รูปแบบของวรรณคดี เนื้อเรื่อง ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

  22. จบแล้วจ้า...

More Related