E N D
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (อังกฤษ: Marshall Islands) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Republic of the Marshall Islands) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริกา ประวัติศาสตร์ ภายใต้ความตกลงร่วมกับสหรัฐอเมริกา (Compact of Free Association) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ทำให้สหรัฐฯ ยุติการปกครองหมู่เกาะมาร์แชลล์ในฐานะเป็นดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติ โดยมีสถานะเป็นรัฐอิสระที่มีอธิปไตยปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2529 สามารถกำหนดนโยบายภายในและต่างประเทศ ยกเว้นด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของสหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ หมู่เกาะมาร์แชลล์เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2534 การเมือง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภารัฐธรรมนูญเป็นแบบ Semi - Westminster โดยรวมเอา หลักการของทั้งรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา รัฐสภามีสองสภา การแบ่งเขตการปกครอง หมู่เกาะมาร์แชลล์แบ่งเป็นเขตทางนิติบัญญัติ 24 เขต ซึ่งเป็นไปตามเกาะและหมู่เกาะที่มีคนอาศัยอยู่ รายละเอียดอยู่ในภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประเทศประกอบด้วย 29 หมู่เกาะ และ 5 เกาะเดี่ยว หมู่เกาะและเกาะเดี่ยวที่สำคัญที่สุดแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ แนวเกาะราตัก (Ratak Chain) และ แนวเกาะราลิก (Ralik Chain) (หมายถึงแนวเกาะ "ดวงอาทิตย์ขึ้น" และ "ดวงอาทิตย์ตก") 2 ใน 3 ของประชากรอาศัยบนมาจูโร (เมืองหลวง) และ เอเบเย (Ebeye) หมู่เกาะทางด้านนอกมีคนอาศัยอยู่น้อย เนื่องจากไม่มีโอกาสทางการงานและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ภูมิอากาศร้อนชื้น มีฤดูฝนช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน มีไต้ฝุ่นเป็นครั้งคราว
อะทอลล์ (Atoll) = หมู่เกาะปะการัง เศรษฐกิจ ความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรในทะเลแร่ธาตุ และแหล่งท่องเที่ยว แต่เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากรที่มีคุณภาพ หมู่เกาะมาร์แชลล์จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เต็มที่ ในภาคเกษตรกรรม ผลผลิตทางเกษตรมักอยู่ที่ไร่ขนาดเล็ก มีบริเวณเพาะปลูกน้อย ดินไม่มีคุณภาพ และขาดเกษตรกรที่มีความชำนาญ ทำให้การเกษตรไม่พัฒนาเท่าที่ควร พืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ มะพร้าวมะเขือเทศแตง ฯลฯ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก คือ งานหัตถกรรม ปลาที่ผ่านกระบวนการแปรรูป และ เนื้อมะพร้าวแห้ง หมู่เกาะมาร์แชลล์ประสบปัญหาด้านการเงินมาตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลได้แก้ไขโดยออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายและชำระหนี้สินซึ่งมีสูงถึง 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดภาวะวิกฤตขึ้นในปี 2539 รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น จึงต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน
ด้านการประมง หมู่เกาะมาร์แชลล์มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาทูน่า เปลือกหอย และไข่มุกดำ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา บริษัทของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เข้าไปจับปลาทูน่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ แต่หมู่เกาะมาร์แชลล์ก็ยังมีความต้องการที่จะนำเข้าปลากระป๋องเป็นจำนวนมากเช่นกัน ประชากร ส่วนใหญ่เป็นชาวไมโครนีเซีย มีประมาณเท่ากับไมโครนีเซีย 0.1เช่นกัน