1 / 14

Allergenicity test

Allergenicity test. Chittiwat Suprasongsin,MD Research center Ramaythibodi hospital. การประเมินผลทางด้านการก่อภูมิแพ้. สารโปรตีนที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม จำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ในการก่อภูมิแพ้

Download Presentation

Allergenicity test

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Allergenicity test Chittiwat Suprasongsin,MD Research center Ramaythibodi hospital

  2. การประเมินผลทางด้านการก่อภูมิแพ้การประเมินผลทางด้านการก่อภูมิแพ้ • สารโปรตีนที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรมจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ในการก่อภูมิแพ้ • ดีเอนเอที่มาจากแหล่งที่ทราบแน่ชัดว่าสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ถือว่ามีโอกาสทำให้เกิดภูมิแพ้ได้จึงควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาใช้เว้นแต่ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าไม่ทำให้เกิดภูมิแพ้ • การนำเอาดีเอนเอจากสิ่งมีชีวิติซึ่งอาจก่อให้เกิดโรค Gluten-Sensitive Enteropathy ในรายที่มีความไวสมควรหลีกเลี่ยง • เว้นแต่จะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสารพันธกรรมที่นำมานั้นไม่มีส่วนที่อาจจะก่อให้เกิดโปรตีนใหม่ที่เป็นสารก่อภูมิแพ้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในโรค Gluten-Sensitive Enteropathy

  3. ความเป็นไปได้ในการเป็นสารก่อภูมิแพ้ความเป็นไปได้ในการเป็นสารก่อภูมิแพ้ • สารโปรตีนที่เกิดขึ้นใหม่ในพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้ • ในปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบใดที่น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะสามารถใช้ในการทำนายการเกิดปฏิกิริยาแพ้ในคนได้ • ต้องอาศัยการทดสอบหลายวิธีประกอบกันแล้วนำผลจากการทดสอบทั้งหมดมาประเมินวิเคราะห์รวมกัน

  4. ขั้นตอนการศึกษา • การแยกโปรตีนใหม่ออกมาจากสิ่งมีชีวิตแปลงพันธุกรรม • โปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้นจากแหล่งอื่นโดยสามารถพิสูจน์ได้ว่าโปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้นมีโครงสร้างการออกฤทธิ์และลักษณะทางชีวเคมีเหมือนหรือเทียบได้กับโปรตีนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมนั้นๆ • ทำการวิเคราะห์ตามขั้นตอนเพื่อหาข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการประเมินความไปได้ในการเป็นสารก่อภูมิแพ้

  5. แหล่งที่มาของโปรตีนใหม่แหล่งที่มาของโปรตีนใหม่ หากดีเอ็นเอที่ใช้ในการดัดแปลงอันเป็นต้นกำเนิดของโปรตีนใหม่นั้นได้มาจากแหล่งที่ทราบแน่ชัดว่าสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้จะต้องถือว่าโปรตีนตัวนั้นเป็นสารก่อให้เกิดภูมิแพ้จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่

  6. ความคล้ายคลึงระหว่างลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนใหม่ความคล้ายคลึงระหว่างลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนใหม่ • ศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างทางเคมีของโปรตีนใหม่ • เปรียบเทียบการเรียงลำดับของกรดอะมิโนของโปรตีนใหม่กับของสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นทราบกันแล้วโดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบต่างๆกันเช่น FASTA หรือ BLASTP • ศึกษาลำดับกรดอะมิโนที่อาจเป็น Epitopes ของสารก่อภูมิแพ้ • ในกรณีที่พบว่าลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนที่เกิดขึ้นใหม่จำนวน 80 ตัวขึ้นไปมีความคล้ายคลึงกับของสารก่อภูมิแพ้มากกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป (ตามที่แนะนำโดย FAO/WHO 2001) ให้ถือว่าโปรตีนนั้นมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ชนิด IgE ได้

  7. ความคล้ายคลึงระหว่างลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนใหม่ความคล้ายคลึงระหว่างลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนใหม่ • ถ้าการตรวจสอบไม่พบว่าลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนใหม่คล้ายคลึงกับสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นที่ทราบกันแล้วควรทำการศึกษาขั้นตอนอื่นๆต่อไ • ถ้าตรวจสอบพบว่ามีความคล้ายคลึงกันกับสารก่อภูมิแพ้ให้สันนิษฐานว่าโปรตีนใหม่นี้มีโอกาสก่อภูมิแพ้ได้หากจะมีการดำเนินการพัฒนาและผลิตโปรตีนดังกล่าวต่อจะต้องทำการทดสอบโดยใช้ปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันซึ่งใช้เลือดจากผู้ที่ทราบว่าแพ้ต่อสารจากแหล่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้นั้นๆ

  8. ข้อจำกัด • ตรวจสอบได้กับข้อมูลเท่าที่ได้รับการเปิดเผยในฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นซึ่งฐานข้อมูลนี้จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่าที่จะหาได้ในช่วงเวลานั้นๆนอกจากนั้นการเปรียบเทียบเช่นนี้จะไม่สามารถตรวจสอบ Epitope ที่ไม่มีลำดับกรดอะมิโนต่อเนื่องกันแต่สามารถจับกัน IgE Antibody ได้

  9. ความเสถียรของโปรตีนใหม่ต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เปปซินความร้อนและกรดความเสถียรของโปรตีนใหม่ต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เปปซินความร้อนและกรด • เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าสารก่อภูมิแพ้หลายชนิดมีความเสถียรต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เปปซินดังนั้นจึงอาจจะใช้ความเสถียรต่อการย่อยสลายของเอนไซม์เปปซินภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเป็นตัวชี้ว่าโปรตีนดังกล่าวที่จะก่อภูมิแพ้ • ในกรณีที่โปรตีนใหม่มีความเสถียรต่อการย่อยการทดสอบขั้นต่อไปยังคงมีความจำเป็นเพื่อแสดงว่าโปรตีนใหม่นั้นมีโอกาสที่จะเป็นสารก่อภูมิแพ้จริง

  10. ความเสถียรของโปรตีนใหม่ต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เปปซินความร้อนและกรดความเสถียรของโปรตีนใหม่ต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เปปซินความร้อนและกรด • การที่โปรตีนไม่มีความเสถียรต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เปปซินมิได้หมายความว่าโปรตีนนั้นจะไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้แต่อย่างใด • การประเมินอาจใช้ข้อมูลจากการทดสอบโดยใช้ข้อมูลจากการทดสอบโดยใช้เอนไซม์อื่นๆที่มีข้อมูลว่าใช้ได้

  11. Specific Serum Screening • ในกรณีที่โปรตีนใหม่มาจากแหล่งหรือต้นตอที่ทราบว่าสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้หรือมีลำดับของกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสารก่อภูมิแพ้ควรทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการโดยวิธีทางวิทยาภูมิคุ้มกันเพื่อตรวจหาแอนติบอดีชนิด lgE ต่อโปรตีนดังกล่าวในเลือดของคนที่พิสูจน์ได้แน่นอนว่ามีอาการภูมิแพ้ต่อโปรตีนที่เป็นต้นตอของโปรตีนที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม • ข้อจำกัดในแง่การหาเลือดที่จะนำมาทดสอบว่าจะมีจำนวนและคุณภาพเพียงพอหรือไม่

  12. Specific Serum Screening • คณะที่ปรึกษาร่วมขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก (Joint FAO/WHO Exper Cobsultation-2001) ได้แนะนำว่า • เพื่อให้ผลการทดสอบมีความเชื่อมั่นได้ในระดับ 99% ควรใช้เลือดจากผู้ที่มีอาการภูมิแพ้จำนวนอย่างน้อย 8 คนในการพิสูจน์ว่าโปรตีนนั้นไม่เป็น major allergen และจำนวนอย่างน้อย 24 คนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่เป็น minor allergen • ถ้าผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการโดยวิธีทางวิทยาภูมิแพ้เป็นบวกต้องทำการทดสอบในขั้นตอนต่อไปว่ามีผลต่อการเกิดภูมิแพ้หรือไม่ • ในกรณีที่ผลเป็นลบอาจจะไม่เพียงพอที่จะระบุว่าโปรตีนที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรมนั้นไม่เป็นสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนังหรือการทดสอบแบบ ex vivo อื่นๆ

  13. Specific Serum Screening • ในกรณีที่โปรตีนที่ได้จากการคัดแปลงพันธุกรรมนั้นได้มาจากแหล่งที่ทราบว่าไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้และไม่มีลำดับของกรดอะมิโนที่คล้ายคลึงกับสารก่อภูมิแพ้อาจจะพิจารณาทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาภูมิคุ้มกันแบบ targeted serum screening โดยตรงหาแอนติบอดีชนิด lgE ต่อโปรตีนดังกล่าวในเลือดของคนที่พิสูจน์ได้แน่นอนว่ามีอาการภูมิแพ้ต่ออาหารหลายชนิด

  14. ข้อพิจารณาอื่นๆ • นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวข้างต้นความเป็นไปได้ในการเป็นสารก่อภูมิแพ้ของโปรตีนยังขึ้นอยู่กับว่าการได้รับโปรตีนชนิดนั้นในอาหารและผลจากการแปรรูปอาหารด้วย • เนื่องจากมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาวิธีใหม่ๆเพื่อใช้ในการประเมินความเป็นไปได้ในการเป็นสารก่อภูมิแพ้จึงควรพิจารณาว่ามีวิธีการอื่นใดที่อาจเหมาะสมสำหรับใช้ในการประเมินเพิ่มเติมได้ซึ่งวิธีการที่จะนำมาใช้เพิ่มเติมนี้ควรมีพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์ที่ดีและสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของผลได้โดยวิธีการเหล่านี้อาจรวมถึง targeted serum screening การพัฒนาเก็บรวมเลือดของผู้ที่มีอาการภูมิแพ้จากบริเวณต่างๆของโลกการทดสอบในสัตว์ทดสอบและการวิเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนเพื่อหา T-cell Epitope หรือ motif ที่สัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้

More Related