950 likes | 1.69k Views
บทที่ 3 การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย. 2.ความหมายปัญหาของการวิจัย. ปัญหาของการวิจัย หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากความสงสัย ความอยากรู้ในข้อเท็จจริง หรืออยากค้นหาทางที่จะแก้ไขได้ถูกต้อง อาจเป็นข้อสงสัยทางด้านทฤษฏี/หลักการที่มีอยู่ก็ได้ แนวทาง/วิธีการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้.
E N D
บทที่ 3การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
2.ความหมายปัญหาของการวิจัย2.ความหมายปัญหาของการวิจัย ปัญหาของการวิจัยหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสงสัย ความอยากรู้ในข้อเท็จจริง หรืออยากค้นหาทางที่จะแก้ไขได้ถูกต้อง อาจเป็นข้อสงสัยทางด้านทฤษฏี/หลักการที่มีอยู่ก็ได้ แนวทาง/วิธีการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้
3.แนวทางการเลือกปัญหา 1. ผู้วิจัย - ถนัด สนใจอยากรู้มากที่สุด - มีความรู้ ความสามารถในเรื่องนั้นๆ เพียงพอ 2. ประโยชน์ - มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม - ได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น 3. ระเบียบวิธีการ - สามารถสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้ - แหล่งข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ - คำนึงถึงระยะเวลา งบประมาณ และข้อจำกัดด่างๆ
ปัญหาที่เลือกต้อง? • ความเป็นไปได้(Feasibility) หาคำตอบ/เก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์สรุปผลได้ 2. ความชัดเจน(Clearness) ไม่คลุมเครือ เข้าใจตรงกัน ไม่อิงกับค่านิยมแต่ยึดหลักข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ 3. ความสำคัญ(Significance) มีความสำคัญเพียงพอและสามารถอธิบายให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหาได้ มีประโยชน์แก่ผู้สนใจด้านใดบ้าง 4. จริยธรรมและคุณธรรม(Ethics & Moral) เรื่องที่ทำต้องมีประโยชน์อย่างแท้จริงมิใช่เพื่อประโยชน์ธุรกิจ
4.การประเมินปัญหาในการวิจัย4.การประเมินปัญหาในการวิจัย 1.ปัญหานั้นสามารถทำวิจัยได้/ไม่ 2.ปัญหานั้นเป็นปัญหาใหม่/ไม่ 3.ปัญหานั้นมีความสำคัญ/ไม่ 4.ปัญหานั้นสามารถทำสำเร็จ/ไม่ 5.เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการวิจัยได้ 6.เป็นปัญหาที่สามารถหาเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อใช้รวบรวมข้อมูลได้
การกำหนดปัญหาที่ดี 1.สามารถกำหนดขอบเขตได้แน่นอนชัดเจน ไม่กว้าง/แคบจนเกินไป 2.ไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานวิจัยที่มีคนอื่นทำไว้แล้ว 3.มีคุณค่าและความสำคัญต่อสังคมส่วนรวม 4.ทำให้ผู้วิจัยสามารถทำวิจัยได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
5.แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย5.แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย 1. ตัวผู้ทำวิจัย ประสบการณ์ทางด้านวิชาการ การทำงาน ความรู้ ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมทางสังคม ปัญหาในชีวิตประจำวัน 2. บุคคลอื่น ความรู้ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้นำทางวิชาการ คำปราศัย ข้อสนทนา แนวความคิดต่างๆ
3. หน่วยงาน/องค์การทั่วไป หน่วยงานที่มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหา การพัฒนา การปรับปรุงระบบการทำงาน/หน่วยงานและองค์การที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย 4. แหล่งข้อมูลต่างๆ จากเอกสารตำราหนังสือ วารสาร บทความต่างๆงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานประจำปี สื่อมวลชน
- จากการวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม - จากประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งในวงการใดวงการหนึ่งที่ตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจ - จากการจัดสัมมนาและมีการอภิปรายปัญหาต่างๆในเรื่องที่ตรงกับที่ผู้วิจัยสนใจ - ศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆที่มีการทำวิจัยหรือบุคคลที่กำลังทำวิจัยอยู่
6.การสำรวจเอกสารที่ใช้ในการวิจัย6.การสำรวจเอกสารที่ใช้ในการวิจัย ประโยชน์ของการสำรวจข้อมูล 1.เสริมสร้างและก่อให้เกิดแนวความคิดสำหรับการกำหนดปัญหาการวิจัย 2.ช่วยทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นก่อนการศึกษาวิจัย 3.ก่อให้เกิดการพัฒนาการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหัวข้อการวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว 4.ป้องกันไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำวิจัย
5.ทำให้ผู้วิจัยสามารถทำวิจัยได้อย่างละเอียดรอบคอบ ตรวตามวัตถุประสงค์ 6.ทราบถึงแนวคิด ทฤษฏี เทคนิคและระเบียบวิธีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาวิจัย 7.เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการจัดลำดับเรื่องที่ต้องการศึกษาและเขียนรายงานการวิจัย
หลักเกณฑ์การเลือกเอกสารหลักเกณฑ์การเลือกเอกสาร 1. ทันสมัย 2. เนื้อหาตรง 3. นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย 4. ใช้ภาษาเหมาะสม มีเหตุผล ยึดถือข้อเท็จจริง 5. ผู้แต่งมีความรู้ เชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ 6. ความถูกต้องของข้อมูล แหล่งอ้างอิงเชื่อถือได้ 7. มาตรฐานและคุณภาพของสำนักพิมพ์
7.ประเภทของหนังสืออ้างอิง7.ประเภทของหนังสืออ้างอิง 1.สารานุกรม 2.พจนานุกรม 3.หนังสือรายงานประจำปี หนังสือรวบรวมเหตุการณ์และหนังสือคู่มือ 4.นามานุกรม 5.บรรณานุกรม 6.ดัชนี
7.วารสารการวิจัย 8.บทคัดย่อ 9.ปริญญานิพนธ์ 10.หนังสือพิมพ์และจุลสาร 11.เอกสารทางราชการ 12.เอกสารทางวิชาการ
8.การสร้างกรอบแนวคิด 8.1 ความหมาย กรอบแนวคิด หมายถึง กรอบของแนวคิดในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 8.2 ที่มาของกรอบแนวคิด 1. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. แนวคิดของนักวิจัยเอง
8.3 การเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัย 1. ความตรงประเด็น 2. ความง่ายไม่สลับซับซ้อน 3. ความสอดคล้องกับความสนใจ 4. ความมีประโยชน์เชิงนโยบาย
8.4 การนำเสนอกรอบแนวคิด 1. รูปแบบพรรณนาด้วยการอ้างอิงผลการวิจัยในอดีต ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในการวิจัยมีตัวแปรอะไรบ้าง ตัวแปรต้นมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร และมีเหตุ/ทฤษฏีอะไรมาสนับสนุนแนวคิดนั้น 2. รูปแบบจำลอง โดยใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์/การสร้างสมการอธิบายพฤติกรรม
รายได้สุทธิส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการบริโภคของคนในระบบเศรษฐกิจ จึงกำหนดให้ C = f(yd) C = ค่าใช้จ่ายในการบริโภค yd= รายได้สุทธิส่วนบุคคล โดยมีสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ คือ C = Ca+byd Ca = ค่าใช้จ่ายข้นต่ำในการดำรงชีวิต b= ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค
3. รูปแบบแผนภาพ ความสัมพันธ์ของรายได้สุทธิส่วนบุคคล กับค่าใช้จ่ายในการบริโภคและจำนวนการออมของบุคคล สินค้าจำเป็น ค่าใช้จ่ายในการบริโภค C รายได้สุทธิส่วนบุคคล yd สินค้าฟุ่มเฟือย เงินออม การเก็บออม S ทรัพย์สิน
9.การตั้งชื่อโครงการวิจัย9.การตั้งชื่อโครงการวิจัย 1.แสดงให้เห็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.แสดงลักษณะของการเก็บข้อมูล 3.แสดงสาระสำคัญของการวิจัย 4.ไม่ควรตั้งชื่อซ้ำกับชื่องานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว 5.ควรระบุชื่อตัวแปรสำคัญเพื่อให้รู้ว่าทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร 6.ชื่อเรื่องควรระบุกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง 7.ชื่อเรื่องควรบอกวิธีวิจัยอย่างคร่าวๆว่าจะทำวิจัยประเภทใด
ตัวอย่างการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาตัวอย่างการตั้งชื่อหัวข้อปัญหา ชื่อ : ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อลามก กับพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มวัยรุ่นชาย ตัวแปร : การเปิดรับสื่อลามก ,พฤติกรรมทางเพศ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มวัยรุ่นชาย วิธีวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (การศึกษาความสัมพันธ์)
เรื่องที่ 1 ทัศนคติของวัยรุ่นต่อการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหารุนแรงในสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์เนื้อหาของการรายงานข่าวเกี่ยวกับสิทธิเด็กในหนังสือพิมพ์ไทย เรื่องที่ 3 การเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการสอนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตโดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานกับวิธีการสอนแบบปกติ