380 likes | 2.16k Views
คู่มือการ เขียนอ้างอิงในรายงาน. โดย ศิวรรจน์ จารุกิ ตติ์น ราธร. 2 สิงหาคม 2556. การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน ทำให้รายงานน่าเชื่อถือ ให้เกียรติผู้เขียนเดิมและแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลผู้อื่น. ความหมายของการอ้างอิง.
E N D
คู่มือการเขียนอ้างอิงในรายงานคู่มือการเขียนอ้างอิงในรายงาน โดย ศิวรรจน์ จารุกิตติ์นราธร 2 สิงหาคม 2556
การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน ทำให้รายงานน่าเชื่อถือ ให้เกียรติผู้เขียนเดิมและแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลผู้อื่น ความหมายของการอ้างอิง
ความสำคัญและประโยชน์ของการอ้างอิงความสำคัญและประโยชน์ของการอ้างอิง • ทำให้เอกสารวิชาการของผู้เขียนน่าเชื่อถือ • หากผู้อ่านสนใจเรื่องที่อ้างอิง สามารถนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ • ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิ่งพิมพ์ • สำหรับงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ การตัดสินว่าวารสารทางวิทยาศาสตร์มีมาตรฐานเพียงใด ดูที่ความถี่ของการอ้างอิง
เอกสารที่นำมาใช้ในการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการอ้างอิง • หนังสือและเอกสาร เช่น ตำรา หนังสือวิชาการทั่วไป รายงานการประชุม วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ฯลฯ • วารสาร เช่น บทความวิจัย บทความปริทัศน์ บทความทางวิชาการ บทความพิเศษ • บทความจากอินเตอร์เน็ต เป็น สารสนเทศออนไลน์จากเว็บไซต์
1. แบบเชิงอรรถ (Footnote) 1. บรรณานุกรม (ระบบนามปี) หรือ รายการอ้างอิง (Reference) 2. แบบแทรกในเนื้อหา (ระบบนามปี)
ส่วนเนื้อหา : แบบเชิงอรรถ คือ การระบุเอกสารและแหล่งที่ใช้อ้างอิงในการเขียนเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ไว้ท้ายหน้าแต่ละหน้าโดยการเขียนหมายเลขกำกับในเนื้อความ ณ ตำแหน่งที่ต้องการอ้างอิงแล้วเขียนเชิงอรรถอ้างอิงท้ายหน้า ตัวอย่าง เช่น 1อภิโชค เลขะกุล, ระเบียบวิธีวิจัย : เอกสารประกอบการสอนวิชา 801710 = Research Methodology(เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549), หน้า 10. Footnote ในโปรแกรม Word จะจัดให้อัตโนมัติ
ส่วนเนื้อหา : แบบแทรกในเนื้อหา (ระบบนามปี) ระบบนามปี คือ ระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าอ้างอิงอยู่ภายในวงเว็บ ตัวอย่างเช่น (อภิโชค เลขะกุล, 2549, 10)
ส่วนท้ายเล่ม : บรรณานุกรม (ระบบนามปี) บรรณานุกรม คือ รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนวนำมาเรียบเรียงใหม่ ตัวอย่าง สันต์ สุวัจฉราภินันท์. (2551). เหล็กดัด: ผลผลิตวัฒนธรรมความกลัวที่พบในบ้านพักอาศัย ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ระบบนามปี (Author-Year Fomat) การอ้างอิงแบบนามปี คือ การระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้าเพื่อแจ้งแหล่งที่มาของข้อความ ถ้าเป็นภาษาไทย ใช้เลขปี พ.ศ. และถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้เลขปี ค.ศ. การอ้างอิงเอกสารภาษาไทยให้ใช้ชื่อและนามสกุล ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษใช้เฉพาะชื่อสกุล
ตำแหน่งการอ้างอิง (ในเนื้อหา) • วิธีที่ 1 วงเล็บการอ้างอิงไว้ท้ายข้อความ • วิธีที่ 2 วงเล็บการอ้างอิง แทรกปนในเนื้อหา • วิธีที่ 3 อ้างอิงชื่อผู้แต่งไว้ในวงเล็บ
ตัวอย่าง : วิธีที่ 1 วงเล็บการอ้างอิงไว้ท้ายข้อความ .....................(ผู้แต่ง, ปี, เลขหน้า) ตัวอย่าง .....................(อภิโชค เลขะกุล, 2549, 10) .....................(อภิโชค เลขะกุล และ วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, 2549, 10) ......................(Freeman, 1979, 19-20)
ตัวอย่าง : วิธีที่ 2 วงเล็บการอ้างอิง แทรกปนในเนื้อหา .............................(ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า)...........................
ตัวอย่าง : วิธีที่ 3 อ้างอิงชื่อผู้แต่งไว้ในวงเล็บ ผู้แต่ง (ปี, เลขหน้า)..................... หรือ ...........................ผู้แต่ง (ปี, เลขหน้า) เช่น วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง (2552) พบว่า .................................................... (กรณีนี้เป็นตัวอย่างการเขียนแบบสรุปเนื้อหามาอ้างอิงทั้งเล่ม) อภิโชค เลขะกุล (2549, 1-10) ทดลองพบว่า........................................ (กรณีนี้เป็นตัวอย่างของการเขียนแบบสรุปเนื้อหาจากหน้า 1-10 มาอ้างอิง) องุ่นทิพย์ และ กรุณา (2556) ได้กล่าวถึง ............................................... (กรณีนี้เป็นตัวอย่างของการเขียนแบบผู้แต่งสองคน) “……………….”
การเขียนที่มาของภาพและตารางการเขียนที่มาของภาพและตาราง รูปแบบ ที่มา : (ชื่อผู้แต่ง, ปีพ.ศ., เลขหน้า) ตัวอย่าง ที่มา : (องุ่นทิพย์ ศรีสุวรรณ, 2556, 10)
องค์ประกอบของการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมองค์ประกอบของการลงรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม • ผู้แต่ง • ชื่อเรื่อง • ปีพิมพ์ • ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์
1. หลักการ / วิธีการ ลงชื่อผู้แต่ง • บุคคล เช่น ผศ.ดร.ณวิทย์ อ่องแสวงชัย ลงว่า ณวิทย์ อ่องแสวงชัย • หน่วยงานราชการ เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การลงชื่อผู้แต่งที่เป็นหน่วยงานให้เอาชื่อหน่วยงานใหญ่ขึ้นก่อน ตามด้วยหน่วยงานรองลำดับลงมา
2. หลักการ / วิธีการ ลงชื่อเรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้ามีชื่อเรื่องรอง (Subtitle) ให้ลงชื่อเรื่องรองหลังเครื่องหมายมหัทภาค (: ) ส่วนชื่อเรื่องภาษาไทยที่มีภาษาต่างประเทศกำกับให้ลงรายการเฉพาะชื่อเรื่องภาษาไทยเท่านั้น ส่วนชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้เริ่มตัวพิมพ์ใหญ่ และใช้แบบนั้นตลอดทั้งเล่ม และให้พิมพ์ตัวหนา (กรณีที่เขียนให้ขีดเส้นใต้ชื่อเรื่อง) ตัวอย่างชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ English :A guide to writing
ตัวอย่างการลงชื่อเรื่องภาษาไทยตัวอย่างการลงชื่อเรื่องภาษาไทย ยุทธนา ทองท้วม. (2554). ศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หมายเหตุ ไม่ต้องใส่ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
4. หลักการ / วิธีการ ลงข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ • ครั้งที่พิมพ์ (Edition) ให้ลงตามที่ปรากฏในหนังสือในเครื่องหมายวงเล็บหลังชื่อเรื่อง ตัวอย่าง • (ฉบับปรับปรุงใหม่). • (พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงใหม่). • (ฉบับแก้ไขปรับปรุง). • (พิมพ์ครั้งที่4).
4. หลักการ / วิธีการ ลงข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ (2) • สถานที่พิมพ์ (Place of Publisher) ได้แก่ เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์และปีที่พิมพ์ • เมืองที่พิมพ์ • จังหวัดเชียงใหม่ ลงว่า เชียงใหม่ • กรุงเทพมหานคร ลงว่า กรุงเทพฯ • ไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ ลงว่า ม.ป.ท. • ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ • หน่วยงานหรือองค์กร ลงว่า กองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ • สำนักพิมพ์ เช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงว่า สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • โรงพิมพ์ เช่น โรงพิมพ์ห้วยแก้ว ลงว่า โรงพิมพ์ห้วยแก้ว / โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว ลงว่า โรงพิมพ์คุรุสภา • ห้างหุ้นส่วน เช่น บริษัท นานมี จำกัด ลงว่า นานมี • ไม่ปรากฏผู้รับผิดชอบ ลงว่า ม.ป.พ.
หนังสือ • รูปแบบ ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. • ตัวอย่าง นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. (2550). เล่าเรื่องเมืองเพชร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ. การเว้นวรรคการพิมพ์ หลังเครื่องหมาย . เคาะ1 ครั้ง ก่อนและหลังเครื่องหมาย : เคาะ 1 ครั้ง ชื่อเรื่องเป็นตัวหนา หรือ ตัวเอียง
บทความวารสาร รูปแบบ ผู้แต่ง.(ปีที่พิมพ์).ชื่อบทความ.ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า. ตัวอย่าง ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). การเป็นผู้นำที่มีจริยธรรม, นักบริหาร, 26(3), 20-25. การเว้นวรรคการพิมพ์ หลังเครื่องหมาย . และ , เคาะ1 ครั้ง ก่อนและหลังเครื่องหมาย : เคาะ 1 ครั้ง ชื่อวารสารเป็นตัวเอียง
การอ้างอิงจากบทความในหนังสือพิมพ์ • รูปแบบ ผู้แต่ง.(ปีเดือน วัน). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์. น.เลขหน้า. • ตัวอย่าง สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น.13.
วิทยานิพนธ์ ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อสาขา คณะ ชื่อมหาวิทยาลัย. • ตัวอย่าง ภัคพร กอบพึ่งตน. (2540). การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอด ปกติในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บรรทัดที่ 2 4-เคาะ 8 ครั้ง
การอ้างอิงจากบทความในหนังสือประเภทสารานุกรมการอ้างอิงจากบทความในหนังสือประเภทสารานุกรม ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อสารานุกรม (ฉบับที่ , หน้า). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. Sturgeon, T. (1995). Science fiction. In The encyclopedia Americana (Vol. 24, pp. 390- 392). Danbury, CT: Grolier.
การอ้างอิงจากเว็บไซต์การอ้างอิงจากเว็บไซต์ ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อวัน เดือน, ปี, จาก ชื่อเว็บไซต์: URL ตัวอย่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. ฝ่ายผู้ป่วยนอก. หน่วยสุขศึกษา. (ไม่ปรากฏปี พิมพ์). คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางนรี เวชกรรม [แผ่นพับ ]. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2552, จาก http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/takecare_sex/index.html
การอ้างอิงจากแผ่นพับ การเขยีนบรรณานุกรมแผ่นพับ (Brochure) / จุลสาร(Pamphlet) / สูจิบัตร เขียนเช่นเดียวกับหนงัสือโดยใส่คำว่า [แผ่นพับ] หรือ [Brochure] [จุลสาร] หรือ [Pamphlet] หลังชื่อเรื่อง หรือ สำนักพิมพ์(ถ้ามี) ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาศัลยศาสตร์. (2552). โรคริดสีดวงทวาร: เรื่องพบบ่อยที่ไม่ควรมองข้าม [แผ่นพับ ]. สงขลา: มหาวิทยาลัย.
การเขียนบรรณานุกรมเอกสารประกอบการสอน / การอบรม(Power Point Lecture note) ศุลีพร ช่วยชูวงศ์. (สิงหาคม 2552). การใช้ฐานข้อมูล UpToDate. เอกสาร ประกอบการอบรมเรื่องเทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์, สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Johannesson, C. (2008). The mole [PowerPoint slides]. Retrieved October 16, 2008, from http://www.nisd.net/communicationsarts/ pages/chem/ppt/molarconv_pres_ppt
วิทยานิพนธ์จากเว็บไซด์ ดาริณี สุวภาพ, ปาริชาติ เทวพิทักษ์, และดวงพร ผาสุวรรณ. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อผลสอบประเมินความรู้ เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. ค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2550, จาก http:www.rsu.ac.th/research-abstract-005.php