1.33k likes | 1.44k Views
มาตรฐานวิชาชีพ. นายทรงศักดิ์ ไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับดูแลจรรยาบรรณวิชาชีพ. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา www.ksp.or.th. กรอบการบรรยาย.
E N D
มาตรฐานวิชาชีพ นายทรงศักดิ์ ไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับดูแลจรรยาบรรณวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาwww.ksp.or.th
กรอบการบรรยาย • การประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ๑.๑ บทบาทคุรุสภาตามกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการความคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ๑.๒ มาตรฐานวิชาชีพ (๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน ๑.๓ จรรยาบรรณของวิชาชีพ • ๑.๔ แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ • ๒. การดำเนินการกรณีผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติจำต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีลักษณะพิเศษ ประกอบด้วย ๒ นิติบุคคล • สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือคุรุสภา • คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
หลักการของวิชาชีพชั้นสูงหลักการของวิชาชีพชั้นสูง ๑. มีบริการต่อสังคมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น ๒. มีระยะเวลาศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพยาวนานพอสมควร อย่างน้อยปริญญาตรีขึ้นไป ๓. มีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ ๔. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ๕. มีองค์กรวิชาชีพ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๕ การประกอบวิชาชีพ ต้องอยู่ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์การมีใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๗ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ • กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ • ออกและเพิกถอนใบอนุญาต • กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ • การพัฒนาวิชาชีพ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๙กำหนดให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ๑. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ๒. ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและ จรรยาบรรณของวิชาชีพ ๓. ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ ๔. พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา (ต่อ) ๕. สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ๖. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษา ๗. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบัน ต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา (ต่อ) ๘. รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้ง ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ๙. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ๑๐. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย ๑๑. ออกข้อบังคับของคุรุสภา ฯลฯ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๒ คณะกรรมการคุรุสภา ประกอบด้วย • ประธานกรรมการ คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ • กรรมการโดยตำแหน่ง • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ • กรรมการจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การศึกษา • กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา • เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๐ คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ • บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา • ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ • พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๕๔ • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ ฯลฯ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย • ประธานกรรมการ รัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา • กรรมการโดยตำแหน่ง • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ • กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การศึกษา • กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา • เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๕ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มีอำนาจและหน้าที่ • ออกใบอนุญาตและพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต • กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ ฯลฯ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ • มาตรา ๓๔ • สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มีหน้าที่ • รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา • ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คุรุสภามอบหมาย • จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคุรุสภา
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๓๕ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา • เลขาธิการคุรุสภา • บริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา • รวมทั้งดำเนินการตามที่ประธานกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการคุรุสภาประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมอบหมาย
การควบคุมการประกอบวิชาชีพการควบคุมการประกอบวิชาชีพ • มาตรา ๕๑ • มาตรา ๕๒ • มาตรา ๕๓ • มาตรา๕๔ • มาตรา๕๕ • มาตรา ๕๖ • มาตรา ๕๗ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๓ วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมประกอบด้วย วิชาชีพครู วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา วิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง (ศึกษานิเทศก์)
การควบคุมการประกอบวิชาชีพ มาตรา ๔๓ (ต่อ) ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา ๒. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย ๓. นักเรียน นักศึกษา ผู้รับการอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ๔. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ๕. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การศึกษา หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบ ๖. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน ๗. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
การควบคุมประกอบวิชาชีพการควบคุมประกอบวิชาชีพ มาตรา ๔๓ (ต่อ) ๘. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด • พระภิกษุที่ทำหน้าที่สอนหรือบริหารสถานศึกษา • ผู้สอนศาสนาที่ทำหน้าที่สอนในสถานศึกษา • ผู้สอนตามโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ • ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่สอนหรือบริหารโรงเรียนตระเวนชายแดน • ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ผู้ทำหน้าที่สอนหรือบริหารโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา
การควบคุมการประกอบวิชาชีพ มาตรา ๔๔ ผู้ขอรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมฯ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่ คุรุสภารับรอง (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
การควบคุมการประกอบวิชาชีพการควบคุมการประกอบวิชาชีพ มาตรา ๔๔ (ต่อ) (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ (๓) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย มาตรา ๔๕ การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต การขอรับใบแทน และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภา ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่อใบอนุญาต หรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ดังกล่าว
ตาม มาตรา 46แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ห้าม มิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และ ห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย • มาตรา ๔๗ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไข ตามข้อบังคับของคุรุสภา • มาตรา ๔๘ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย มาตรา ๔๙ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย (๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน
มาตรา ๕๐ มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพประกอบด้วย (๑) จรรยาบรรณต่อตนเอง (๒) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (๓) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ (๔) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๕) จรรยาบรรณต่อสังคม
มาตรฐานวิชาชีพ : การประกอบวิชาชีพ ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เข้าสู่วิชาชีพ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ - ต่อใบอนุญาต- ประเมินความชำนาญ ตามระดับคุณภาพ - ประเมินความชำนาญเฉพาะด้าน คุณภาพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน(จรรยาบรรณของวิชาชีพ) - จิตวิญญาณของความเป็นครู - การยอมรับของสังคม เกียรติและศักดิ์ศรี
มาตรฐานวิชาชีพ (มาตรา ๔๙) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติตน(จรรยาบรรณของวิชาชีพ) มาตรฐานการปฏิบัติงาน ครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์
ข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ ใช้บังคับวันที่ ๕ ก.ย. ๒๕๔๘
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ครู 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ เทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ (1) ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การจัดการเรียนรู้ (4) จิตวิทยาสำหรับครู
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ครู (ต่อ) (5) การวัดและประเมินผลการศึกษา (6) การบริหารจัดการในห้องเรียน (7) การวิจัยทางการศึกษา (8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา (9) ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ครู ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้ 1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 2. การปฏิบัติการสอนในสาขาวิชาเฉพาะ
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ดังต่อไปนี้ (1) หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา (2) นโยบายและการวางแผนการศึกษา (3) การบริหารด้านวิชาการ (4) การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา (ต่อ) (5) การบริหารงานบุคคล (6) การบริหารกิจการนักเรียน (7) การประกันคุณภาพการศึกษา (8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (9) การบริหารการประชาสัมพันธ์และ ความสัมพันธ์ชุมชน (10) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา 2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาที่ คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา 1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 2. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและต้องมี ประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือ หัวหน้าสาย หรือหัวหน้างานหรือตำแหน่ง บริหารอื่น ๆ ในสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา 1 . มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ (1) หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา (2) นโยบายและการวางแผนการศึกษา (3) การบริหารจัดการการศึกษา (4) การบริหารทรัพยากร (5) การประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา (ต่อ) (6) การนิเทศการศึกษา (7) การพัฒนาหลักสูตร (8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (9) การวิจัยทางการศึกษา (10) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร การศึกษา 2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการศึกษา ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา 1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 8 ปี หรือ 2. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 3. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารนอก สถานศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองหรือเทียบเท่า กองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา (ต่อ) 4. มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 5. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหาร การศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงรวมกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปี
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ศึกษานิเทศก์ 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ (1) การนิเทศศึกษา (2) นโยบายและการวางแผนการศึกษา (3) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (4) การประกันคุณภาพการศึกษา (5) การบริหารจัดการการศึกษา
มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ศึกษานิเทศก์ (ต่อ) (6) การนิเทศการศึกษา (7) กลวิธีถ่ายทอดความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และ ผลงานทางวิชาการ (8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (9) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนิเทศการศึกษา ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ศึกษานิเทศก์ 1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และประสบการณ์ ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี 2. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่
มาตรฐานการปฏิบัติงานของครูมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ 2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะแก่ผู้เรียน 3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ 4. พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู (ต่อ) 7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ 8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน 9. ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 10. ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ 11. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา 12. สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา 1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหาร การศึกษา 2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับ การพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน 3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ 4. พัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
6.ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 9. ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา11. เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ12. สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา (ต่อ)
มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ 1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา 2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยคำนึงถึงผลที่จะ เกิดแก่ผู้รับการนิเทศ 3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผล ต่อการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ 4. พัฒนาแผนการนิเทศให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มี คุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ (ต่อ) 6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ ผู้รับการนิเทศ 7. รายงานผลการนิเทศการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ 8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 9. ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ 10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา 11. เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ 12. สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์