450 likes | 854 Views
การรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ. ปรีชา นิศารัตน์. จริยธรรม. ในการประกอบวิชาชีพ. ในการทำงาน. ในทางศาสนา. ปทัสถาน. ศีลธรรม. จรรยาบรรณ. วินัย. ประกาศิต. พึง. ต้อง. ควร. คุณธรรม. จรรยา. วินัย. พฤติกรรม. จุดมุ่งหมาย. เพื่อคน + งาน. เพื่องาน. เพื่อคน. ประสิทธิผล.
E N D
การรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการการรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ ปรีชา นิศารัตน์
จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพ ในการทำงาน ในทางศาสนา ปทัสถาน ศีลธรรม จรรยาบรรณ วินัย ประกาศิต พึง ต้อง ควร คุณธรรม จรรยา วินัย พฤติกรรม จุดมุ่งหมาย เพื่อคน + งาน เพื่องาน เพื่อคน ประสิทธิผล ศักดิ์ศรี + ประสิทธิผล ผล ดี
จรรยาบรรณ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อ รักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และ ฐานะของสมาชิก
จรรยาบรรณ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. ทำให้คนมีประสิทธิภาพ (เก่ง) 2. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการ ประกอบอาชีพ (ดี) 3. มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับ
วิชาชีพ • มีความรู้ • มีจรรยาบรรณ • มีการคัดสรรบุคคลเข้ามาฝึกอบรม ให้ทำงาน • มีสมาคมวิชาชีพคอยกำกับดูแล
จรรยาบรรณตาม พ.ร.บ. 2535 จรรยาบรรณต่อตนเอง • มีศีลธรรม ประพฤติตนเหมาะสม • ใช้วิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาประโยชน์ • มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน • สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ • ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุผล • ตรงต่อเวลา ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อ ทางราชการ • ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการ อย่างประหยัดคุ้มค่า
จรรยาบรรณต่อคนข้างเคียงในราชการจรรยาบรรณต่อคนข้างเคียงในราชการ • ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำ • เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง • สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่ • สุภาพ มีน้ำใจ มนุษยสัมพันธ์ • ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นเป็น ของตน
จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคมจรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม • เป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพ อ่อนโยน • ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคล ทั่วไป • ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติจากผู้ติดต่อราชการ
จรรยาบรรณจะเป็นที่ยอมรับ จรรยาบรรณจะเป็นที่ยอมรับ • สอนให้จำ • ทำให้ดู • อยู่ให้เห็น
การควบคุมจรรยาบรรณ จะเป็นผลเมื่อ • สังคมวิชาชีพนั้นรับรู้ • ชาวบ้านรับรู้
การรักษาจรรยาข้าราชการตาม พ.ร.บ. 2551 มาตรา 78 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยา ข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนด โดยมุ่งประสงค์ - ให้เป็นข้าราชการที่ดี - มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ
โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2. ความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบ 3. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและ สามารถตรวจสอบได้ 4. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 5. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
มาตรา 78 (ต่อ) ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้น ตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ การกำหนดข้อบังคับ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการให้รับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบ
มาตรา 79 ข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชา - ตักเตือน - นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน - สั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา
วินัยข้าราชการพลเรือนวินัยข้าราชการพลเรือน ปรีชา นิศารัตน์
ข้าราชการต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ รักษาความลับ ปฏิบัติตามคำสั่ง รักษาชื่อเสียง ฯลฯ วินัย คือ แบบแผนความประพฤติ หรือ ข้อปฏิบัติ
วินัยคือลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นการวินัยคือลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นการ • ควบคุมตนเอง • ปฏิบัติตามการนำ • อยู่ในระเบียบแบบแผน • มีความเป็นระเบียบ
จุดมุ่งหมายและขอบเขตของวินัยข้าราชการจุดมุ่งหมายและขอบเขตของวินัยข้าราชการ 1. เพื่อให้ราชการดำเนินไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อความเจริญ ความสงบ เรียบร้อย ของประเทศชาติ 3. เพื่อความผาสุกของประชาชน 4. เพื่อสร้างภาพพจน์ชื่อเสียงที่ดี ของทางราชการ
มาตรา 80 ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือ ไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.ด้วย
มาตรา 81 ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
มาตรา 82 ข้าราชการต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติต่อไปนี้ 1. ซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม 2. ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ 3. ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
4. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่ง สั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ (เสนอให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนได้) 5. อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ 6. รักษาความลับของทางราชการ 7. สุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ
8. ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน 9. วางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการ 10. รักษาชื่อเสียงของตน รักษาเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย 11. กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
มาตรา 83 ข้าราชการต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ 1. ไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา 2. ไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการ ข้ามผู้บังคับบัญชา 3. ไม่อาศัย หรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
4. ไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ 5. ไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการ หาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน 6. ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกับในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
7. ไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ 8. ไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. 9. ไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ 10. ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
มาตรา 84 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดย มิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต 2. ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง 3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ของทางราชการ
4. กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง 5. ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือ ทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง 6. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักจากจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7. ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืน ข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้าย 8. ละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง มาตรา 82 (11) หรือ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.พ.กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ความผิดทางวินัย • ไม่มีอายุความ • การลงโทษต้องดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย • ผู้สั่งลงโทษต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจลงโทษได้ • สภาพการเป็นข้าราชการ • - ขณะกระทำผิด • - ขณะลงโทษ
ปรีชา นิศารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรมสำนักงาน ก.พ. โทร . (02) 547 - 1672 (081) 829 - 0695