360 likes | 850 Views
โครงร่างการทำวิจัยเพื่อการค้นคว้าแบบอิสระ. การจัดการความรู้ของผู้ดูแล ในการฝึกการสื่อสารด้วยภาพแก่เด็ก ออทิสติก Knowledge management for caregiver to train Picture Exchange Communication System for autistic child’s. นางสาวประภัสสร คำเมือง. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.
E N D
โครงร่างการทำวิจัยเพื่อการค้นคว้าแบบอิสระโครงร่างการทำวิจัยเพื่อการค้นคว้าแบบอิสระ การจัดการความรู้ของผู้ดูแล ในการฝึกการสื่อสารด้วยภาพแก่เด็กออทิสติก Knowledge management for caregiver to train Picture Exchange Communication System for autistic child’s นางสาวประภัสสร คำเมือง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภาวะออทิสซึม (Autism) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเนื่องจากสมองผิดปกติ(อุมาพร ตรังคสมบัติ:2545 ,3) ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุในการเกิด ดังนั้นวิธีการช่วยเหลือเด็กออทิสติกจึงมีหลายวิธีการ ซึ่งส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ จึงเป็นอุปสรรคในการดูแลเด็กออทิสติก ไม่ว่าจะเป็น ผู้ดูแลการขาดความรู้และทักษะเพราะต้องฝึกทุกอย่าง ทุกเรื่อง ให้เหมาะกับความแตกต่างของแต่งแต่ละคน ความต้องการของผู้ดูแลคือ ต้องการความรู้เรื่องโรค การดูแล และ การฝึกพัฒนาการเด็ก ตลอดจนการประคับประคองจิตใจของผู้ดูแล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลสามารถดูแลตนเอง และดูแลเด็กออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ และคนึงนิจ ไชยลังการณ์:2548)
สอดคล้องกับปัญหาอุปสรรคในองค์กรที่น่าสนใจคือถึงแม้ว่าหลายๆครอบครัวได้พาเด็กออทิสติกเข้ารับการรักษาและได้รับคำแนะนำจากนักวิชาชีพต่างๆแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่มีความรู้ที่ชัดแจ้ง ไม่เข้าใจและไม่สามารถที่จะฝึกเด็กออทิสติกได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กออทิสติกที่เข้ามารับบริการที่หอผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่มาขอรับบริการการกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสาร อาการของเด็กมีตั้งแต่พูดได้บ้างจนกระทั้งพูดไม่ได้เลย จึงมีเทคนิคการฝึกเด็กด้วยภาพเพื่อการสื่อสารเข้ามาเป็นการสื่อสารเสริมหรือทางเลือกอื่น(AAC: Augmentative Alternative communication) แต่เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการสามารถให้การบริการได้แบบบางช่วงเวลา ผู้ดูแล/ผู้ปกครอง “ครอบครัวเป็นตัวหาร” หมายถึง ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแล(ทวีศักดิ์ :ระบบออนไลน์)
แต่ปัญหาที่พบคือผู้ปกครอง/ผู้ดูแล ไม่ได้ไปต่อยอดการเรียนรู้ให้เนื่องจากหลายสาเหตุ คือ ความไม่รู้วิธีการฝึกที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถนำความรู้ที่มีมาบูรณาการฝึกเด็กออทิสติกได้เองในสถานการณ์จริง ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารด้วยภาพไม่เป็นไปตามหลักการของ PECSที่วางไว้อย่างสมบูรณ์ คือ ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงด้วยตัวเอง
ดังที่แนวคิดของการจัดการความรู้ก็คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด(สื่อออนไลน์ :25พย. 2554) ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ดูแลให้สามารถฝึกพัฒนาการการสื่อสารด้วยภาพเด็กออทิสติกได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพโดยทำการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ
โดยได้แนวคิดสืบเนื่องมาจากงานวิจัยของ พฤกษ์ ไชยลังการณ์(2552)ที่ศึกษาแล้วพบว่า จากพฤติกรรมการแสวงหา และแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ปกครองเพียงด้านเดียวอาจไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก แต่แนวโน้มการใช้ข้อมูลที่ได้มาร่วมกับโปรแกรมการพัฒนาเด็กมีผลต่อพัฒนาการเด็กในระดับหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่าหากผู้ปกครองนำข้อมูลที่ได้รับมาปฏิบัติกับเด็กอย่างสม่ำเสมอนั้นเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ดังนั้นการจัดการความรู้ที่เป็นระบบแก่ผู้ดูแล พร้อมกับโปรแกรมการฝึกการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะสามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่นำไปใช้ในชีวิตได้จริง
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเพิ่มความสามารถของผู้ดูแลในการฝึกการสื่อสารให้เด็กออทิสติกด้วยเทคนิคของ PECS เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นระบบ
กรอบแนวคิดและทฤษฏี 1. แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับออทิสติก ความหมายของออทิสติก สาเหตุของโรค ลักษณะอาการ วิธีการสอน/ช่วยเหลือ 2. แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาพเพื่อการสื่อสาร (PECS) ความหมาย ประโยชน์ของเพ็คส์ แนวการสอนด้วย PECS ขั้นตอนการฝึกด้วย PECS มี 6 ขั้นตอน
3. แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ความหมายของการจัดการความรู้ วงจรความรู้ (Knowledge Spiral หรือ SECI Model) กระบวนการจัดการความรู้ ประโยชน์ของการจัดการความรู้คือ
ผลงานการทบทวนวรรณกรรมผลงานการทบทวนวรรณกรรม
ความต้องการในการช่วยเหลือของผู้ที่ดูแลเด็กออทิสติกมีหลายด้านไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการบำบัดรักษา การดูแลประคับประคอง ดังเช่นงานวิจัยของภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ และคนึงนิจ ไชยลังการณ์ (2546) ที่ได้ศึกษาถึงอุปสรรค และ ความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลเด็กออทิสติกโดยศึกษาในกลุ่มผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่เป็น บิดา มารดา ญาติ หรือ พี่เลี้ยง พบว่าเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพต้องให้การช่วยเหลือ โดยเฉพาะ ด้าน ความรู้เรื่องโรค การดูแล และ การฝึกพัฒนาการเด็ก ตลอดจนการประคับประคองจิตใจของผู้ดูแล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลสามารถดูแลตนเอง และดูแลเด็กออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปสรรคในการดูแลเด็กออทิสติก นั้นเกี่ยวข้องกับภาวะโรคที่เด็กเป็นอยู่ การขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแล สถานบริการมีไม่ทั่วถึง ตลอดจนการขาดความเข้าใจ จากเจ้าหน้าที่ และ บุคคลในสังคม นอกจากนี้ผู้ดูแลยังแสดงความจำนงถึงความต้องการอยากให้มีสถานบริการที่ดูแลเด็กตลอดชีวิต การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจน ความเข้าใจ และกำลังใจจากสังคม
ดังนั้น ข้อมูล และความรู้ต่างๆที่จำเป็นต่อการบำบัดเด็กออทิสติกจึงมีมากมายหลากหลายรูปแบบแต่สิ่งหนึ่งคือการใช้รูปภาพเพื่อการสื่อสารหรือPECS :Picture Exchange Communication System นั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของเด็กออทิสติกได้เป็นอย่างดีดังเช่นงานวิจัยของหลายท่านที่ได้ศึกษา
วิลาสินี แก้ววรา(2550) ได้ศึกษาเรื่องการใช้เพ็คส์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของเด็กออทิสติกวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เพ็คส์(PECS: ) ซึ่งสอดแทรกการใช้การยุทธ์การสอนโดยเน้นการมองเห็น(Visual Strategies) และทำการประเมิน2 ช่วง คือประเมินก่อนการ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการส่งเสริมด้านคำศัพท์และความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ แล้วประเมินผลหลังการสอน วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยที่ได้คือ กรณีศึกษามีความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มสูงขึ้น อยู่ในระดับดีมาก มีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษแบบคำสูงขึ้น อยู่ในระดับดีมาก และมีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษแบบประโยคสูงขึ้น อยู่ในระดับดีมากเช่นกัน
ส่วน นุชนาถ แก้วมาตร(2547) ได้ศึกษา เรื่องการใช้ภาพเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของเด็กออทิสติก โดยศึกษาแบบรายกรณี ซึ่งเป็นเด็กออทิสติกระดับปานกลาง อายุ 10 ปี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อใช้สื่อภาพต่อความสามารถด้านการสื่อสารและเพื่อสร้างเครื่องมือพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของเด็กออทิสติก นุชนาถ แก้วมาตรได้ทำการสร้างสื่อภาพเพื่อนำมาใช้พัฒนาและทำการประเมินเป็น 3 ช่วง คือ ประเมินผลก่อนการฝึกใช้สื่อภาพ จากนั้นเข้าสู่ขยวนการพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารเป็นเวลา 10 สัปดาห์แล้วประเมินผลหลังการฝึกใช้สื่อภาพภายหลังจากการฝึก 2 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษามีความสามารถด้านการสื่อสารดีขึ้นทุกด้าน ทั้งด้านการเข้าใจความหมายในการสื่อสาร การใช้คำพูดในการสื่อสาร และสามารถเป็นผู้ริเริ่มการสื่อสารได้ หลังจากการฝึก 2 สัปดาห์ยังพบว่ากรณีศึกษายังคงความสามารถนั้น
และวันทนีย์ เรียงไรสวัสดิ์ (2552:ระบบออนไลน์) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ผลการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนออทิสติกระดับปฐมวัย โรงเรียนกาวิละอนุกูล จ.เชียงใหม่ ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักเรียน ผลการศึกษาที่ได้คือ นักเรียนคนที่ 1 สามารถฝึกจนถึงขั้นตอนที่ เปล่งเสียงพูดทุกครั้งที่ฝึกตั้งแต่ขั้นตอนที่ 4 นักเรียนคนที่2 สามารถฝึกได้ถึงขั้นที่ 2 คือการเพิ่มระยะห่างในการแลกเปลี่ยนภาพ มีคำพูดที่เกิดขึ้น ดังนั้นระบบระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารสามารถช่วยให้กรณีศึกษาทั้งสองสามารถมีทักษะในการสื่อสารเพิ่มขึ้นแต่ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถเด็กที่แตกต่างกันจึงทำให้ผลการศึกษาแตกต่างกันนั่นเอง
ทั้ง3 ท่านได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคการสื่อสารด้วยภาพทั้งหมด 6 ขั้นตอน ทำให้เด็กมีความสามารถในการสื่อสารเป็นประโยคได้ด้วยตัวเอง และมีคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นทุกรายตามความสามารถเด็กแต่ละคน
ในขณะที่ ทิพวรรณปิโยปกรณ์ (2549) ได้ศึกษาเรื่อง การใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาการสื่อสารของเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำ จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองใช้ระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (PECS) เพื่อพัฒนาการสื่อสารของเด็กออทิสติก โดยเฉพาะการบอกความต้องการและลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อันเนื่องมาจากการสื่อสาร ทำการประเมิน 3 ช่วง คือก่อนการฝึก ระหว่างกระบวนการ และหลังการฝึก เป็นเวลา 27 วัน และการประเมินผลหลังการฝึกให้สื่อภาพ 60 วันผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษามีทักษะในการสื่อสารแสดงความต้องการโดยพูดขอขนม สิ่งของที่ต้องการจากผู้อื่นได้ ทำให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลง
และ จงจิต ไชยวงค์ (2550)ได้นำระบบการแลกเปลี่ยนรูปภาพเพื่อการสื่อสารมาใช้ศึกษากับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยศึกษาเรื่อง การพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพเพื่อการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดภาพในการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง กรณีศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชายอายุ9 ปีจำนวน 1คน ที่เข้ามารับการฟื้นฟูที่ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 8 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี ชุดภาพจำนวน 7ภาพ แบบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินและบันทึกการฝึกใช้สื่อภาพขั้นตอนที่ 1-2 การสังเกตพฤติกรรมการฝึก บันทึกหลังการฝึก บันทึกภาพวีดิทัศน์ ใช้เวลาฝึก 28 วัน วันละ 30 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ได้ชุดภาพที่สร้างขึ้นจากการประเมินแรงเสริมของกรณีศึกษา และกรณีศึกษามีทักษะการสื่อสารโดยระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
ทั้ง 2 ท่านฝึกถึงขั้นที่ 1-3 เท่านั้นเด็กก็จะมีการสื่อสารเกิดขึ้นจริง แต่เป็นคำๆ ดังนั้นหากฝึกครบทุกกระบวนการก็จะทำให้เด็กสามารถสื่อสารได้กว้างมากขึ้น คำศัพท์ที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้มีช่องทางการสื่อสารและสามารถพูดสื่อสารได้ใกล้เคียงปกติที่สุด
แต่ คนึงนิจ ไชยลังการณ์(2547)ได้ศึกษาเรื่อง การใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารต่อความสามารถทางภาษาบุคคลออทิสติกที่สามารถสื่อสารเป็นคำหรือวลี มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาของบุคคลออทิสติกที่สามารถสื่อสารได้เป็นคำหรือวลีก่อนและหลังการใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารโดยใช้กรณีศึกษาเป็นบุคคลออทิสติกอายุ 17 ปี ใช้เวลาฝึก 2 เดือน ผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษาสามารถเรียนรู้การใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถ โดยงานวิจัยครั้งนี้ไม่ได้เริ่มต้นฝึกในขั้นตอนที่ 1 ทำให้การริเริ่มหยิบแผ่นสร้างประโยคเองเป็นไปได้ช้า ต้องใช้การแนะมากกว่าขั้นตอนอื่น ดังนั้นการใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารต้องเริ่มต้นที่ขั้นตอนที่ 1 เพื่อให้สามารถริเริ่มสื่อสารได้เองก่อน จึงจะฝึกในขั้นตอนที่สูงขึ้นต่อไปได้ สรุปได้ว่า การฝึกตามกระบวนการของ PECS ที่ถูกต้องจะทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การฝึกด้วยเทคนิคของระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารนั้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับเด็กออทิสติกเห็นได้จากเด็กออทิสติกร้อยละ 50 ไม่มีภาษาพูดที่สื่อสารได้ (อุมาพร ตรังคสมบัติ.2545,138) แต่จุดเด่นของเด็กออทิสติกส่วนใหญ่มีวิธีการเรียนรู้จากการมองเห็น (Learning Through Seeing)โดยบุคคลออทิสติกจะสามารถจดจำ รูปภาพ รูปถ่าย สัญลักษณ์ ภาพวาด ป้ายโฆษณา ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การใช้รูปภาพเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความสามารถของบุคคลออทิสติกจึงต้องใช้การสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่น(AAC)ทดแทนดังนั้น Picture Exchange Communication Systemเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ฝึกเด็กออทิสติกให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งยืนยันว่าการฝึกการใช้ภาพเพื่อการสื่อสารแก่เด็กออทิสติกเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสามารถฝึกได้จริง ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักการของเทคนิคการใช้ภาพเพื่อการสื่อสารหรือ PECS และจากงานวิจัยของพฤษภ์ ไชยลังการณ์(2552) ได้ศึกษาเรื่องการแสวงหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเด็กออทิสติกของผู้ปกครองเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กออทิสติกนั้นพบว่าพฤติกรรมการแสวงหา และแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ปกครองเพียงด้านเดียวอาจไม่ได้ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก เนื่องจากมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง แต่แนวโน้มการใช้ข้อมูลที่ได้มาร่วมกับโปรแกรมการพัฒนาเด็กมีผลต่อพัฒนาการเด็กในระดับหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่าหากผู้ปกครองนำข้อมูลที่ได้รับมาปฏิบัติกับเด็กอย่างสม่ำเสมอนั้นเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาในเรื่องการจัดการความรู้ของผู้ดูแลให้สามารถฝึกเด็กออทิสติกให้สื่อสารด้วยการใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องด้วยการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เป็นการต่อยอดงานวิจัยของคุณนุชนาถ แก้วมาตรที่ได้เสนอแนะไว้ว่าควรที่จะขยายให้เด็กได้เรียนรู้ในสถานการณ์อื่นๆด้วย เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน ดังนั้นในสถานการณ์อื่นๆจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลที่จะสามารถมาต่อยอดความรู้ให้กับเด็กออทิสติกได้ เด็กออทิสติกจึงจะสามารถใช้ภาพเพื่อการสื่อสารได้จริงในชีวิตประจำวัน
ขอบเขตและวิธีการวิจัยขอบเขตและวิธีการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากร ได้แก่ผู้ดูแลที่พาเด็กออทิสติกเข้ามารับบริการ ณ หอผู้ป่วยจิตเวช ทั้งหมดจำนวน 11 คน 2.ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา 1 คน ที่เลือกแบบเจาะจง
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลที่นำมาประกอบการศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ภาพเพื่อการสื่อสาร จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกเด็กออทิสติกด้วยวิธีการใช้ภาพเพื่อการสื่อสาร และข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ถ่ายทอดและผู้ดูแลเด็กว่าได้เกิดองค์ความรู้ที่ชัดแจ้งแก่ผู้ดูแล ผู้ดูแลสามารถนำไปหมุนเกรียวความรู้ได้ 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดการความรู้ สำหรับผู้ดูแล และแบบบันทึกพัฒนาการการสื่อสารด้วยภาพ
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นดังนี้คือ วิธีการฝึกการใช้ภาพเพื่อการสื่อสาร ทั้ง 6 ขั้นตอน และปัจจัยความสำเร็จในการฝึกแต่ละขั้นตอน 2. แบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนการแลกเปลี่ยนความรู้ และหลังการแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับผู้ดูแลเด็กออทิสติก ที่ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้นโดยดัดแปลงจากแบบประเมินระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารของ Bondy&Frost(2001) 3. การใช้ที่ปรึกษา/หรือพี่เลี้ยง(Mentoring System) เข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนความรู้ การบันทึกเหตุการณ์แบบพรรณนา ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเป็นข้อมูลที่แสดงถึงความเข้าใจของผู้ดูแล และจัดเก็บเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน แบบบันทึกพัฒนาการทางด้านการสื่อสารด้วยภาพ การบันทึกภาพและเสียงขณะผู้ดูแลฝึกด้วยเทคนิคPECS
ที่มา http://www.bb.go.th/BBKM/public/aboutKM/Article/startkm.pdf
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับวิธีการอุปนัย(Analytic Induction) โดยการตีความ เพื่อทำการวิเคราะห์ผลการเกิดการสร้างความรู้และการนำความรู้ไปหมุนเกรียว นำเสนอผลในรูปแบบของการบรรยาย และแผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบก่อนและหลังการแลกเปลี่ยนความรู้ ดูว่าผู้ดูแลสามารถที่จะฝึกทักษะการสื่อสารด้วยภาพให้แก่เด็กออทิสติกได้หรือไม่ หรือเกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติและหมุนเกรียวความรู้ได้ด้วยตัวเองหรือไม่
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล ระหว่างการประเมินความสามารถในการฝึกผู้วิจัยได้บันทึกวีดีโอเทปเพื่อยืนยันถึงความสามารถของผู้ดูแลในการฝึก และเห็นผลสำเร็จกับเด็กออทิสติกจริง • ระยะเวลาในการศึกษา สิงหาคม – ธันวาคม 2555
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัยประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย ผู้ดูแลสามารถฝึกการใช้ภาพเพื่อการสื่อสารกับเด็กออทิสติกได้ถูกต้อง เด็กออทิสติกมีพัฒนาการตามแผนการรักษา ได้องค์ความรู้ที่เป็นระบบที่สามารถเผยแพร่ให้กับผู้ที่ต้องการใช้PECS ในการฝึกเด็กออทิสติก
อ้างอิง • คนึงนิจ ไชยลังการณ์.รายงานการวิจัยเรื่อง การใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารต่อความสามารถทางภาษาบุคคลออทิสติกที่สามารถสื่อสารเป็นคำหรือวลี.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่,2547. • คนึงนิจ ไชยลังการณ์ หัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวช รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่(เก็บข้อมูลช่วงการวิเคราะห์สภาพปัญญาของงานวิจัย,ธันวาคม 2554 การค้นคว้าแบบอิสระ). • จงจิต ไชยวงค์.การพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพเพื่อการสื่อสาร.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2550. • ชูศักดิ์ จันทยานนท์. (ม.ป.ป.).เด็กออทิสติกคือใคร.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.thaiparents.com/ tot_autism.html#label1. (2 ธันวาคม 2554).
ณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์. ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ :ธนาเพลส, 2552. • เดือนฉาย แสงรัตนายนต์.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฝึกพูด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2545 • ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.2549.ออทิสติกAutistic Disorder. [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.happyhomeclinic.com/au02-autism.htm. (2 ธันวาคม 2554). • ทิพวรรณปิโยปกรณ์.การใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาการสื่อสารของเด็กออทสิติก ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำ จังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2549. • นุชนาถ แก้วมาตร.คู่มือเบื้องต้นการใช้ระบบแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(The Picture Exchange Communication System : PECS) เชียงใหม่ : หอผู้ป่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, 2548.
นุชนาถ แก้วมาตร.การใช้ภาพเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของเด็กออทิสติก.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2547. • ผดุง อารยะวิญญู. วิธีสอนเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ : รำไทย เพลส, 2546. • ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ และคะนึงนิจ ไชยลังการณ์. รายงานการวิจัยเรื่องอุปสรรค และ ความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลเด็กออทิสติก. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2546 • พฤษภ์ ไชยลังการณ์.การแสวงหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเด็กออทิสติกของผู้ปกครองเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กออทิสติก.วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2552. • วิจารณ์ พานิช.2554. การจัดการความรู้. [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html. (2 ธันวาคม 2554). • วิลาสินี แก้ววรา.การใช้เพ็คส์เพื่อส่งเสริมความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของเด็กออทิสติก.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2550. • วันทนีย์ เรียงไรสวัสดิ์.2552.ผลการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนออทิสติกระดับปฐมวัย โรงเรียนกาวิละอนุกูล จ.เชียงใหม่.(ระบบออนไลน์).แหล่งที่มา www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=29490(24พฤศจิกายน 2554)
ศูนย์ฝึกอาชีพออทิสติกไทย.การอบรมเรื่อง ทางเลือกการพัฒนาทักษะทางภาษาโดยการแลกเปลี่ยนรูปภาพ Picture Exchange Communication System. (ม.ป.ป.).[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.autisticthai.org/newaus/training%20pecs.htm. (1 ธันวาคม 2554). • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. (ม.ป.ป.).คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติก กลุ่มงานจิตเวชเด็กและวัยรุ่นสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.goodhealth.in.th/web/node/431.(2 ธันวาคม 2554). • สุประภาดา โชติมณี. Modern KM applications in business management จัดการความรู้อย่างไรให้ได้ผลกับทุกระบบ. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2551 • สุวัชรา จุ่นพิจารณ์.(ม.ป.ป.).การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management). [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มาhttp://www.pharmacy.cmu.ac.th/admin/files_team/knowledge.pdf. (2 ธันวาคม 2554). • อุมาพร ตรังคสมบัติ. ช่วยลูกออทิสติก. กรุงเทพฯ :ซันต้าการพิมพ์, 2545.