270 likes | 525 Views
การใช้อำนาจจัดการทรัพย์สิน. กรณีดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ได้ต่อเมื่อได้ปฎิบติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น. กิจการที่ต้องได้รับความยินยอมจากบุตรผู้เยาว์ มาตรา 1572 กิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจาก ศาล 2.1 มาตรา 1754 2.2 มาตรา 1755
E N D
การใช้อำนาจจัดการทรัพย์สินการใช้อำนาจจัดการทรัพย์สิน กฎหมายครอบครัว
กรณีดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ได้ต่อเมื่อได้ปฎิบติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น • กิจการที่ต้องได้รับความยินยอมจากบุตรผู้เยาว์ มาตรา 1572 • กิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล 2.1 มาตรา 1754 2.2 มาตรา 1755 • กิจการที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะจัดการไม่ได้ 3.1 ผู้ให้ทรัพย์แก่ผู้เยาว์ไม่ต้องการให้ผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการ 3.2 ผู้ใช้อำนาจปกครองได้สละมรดก (ม.1616) 3.3 ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกกำจัดมิให้รับมรดก (ม.1607) • การจัดการเกี่ยวกับเงินได้ของบุตร กฎหมายครอบครัว
1. กิจการที่ต้องได้รับความยินยอมจากบุตรผู้เยาว์ มาตรา 1572 มาตรา 1572 “ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้” • หนี้ที่บุตรจะต้องทำเอง ได้แก่ หนี้ที่บุตรผู้เยาว์จะต้องกระทำโดยตัวผู้เยาว์เอง จะให้ผู้อื่นกระทำแทนไม่ได้ เช่น แสดงละคร แสดงหนัง วาดภาพ การแสดง • ข้อสังเกต • มาตรานี้พูดถึง ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ก่อหนี้ให้ แล้วผู้เยาว์ต้องเป็นผู้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ • เช่น พอลล่าแม่ของน้องไลล่า เซ็นสัญญารับจ้างถ่ายงานโฆษณาสินค้าแทนน้องไลล่า • ถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ก่อหนี้ และตนเองเป็นผู้ชำระหนี้ เช่นนี้ ก็อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 21 คือ ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม กฎหมายครอบครัว
กิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มาตรา 1574 • 2.1 การจัดการทรัพย์สินตามมาตรา 1574 • ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ทำนิติกรรมไปโดยฝ่าฝืนย่อมไม่มีผลผูกพันผู้เยาว์ • แม้ต่อมาผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะก็ตามก็ไม่มีผลย้อนหลัง(ฎีกาที่ 4984/2537) • การที่ศาลให้การอนุญาตมิใช่เป็นการให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจแก่ศาลในการควบคุมดูแลพิทักษ์ประโยชน์แก่ผู้เยาว์อันเป็นนโยบายของรัฐ ดังนั้น ผู้เยาว์จะให้ความยินยอมแก่การกระทำของผู้ใช้อำนาจปกครองมิได้ (ฎีกาที่ 4948/2537) • กรณีที่นิติกรรมที่ทำไปโดยปราศจากอำนาจนี้ หากเด็กจะเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่มีระยะเวลาจำกัดเหมือนการบอกล้างหรือการให้สัตยาบัน (ฎีกาที่ 2536/2536) กฎหมายครอบครัว
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ • เป็นทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้เยาว์ หรือที่เยาว์เป็นเจ้าของรวม • ขายเฉพาะส่วนของเจ้าของรวมซึ่งไม่ใช่ผู้เยาว์ใช้บังคับได้เฉพาะของบุคคลอื่น • แต่การจำนองต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น ดังนั้นต้องขออนุญาต • ขาย แลกเปลี่ย ขายฝาก เหล่านี้ศาลวินิจฉัยว่า ร่วมถึงสัญญาจะ...... กฎหมายครอบครัว
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ • เป็นกรณที่ผู้เยาว์มีทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์ของผู้อื่น แล้วผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำให้ทรัพยสิทธิของผู้เยาว์นั้นสิ้นสุดลง • เช่น ผู้เยาว์เป็นเจ้าของสามยทรัยพ์ในทางภาระจำยอมบนที่ดินของผู้อื่น • (3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์ • เป็นกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะให้ผู้อื่นมีทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้เยาว์ • เช่น ยินยอมให้ที่ดินข้างเคียงใช้ที่ดินของผู้เยาว์เพื่อปักเสาไฟฟ้า กฎหมายครอบครัว
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น • จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ • เช่น ผู้ใช้อำนาจปกครองตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อ ในสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งผู้เยาว์สืบสิทธิต่อจากเจ้ามรดก • จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น • เช่น ผู้เยาว์ให้ผู้อื่นมีสิทธิเก็บกินในสวนยางของตนเป็นเวลา 10 ปี หากผู้ใช้อำนาจปกครองสละสิทธิดังกล่าวโดยกำหนดวเลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 ปี กฎหมายครอบครัว
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี • (6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3) • การทำนิติกรรมที่มุ่งให้เกิดผลดังกล่าวขึ้น อันได้แก่ สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาจะแลกเปล่ยน สัญญาจะขายฝาก เป็นต้น • (7) ให้กู้ยืมเงิน • คือ การนำเงินของผู้เยาว์ไปให้ผู้อื่นยืม • ไม่รวมถึง การยืมเงินผู้อื่น • ไม่รวมถึง การให้ผู้อื่นยืมทรัพย์สินที่มิใช่ตัวเงิน กฎหมายครอบครัว
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ • วัตถุประสงค์ • เพื่อการกุศลสาธารณะ หรือ • เพื่อการสังคม หรือ • ตามหน้าที่ธรรมจรรยา • ต้องพอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ กฎหมายครอบครัว
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา • รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไข • รับการให้โดยเสน่าที่มีค่าภาระติดพัน • มีความหมายเช่นเดียว กับมาตรา 528 และมาตรา 535(2) • ภาระติดพันต้องเป็นภาระติดพันในตัวทรัพย์สินนั้นโดยตรง • ให้ที่ดินที่ติดจำนอง • ให้ที่ดินโดยมีเงื่อนไขให้ผู้รับต้องโอนที่ดินแก่ผู้อื่นต่อไปกึ่งหนึ่ง ฎีกาที่ 38/2519 • ไม่รับการให้โดยเสน่หา กฎหมายครอบครัว
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น • การเป็นผู้ค้ำประกัน • การเป็นผู้รับเรือน • การเป็นผู้อาวัล หรือรับรองในสัญญาตั๋วเงิน กฎหมายครอบครัว
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3) • การแสวงหาผลประโยชน์ตามมาตรา 1598/4 ที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้ใช้อำนาจปกครองไปจัดการแทนผู้เยาว์ได้โดยไม่รับอนุญาตจากศาลได้แก่ • ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน • รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก ต่ำจนวนเงินที่รับขายฝาก หรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น • ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมาย หรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร กฎหมายครอบครัว
(12) ประนีประนอมยอมความ • มาตรา 852 • สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน มิฉะนั้นไม่มีผลผูกพันเด็ก • (13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย กฎหมายครอบครัว
2.2 กิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับบุตรตาม มาตรา 1575 • มาตรา ๑๕๗๕ “ถ้าในกิจการใด ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองหรือประโยชน์ของคู่สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงทำกิจการนั้นได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ” • มาตรา ๑๕๗๖ “ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของคู่สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา ๑๕๗๕ ให้หมายความรวมถึงประโยชน์ในกิจการดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วน (๒) ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด” กฎหมายครอบครัว
กิจการที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะจัดการไม่ได้กิจการที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะจัดการไม่ได้ • 3.1 มีการตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนผู้ใช้อำนาจปกครอง • ได้แก่ กรณีที่มีผู้โอนทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยพินัยกรรม หรือโดยการให้โดยเสน่หา แต่ไม่ต้องการให้ผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการดูแลทรัพย์สินที่ให้โดยพินัยกรรมหรือเสน่หานั้น ก็อาจตั้งบุคคลอื่นดูแลแทนได้ไว้ในพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ หรืออาจให้ศาลเป็นผู้สั่งก็ได้ • กรณีข้างต้นผู้ใช้อำนาจปกครองก็จะจัดการทรัพย์สินนั้นแทนบุตรไม่ได้ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการทรัพย์สิน • ข้อสังเกต : ผู้จัดการมีหน้าที่จัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ เฉพาะทรัพยสินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรม หรือโดยเสน่หาเท่านั้น กฎหมายครอบครัว
การทำหน้าที่ของผู้จัดการ ต้องอยู่ภายใต้มาตรา 56, 57,60 • เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้(ม.56) • ให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ ตอลดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น • ให้ผู้จัดการทรัพย์สินแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้เยาว์ • ถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นให้เป็นผู้จัการทรัพย์สินแทนต่อไป • ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้จัดการทรัพย์สิน โดยจ่ายจากทรัพย์สินของผู้เยาว์ก็ได้(ม.57) • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการกับผู้เยาว์ให้นำกฎหมายลักษณะตัวแทนมาใช้โดยอนุโลม (ม.60) กฎหมายครอบครัว
3.2 ผู้ใช้อำนาจปกครองได้สละมรดก (ม.1616) • มาตรา ๑๖๑๖ “ถ้าผู้สืบสันดานของผู้สละมรดกได้มรดกมาดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา ๑๖๑๕ แล้ว ผู้ที่ได้สละมรดกนั้นไม่มีสิทธิในส่วนทรัพย์สินอันผู้สืบสันดานของตนได้รับมรดกมา ในอันที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ ๕ ลักษณะ ๒ หมวด ๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้ และให้ใช้มาตรา ๑๕๔๘ (1577) บังคับโดยอนุโลม” • 3.3 ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกกำจัดมิให้รับมรดก (ม.1607) • มาตรา ๑๖๐๗ “การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ ทายาทที่ว่านั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ ๕ ลักษณะ ๒ หมวด ๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้มาตรา ๑๕๔๘(1577)บังคับโดยอนุโลม” กฎหมายครอบครัว
4. การจัดการทรัพย์สินเกี่ยวกับเงินได้ของบุตร (มาตรา 1573) • ถ้าบุตรมีเงินได้กฎหมายกำหนดให้ผู้ใช้อำนาจปกครอง ใช้เงินนั้น • เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน • ถ้าเหลือให้เก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร • แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่เงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ จะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่เงินได้จากทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้ไม่ได้ • เงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หา หรือ • มีพินัยกรรมกำหนดว่าห้ามมิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นๆ กฎหมายครอบครัว
การสิ้นสุดอำนาจปกครองการสิ้นสุดอำนาจปกครอง กฎหมายครอบครัว
การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง(ม.1582)การสิ้นสุดของอำนาจปกครอง(ม.1582) • อำนาจปกครองย่อมสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ คือ • เมื่อผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ • เมื่อศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง 2.1 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งศาล 2.2 ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับผู้เยาว์โดยมิชอบ เช่น ทำโทษบุตรเกินสมรสควรและมิใช่เพื่อการอบรมสั่งสอน 2.3 ผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติชั่วร้าย เช่น 2.4 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนล้มละลาย 2.5 ผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่อาจเป็นภัยเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ ถ้าขืนใช้อำนาจปกครองต่อไปผู้เยาว์ก็อาจต้องได้รับความเสียหาย • เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองถึงแก่ความตาย • ข้อสัเกต การถอนอำนาจปกครองตามข้อ 2.1-2.3 ศาลจะถอนอำนาจปกครองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ กฎหมายครอบครัว
หน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองเมื่ออำนาจปกครองสิ้นสุดลงหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองเมื่ออำนาจปกครองสิ้นสุดลง • กรณีที่อำนาจปกครองสิ้นสุดลงเพราะผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครองมีหน้าที่ ดังนี้ • ส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการ กล่าวคือ ทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของผู้เยาว์ • ส่งบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นให้ผู้บรรลุนิติภาวะรับรองว่าถูกต้องหรือไม่ • ส่งเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เช่น สัญญาต่างๆ • กรณีอำนาจปกครองสิ้นสุดลงเพราะศาลสั่งถอนอำนาจปกครองผู้ใช้อำนาจปกครองต้องทำเช่นเดียวกับกรณีที่อำนาจปกครองสิ้นสุดลง เพราะผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ แต่ส่งให้แก่ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี กฎหมายครอบครัว
อำนาจปกครองสิ้นสุดลงเพราะความตายของผู้ใช้อำนาจปกครอง ทายาทของผู้ใช้อำนาจปกครองต้องส่งมอบทรัพย์สินบัญชีและเอกสารให้กับผู้อยู่ใต้ปกครอง • กรณีอำนาจปกครองสิ้นสุดลงเพราะผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองตาย ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารเกี่ยวกับกับทรัพย์สินให้แก่ทายาทของผู้อยู่ใต้ปกครอง กฎหมายครอบครัว
ผลของการถอนอำนาจปกครองผลของการถอนอำนาจปกครอง • บิดามารดาที่ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองยังมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย • มาตรา ๑๕๘๔ การที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย • บิดามารดาที่ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองยังมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ • มาตรา ๑๕๘๔/๑ บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม กฎหมายครอบครัว
การคืนอำนาจปกครอง • ถ้าเหตุที่ทำให้ศาลใช้สิทธิถอนอำนาจปกครองได้สิ้นสุดลง ผู้นั้น หรือญาติของผู้เยาว์เห็นว่าเหตุนั้นได้หมดลงแล้ว จะร้องขอต่อศาลสั่งให้ผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจปกครองดังเดิมก็ได้ • มาตรา ๑๕๘๓ “ผู้ถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดนั้น ถ้าเหตุดังกล่าวไว้ในมาตราก่อนสิ้นไปแล้ว และเมื่อตนเองหรือญาติของผู้เยาว์ร้องขอ ศาลจะสั่งให้มีอำนาจปกครองดังเดิมก็ได้” กฎหมายครอบครัว
ขอบคุณครับ กฎหมายครอบครัว