1 / 42

การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเกษตรกร

โดย นายศิลปพร ชื่นสุรัตน์ เศรษฐกร ชำนาญการพิเศษ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร 26 สิงหาคม 2554. การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเกษตรกร. ความสำคัญของการศึกษา.

bishop
Download Presentation

การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเกษตรกร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โดย นายศิลปพร ชื่นสุรัตน์ เศรษฐกร ชำนาญการพิเศษ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร 26 สิงหาคม 2554 การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเกษตรกร

  2. ความสำคัญของการศึกษา • สวัสดิการสังคม ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 หมายถึงระบบการบริการทางสังคม ซึ่งเกี่ยวกับการป้องกันการแก้ปัญหาและพัฒนา และส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึงตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสมเป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐาน • นโยบายสวัสดิการที่ผ่านมา จากรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการสิทธิและมนุษยธรรมแห่งชาติ • การกระจายความเท่าเทียมกันในสังคมให้เกิดเป็นรูปธรรม

  3. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย • เพื่อศึกษาสถานการณ์ในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของเกษตรกร • เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อสวัสดิการสังคม • เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมเพิ่มเติมของเกษตรกร

  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ใช้ประกอบการพิจารณาแนวทางการให้สวัสดิการสังคมที่ทั่วถึงแก่กลุ่มคนภาคเกษตร ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม • เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการด้านสวัสดิการสังคมภาครัฐแก่ผู้ที่เข้ามาขอรับบริการในอนาคตต่อไป

  5. วิธีการศึกษา 1. การเก็บรวมรวมข้อมูล 1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายย่อยจำนวน 110 ตัวอย่าง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2553 (จ. บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และชัยภูมิ) โดยการสุ่มแบบเป็นระบบ (Systhematic Random Sampling ) 1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารวิชาการ สิ่งตีพิมพ์ จากสำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การวัด ระดับแบบลิเคทสเกล ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ

  6. สภาพทั่วไปของครัวเรือนเกษตรสภาพทั่วไปของครัวเรือนเกษตร ประชากรเกษตรกร จำแนกตามเพศ ร้อยละ

  7. ประชากรเกษตร จำแนกตามอายุ

  8. ประชากรเกษตร จำแนกตามระดับการศึกษา

  9. ประชากรเกษตร จำแนกตามสถานภาพสมรส

  10. ประชากรเกษตร จำแนกตามสมาชิกในครัวเรือน 1-2 คน 3-4 คน 5-6 คน 7-8 คน 9 คนขึ้นไป

  11. ประชากรเกษตรจำแนกตามอาชีพประชากรเกษตรจำแนกตามอาชีพ

  12. ประชากรเกษตรจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนประชากรเกษตรจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน

  13. การถือครองที่ดินของครัวเรือนเกษตรการถือครองที่ดินของครัวเรือนเกษตร

  14. ผลการศึกษา การเข้าถึงสวัสดิการสังคม • นิยาม การเข้าถึงสวัสดิการสังคม หมายถึงสวัสดิการสังคมที่เกษตรกรมีคุณสมบัติครบ ตามเงื่อนไข หรือได้ไปขึ้นทะเบียนตามที่รัฐกำหนดไว้ และได้รับสวัสดิการนั้นๆ ตามวัตถุประสงค์

  15. ผลการศึกษา สถานการณ์การ การเข้าถึงสวัสดิการ สวัสดิการที่เกษตรกรเข้าถึง 100%มีดังนี้ ด้านการศึกษา 1. โครงการเรียนฟรี 15 ปี ตั้งแต่อนุบาล-มัธยมปลาย รวมทั้งสายอาชีพทุกแห่งทั่วประเทศ (ค่าเล่าเรียน แบบเรียน เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพนักเรียน) 2. การจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้กู้ยืมในระหว่างที่กำลังศึกษามัธยมปลาย-ปริญญาตรี (ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 200,000บาทต่อปี ด้านสุขภาพอนามัย 1. การรักษาพยาบาลในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2. อาหารเสริมและนมโรงเรียน

  16. ผลการศึกษา สวัสดิการที่เกษตรกรเข้าถึง 100%มีดังนี้ บริการที่อยู่อาศัย - โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการบ้านมั่งคง บริการทำงานและมีรายได้ 1. การได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวแจกฟรี 2. ค่าไฟฟ้าฟรี ค่าโดยสารรถไฟฟรี บริการทางสังคม 1. การอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา อาทิ ห้องน้ำ บันได โรงพยาบาล ป้ายสัญลักษณ์ และทางลาด 2. การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนละ 500 บาทต่อเดือน

  17. ผลการศึกษา (ต่อ) สวัสดิการที่เกษตรกรเข้าถึง 100%มีดังนี้ บริการทางสังคม 3. การจัดสรรช่วยเหลือครอบครัวพิการ ไม่เกิน 2,000 บาทต่อครั้ง 4. การช่วยเหลือเป็นค่าอาหาร พาหนะ เช่าที่ดิน รักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากกลับภูมิลำเนา 5. เงินทุนสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ไปประกอบอาชีพไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย 6. การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้ป่วยโรคเอดส์ 500 บาทต่อคนต่อเดือน

  18. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านการศึกษา การให้สิทธิ์คนพิการได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  19. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านสุขภาพอนามัย รักษาฟรี 48 ล้านคน โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว

  20. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทำงานและมีรายได้ การได้รับการประกันรายได้ของเกษตรกรที่ทำสัญญาปลูกข้าวนาปี

  21. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทำงานและมีรายได้ โครงการต้นกล้าอาชีพและสร้างงานแก่ผู้ว่างงาน

  22. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านความมั่นคงทางสังคม การแก้ปัญหาหนี้สิน ด้วยการพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่งและดอกเบี้ยไว้ก่อน

  23. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านความมั่นคงทางสังคม การกระจายถือครองที่ดินโดยมอบเอกสารสิทธิ สปก. 4-01

  24. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านความมั่นคงทางสังคม การนำที่ดินราชพัสดุให้เกษตรเช่าทำการเกษตร

  25. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านความมั่นคงทางสังคม โครงการการส่งเสริมการจัดตั้งสวัสดิการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อสมทบเข้ากองทุนฯ ประชาชนออม 1 บาท รัฐสมทบ 1 บาท

  26. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านความมั่นคงทางสังคม การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง จะได้รับการพักชำระหนี้ 1 เดือน และงดคิดอัตราดอกเบี้ยจำนวน 1 เดือนครึ่ง

  27. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านความมั่นคงทางสังคม ได้รับเงินช่วยเหลือประสบภัยน้ำท่วมครอบครัวละ 5,000 บาท

  28. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม จักรยานโรงเรียน

  29. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การอุปการะเลี้ยงดู อบรม ฝึกอาชีพในสถานแรกรับสงเคราะห์ ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ

  30. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การให้ความช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในครอบครัวและชุมชน อาทิ สงเคราะห์เด็กที่ยากจนประสบปัญหาเดือดร้อน

  31. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การดูแลผู้สูงอายุโดยมีการบริการจัดเยี่ยมเยียน และแนะนำสุขภาพ

  32. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เดือดร้อนด้านการเงิน อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม ครั้งละ 2,000 บาท

  33. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การช่วยเหลืองานศพตามประเพณีโดยถ้วนหน้ารายละ 2,000 บาท

  34. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาในคดี ครั้งละไม่เกิน 500 บาท

  35. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การฝึกอบรมอาชีพแก่สตรีที่ด้อยโอกาสในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพ อาทิ การเย็บผ้า การเสริมสวย การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ

  36. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100%สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง100% ด้านบริการทางสังคม การสงเคราะห์เครื่องกายอุปกรณ์และเครื่องช่วยคนพิการ อาทิ วัสดุแขนขาเทียม รถนั่ง

  37. สวัสดิการสังคมที่เกษตรกรเข้าไม่ถึง 100% ด้านบริการทางสังคม การจ่ายเงินสงเคราะห์ราษฎรอัตคัดขาดแคลน ไม่เกินครั้งละ 5,000 บาท

  38. ผลการศึกษา (ต่อ) • ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับความพอใจต่อสวัสดิการสังคมของเกษตรกร พบว่ามีความพอใจระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1. ด้านสุขภาพอนามัย (ค่าเฉลี่ย = 4.62) 2. ด้านบริการทำงานและมีรายได้ (ค่าเฉลี่ย = 4.47) 3. ด้านบริการทางสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.42) 4. ด้านความมั่นคงทางสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.41) 5. ด้านการศึกษา (ค่าเฉลี่ย = 4.24) 6. ด้านที่อยู่อาศัย (ค่าเฉลี่ย = 4.09)

  39. ผลการศึกษา (ต่อ) • ความต้องการสวัสดิการของเกษตรกรเพิ่มเติม 1. สวัสดิการด้านการศึกษา (เพิ่มค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อาหารกลางวัน ) 2. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากเดิมเดือนละ 500 บาทเป็นเดือนละ 1,000 บาท 3. สุขภาพของผู้สูงอายุ 4. เครื่องจักรในการทำการเกษตร 5. สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน 6. ศูนย์สงเคราะห์ฟื้นฟูวิชาชีพคนพิการ 7. วัดอยู่ใกล้กับชุมชน 8. กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน

  40. ผลการศึกษา (ต่อ) • ความต้องการสวัสดิการสังคมของเกษตรกรเพิ่มเติม (ต่อ) 9. การคมนาคมขนส่งเพื่อความสะดวกและลดต้นทุนการ ผลิต 10. แหล่งน้ำในการประกอบอาชีพ 11. ปุ๋ย 12. บำนาญชราภาพ 13. สวัสดิการกองทุนเพิ่ม อาทิ กองทุนที่ดูแลคนว่างงาน 14. สวัสดิการแรงงาน ค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ แรงงานภาคเกษตร 15. เครื่องปั่นน้ำที่ใช้ในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต

  41. ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการวางแผนจัดสวัสดิการที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย 2. ควรมีการประชาสัมพันธ์ในด้านข้อมูลข่าวสารรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความชัดเจนยิ่งขึ้น 3. รัฐควรจัดระบบสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพเพื่อดูแลผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 4. ควรมีการทำงานในเชิงรุกให้มากขึ้น เพื่อให้คำแนะนำ ปรึกษาได้ทันท่วงที 5. ควรจัดสวัสดิการด้านนันทนาการให้กับเกษตรกรตามชุมชนต่างๆ

  42. สวัสดี 42

More Related