E N D
ไลเคนคืออะไร ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เกาะอาศัยอยู่บนผิวหน้าของสิ่งต่างๆทั้งสิ่งที่เป็นธรรมชาติเช่นเปลือกไม้ใบไม้ดินหินแมลงและวัสดุก่อสร้างเช่นคอนกรีตแผ่นป้ายโลหะฯลฯไลเคนมีกำเนิดที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นคือเกิดจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยของรา (fungi) ซึ่งราในไลเคนเรียกว่ามายคอไบออนท์ (Mycobiont) กับสาหร่าย (Algae) โดยเรียกสาหร่ายในไลเคนว่าโฟโตไบออนท์ (Photobiont)
ไลเคนมี 3 พวกใหญ่ๆแบ่งตามรูปร่างลักษณะคือ 1. ครัสโตสไลเคน (Crustose Lichen)มีรูปร่างเป็นแผ่นบางๆติดอยู่กับผิวต้นไม้หรือก้อนหินมักมีสีเขียวหม่นปนเทา 2. ฟรูติโคสไลเคน (Fruticose lichen)ลักษณะเป็นเส้นแตกแขนงสั้นๆรวมเป็นกระจุกอยู่ตามกิ่งไม้หรือก้อนหิน 3. โฟลิโอสไลเคน (Foliose lichen) มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบไม้เล็กๆพวกนี้มักพบในที่อากาศหนาวเย็นและชื้น
ชีวิตของไลเคน 1. รูปแบบของไลเคน แบ่งไลเคนออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆคือ 1. ครัสโตส (Crustose) 2. ฟูลิโอส (Foliose) 3. ฟรุสติโคส (Fruticose) 4. สะแควมูโลส (Squamulose)
2. ลักษณะโครงสร้างเป็น 3 ชั้นคือ 1. ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex) 2. ชั้นเมดูลา (medulla) 3. ชั้นโลเวอร์คอร์เทกซ์ (Lower cortex) 3.การขยายพันธุ์ของไลเคนเกิดขึ้นได้ 2 วิธีคือ 1. แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) 2. แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) - ไอซิเดีย (isidia) - ซอริเดีย (soredia)
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มีมากมายเราสามารถจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้เป็น 5 อาณาจักร(Kingdom) 1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera) 2. อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista) 3. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) 4. อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) 5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animal)
ทำอย่างไรจึงจะเห็นส่วนประกอบของไลเคนทำอย่างไรจึงจะเห็นส่วนประกอบของไลเคน เมื่อได้ตัวอย่างไลเคนมาแล้วและถ้าจะให้นักเรียนได้เห็นทั้งส่วนที่เป็นสาหร่ายและส่วนทีเป็นราครูอาจเตรียมตัวอย่างให้นักเรียนศึกษาโดยวางไลเคนประมาณปลายเข็มหมุดลงบนแผ่นสไลค์หยดน้ำ 1-2 หยดบนไลเคนปิดด้วยกระจกปิดสไลค์ใช้นิ้วขยี้บนแผ่นกระจกปิดสไลค์เบาๆเพื่อให้ไลเคนกระจายออกนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้เลนส์วัตถุกำลังขยาย 40 เท่าก็สามารถเห็นเซลล์สาหร่ายและเส้นใยไฮฟาของราได้
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์แต่อีกฝ่ายไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ (Commensalism) ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตคู่นี้พบได้ง่ายในสวนหรือบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นอยู่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าตามลำต้นหรือคาคบไม้ใหญ่อาจมีพืชต้นเล็กๆเลื้อยพันเกาะอยู่กับต้นไม้ดังกล่าวนักชีววิทยาเรียกพืชพวกนี้ว่า Epiphyte อาจได้แก่พวกกล้วยไม้เฟินบางชนิดพลูด่างซึ่งอาจเลื้อยเกาะตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปหรือเกาะอยู่ตามคาคบโดยเกาะติดอยู่บริเวณเปลือกเท่านั้นไม่ได้หยั่งรากลึกลงไปถึงท่อน้ำท่ออาหารของต้นไม้ที่มันขึ้นอยู่จึงไม่ได้ทำอันตรายใดๆให้ต้นไม้เหล่านั้นแต่จะได้รับร่มเงาความชื้นและแร่ธาตุบางอย่างจากการผุพังตามธรรมชาติของเปลือกไม้ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบ นิเวศแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่คือ 1. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (mutualism) 2. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (commensalism) 3. ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบคือก. การล่าเหยื่อ (predation) ข. ภาวะปรสิต (parasitism)
ประโยชน์และความสำคัญของไลเคนประโยชน์และความสำคัญของไลเคน ชาวพื้นเมืองในทวีปต่างๆรู้จักใช้ประโยชน์จากไลเคนมานานเช่นชาวจีนใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรชาวยุโรปใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดชาวอินเดียแดงในทวีปอเมริกาใช้ทำสีย้อมขนสัตว์ในเขตหนาวจัดแบบทันดรา (ขั้วโลก) ไลเคนที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินตามธรรมชาติอย่างหนาแน่นแทนหญ้าซึ่งไม่สามารถเติบโตได้ในสภาพเช่นนี้ไลเคนเหล่านี้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญโดยเป็นอาหารของกวางเรนเดียร์จึงมีชื่อเรียกไลเคนเหล่านี้ว่าเรนเดียร์มอส (Reindeer moss) นอกจากนี้ไลเคนยังเป็นอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเช่นโปรโตซัวหอยทากพบว่าในป่าดิบเขตร้อนของประเทศนิวกีนีมีไลเคนขึ้นบนหลังของแมลงชนิดหนึ่งซึ่งเข้าใจว่าใช้ในการพลางตัวจากศัตรู
มนุษย์นำไลเคนมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายเช่นมนุษย์นำไลเคนมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายเช่น - นักธรณีวิทยาใช้ไลเคนบอกอายุของวัตถุเช่นหินที่เริ่มสัมผัสอากาศ จาจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกต่อมาจะมีไลเคนมาเกาะทำให้ ระเมินความยายาวนานและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวได้นอก จากนี้ยังประเมินอายุของโบราณวัตถุโบราณสถานได้ - ชาวบ้านคนไทยใช้ฝอยลมต้มเป็นยาแก้ปวดท้อง? -ใช้เป็นสีย้อมขนสัตว์และย้อมโครโมโซม ( หน่วยพันธุกรรม ) ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ -เป็นส่วนผสมของน้ำหอมช่วยให้กลิ่นติดทนนาน
ในด้านคุณประโยชน์ 1.ใช้เป็นอาหารโดยนำมาทำซุปหรือนำมาบดผสมกับขนมปังทำให้ขนมปังกรอบอยู่ทนนาน 2.ใช้เป็นยาเช่นสารบางชนิดช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ช่วยทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น 3.บางชนิดก็ใช้เป็นสารที่ทำให้ประสาทตื่นตัวด้วย 4.ประโยชน์อื่นๆเช่นใช้ในการฟอกย้อมและการหมักการใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศเป็นต้น
ไลเคน...ดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศไลเคน...ดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศ ไลเคนมีความอ่อนไหว ( Sensitive ) ต่อมลพิษในอากาศมากเราจะไม่พบไลเคนในเมืองใหญ่ๆหรือเขตอุตสาหกรรมไลเคนจึงถูกใชัเสมือนเป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศอย่างกว้างขวางในยุโรปและอเมริกาไลเคนเติบโตโดยใช้น้ำและสารอาหารจากบรรยากาศที่ละลายอยู่ในฝนหมอกน้ำค้างดังนั้นสารมลพิษที่ปะปนอยู่ในบรรยากาศจึงมีผลต่อไลเคนโดยตรง
โรคที่เกิดจากไลเคน (Lichens) • ไลเคนคือสารอินทรีย์เชิงซ้อนที่ประกอบด้วยสาหร่ายและเชื้อราอยู่ร่วมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันสามารถเจริญเติบโตบนส่วนต่างๆของพืชได้เช่นเดียวกับสาหร่ายมีทั้งชนิดที่เป็นปรสิตเล็กน้อยและไม่เป็นโดยปกติไลเคนได้อาหารจากเนื้อเยื่อพืชที่ตายแล้วและจากอากาศบ้างไลเคนไม่เป็นอันตรายโดยตรงต่อพืชแต่จะทำให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายทางอ้อมคือเป็นที่สะสมหรือที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดและทำลายของโรคอื่นๆและหากเกิดมีไลเคนจำนวนมากก็จะทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง
การใช้ไลเคนตรวจมูลพิษทางอากาศทำได้ 3 วิธีคือ • 1. การสำรวจชนิดของไลเคนในพื้นที่ต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ของชนิดไลเคนในที่ต่างๆและสำรวจเป็นระยะในอนาคตเพื่อ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของชนิดไลเคน • 2. การตรวจหาปริมาณสารที่สะสมในไลเคน • 3. การย้ายปลูก ( Transplant ) ไลเคนจากที่อากาศดีมายังที่ที่มีมลภาวะและสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงทางระบบสรีระ ( physiology)
ลักษณะเด่นของไลเคน • ก็คือสาหร่ายและเชื้อราจะจับคู่กันแบบเฉพาะเจาะจงคือหากพบสาหร่ายชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะพบเชื้อราเพียงชนิดเดียวจะไม่มีการพบว่าสาหร่ายหรือเชื้อราจับคู่กับชนิดอื่นและสิ่งที่ไลเคนใช้เป็นที่ยึดเกาะเพื่ออยู่อาศัยส่วนมากจะได้แก่ก้อนหินหรือกิ่งไม้ซึ่งการเจริญของไลเคนที่พบเห็นมีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบคือ • 1. แบบ Crustose Lichen • 2. แบบ Foliose Lichen • 3. แบบ Frutiose Lichen • 4. แบบ Filamentose Lichen
ไลเคนในอดีต • ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณต่างๆรวมทั้งไลเคนแต่ขาดการศึกษาวิจัยกันอย่างจริงจังการศึกษาไลเคนในประเทศไทยในอดีตกระทำโดยนักพฤกษศาสตร์จากต่างประเทศและมีผลงานพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งคราวเช่น พ.ศ. 2464:ไวนิโอได้รายงานการสำรวจไลเคนที่ดอยสุเทพอีกครั้ง พ.ศ. 2473:พอลสัน (Paulson) รายงานการสำรวจไลเคนที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎธานี
การศึกษาวิจัยไลเคนปัจจุบันการศึกษาวิจัยไลเคนปัจจุบัน • การศึกษาวิจัยไลเคนในประเทศไทยในปัจจุบันณ. หน่วยวิจัยไลเคนม.รามคำแหงประกอบด้วยการศึกษาด้านอนุกรมวิธานในเบื้องต้นเพื่อให้รู้จักคาวมหลากทางชีวภาพของไลเคนที่มีในประเทศไทยโดยมีการศึกษาทางนิเวศวิทยาและสรีระวิทยาของไลเคนควบคู่กันไปด้วย • ในระยะต่อมาเพื่อให้ทราบถึงการแพร่กระจายและการดำรงชีวิตของไลเคน • นอกจากนี้ยังมีการสกัดสารธรรมชาติจากไลเคนและการแยกราซึ่งเป็นส่วนประกอบของไลเคนด้วย
การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของไลเคนการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของไลเคน • นายนิมิตรโอสถานนท์ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงหัวหมากบางกะปิกรุงเทพฯ 10240 • บทคัดย่อ : การศึกษาอัตราการเติบโตของไลเคนเขตร้อน (Tropic) ในระบบนิเวศต่างๆณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จำนวน 306 ตัวอย่างแบ่งเป็นโฟลิโอส 160 ตัวอย่างและครัส-โตส 146 ตัวอย่าง
ความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนบนใบไม้ณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนบนใบไม้ณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ • นางสาวขวัญเรือนพาป้องภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง • การศึกษาด้านอนุกรมวิธานและการแพร่กระจายของไลเคนบนใบไม้ณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กระทำจากพื้นที่เก็บตัวอย่างที่แตกต่างกันประมาณ 50 แห่งรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในป่า 6 ชนิดได้แก่ป่าดิบเขาความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,350 เมตรป่าดิบชื้น 700-780 เมตรป่าดิบแล้ง 300-500 เมตร
ความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนแบบแผ่นใบ (foliose) และแบบเส้นสาย (fruticose) ที่พบณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ • นางสาวกวินนาถน้อยเจริญภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง • การศึกษาไลเคนแบบแผ่นใบ (foliose) และแบบเส้นสาย (fruticose) ณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จากป่าดิบเขาป่าเต็งรังป่าดิบแล้งป่าดิบชื้นป่าเบญจพรรณป่ารุ่นสองและป่าปลูกระหว่างเดือนมกราคม 2542 ถึงเดือนธันวาคม 2544 จำนวน 1,167 ตัวอย่างสามารถจำแนกได้ 7 วงศ์ 18 สกุล 89 ชนิด (ยกเว้นวงศ์ Physciaceae)
ความหลากหลายและการแพร่กระจายของไลเคนบนเรือนยอดณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ความหลากหลายและการแพร่กระจายของไลเคนบนเรือนยอดณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ • เวชศาสตร์พลเยี่ยมภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงหัวหมากบางกะปิกรุงเทพฯ 10240 • บทคัดย่อ: เรือนยอด (canopy) ผลจากการสำรวจที่ระดับเรือนยอดของต้นไม้ทั้งหมด 27 ต้นจากป่า 6 ชนิดและไม้ปลูกพบไลเคน 119 ชนิดจาก 42 สกุล 22 วงศ์ 6 อันดับซึ่งแบ่งตามรูปแบบของแทลลัสได้ 4 แบบประกอบด้วยพวกครัสโตสพวกโฟลิโอสพวกโฟลิโอสและพวกฟรูติโคส 8 ชนิด
ไลเคนชนิดใหม่ (new species) • Parmotrema thailandicum Elix & Pooprang • Everniastrum scabridum Elix & Pooprang • Laurera meristosporoides P.M.McCarthy & Vongshewarat • Hypotrachyna chlorobarbatica Elix & Pooprang • Parmotrema rubromarginatum Elix & Pooprang