1 / 40

ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม e-mail: fforsmp@ku.ac.th

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA). ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม e-mail: fforsmp@ku.ac.th ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ Tel. 02-5790172 ext 104 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Mobile: 085-1200063. หัวข้อบรรยาย :-.

bessie
Download Presentation

ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม e-mail: fforsmp@ku.ac.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม e-mail: fforsmp@ku.ac.th ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ Tel. 02-5790172 ext 104 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Mobile: 085-1200063

  2. หัวข้อบรรยาย :- ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้นของการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม ชุดที่ 2 ขั้นตอนและวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชุดที่ 3 การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชุดที่ 4 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ EIA ชุดที่ 5 HIA and SIA ชุดที่ 6 ตัวอย่างการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม

  3. เอกสารอ้างอิง เกษม จันทร์แก้ว. 2536. สิ่งแวดล้อมศึกษา. โครงการสหวิทยาการ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาเกษตรศาสตร์. 2543. สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2543 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสังคมและ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 Website ต่างๆ http://www.onep.go.th/eia/page2/Index_EIA.html http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/index.html http://san.anamai.moph.go.th/nwha/html/thai34t/ch5.htm

  4. ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) • การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทั้งด้านขนาด (magnitude) และทิศทาง (direction) จากการกระทำของมนุษย์ (โครงการพัฒนา) หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยปกติมักเกิดจากโครงการพัฒนามากกว่าภัยธรรมชาติ

  5. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA)

  6. 1. ความหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมคืออะไร? • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือเรียกกันทั่วไปว่า อีไอเอ (Environmental Impact Assessment; EIA) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อจำแนกและคาดคะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนการเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring Plan) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินโครงการ

  7. 1. ความหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ ของการดำเนินโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติและทางเศรษฐกิจสังคม เพื่อหาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring Plan) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินการโครงการ http://www.onep.go.th/eia/page2/Index_EIA.html

  8. 1. ความหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของโครงการ อีกทั้งเสนอแนะวิธีลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการอย่างเหมาะสมโดยไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ; UNEP)

  9. 2. ประวัติความเป็นมาของการทำ EIA • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองไทย เริ่มมีในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 • มาตรา 77“รัฐพึงบำรุงรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม และความงามทางธรรมชาติ รวมทั้งป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และน่านน้ำ” • มาตรา 97“รัฐพึงบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และพึงขจัดสิ่งเป็นพิษ ซึ่งทำลายสุขภาพและอนามัยของประชาชน” • แต่กฎหมายดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางให้ฝ่ายบริหารกำหนดนโยบายและให้ฝ่ายนิติบัญญัติที่จะตรากฏหมายออกมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เท่านั้น • สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 (พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2518) และได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงาน EIA แต่ได้ดำเนินการจัดทำรายงาน EIA กันอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2524

  10. 2. ประวัติความเป็นมาของการทำ EIA • ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการพัฒนาระบบ EIA อีกครั้ง ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและประกาศออกมาเป็น“พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2535)” โดยส่วนของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อยู่ในหมวดที่ 3 ส่วนที่ 4 ตั้งแต่มาตรา 46 ถึงมาตรา 51

  11. วัตถุประสงค์ของการศึกษา EIA • เพื่อจำแนก ทำนาย และประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมจากโครงการ โดยเปรียบเทียบกับ สภาวะที่ไม่มีโครงการ • เพื่อป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้น วางแผนโครงการ • เพื่อให้มีการนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการ วางแผนโครงการและตัดสินใจดำเนินโครงการ http://san.anamai.moph.go.th/nwha/html/thai34t/ch5.htm

  12. องค์ประกอบของ EIA • 1) ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง • 2)ทรัพยากรชีวภาพ หมายถึงการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่ มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น • 3) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพและชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ ประโยชน์ที่ดิน การเกษตรกรรม ระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น ว่าได้รับ ผลกระทบมากน้อยเพียงใด • 4) คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อ มนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่าความสวยงาม • สำหรับการศึกษาในด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิตถือว่าเป็นเรื่องของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)

  13. ความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของผู้บริหาร • เป็นการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทั้ง โครงการในอนาคต • เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดผล กระทบสิ่งแวดล้อม • เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนแก้ไขผลกระทบที่ เกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ • เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนติดตามตรวจสอบ แผนป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้ กำหนดไว้

  14. ประโยชน์ของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1. ช่วยในการวางแผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรเพื่อพัฒนาอย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากการมองผลประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจ 2. ช่วยพิจารณาว่าโครงการที่จะเกิดขึ้น เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในระดับใด และผู้ประกอบการจะได้มีมาตรการในการป้องกันและ แก้ไขผลกระทบอย่างเหมาะสม 3. เพื่อคาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกหลัก วิชาการ ซึ่งจะได้เตรียมป้องกันและแก้ไขไว้ตั้งแต่ขั้นเตรียม โครงการ 4. ช่วยในการเลือกมาตรการที่มีประสิทธิผล มีค่าใช้จ่ายน้อย และ เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 5. เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงานและการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อม 6. เป็นแนวทางในการกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบ ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นหลังจากได้มีการก่อสร้างและดำเนินการ

  15. 4. ความคิดรวบยอดในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เป็นการทำนาย (Prediction)อนาคต/สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน • ใช้การศึกษาอย่างเป็นระบบ (System)โดยอาศัยหลักการ • การวางแผนการใช้ที่ดิน (Land Use Planning) • การใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ (Resource Utilization and Conservation) • การควบคุมมลภาวะที่จะเกิดขึ้น (Pollution Control) • เพื่อให้ได้มาทั้ง 3 แนวทาง • ผลผลิตยั่งยืน (Sustained yield) เศรษฐศาสตร์ • ความต้องการในการพัฒนา/สังคม สังคม/การเมือง • นิเวศ/ความหลากหลายยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจ • ระบบสิ่งแวดล้อมบริเวณที่จะมีโครงการ ต้องทำการวิเคราะห์ระบบ • ภาพรวมและรายละเอียดของโครงการ ที่จะนำเข้ามาในระบบสิ่งแวดล้อมในที่นั้น ๆ เพื่อให้โครงการที่จะนำเข้ามาในระบบสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกัน/กลมกลืนกันหรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

  16. 5. ลักษณะการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีมากมายหลายประเด็น ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาแต่ ละสาขา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้ง ขนาด (magnitude) และทิศทาง (direction) 2) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ความแห้งแล้ง ไฟไหม้และอื่น ๆ มักเป็น เหตุการณ์ที่นาน ๆ เกิดขึ้น และเกิดเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และมี ความรุนแรงเป็นบางพื้นที่ 3) โครงการพัฒนาต่าง ๆ ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่าและ นานกว่า (ถาวร) 4) การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องวัดจากผลรวมผลกระทบทั้งหมด ของโครงการ ซึ่งหาได้จาก ผลต่างระหว่างผลกระทบที่ไม่มี โครงการกับผลกระทบที่มีโครงการ หรือเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

  17. 5. ลักษณะการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม PI = Siop - Siwp • PI = Project impact = Siop- Siwp • Siop = Sum of all environmental impacts without project • Siwp = Sum of all environmental impacts with project

  18. ลักษณะการเกิดผลกระทบ อาจเกิดได้ทั้ง 3 กรณี 1) บางที่บางส่วน (spatial impact) : ภาวะเตือนภัย : ภาวะเสี่ยงภัย 2) กระจายทั่วไป 3) ผลกระทบแบบลูกโซ่ คือ เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและ ส่งผลกระทบทางอ้อม ตามมาเป็นลูกโซ่ 5th impact 4th impact tertiary impact secondary impact primary impact

  19. ตัวอย่าง:- ** โครงการตัดถนนผ่านพื้นที่ภูเขา ก่อให้เกิดผลกระทบลูกโซ่ ดังนี้ การใช้น้ำของมนุษย์ คุณภาพน้ำผิวดิน การพังทลายของดิน ตัดต้นไม้ (เปิดหน้าดิน) ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น - อาจไม่เป็นไปในลักษณะเรียงลำดับ - อาจสร้างปัญหาลูกโซ่ได้เสมอ - อาจแสดงผลให้เห็นในระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้ - มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ - ต้องวัดได้ว่ามีขนาดใหญ่มากน้อยเท่าไหร่ และมี ลักษณะบวกหรือลบ

  20. 6. ข้อดีข้อเสียของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • ข้อดี • >ช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง • >ประหยัดเงินและเวลาในการแก้ไขผลกระทบ • >เก็บรักษา/อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม • >ช่วยป้องกันมลพิษ • >ลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง • ข้อเสีย • ทำให้การพัฒนาล่าช้า • ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดอาจไม่เกิดขึ้นหรือรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ • มีความลำเอียงในการประเมิน • วิธีการศึกษาตามใจผู้วิเคราะห์ • เป็นเพียงการคาดคะเน อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด

  21. 7. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม 7.1 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน • องค์ประกอบ/โครงสร้าง (Structure)ของระบบ ได้แก่ • ชนิด (Species) - ปริมาณ (Quantity) * มาก (Abundant) * ปริมาณในธรรมชาติ * หายาก (Rare) * ความหนาแน่น * ใกล้สูญพันธุ์ (Endaner) * จำนวน * สูญพันธุ์ (Extinct) • สัดส่วน (Proportion) - การกระจาย (Distribution) * พืช * ทั่วพื้นที่ (Disperse) * สัตว์ * บางจุด (Spot) * มนุษย์ มนุษย์ สัตว์ พืช

  22. 7. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 7.1 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน (ต่อ) • หน้าที่/การทำงาน (Function) ของระบบ • ปกติ (Normal) • เปลี่ยนแปลงไปอย่างเฉียบพลัน (Acute Effect) • ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง (Chronically Effect)

  23. 7.2 สถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม :-แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ • 1)สมดุลธรรมชาติ (Nature) หมายถึง องค์ประกอบมีความหลากหลายชนิดและมีปริมาณในแต่ละชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสม และทำหน้าที่ได้เหมือนปกติตามสภาพธรรมชาติ • 2) เตือนภัย (Warning)หมายถึง องค์ประกอบบางส่วนของระบบถูกรบกวน ทำให้การทำหน้าที่ของระบบไม่สมบูรณ์ สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ในเวลาไม่นาน • 3) เสี่ยงภัย (Risky)หมายถึง มีการรบกวนองค์ประกอบของระบบทำให้บางส่วนมีจำนวนลดลง และมีชนิดอื่นเพิ่มขึ้นมาทดแทนหรือบางอย่างมีจำนวนมากเกินไป ทำให้การทำงาน/หน้าที่ของระบบเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ • 4) วิกฤต (Crisis) หมายถึง ระบบนั้น ๆ ถูกรบกวน ทำให้องค์ประกอบบางชนิดเหลือน้อยหรือสูญพันธุ์ไปจากระบบหรือไม่ทำหน้าที่ของตนได้ ทำให้การทำงาน/หน้าที่ของระบบไม่ครบวงจรหรือมีประสิทธิภาพลดลง และไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพธรรมชาติดังเดิมได้และต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จึงจะฟื้นคืนสภาพเดิมได้บ้าง

  24. 7.3 ประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องทำการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม • ตามบัญชีประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศวันที่ บังคับใช้ • ฉบับที่ 1 24 สิงหาคม 2535 9 ตุลาคม 2535 • ฉบับที่ 2 9 กันยายน 2535 23 ตุลาคม 2535 • ฉบับที่ 3 22 มกราคม 2539 9 กุมภาพันธุ์ 2539 • โครงการอยู่ในเขตพื้นที่ • ป่าอนุรักษ์ (C) • ลุ่มน้ำชั้น 1B, 2 • ป่าชายเลน เขตอนุรักษ์ • พื้นที่อุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตาม พ.ร.บ. ตามมติ ครม.

  25. 8. ปัญหาการทำรายงาน EIA • ข้อมูลที่ศึกษาไม่พอเพียง ข้อมูลสิ่งแวดล้อมบางประเด็นไม่ชัดเจน ไม่ได้ครอบคลุมในการศึกษา ไม่มีการเสนอทางเลือกของโครงการ • งบประมาณที่ได้รับน้อย ทำให้ไม่เพียงพอในการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ได้ครบถ้วน • เวลาการจัดทำรายงานมีน้อย ทุกโครงการต้องใช้ระยะเวลาสั้นในการจัดทำรายงาน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลตามฤดูกาลได้ • ไม่มีกฏเกณฑ์/มาตรฐานที่ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของระบบนิเวศ เช่น ประโยชน์ทางอ้อมของป่าในด้าน • ความหลากหลายทางชีวภาพ • พืชสมุนไพร • การเป็นพื้นที่อนุรักษ์ : ต้นน้ำลำธาร/อุทยานแห่งชาติ

  26. 8. ปัญหาการทำรายงาน EIA (ต่อ) • ประชาชนไม่มีส่วนร่วมต่อโครงการพัฒนาต่าง ๆ ปัจจุบันมีมติ ครม. สำหรับโครงการที่คาดว่าจะมีผลกระทบสูง ให้จัดทำ ประชาพิจารณ์ก่อน • ผู้ชำนาญการขาดความเป็นกลาง • ประเมินผลกระทบเข้าข้างเจ้าของโครงการ • ไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง • เก็บตัวอย่างน้อยกว่าที่ควรจะเป็น • ยกเมฆข้อมูล • ดำเนินโครงการก่อนจัดทำรายงาน EIA • ไม่ทราบระเบียบขั้นตอน • หลีกเลี่ยง เปลืองเงิน • โครงการเร่งด่วน • ผู้พิจารณารายงาน EIA ไม่มีมาตรฐาน/กฎระเบียบที่ชัดเจน แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล EIA

  27. 9. ประโยชน์ของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา • ช่วยพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ

  28. 9. ประโยชน์ของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • สามารถแน่ใจว่าได้คาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญอันเกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฎิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย • ช่วยเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ • แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้ • เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development )

  29. โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดทำและพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ 1. รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination หรือ IEE) เป็นรูปแบบรายงานที่ประเทศไทยนำมาใช้ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการขนาดเล็กที่เห็นว่าอาจมีผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในบางประเทศนำ IEE มาใช้ในการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าโครงการจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแนวทางขอบเขตการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อไป 2. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การคาดการณ์ผลกระทบ การจัดทำมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  30. โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีโครงการที่ต้องจัดทำ IEE, EIA และโครงการที่ต้องจัดทำรายการข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด ประเภทและขนาดโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้อง จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 1 (24 ส.ค. 2535) ฉบับ ที่ 2 (9 ก.ย. 2535) และฉบับที่ 3 (22 ม.ค. 2539) กำหนดโครงการหรือกิจการที่ ต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ 22 ประเภท 2. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดพื้นที่และ มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดโครงการหรือกิจการที่ต้องมีการจัดทำ EIA, IEE จำนวน 4 ฉบับได้แก่ 1) บริเวณ พื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมือง เพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน อำเภอ ปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) บริเวณพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 3) บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ และ 4) บริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 3. มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 ก.ย. 2537)กำหนดโครงการหรือ กิจการที่ต้องมีการจัดทำ EIA, IEE และโครงการที่ต้องจัดทำรายการข้อมูล ทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำตามแบบฟอร์มที่กำหนด

  31. โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  32. โครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจำนวน 4 ฉบับ และโครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) ที่มา: www.onep.go.th

  33. โครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจำนวน 4 ฉบับ และโครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) ที่มา: www.onep.go.th

  34. โครงการที่ต้องจัดทำรายการข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำตามแบบฟอร์มที่กำหนด ตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) ที่มา: www.onep.go.th

  35. หลักเกณฑ์การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบมีส่วนร่วมหลักเกณฑ์การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบมีส่วนร่วม การจัดทำ EIA ส่วนที่ 3 คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ส่วนที่ 4 คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต จัดทำกรอบนโยบายการดำเนินงานเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน (RCAF) ตัวอย่างผลกระทบทางสังคมที่สำคัญ ไม่ชัดเจน มีผลกระทบต่อชุมชนทั่วไป โดยเฉพาะ ชุมชนดั้งเดิมและกลุ่มคนด้อยโอกาส ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม รวมทั้งกำหนดมาตรการลดผลกระทบ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบมีส่วนร่วมเบื้องต้น มีผลกระทบที่สำคัญทาง สังคม มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการลดผลกระทบ ไม่มีผลกระทบที่สำคัญทางสังตม มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สุนทรียภาพ ฯลฯ จัดทำมาตรการการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม ศึกษารายละเอียดตามประเด็นที่ประชาชนกังวล รวมทั้งกำหนดมาตรการลดผลกระทบ มีผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่ง ศึกษารายละเอียดด้านการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งกำหนดมาตรการลดผลกระทบ จัดทำแผนปฏิบัติการการตั้งถิ่นฐานใหม่ และการกำหนดค่าชดเชยหรือกรอบการดำเนินการตั้งถิ่นฐานใหม่ และการกำหนดค่าชดเชย (RCAP) ใช่ มีการโยกย้ายถิ่นฐาน/ เวนคืน /รอนสิทธิ์ที่ดินประชาชนมากกว่า 200 คน หรือมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ/รายได้ของชุมชนดั้งเดิมหรือชุมชนด้อยโอกาสหรือไม่ กรณีมีการโยกย้ายถิ่นฐานและการเวนคืน/การรอนสิทธิ์ ไม่ใช่ จัดทำแผนปฏิบัติการอย่างย่อ (RCAP ฉบับย่อ)

  36. สัจจะ – ธรรมะ – ขันติ - จาคะ

More Related