1 / 17

การจัดทำรายงานการจัดซื้อ/จ้าง/เช่า

การจัดทำรายงานการจัดซื้อ/จ้าง/เช่า. การจัดทำรายงานการซื้อ/จ้าง/เช่า. ข้อสังเกต องค์ประกอบของรายงาน ต้องประกอบด้วย 1. เหตุผลและความจำเป็น 2. รายละเอียดของพัสดุ 3. ราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคย ซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ

beryl
Download Presentation

การจัดทำรายงานการจัดซื้อ/จ้าง/เช่า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำรายงานการจัดซื้อ/จ้าง/เช่าการจัดทำรายงานการจัดซื้อ/จ้าง/เช่า

  2. การจัดทำรายงานการซื้อ/จ้าง/เช่าการจัดทำรายงานการซื้อ/จ้าง/เช่า ข้อสังเกต องค์ประกอบของรายงาน ต้องประกอบด้วย 1. เหตุผลและความจำเป็น 2. รายละเอียดของพัสดุ 3. ราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคย ซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ 4. วงเงินที่จัดซื้อ/จ้าง 5. กำหนดเวลาที่ต้องการพัสดุ หรือในงานนั้นแล้วเสร็จ 6. วิธีการซื้อหรือจ้าง 7. ข้อเสนออื่น

  3. ข้อดังกล่าวพบข้อสังเกตว่า หน่วยงานมักไม่มีที่มาของการดำเนินการ ขอซื้อหรือจ้าง โดยมักใช้ข้อความว่าหน่วยงานประสงค์ขอซื้อ/จ้าง แนวทางการใช้เหตุผลเพื่อรายงานตามข้อ 1 ก. ตัวอย่างกรณีที่ต้องการซื้อ/จ้าง เพื่อสำรอง/เพิ่มเติม ที่ถูกต้อง เช่น “ฝ่ายพัสดุ ได้ตรวจสอบรายการพัสดุ ปรากฏว่ามีของในคลังพัสดุไม่เพียงพอกับการใช้งาน จึงประสงค์ขอดำเนินการจัดซื้อ/จ้าง เพิ่มเติมจำนวน..................รายการ” 1. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง

  4. ข. ตัวอย่างกรณีที่ต้องการซื้อ/จ้าง เพื่อใช้ในโครงการที่ถูกต้อง เช่น “ฝ่ายพัสดุ ประสงค์ดำเนินการจัดซื้อ (จ้าง) ตามโครงการควบคุมระบบสินทรัพย์ GFMIS ของฝ่าย GFMIS จำนวน......................รายการตามรายละเอียดโครงการที่แนบ” “ฝ่ายพัสดุ ขออนุมัติจ้างถ่ายเอกสาร ในโครงการ............................................................................................จำนวน........................รายการ รวม....................................แผ่น เพื่อแนบให้ผู้เข้ารับการอบรม ตามรายละเอียดที่แนบ”

  5. “ฝ่ายพัสดุ ได้รับแจ้งจากฝ่ายการเงิน ขอให้ดำเนินการเช่า เครื่องคอมพิวเตอร์ Note Book เพื่อใช้ในโครงการอบรม .......................................ระหว่างวันที่.................................. ตามรายละเอียดที่แนบ ค. ตัวอย่างกรณีที่ต้องการซื้อ/จ้าง กรณีกลุ่ม/ฝ่ายแจ้งให้จัดหาที่ถูกต้อง เช่น “ฝ่ายพัสดุ ได้รับแจ้งจากฝ่ายบัญชี ประสงค์ดำเนินการ จัดซื้อ...................................เพื่อใช้ในราชการของฝ่ายบัญชี กองคลัง จำนวน...................รายการ ตามบันทึกที่แนบ”

  6. “ตามหนังสือสำนักงานเลขานุการกรม ที่ สธ 0801/ ......................ลงวันที่.................................................... ประสงค์ขอให้ฝ่ายพัสดุกองคลัง ดำเนินการจัดจ้างเหมารักษาความปลอดภัยงานสัปดาห์สุขภาพจิต ระหว่างวันที่.............. ................................................... ตามรายละเอียดที่แนบ”

  7. 2.รายละเอียดของพัสดุ ควรมีรายละเอียด • 1. กรณีรายการจัดซื้อ/จ้าง น้อยรายการ ควรระบุชื่อและรายเอียดพัสดุหรือรายการที่จะจัดหา เช่น ขอซื้อกระดาษถ่ายเอกสาร ขนาด เอ.4 จำนวน 50 รีม หรือขอจ้างพิมพ์เอกสารแพ่นพับ เรื่องวิธีแก้ปัญหาความเครียดด้วยตนเอง จำนวน 1,000 แผ่น เป็นต้น • 2. กรณีรายการซื้อ/จ้าง หลายรายการ ควรระบุ ดังตัวอย่าง เช่น “ตามรายละเอียดขอซื้อ จำนวน 25 รายการ ที่แนบ” โดยรายละเอียดขอซื้อให้แนบกับรายงานขอซื้อ/ขอจ้าง • 3. กรณีอ้างใบเสนอราคาของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เช่น “ตามใบเสนอราคาของ..........................เลขที่..........ลงวันที่.....................ที่แนบมาพร้อมนี้”

  8. 3. ราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาซื้อหรือจ้างครั้งสุดท้ายภายในระยะเวลา ๒ ปี งบประมาณ • กรณีตามข้อ 3 จากการตรวจพบว่ามักไม่มีรายงานตามข้อ 3 ปรากกฎในรายงานขอซื้อขอจ้าง ซึ่งจะเป็นปัญหาว่าผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติตามระเบียบ • แนวทางในการปฏิบัติ คือ 1. ต้องมีการร่วมรวมประวัติการจัดหา ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง 2. ในกรณีที่ตรวจสอบแล้วไม่มีราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือ การจัดหาย้อนหลัง 2 ปี ให้ระบุว่า “ไม่มีประวัติการจัดหาดังกล่าว” 3. รายการจัดซื้อวัสดุที่ใช้งานราชการปกติซึ่งใช้เป็นประจำ ไม่เหตุที่จะ บันทึกรายการว่าไม่มีประวัติการจัดหารายการดังกล่าว

  9. 4. วงเงินที่จัดซื้อ/จ้าง สิ่งที่ต้องระบุตามรายงานข้อ 4 คือ • วงเงินที่จัดหา หรือวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้เพื่อจัดหารายการดังกล่าว หรือวงเงินประมาณการที่จะจัดหา (ในกรณีไม่สามารถทราบวงเงินที่แน่นอนของรายการที่จะจัดหาในคราวนั้น ๆ) • ต้องระบุแหล่งเงิน (เงินงบประมาณ หรือเงินบำรุง หรืออื่น ๆ)ปีงบประมาณที่จัดซื้อ/จ้าง และใช้งบประมาณของหน่วยใด • กรณีทราบแผนงบประมาณ/ผลผลิต/กิจกรรมหลัก, รหัสงบประมาณ,รหัสกิจกรรมหลัก ควรระบุเพื่อให้เกิดความสะดวก ในการสร้าง PO และตรวจสอบและควบคุมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานได้ถูกต้อง

  10. ตัวอย่าง การรายงานตามข้อ 4 • ตย.ที่ 1 “จัดจ้างด้วยเงินงบประมาณและเงินบำรุง งบดำเนินการประจำปี 2551 ของศูนย์สุขภาพจิตที่ ๑๓ ภายในวงเงิน 90,000.00 บาท (เก้าหมื่นบาทถ้วน) • ตย.ที่ 2 “จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณปี 2551 งบลงทุน ของกองคลัง กรมสุขภาพจิต ผลผลิตที่ 3 องค์ความรู้และเทคโนโลยี่ด้านสุขภาพจิตกิจกรรมหลักที่ 3.1 (210080600500000,210081000C4122) ภายในวงเงิน 45,000.00 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)”

  11. 5. กำหนดเวลาที่ต้องการพัสดุ หรือในงานนั้นแล้วเสร็จ • สามารถกำหนดเวลา ตามลักษณะของความต้องการ ตามตัวอย่างดังนี้ 1. กรณีประสงค์ที่จะให้ส่งมอบภายในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น “ กำหนดเวลาที่ต้องการใช้ ภายใน...15...วัน หลังจากได้รับอนุมัติ” 2. กรณีประสงค์จะระบุวันเวลาที่จะส่งมอบ เช่น “กำหนดสงมอบพัสดุ ภายในวันที่ 25 ตุลาคม 2550” 3. กรณีประสงค์ระบุให้ส่งมอบหลังจากงานแล้วเสร็จ เช่น “กำหนดส่งมอบงานทุกสิ้นเดือน มีกำหนด 10 เดือน ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน – สิงหาคม 2550”

  12. 6. วิธีการซื้อหรือจ้าง • รายงานการขอซื้อหรือจ้าง ต้องระบุวิธีการ พร้อมเหตุผลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เช่น 1. ตย.ที่ 1 กรณีวงเงินจัดซื้อจ้าง (ไม่เกิน 100,000.00 บาท) “จัดจ้าง โดยวิธีตกลงราคา เนื่องจากวงเงินการจัดจ้างดังกล่าว ข้างต้นไม่เกิน 100,000.00 บาท ทั้งนี้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2538 ข้อ 19”

  13. 2. ตย.ที่ 2 กรณีวงเงินเกินกว่า 100,000.00 บาท 2.1 จัดซื้อ/จ้าง ที่มีน้อยราย(เฉพาะราย) เช่น “จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เนื่องจากวงเงินจัดจ้างเกินกว่า 100,000.00 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)ทั้งนี้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และ ที่แก้ไขเติม ข้อ 23(6) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ” 2.2 จัดซื้อ/จ้าง ที่มีกฎหมายหรือตามมติ ครม. “จัดจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ เนื่องจากการจ้างดังกล่าวกับหน่วยงานดังกล่าว มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 26 เป็นหน่วยงานที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ”

  14. 7. ข้อเสนออื่น ๆ • หมายถึง ข้อเสนอเพิ่มเติมในคราวนั้น ๆ เช่น ข้อเสนอการแต่งตั้งกรรมการชี้แจงหรือชี้สถานที่, คณะกรรมการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะ , และการขอแต่งตั้งคณะกรรมการตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 34 หรือความเห็นเพิ่มเติม(ถ้ามี) ตัวอย่างเช่น “7. ขออนุมัติแต่งตั้งนางสาว..................... ตำแหน่ง...................... เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ทั้งนี้ให้มีหน้าที่ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 71 และให้รายงานภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันส่งมอบ”

  15. การจัดทำเอกสารใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างการจัดทำเอกสารใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง • เมื่อได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุมัติ ตามรายงานข้อ 27 แล้วจะต้องทำเอกสารใบสั่งซื้อสั่งจ้าง 1. เป็นรายการทีมีวงเงินดำเนินการเกินกว่า 10,000.00 บาท 2. เป็นรายการที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างระบุต้องการเอกสารการส่งซื้อ/จ้าง 3. กรณีการออกใบสั่งจ้าง ต้องเรียกอากรแสตมป์จากผู้รับจ้าง ในอัตรา 1,000.00 บาท ติดอากร 1.00 บาท เศษเกินกว่า 1,000.00 บาท ให้เพิ่มอีกหนึ่งบาท

  16. การบันทึกรายงานการตรวจรับพัสดุ/การจ้าง ประกอบด้วย • การรายงานผลการตรวจรับ จะต้องรายงานในรูปของบันทึกข้อความ • โดยปกติการจัดทำรายงานควรเป็นวันเดียวกับวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบ และกรรมการหรือคณะกรรมการตรวจรับ ได้ตรวจความถูกต้อง ครบถ้วนทุกประการ • รายงานการตรวจรับ ต้องอ้างถึง หนังสือรายงานขอซื้อ/จ้าง, วงเงิน,รายการพัสดุ, ชื่อ (บริษัท/ห้าง/ร้าน) ของผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุมัติ, เอกสารใบแจ้งหนี้/ใบส่งมอบของ/งาน พร้อมระบุเลขที่ และความเห็นของกรรมการหรือคณะกรรมการตรวจรับ

  17. สิ่งที่ตรวจพบข้อบกพร่องในรายงานตรวจรับสิ่งที่ตรวจพบข้อบกพร่องในรายงานตรวจรับ 1. หน่วยงานบางแห่งมักไม่ระบุรายการตรวจรับ 2. ไม่ระบุเล่มที่/เลขที่ ของเอกสารการส่งมอบหรือใบแจ้งหนี้ 3. ผลการตรวจสอบ หน่วยงานมักจะใช้ไฟล์เดิมทำให้ไม่มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลการพิจารณาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง 4. บันทึกรายงานขาดการรายงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ เสนอผู้มีอำนาจ ทราบและอนุมัติเบิกจ่าย หรือไม่มีการรายงานเพื่อทราบหรืออนุมัติ เบิกจ่าย 5. ในกรณีที่มีการสร้าง PO ระบบ G FM IS ควรระบุเลขที่ PO เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบหรือดำเนินการต่อไป

More Related