1 / 81

การบริหารพัสดุในภาครัฐ มีเป้าหมายสำคัญ คือ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โทร. ๐๒ ๕๙๐-๑๒๒๑- ๔.

berget
Download Presentation

การบริหารพัสดุในภาครัฐ มีเป้าหมายสำคัญ คือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕และที่แก้ไขเพิ่มเติมฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโทร. ๐๒ ๕๙๐-๑๒๒๑- ๔

  2. การบริหารงานของภาครัฐสมัยใหม่ ถือว่าการบริหารงานพัสดุเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง โดยได้กำหนดให้มีการปรับปรุงกลไกและวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างได้เป็นไปอย่างโปร่งใส ประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเน้น ให้หน่วยงานของรัฐมีพัสดุในราคาที่เหมาะสม และจัดหาได้ทันเวลาที่มีความต้องการจะใช้ รวมทั้งจัดให้มีการดูแล บำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้การได้ตลอดเวลา การบริหารงานพัสดุที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานขององค์กรภาครัฐในภาพรวมเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ และมีผลถึงบริการที่ดีที่ภาครัฐจะมอบให้กับประชาชนด้วย

  3. การบริหารพัสดุในภาครัฐ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การให้ส่วนราชการมีพัสดุที่ต้องการ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างเพียงพอในแต่ละช่วงเวลา พัสดุที่มีอยู่นั้น ต้อง มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งาน มีราคาไม่แพง และมีการใช้ประโยชน์จากพัสดุอย่างคุ้มค้า

  4. สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ได้มีการกำหนดเป็นจรรยาบรรณเพื่อให้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ (ตามจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ.2543) ประกอบด้วย 1. วางตัวเป็นกลาง 2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 3. มีการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน เรียนรู้เทคนิควิทยาการใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ โดยเคร่งครัด

  5. 5. คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงาน/ของทางราชการเป็นหลัก ด้วยความ ถูกต้องยุติธรรม และมีความสมเหตุสมผล 6. ให้มีการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด 7. ให้ความร่วมมือ แก้ไขปัญหา และพัฒนางาน กับผู้ร่วมงานด้วยความ เต็มใจ เอาใจใส่ 8. ไม่เรียกรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากผู้ขาย/ผู้รับจ้าง 9. ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ในการปฏิบัติต่อผู้ขาย/ผู้รับจ้างโดย เท่าเทียมกัน 10. ให้คำปรึกษา แนะนำ และรับฟังความคิดเป็นของผู้ร่วมงานอย่างมี เหตุผล

  6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (เดิม) ที่ถูกยกเลิกไป รวมมีทั้งหมด 8 ฉบับด้วยกันประกอบด้วย ระเบียบพัสดุ พ.ศ.2521, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523, (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2526, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2527, (ฉบับที่ 5) และ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2528, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2529 และ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2527

  7. สำหรับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ที่ได้ประกาศใช้ใหม่ภายหลังจากที่ยกเลิกของเดิมไป จนถึง ณ ปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ฉบับประกอบด้วย ระเบียบพัสดุ พ.ศ.2535, (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538, (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541, (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542, (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2545, และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ทั้งนี้ มีระเบียบใหม่ล่าสุด ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อสำหรับใช้ในการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง โดยวิธีการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549

  8. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ • พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ • พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ • พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘

  9. คำสั่งในการดำเนินการตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุดังต่อไปนี้เป็นคำสั่งทางปกครองคำสั่งในการดำเนินการตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุดังต่อไปนี้เป็นคำสั่งทางปกครอง • การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อหรือเช่า • การสั่งอนุมัติซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย หรือให้เช่า • การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอ • การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน (กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒/ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ๓๑ ก.ค.๔๓)

  10. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารคืออะไรพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารคืออะไร • เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ • เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้อง • ยกเว้น การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหาย

  11. พรบ.ข้อมูลข่าวสารฯเกี่ยวข้องกับระเบียบฯพัสดุอย่างไรพรบ.ข้อมูลข่าวสารฯเกี่ยวข้องกับระเบียบฯพัสดุอย่างไร • ประกาศคณะกรรมการฯ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ - กำหนดให้ประกาศสอบราคาและประกวดราคา เป็นข้อมูลข่าวสาร ที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (เก็บไว้อย่างน้อย ๑ ปี) • ประกาศคณะกรรมการฯ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ - สรุปผลการพิจารณาในงานที่จัดซื้อจัดจ้าง • หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๗/ว๑๖๑ ลว.๑๓ มกราคม ๒๕๔๘ - นำประกาศสอบราคา ประกวดราคา ผลการพิจารณาประกาศใน Web site

  12. ในส่วนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะประกอบด้วยระเบียบรวม 165 ข้อ โดยจัดแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ หมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 นิยาม (ข้อ 5) ส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ (ข้อ 6-9) ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ (ข้อ 10) ส่วนที่ 4 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (ข้อ 11-12)

  13. หมวด 2 การจัดหา แบ่งออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บททั่วไป (ข้อ 13-15) ส่วนที่ 2 การซื้อการจ้าง (ข้อ 16-73) ส่วนที่ 3 การจ้างที่ปรึกษา (ข้อ 74-94) ส่วนที่ 4 การจ้างออกแบบและควบคุมงาน (ข้อ 95-122) ส่วนที่ 5 การแลกเปลี่ยน (ข้อ 123-127) ส่วนที่ 6 การเช่า (ข้อ 128-131) ส่วนที่ 7 สัญญาและหลักประกัน (ข้อ 132-144) ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ข้อ 145)

  14. หมวด 3 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การยืม (ข้อ 146-150) ส่วนที่ 2 การควบคุม (ข้อ 151-156) ส่วนที่ 3 การจำหน่าย (ข้อ 157-161) หมวด 4 บทเฉพาะกาล (ข้อ 162-165) ในส่วนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 จะประกอบด้วยระเบียบรวม 13 ข้อ

  15. สาระสำคัญที่น่าสนใจ คำนิยามที่สำคัญๆ ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 5 คำว่า “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ คำว่า “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณหรือการจำแนกประเภทรายจ่ายตามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ

  16. คำว่า “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือในต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น คำว่า “หัวหน้าส่วนราชการ” - ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง หมายความว่า อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล - สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด

  17. คำว่า “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือที่มีฐานะเทียบกอง ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุตามที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลกำหนด หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี คำว่า “หัวหน้าหน่วยพัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกหรือต่ำกว่าระดับแผนก ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการเป็นหัวหน้าหน่วยพัสดุ เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุแล้วแต่กรณี

  18. คำว่า “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือผู้ได้รับแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้

  19. บทกำหนดโทษ ตามระเบียบฯ ข้อ 10 กำหนดไว้ว่า “ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใด กระทำการใด โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ หรือตามกฎหมายเฉพาะของส่วนราชการนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้

  20. (1) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการ เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำปลด ออกจากราชการ (2) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายแต่ไม่ ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำ ตัดเงินเดือน (3) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย ให้ ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็น ลายลักษณ์อักษร การลงโทษทางวินัยตาม (1) หรือ (2) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดจากความรับผิดในทางแพ่งตามกฎหมายและระเบียบของ ทางราชการ หรือความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี)”

  21. ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 13 กำหนดให้ “หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอนของระเบียบนี้ ในส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 หรือส่วนที่ 4 แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว การจัดหาโดยวิธีสอบราคา และวิธีประกวดราคา ให้ ส่วนราชการวางแผนในการจัดหา และดำเนินการให้เป็นไปตามแผนด้วย”

  22. กระบวนการบริหารงานพัสดุกระบวนการบริหารงานพัสดุ กำหนดความต้องการ งบประมาณ จัดหาพัสดุ เบิกจ่ายเงิน การจัดทำ ควบคุมพัสดุ จำหน่ายพัสดุ

  23. กระบวนการจัดหาพัสดุ ประเภทของการจัดหา • การจัดทำเอง • การซื้อ • การจ้าง • การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบและควบคุมงาน • การเช่า • การแลกเปลี่ยน

  24. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ • เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ/ชั่วคราว • หน.เจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง - ข้าราชการ • หน.ส่วนราชการ อธิบดี (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) • ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ-จ้าง หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด • คณะกรรมการต่างๆ / ผู้ควบคุมงาน

  25. คณะกรรมการในการซื้อ - การจ้าง ประเภท :คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา : คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา : คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา : คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ : คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ : คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ : คณะกรรมการตรวจการจ้าง เพิ่มเติม : คณะกรรมการกำหนดราคากลาง : คณะกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (SPEC) : ผู้ควบคุมงาน

  26. การแต่งตั้งคณะกรรมการการแต่งตั้งคณะกรรมการ ผู้แต่งตั้ง : หัวหน้าส่วนราชการ องค์ประกอบ : ประธาน/กรรมการ จำนวนอย่างน้อย ๓ คน กรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ ทางราชการ อาจตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกิน ๒ คน ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ เงื่อนไข : ต้องตั้งเป็นครั้งๆ ไป (ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ) หลักการ : แต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ (ตามระเบียบพัสดุ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๒ และตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) ๐๔๒๑.๓/ว ๔๑๗ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓) :ระเบียบฯ ห้ามแต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซองเป็นกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคา และห้ามกรรมการเปิดซองสอบราคาและกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ :ต้องกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา

  27. การประชุมคณะกรรมการ องค์ประชุม : ประธานและกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง :ประธานและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่ง ในการลงมติ มติกรรมการ : ถือเสียงข้างมาก ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธาน ออกเสียงเพิ่มชี้ขาด อีก ๑ เสียง : คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้างใช้มติเอกฉันท์ ( กรรมการที่ไม่เห็นด้วยให้บันทึกความเห็นแย้งไว้ )

  28. วิธีการจัดหา การจัดซื้อหรือจ้าง • วิธีตกลงราคา ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท • วิธีสอบราคา เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท • วิธีประกวดราคา เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท • วิธีพิเศษ เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่มีเงื่อนไข • วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข • วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)ตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙

  29. วิธีการซื้อ/จ้าง (๖ วิธี) ๑. กรณีใช้วงเงินเป็นตัวกำหนดวิธีการ - วิธีตกลงราคา ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท - วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่งเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท - วิธีประกวดราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป

  30. วิธีการซื้อ/จ้าง (๖ วิธี) ๒. กรณีใช้วงเงินและเงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ ๒.๑ ซื้อโดยวิธีพิเศษ - วงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ ๒๓ (มี ๘ ข้อ) ๒.๒ จ้างโดยวิธีพิเศษ - วงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ ๒๔ (มี ๖ ข้อ)

  31. วิธีการซื้อ/จ้าง (๖ วิธี) ๓. กรณีใช้เงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ - วิธีกรณีพิเศษ (ได้แก่ การซื้อ/จ้างจากส่วนราชการ, รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานตามกฎหมายท้องถิ่น) เงื่อนไข : ๑.เป็นผู้ทำ/ผลิตเองและนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง ๒. มีกฎหมาย/มติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ซื้อ/จ้าง และให้รวมถึงหน่วยงาน อื่นที่มีกฎหมายหรือมติครม.กำหนดด้วย ๔. อื่นๆ - การจัดซื้อ/จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป (ตามระเบียบพัสดุฯปี ๔๙)

  32. ขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้างขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้าง ขอความเห็นชอบ วิธีจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ๖ วิธี ดำเนินการ • หน.ส่วนราชการ • ปลัดกระทรวง/ทบวง • รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขออนุมัติ หน.ส่วนราชการ การทำสัญญา • คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ • คณะกรรมการตรวจการจ้าง • ผู้ควบคุมงาน การตรวจรับ

  33. รายงานขอซื้อ–จ้าง (๒๗) หลักการ * ก่อนการซื้อ – จ้าง ทุกวิธีต้องทำรายงาน ผู้จัดทำ * เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ รายละเอียด * เหตุผลความจำเป็น * รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง * ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือราคาครั้งหลังสุด ไม่เกิน ๒ ปี * วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง * กำหนดเวลาใช้พัสดุ * วิธีที่จะซื้อ – จ้าง * ข้อเสนออื่นๆ (กรรมการ , ประกาศ) ข้อยกเว้น * ข้อ ๓๙ วรรคสอง ไม่ต้องมีรายงานตามระเบียบฯ ข้อ ๒๗

  34. การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๑)การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๑) ๓ จนท. พัสดุ ติดต่อ ๔ ๑ เสนอราคา ๕ รายงาน (๒๗) ใบสั่ง หน. จนท. พัสดุ ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง เห็นชอบ (๒๙) ๖ ส่งของ/งาน ๒ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ผู้ตรวจรับพัสดุ/ผู้ตรวจรับการจ้าง หน. ส่วนราชการ

  35. การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๒)การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา(๒) • กรณีจำเป็นเร่งด่วน • ไม่ได้คาดหมายมาก่อน • ดำเนินการตามปกติไม่ทัน ข้อยกเว้น (ข้อ ๓๙วรรคสอง) วิธีการ • เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ ผู้รับผิดชอบดำเนินการไปก่อน • รายงานขอความเห็นชอบหัวหน้าส่วนราชการ • ใช้รายงานเป็นหลักฐานการตรวจรับ • วงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท ทำรายงานเฉพาะรายการ • ที่จำเป็นได้ ข้อ ๓๙ วรรคสอง (ข้อ ๑๓๓ วรรคสอง)

  36. การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ไม่กีดกันสินค้าไทย (ข้อ ๑๖) • ไม่กำหนดสเปคใกล้เคียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นการเฉพาะ • ไม่ระบุยี่ห้อ • งานก่อสร้างระบุยี่ห้อได้ในกรณีจำเป็น แต่ต้องให้เทียบเท่าได้

  37. การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๑) ข้อ ๒๗ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๒๙ • ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า • ๑๐ วัน / นานาชาติไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน • ส่งประกาศให้ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้าง • โดยตรง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน • ให้มากที่สุด • ปิดประกาศเผยแพร่ ณ ที่ทำการโดยเปิดเผย • - เผยแพร่เว็บไซด์ของกรมบัญชีกลาง/หน่วยงาน จัดทำประกาศ (ข้อ ๔๐) เผยแพร่เอกสาร

  38. การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๒) • ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึง • ประธานกรรมการ • ยื่นซองด้วยตนเอง / ทางไปรษณีย์ • (กรณีที่กำหนดไว้) • เจ้าหน้าที่รับโดยไม่เปิดซอง • ระบุวันและเวลารับซอง • ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การยื่นซอง การรับซอง การเก็บรักษาซอง

  39. การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๓) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (ข้อ ๔๒) • ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน • ประกาศชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ • เปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันและลงนามกำกับ • ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้อง • ตามเงื่อนไขและเสนอราคาต่ำสุด • ราคาเท่ากันหลายรายยื่นซองใหม่ • ถูกต้องรายเดียวดำเนินการต่อได้ • เสนอหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

  40. การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา (๔) กรณีเกินวงเงิน (ข้อ ๔๓) • เรียกรายต่ำสุดมาต่อรองให้อยู่ในวงเงิน • หรือสูงกว่าไม่เกิน ๑๐ % • ถ้าไม่ได้ผลให้เรียกทุกรายมายื่นซองใหม่ • ถ้าไม่ได้ผลอีกเสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ ขอลดรายการ ลดจำนวน ลดเนื้องาน ขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา

  41. ขั้นตอนการประกวดราคา จัดทำรายงานขอซื้อ/จ้าง และแต่งตั้งคณะกรรมการ (ข้อ ๒๗) จัดทำเอกสารประกวดราคา (ข้อ ๔๔) การประกาศเผยแพร่การประกวดราคา (ข้อ ๔๕, ๔๖) การขออนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง (ข้อ ๖๕) การพิจารณาผลการประกวดราคา (ข้อ ๕๐) การรับและเปิดซอง (ข้อ ๔๙) การทำสัญญา (ข้อ ๑๓๒ -๑๓๓)

  42. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๑) ข้อ ๒๗ เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ข้อ ๒๙ จัดทำเอกสาร (ข้อ ๔๔) • ทำตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด • แตกต่างหรือไม่รัดกุมส่ง • สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ

  43. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๒) การประกาศข่าวการประกวดราคา ส่งไปรษณีย์ EMS • ในตู้ปิดประกาศมีกุญแจปิด • มีผู้ปิดและปลดประกาศ ซึ่งมิใช่ • คนเดียวกัน และมีพยานรับรองด้วย • ออกประกาศ ณ ที่ทำการ • ส่งวิทยุและหนังสือพิมพ์ • ส่งกรมประชาสัมพันธ์ • ส่งองค์การสื่อสารมวลชน • ส่งศูนย์รวมข่าวประกวดราคา • ส่ง สตง. • เผยแพร่เว็ปไซด์ของกรมบัญชีกลาง/ • หน่วยงาน

  44. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๓) ประกาศ ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ • ไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ • ห้ามมีเงื่อนไขในการให้/ขาย ให้ขาย คำนวณราคา ไม่น้อยกว่า ๗ วัน ทำการ ห้ามร่นหรือเลื่อนวันรับซอง และเปิดซองประกวดราคา วันรับซองประกวดราคา

  45. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๔) คณะกรรมการรับซองและเปิดซองประกวดราคา • รับซองราคา • ตรวจหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน • กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน • ส่งสำเนาให้ธนาคาร • - รับเอกสารตามบัญชีรายการ หากไม่ถูกต้องให้บันทึกไว้

  46. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๕) คณะกรรมการรับซองและเปิดซองประกวดราคา • ส่งเอกสารส่วนที่ ๑ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวด • ราคา เพื่อตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน • เปิดซองและอ่านแจ้งราคาโดยเปิดเผย เฉพาะที่ผ่านการตรวจ • สอบผู้มีประโยชน์ร่วมกัน • ลงลายมือชื่อกำกับเอกสารทุกฉบับ • ส่งมอบเรื่องทั้งหมดให้คณะกรรมการพิจารณา • ผลการประกวดราคา

  47. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา (๖) หน้าที่คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา • ตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกัน (๕) • ตรวจสอบคุณสมบัติ คัดเลือก • คัดเลือกคุณภาพ ตัดสิน (ต่ำสุด) • เสนอหัวหน้าส่วน ผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ • มีอำนาจผ่อนปรน • เสนอราคาเท่ากัน เสนอราคาใหม่โดยการยื่นซอง • มีรายการเดียวยกเลิก เว้นมีเหตุผล (๕๑) • แก้ไขหลังเปิดซองก่อนทำสัญญาสาระสำคัญ ยกเลิก (๕๓) (๕๐)

  48. การต่อรองราคาในการสอบราคา/ประกวดราคาการต่อรองราคาในการสอบราคา/ประกวดราคา • ในวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ต่อรองราคาไม่ได้ • เกินวงเงินที่ซื้อหรือจ้าง ข้อ ๔๓ • ๒.๑ เรียกผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ผ่านการคัดเลือกมาต่อรองราคา ถ้า • ลดหรือไม่ลดราคาแล้ว ปรากฏว่าไม่เกิน ๑๐% ให้ซื้อ/จ้างรายนั้น • ๒.๒ ถ้าไม่ได้ผล ให้เรียกทุกรายมาต่อรองราคาพร้อมกัน • ด้วยวิธียื่นซอง • ๒.๓ ถ้าไม่ได้ผล ให้พิจารณาลดรายการ ลดจำนวน ลดเนื้องาน ขอ • เงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา

  49. การดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษ (๑) รายงาน ข้อ ๒๗ หัวหน้าส่วนราชการ จนท.พัสดุ ให้ความเห็นชอบ ๒๙ เงื่อนไข (ข้อ ๒๓) วงเงินเกินหนึ่งแสนบาท วิธีการ (ข้อ ๕๗) • -จะขายทอดตลาด เจรจาตกลงราคา • เร่งด่วนช้าเสียหาย เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง • ราชการลับ เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง • ซื้อเพิ่ม (Repeat Order) เจรจาผู้ขายรายเดิม เงื่อนไขเดิม ราคาเดิม • หรือดีกว่า

  50. การดำเนินการซื้อโดยวิธีพิเศษ (๒) เงื่อนไข (ข้อ ๒๓) วงเงินเกินหนึ่งแสนบาท วิธีการ (ข้อ ๕๗) • ซื้อจากต่างประเทศ สั่งตรงโดยให้หน่วยงานอื่นในต่างประเทศ • สืบราคาให้ • จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เชิญผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่าย มาเสนอราคา • และต่อรอง • ซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างเฉพาะ เชิญเจ้าของมาตกลงราคา • ดำเนินการโดยวิธีการอื่นแล้ว สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายและผู้เสนอ • ไม่ได้ผลดี ราคาที่ถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) ต่อรองราคา

More Related