1 / 10

การสื่อสารระบบไมโครเวฟ

การสื่อสารระบบไมโครเวฟ. คณะผู้จัดทำ นางสาวชลทิพย์ แก้วอ่อน นางสาวเรณู แก้วน้อย สิบเอกวุฒิพงษ์ อินทุยศ ห้อง 07/15 . การสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ. ระบบไมโครเวฟ การใช้งานคลื่นไมโครเวฟสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ระบบส่งสัญญาณ (Transmission)

benjamin
Download Presentation

การสื่อสารระบบไมโครเวฟ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสื่อสารระบบไมโครเวฟการสื่อสารระบบไมโครเวฟ คณะผู้จัดทำ นางสาวชลทิพย์ แก้วอ่อน นางสาวเรณู แก้วน้อย สิบเอกวุฒิพงษ์ อินทุยศ ห้อง 07/15

  2. การสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ ระบบไมโครเวฟ การใช้งานคลื่นไมโครเวฟสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ระบบส่งสัญญาณ (Transmission) 2. ระบบตรวจจับและวัดระยะด้วยคลื่น หรือ เรียกว่า เรดาร์ ( RADAR : Radio Detection And Ranging ) 3. เครื่องมือในอุตสาหกรรม 4. ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในอวกาศ (Satellite Communication)

  3. ท่อนำคลื่น ( Waveguides ) ท่อนำคลื่นไมโครเวฟ มีลักษณะเฉพาะคือเป็นโลหะตัวนำกลวงสามารถถ่ายทอดงานไมโครเวฟได้เป็นอย่างดี ใช้สำหรับเป็น สายส่งสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ไมโครเวฟ หรือเพื่อต่อเชื่อมไปยังสายอากาศของ ไมโครเวฟเอง มักสร้างจากทองแดงหรือ อลูมิเนียมและทำการต่อเชื่อมกันเป็นท่อ ทรงกลมหรือทรงสี่เหลี่ยมก็ได้

  4. โหมดของการแพร่สัญญาณไมโครเวฟโหมดของการแพร่สัญญาณไมโครเวฟ โหมดของการแพร่สัญญาณไมโครเวฟ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ • ทีอีโหมด หรือทรานสเวิร์สอิเล็ก ทริก (Te : Transverse Electric) • ทีเอ็มโหมด หรือทรานสเวิร์สแมกเนติก (TM : Transverse Magnetic)

  5. โพลาไรเซชั่น การจัดวางสายอากาศรูปฮอร์นแบบสี่เหลี่ยมไม่ว่าชนิดใดจะสามารถแบ่งได้ เป็นสองชนิดตามปลายเปิดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากรูปสี่เหลี่ยมอยู่ในแนวตั้งและ สนามไฟฟ้าอยู่ในแนวนอนสายอากาศจะถูกเรียกว่า ฮอริซอนตอลลี่โพลาไรเซชั่น (Horizontally polarization) หากรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ในแนวนอนและสนาม ไฟฟ้าอยู่ในแนวตั้ง สายอากาศจะถูกเรียกว่าเวอติคอลลี่โพลาไรเซชั่น (Vertically polarization)หากสายอยู่ในโพลาไรเซชั่นแบบใดแบบหนึ่งจะมีสัญญาณที่เป็น ในรูปโพลาไรเซชั่นอีกชนิดหนึ่งออกมาด้วย แต่มีกำลังต่ำสัญญาณแบบแรก ประมาณ 30 ถึง 40 dB จะเรียกปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า ครอสโพลาไรเซชั่นดิสครี มิเนชั่น

  6. นอยส์เทมเพอเรเชอร์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้นอยส์เทมเพอเรเชอร์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้ • การสูญเสียพลังงานในท่อนำคลื่นระหว่างสายอากาศและเครื่องรับ • สัญญาณรบกวนในอากาศที่เกิดจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และจักรวาล • การดูดซับโดยก๊าซในบรรยากาศและปริมาณฝนหรือหิมะที่ตกลงมา • รังสีจากพื้นโลกที่เข้าไปยังแบ็คโลปของสายอากาศ • สัญญาณรบกวนจากแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่มนุษย์สร้างขึ้น

  7. เสาติดตั้งสายอากาศ ระบบสื่อสารไมโครเวฟส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเสา สำหรับติดตั้งสายอากาศ ถ้าต้องการให้สัญญาณไมโครเวฟเดินทางได้ ระยะทางไกล ๆ ควรติดตั้งเสาให้สูงขึ้น ชนิดของเสาติดตั้งที่เป็นที่นิยมมีอยู่ 2 ชนิดดังนี้ 1. เสาชนิดเซลฟ์ซัพพอร์ตติ้ง (Self supporting Tower) 2. เสาชนิดกาย (Guyed Mast)

  8. ผลของบรรยากาศต่อไมโครเวฟผลของบรรยากาศต่อไมโครเวฟ บรรยากาศมีผลต่อการสูญเสียพลังงานของคลื่นไมโครเวฟดังต่อไปนี้ การดูดซับ (Absorption) ผลกระทบที่มีมากต่อการแพร่ของคลื่นวิทยุไมโครเวฟ โดยเฉพาะที่ความถี่สูง ๆ ก็คือ เม็ดฝน ปริมาณน้ำในบรรยากาศยิ่งมากเท่าใดการสูญเสียพลังงานของคลื่นก็จะมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่าง เช่นความถี่ 6 กิกะเฮิรตซ การลดทอนของสัญญาณเนื่องจากไอน้ำในบรรยากาศมีค่าเพียง 0.001 dB ต่อกิโลเมตร เมื่อปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็นฝนขนาดเบาค่าการลดทอนเพิ่มขึ้นเป็น 0.01 dB ต่อ กิโลเมตร และฝนตกหนักมากค่าลดทอนสัญญาณจะมีค่าถึง 1 dB ต่อกิโลเมตร มากจนอาจทำ ให้สัญญาณเคลื่อนที่ไปไม่ถึงปลายทาง สำหรับความถี่ที่มีค่าสูงมากขึ้นโดยเฉพาะที่เหนือ 10 กิกะ เฮิรตซ์ขึ้นไปจะยิ่งมีการลดทอนมากถึงประมาณ 10 dB ต่อกิโลเมตร

  9. การหักเห (Refraction) การหักเห ผลของการหักเหของคลื่นไมโครเวฟในอากาศจะทำให้ลำคลื่นของ ไมโครเวฟเบี่ยงเบนออกไปจากเส้นทางเดิม ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจมีผลเป็นระยะ เวลายาวนานทำให้เกิดความเสียหายกับสายส่งสัญญาณได้มากพอสมควร หารหักเห ของลำคลื่นเกิดจากคุณสมบัติของบรรยากาศ ได้แก่ อุณหภูมิความหนาแน่น บรรยากาศ และความชื้นในบรรยากาศ เมื่อความสูงของผิวโลกเพิ่มขึ้นการเปลี่ยน แปลงของความหนาแน่นของบรรยากาศมีผลกับความเร็วของคลื่นไมโครเวฟที่เดิน ทางในบรรยากาศ

  10. ดักติ้ง (Ducting) การหักเหในบรรยากาศสามารถทำให้ลำคลื่นไมโครเวฟถูกกักอยู่ ในท่อนำคลื่นที่เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งถูกเรียกว่า ดักต์ (Duct) มีผลทำ ให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังปลายทางได้ การเกิดดักติ้ง มักเป็นที่ ระยะความสูงไม่มากในชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่นสูง มักเกิด บ่อยครั้งในบริเวณที่คลื่นมีการข้ามผืนน้ำหรือในที่ซึ่งมีอุณหภูมิและ ความชื้นต่างกันมาก

More Related