1 / 53

โครงร่างวิทยานิพนธ์

โครงร่างวิทยานิพนธ์. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาท ที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี.

Download Presentation

โครงร่างวิทยานิพนธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงร่างวิทยานิพนธ์ บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี THE REAL ROLES AND THE EXPECTED ROLES OF THE SCHOOL ADMINSTRATORS IN DEVELOPING INTERIOR INSURANCE SYSTEM AS PERCEIVED BY PERSONNELS IN BASIC SCHOOL UDER SUPHANBURI EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE ผู้นำเสนอ นางดวงแก้ว โพธิ์อ้น

  2. บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี • ทุกประเทศได้รับผลกระทบและเกิดภาวะวิกฤตทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา • การปฏิรูปการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤต ของประเทศ • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กำหนดเรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาในหมวด 6 มาตรา 47

  3. กฎกระทรวงมาตรา 48 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา • จากการวิจัยสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในพบว่า มีปัญหาอุปสรรคหลายประการ • ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา • ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

  4. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี 2.เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

  5. 3.เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี 4. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริง ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2, 1-3 และ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

  6. สมมติฐานการวิจัย 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี มีความแตกต่างกัน 2.การรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี มีความแตกต่างกัน

  7. 3.บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริง ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2, 1-3 และ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี มีความแตกต่างกัน

  8. การจัดระบบบริหารสารสนเทศการจัดระบบบริหารสารสนเทศ • การพัฒนามาตรฐานการศึกษา • การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา • การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา • การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา • การประเมินคุณภาพการศึกษา • การายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี • การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรอบ แนว คิด ใน การ วิจัย

  9. ขอบเขตของ การวิจัย ขอบเขต ด้านเนื้อหา ประชากร/ กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา

  10. 1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ 2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา 3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4. การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา 6. การประเมินคุณภาพการศึกษา 8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ขอบเขตด้านเนื้อหา 7. การรายงานคุณภาพการศึกษา

  11. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ครูผู้สอน • รองผู้บริหารสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ

  12. ตัวแปรที่ศึกษา • บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน • ช่วงชั้นที่จัดการศึกษา 1-2, 1-3 , 3-4 • ตำแหน่งของบุคลากรในสถานศึกษา

  13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย • ได้ข้อความรู้เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

  14. เป็นแนวทางในการพัฒนา การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้เป็นไปตามความคาดหวัง ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2546ทั้ง 8 ประการ

  15. เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องต่อไป

  16. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • การบริหารสถานศึกษา - ความหมายของการบริหาร - ความหมายของการบริหารสถานศึกษา • - ขอบข่ายงานบริหารสถานศึกษา • การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ • การบริหารบุคคล การบริหารทั่วไป

  17. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา - ความหมายของบทบาท - ความสำคัญของบทบาท - ประเภทของบทบาท บทบาทที่ปฏิบัติจริง บทบาทที่คาดหวัง การรับรู้ - บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร • บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

  18. การประกันคุณภาพการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา - ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา - ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา - แนวคิดและหลักการในการประกันคุณภาพ การศึกษา - แนวคิดตามหลักการบริหาร - ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดของระบบในการ ประกันคุณภาพและแนวคิดตามหลักการบริหาร - หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน

  19. แนวการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา • ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายใน กับการประเมินคุณภาพภายนอก • ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (8 ด้าน) • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - งานวิจัยภายในประเทศ - งานวิจัยต่างประเทศ • สรุปกรอบแนวคิดในการวิจัย

  20. กรอบ แนว คิด ใน การ วิจัย • บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริง • ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน • 1.การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ • . การพัฒนามาตรฐานการศึกษา • . การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา • . การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ • การศึกษา • . การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา • . การประเมินคุณภาพการศึกษา • . การรายคุณภาพการศึกษาประจำปี • . การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตำแหน่งที่ดำรงปัจจุบัน 1.รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ 2. ครูผู้สอน ช่วงชั้นที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 1-2 ช่วงชั้นที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 3-4 • . ระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา • . ผลการเปรียบเทียบ • บทบาทที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวัง • การรับรู้บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารสถานศึกษา • บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2,1-3และ3-4 • บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่คาดหวัง • ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน • 1 .การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ • . การพัฒนามาตรฐานการศึกษา • . การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา • . การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ • การศึกษา • . การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา • . การประเมินคุณภาพการศึกษา • . การรายคุณภาพการศึกษาประจำปี • . การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

  21. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 3. การสร้างเครื่องมือวิจัย

  22. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  23. สถานศึกษา จำนวนสถานศึกษา รวม สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวม กลุ่มตัวอย่าง รวม ผช เขต 1 ช่วงชั้น1-2 ช่วงชั้น1-3 ช่วงชั้น3-4 ช่วงชั้น1-2 ช่วงชั้น1-3 ช่วงชั้น3-4 ครู เมืองสุพรรณบุรี 5 10 5 20 4 9 5 18 18 54 72 ศรีประจันต์ 4 2 3 9 3 1 3 7 7 21 28 8 24 1 5 3 9 1 4 3 8 32 บางปลาม้า รวม 10 17 11 38 8 14 11 33 33 99 132

  24. สถานศึกษา จำนวนสถานศึกษา รวม สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวม กลุ่มตัวอย่าง รวม เขต 2 ช่วงชั้น1-2 ช่วงชั้น1-3 ช่วงชั้น3-4 ช่วงชั้น1-2 ช่วงชั้น1-3 ช่วงชั้น3-4 ผช. ครู สองพี่น้อง 7 8 5 20 6 7 5 18 18 54 72 อู่ทอง 8 7 4 19 7 6 4 17 17 51 68 ดอนเจดีย์ 3 2 2 7 2 1 2 5 5 15 20 รวม 18 17 11 46 15 14 11 40 40 120 160

  25. สถานศึกษา จำนวนสถานศึกษา รวม สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวม กลุ่มตัวอย่าง รวม เขต 3 ช่วงชั้น1-2 ช่วงชั้น1-3 ช่วงชั้น3-4 ช่วงชั้น1-2 ช่วงชั้น1-3 ช่วงชั้น3-4 ผช. ครู เดิมบางนางบวช 2 3 4 9 1 2 4 7 7 21 28 สามชุก 4 3 3 10 3 2 3 8 8 24 32 ด่านช้าง 3 4 2 9 2 3 2 7 7 21 28 หนองหญ้าไซ 1 3 1 5 1 2 1 4 4 12 16 รวม 10 13 10 33 7 9 10 26 26 78 104 รวมทั้งสิ้น 38 47 32 117 30 37 32 99 99 297 396

  26. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม จำนวน 2 ตอน ตอน 1 Check List สถานภาพผู้ตอบ ตอน 2 แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า

  27. การเก็บรวบรวม ข้อมูล ขอหนังสือ จากสำนักงานบัณฑิต ติดตาม/ เก็บแบบสอบถาม ผู้วิจัย ขอหนังสือจาก...ผอ.เขต 1 - 3 รองผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน สถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง

  28. การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS/for windows version • ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม แจกแจงความถี่ร้อยละ นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง

  29. การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS/for windows version • ตอนที่ 2 วิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ค่าเฉลี่ย(X)ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แปลผลระดับความคิดเห็น นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง

  30. การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS/for windows version • ตอนที่ 3 เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงกับบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี แบบที (t –test)

  31. การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS/for windows version 10.0 • ตอนที่ 4 เปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี แบบที (t –test)

  32. การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS/for windows version • ตอนที่ 5 เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2 , 1-3 , 3-4 ค่าเอฟ (F –test) ตรวจสอบค่าความแตกต่างค่าเฉลี่ย ระหว่างคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่

  33. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  34. ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

  35. ตอนที่ 1 (ต่อ) ตารางที่ 4.1 (ต่อ) จากตารางที่ 1พบว่าสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูผู้สอนมากกว่ารองผู้บริหารสถานศึกษา โดยเป็นครูผู้สอนคิดเป็นร้อยละ 75.00 รองผู้บริหารสถานศึกษาร้อยละ 25.00 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 68.70 เพศชายร้อยละ 31.30 มีอายุราชการ 26 ปี ขึ้นไปมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.00 รองลงมามีอายุระหว่าง 21–25 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.70 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 81.50 รองลงมามีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทร้อยละ 18.20 และอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-3 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 37.40 รองลงอยู่ในช่วงชั้นที่ 3-4 คิดเป็นร้อยละ 32.30

  36. ตอนที่ 2 ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ตารางที่ 2 ระดับบทบาทของผู้บริหารที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและ ครูผู้สอน ในภาพรวม 8 ด้าน

  37. ตอนที่ 2 ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน จากตารางที่ 2 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ในภาพรวม พบว่า บทบาทที่ปฏิบัติจริงอยู่ใน ระดับมาก ( =3.90) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปน้อย คือด้านการพัฒนามาตรฐานการศึกษา ( =3.87) ด้านการจัดระบบบริหารและ สารสนเทศ ( =3.86) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( =3.85) ด้านการประเมิน คุณภาพการศึกษา ( =3.83) ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษา ( =3.82) ด้านการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( =3.81) ด้านการผดุงระบบการประกันคุณภาพ ( =3.78) และด้านการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา ( =3.69) ตามลำดับ ส่วนบทบาทที่คาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.44) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านการพัฒนามาตรฐาน การศึกษา( =4.48) ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ( =4.47) ด้านการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( =4.45) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( =4.44, S.D.=0.56) ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา( =4.44, S.D.=0.58) ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ( =4.43) ด้านการผดุงระบบประกันคุณภาพ การศึกษา ( =4.41) และด้านการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา ( =4.35) ตามลำดับ

  38. ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ตารางที่ 3 ภาพรวมการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาท ที่คาดหวังในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ** มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01

  39. ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังในการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน จากตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวัง ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ในภาพรวม พบว่า มีความ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยบทบาทที่คาดหวัง( =4.44) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า บทบาทที่ปฏิบัติจริง ( =3.90) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้าน โดยบทบาทที่คาดหวังทุกด้านมีค่าเฉลี่ย สูงกว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริง

  40. ตอนที่ 4 ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนต่อบทบาทของ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตารางที่ 4 ภาพรวมผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนต่อบทบาท ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายใน

  41. ตอนที่ 4 ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนต่อบทบาทของ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกรายการไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  42. ตอนที่ 5 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2 , 1-3 และ 3-4 ตารางที่ 5 ภาพรวมการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2, 1-3 และ 3-4

  43. ตอนที่ 5 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2 , 1-3 และ 3-4 จากตารางที่ 5 ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริง ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของ รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดการศึกษา ในช่วงชั้นที่ 1-2 , 1-3 และ 3-4 ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  44. บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

  45. สรุปผลการวิจัย 1.บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอนในภาพรวม พบว่า บทบาทที่ปฏิบัติจริง อยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนามาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการจัดทำแผน พัฒนาคุณภาพ ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษา ด้านการดำเนิน งานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการผดุงระบบการประกันคุณภาพ และด้านการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษา ส่วนบทบาทที่คาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ส่วนรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนามาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาคุณภาพ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ด้านการผดุงระบบประกันคุณภาพการศึกษา และด้าน การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา

  46. สรุปผลการวิจัย • ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวัง ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ในภาพรวม รายด้านทุกด้านและรายข้อทุกข้อในแต่ละด้าน พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01โดยบทบาทที่คาดหวัง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริง

  47. สรุปผลการวิจัย • ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม รายด้านทุกด้านและรายข้อทุกข้อ ในแต่ละด้านพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  48. สรุปผลการวิจัย 4. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามการรับรู้ของรองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 1-2 , 1-3 และ 3-4 ในภาพรวม และรายด้านทุกด้าน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายข้อพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ผู้บริหารกำหนดให้มีการจัดทำคู่มือ/แนวทางการประเมินการเรียนรู้ การประเมินการอ่านคิด วิเคราะห์และเขียนการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปฏิบัติจริงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-3 สูงกว่า ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2

  49. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยสำหรับสถานศึกษาข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยสำหรับสถานศึกษา 1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นหมวดหมู่ มีรูปแบบที่เข้าใจง่าย ถูกต้อง เป็นปัจจุบันและครอบคลุมทุกภาระงาน และ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร 2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อทบทวนความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายของสถานศึกษา ของเขตพื้นที่และของชาติ 3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดให้มีและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรให้ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือแนะนำเมื่อบุคลากรพบปัญหาและอุปสรรค มีการส่งเสริมให้บุคลากรสามารถทำงานเป็นทีม และปฏิบัติงานได้เต็มตามศักยภาพ

  50. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยสำหรับสถานศึกษาข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยสำหรับสถานศึกษา 5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดประชุม ชี้แจงให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญ ความจำเป็น ของการประเมินตนเอง ให้มีการนำผลการตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษามาเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการพัฒนางานอย่างมีระบบ 6. การประเมินคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการวัดและประเมินผลและส่งเสริมการสร้างเครื่องมือ รูปแบบ วิธีการ ตัวชี้วัด และเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน และครอบคลุมตามสาระการเรียนรู้และคุณลักษณะที่สำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา 7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ผู้บริหารสถานศึกษาควร ทบทวนจุดเน้นและความสำเร็จของสถานศึกษา แล้วนำมากำหนดเป้าหมายในการพัฒนาสถานศึกษาใหม่ 8.การผดุงระบบการประกันคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

More Related